รับจดทะเบียนบริษัท
วิธีจดทะเบียนบริษัท
การจดทะเบียนบริษัท มีกี่แบบ
ตัวอย่างจดทะเบียนบริษัท
การจดทะเบียนบริษัทสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ คือ
- ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ( Ordinary partnership )
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด ( Limited partnership )
- บริษัทจำกัด ( Company Limited )
- บริษัทมหาชนจำกัด ( Public Company Limited )
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
- ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”
- มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
- มีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว คือ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบ โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวง ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
- ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้
- จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนเรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้คือ
-
- หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
- หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
- มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
- ผู้เป็นหุ้นส่วนมี 2 จำพวก คือ
- หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบ รับผิดเฉพาะจำนวนเงินที่รับว่าจะลงหุ้นใน
- ห้างหุ้นส่วน
- หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความผิดชอบ รับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
- ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
- ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3. บริษัทจำกัด คือ บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปร่วมกันทำกิจการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรจากการดำเนินกิจการนั้นมาแบ่งกัน บริษัทจำกัดจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน ผู้ลงทุนในบริษัทเรียกว่า ผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนถือหุ้น เมื่อจดทะเบียนบริษัทจำกัดแล้ว จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกกับผู้ถือหุ้น ลักษณะของบริษัทจำกัด
ลักษณะของบริษัทจํากัดมีลักษณะที่สําคัญ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
-
- มีผู้ลงทุนอย่างน้อย 3 คน
- แบ่งทุนออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน
- มูลค่าหุ้นไม่ต่ำกว่า 5 บาท ซึ่งชำระเงินค่าหุ้นครั้งแรกไม่น้อยกว่า 25% ของมูลค่าหุ้น
- ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
- ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
4. บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited) คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความ ประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัดไว้ ดังนี้
- จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
- ทุนจดทะเบียน ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้
- มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
- จำนวนกรรมการ ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย
รับจดทะเบียนบริษัทราคาถูก
จดทะเบียนบริษัท กี่คน
- ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
- บริษัทจำกัด บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้น
- บริษัทมหาชนจำกัด จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
เอกสารจดทะเบียนบริษัท
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง
บริษัทจำกัด ( Company Limited ) เอกสารการจดทะเบียนบริษัท ดังนี้
- แบบจองชื่อนิติบุคคล
- สําเนาบัตรประจําตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน
- สําเนาหลักฐานการรับชําระคาหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
- แผนที่แสดงที่ตั้งสํานักงานใหญ่และสถานที่สําคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
- หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ประกอบการจากเจ้าบ้าน,หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์(ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน) หรือสัญญาเช่า (กรณีเช่า) ที่ตั้งสถานประกอบการ
- ถ้าเป็นสัญญาเช่าต้องเช่าในนาม “บริษัทกับเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเจ้าบ้าน”และ ต้องติดอากรให้เรียบร้อย (พันละ 1 บาท/เดือน/ปี) เช่น เช่าเดือนละ 3,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี ติดอากร 36 บาท เป็นต้น
- หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าบ้านของสถานประกอบการ ของผู้ให้ความยินยอมใช้สถานที่ประกอบการ
- หรือเอกสารหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของ (กรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน) เช่น สัญญาซื้อขาย,โฉนดที่ดิน หรือในกรณีให้เช่า ต้องให้เจ้าบ้านหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นผู้ให้เช่ากับบริษัทฯ
- สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมหรือผู้ให้เช่า
- ถ่ายรูปแสดงให้เห็นป้ายชื่อบริษัทและเลขที่สถานที่ตั้งสำนักงานและตัวอาคาร
- รูปถ่ายห้องทำงาน Office อาจจะมีโต๊ะทำงาน โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซัก 2-3 รูป
- กรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน ให้ถ่ายสำเนาทะเบียนสถานประกอบการ (หน้าแรก+หน้าที่ไม่มีผู้อาศัย) 2 ชุด
หมายเหตุ: เอกสารทุกฉบับผู้ขอจดทะเบียนจะต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างน้อยหนึ่งคน ยกเว้นสำเนาบัตรประจําตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน เจ้าของบัตรจะต้องเป็นผู้เซ็นรับรองความถูกต้องด้วยตนเอง
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด . เอกสารจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจํากัด ดังนี้
- ยื่นแบบขอจองชื่อห้างหุ้นส่วนเพื่อตรวจสอบไม่ให้ซ้ำกับห้างหุ้นส่วนบริษัทอื่น
- คำแนะนำในการจองชื่อนิติบุคคล
– การขอจองชื่อนิติบุคคลจะต้องเป็นภาษาไทยและให้ระบุภาษาต่างประเทศเป็นอักษรโรมันด้วยทุกครั้ง
– แบบขอจองชื่อนิติบุคคลที่นายทะเบียนอนุญาตให้จองชื่อได้แล้ว ต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งอนุญาต
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของห้างหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ที่กิจการจะทำ สถานที่ตั้งห้าง ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ สิ่งที่นำมาลงทุน ลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อจำกัดอำนาจหุ้น ส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) พร้อมกับ ประทับตราสำคัญของห้างในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนจัดตั้ง และให้หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียน (ปกติการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล /ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท ในกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการไม่ประสงค์จะไปลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนก็สามาร จะลงลายมือชื่อต่อหน้าสามัญหรือวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อเป็นการรับรองลายมือชื่อ ของตนได้ในอีกทางหนึ่ง) หรือหุ้นส่วนผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นจดทะเบียนแทนก็ได้ แบบพิมพ์ที่ใช้ในการจดทะเบียน
เพิ่มเติม เอกสารที่ใช้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- คำขอ : แบบ หส.1 , หน้าหนังสือรับรอง
- รายการ : หส.2
- เอกสารประกอบรายการ : แบบ ว.
- เอกสารประกอบ แบบจองชื่อนิติบุคคล,สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน,สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ,หนังสือมอบอำนาจ
- แบบ สสช.1 จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)
บริษัทมหาชนจำกัด ( Public Company Limited ) . เอกสารจดทะเบียนบริษัทมาหาชนจำกัด ดังนี้
คำขอจดทะเบียนให้ใช้แบบพิมพ์ตามที่นายทะเบียนจัดพิมพ์ขึ้นตามที่รัฐมนตรีกำหนด และต้องมีข้อความถูกต้อง ครบถ้วน ตามที่กำหนดไว้ในแบบพิมพ์ ซึ่งข้อความดังกล่าวต้องดีดพิมพ์หรือตีพิมพ์เป็นภาษาไทย และหากมีสำเนาเอกสารประกอบการจดทะเบียนผู้ขอจดทะเบียนต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารทุกหน้า ซึ่งการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด ใช้เอกสารดังนี้
- คำขอจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 (แบบ บมจ. 101)
- รายการข้อมูลของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ บมจ. 005)
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ บมจ.006)
- ข้อบังคับของบริษัท
- สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท
- หนังสือของสถาบันการเงินแสดงว่าได้รับชำระค่าหุ้นโดยระบุจำนวนเงินที่ได้รับไว้ทั้งสิ้น
- ประเภท และเลขที่บัญชีเงินฝาก
- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
แบบคํารับรองการจดทะเบียน
แบบคํารับรองการจดทะเบียนบริษัทจํากัด
แบบคํารับรองการจดทะเบียนบริษัทจํากัด รายละเอียดดังนี้
- ชื่อบริษัท
- ทะเบียนเลขที่
- ประกอบคำขอเลขที่ ลงวันที่
- คำรับรองการขอจะทะเบียน ว่าได้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและประพาณิชย์ และรายละเอียด ดังนี้
- ได้จัดให้มีการประชุมจัดตั้งตามคำขอนี้ ครั้งที่เท่าไร เมื่อวันที่ ณ สถานที่ มีกรรมการ/ผู้ถือหุ้น เข้าประชุมจำนวนกี่คน และใครเป็นประธานการประชุม
- ได้มีการบอกกล่าวนัดประชุม ครั้งที่เท่าไร เมื่อวันที่ และลงหนังสือพิมพ์โฆษณาและส่งมอบให้แก้ผู้ถือหุ้นหรือไม่
- ได้มีการแปลงสภาพกิจการจาก ห้างหุ้นส่วน หรือไม่ หากเปลี่ยนแปลงได้รับความยินยอมจาก เจ้าหนี้หรือไม่
- มีการรับมอบ สินทรัพย์ บัญชี หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากหุ้นส่วนหรือไม่ และได้รับวันที่ใด
- มีการรับรองว่าเอกสารหลักฐานนี้ เก็บไว้ ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัทนี้ และพร้อมส่งมอบให้นายทะเบียนหรือไม่
- รายมือชื่อกรรมการ และ ตรายางที่ใช้ประทับตรา
แบบคํารับรองการจดทะเบียนบริษัทจํากัด
คําขอจดทะเบียนบริษัทจํากัด
ตัวอย่างคําขอจดทะเบียนบริษัทจํากัด
แบบคํารับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน รายละเอียดดังนี้
- ชื่อห้างหุ้นส่วน
- ทะเบียนเลขที่
- ประกอบคำขอเลขที่ ลงวันที่
- คำรับรองการขอจะทะเบียน ว่าได้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและประพาณิชย์ และรายละเอียด ดังนี้
- ได้จัดทำสัญญา / ข้อตกลง ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่เท่าไร ณ สถานที่ใด
- ได้จัดให้มีการประชุมและลงมติวันที่เท่าไร และมีผลบังคับใช้เมื่อได้ ณ สถานที่ใด
- ได้มีคำพิพากษา / คำสั่งศาล ตามคดีหมายเลขใด และลงวันที่เท่าไร
- ได้มีการลงพิมพ์โฆษณา เรื่องการควบห้างในหนังสือพิมพ์หรือไม่ และฉบับที่เท่าใด
- ได้มีการทำหนังสือบิกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ เรื่องการควบห้าง หรือไม่ และลงวันที่เท่าใด
- มีการรับรองว่าเอกสารหลักฐานนี้ เก็บไว้ ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัทนี้ และพร้อมส่งมอบให้นายทะเบียนหรือไม่
- รายมือชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการและ ตรายางที่ใช้ประทับตรา
การจดทะเบียนนิติบุคคลต้องทำอย่างไร
หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
วิธีการจดทะเบียนบริษัท และ ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทจํากัด
- ตั้งชื่อบริษัทที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียน
- จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน
- จัดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัทและนัดประชุมผู้ถือหุ้น
- การจัดประชุมเพื่อจัดตั้งจดทะเบียนบริษัท
- เลือกคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ
- ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัท
- รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
วิธีจดทะเบียนบริษัท แต่ละที่อาจมีขั้นตอนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่า คุณใช้บริการในการ จดทะเบียนนิติบุคคล กับใคร บางที่อาจมีขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทจำกัด หลักเกณฑ์การทำงานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับข้อตกลงก่อนการใช้บริการ
ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัท
แบบจดทะเบียนบริษัท
จดทะเบียนบริษัทค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท
- ค่าบริการเมื่อจ้างบุคคลอื่นใน การจดทะเบียนบริษัท
- ค่าใช้จ่ายเมื่อเปิดบริษัท
1.ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท ตามกฎกระทรวง อัตราค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
- การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน 1,000 บาท –
- การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิบริษัทจํากัด 500 บาท
- การจดทะเบียนบริษัทจํากัด 5,000 บาท
- การจดทะเบียนควบ
- ห้างหุ้นส่วน 1,000 บาท
- บริษัทจํากัด 5,๐๐๐ บาท
- การจดทะเบียนการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจํากัดเป็นบริษัทจํากัด 5,000 บา
- การจดทะเบียนดังต่อไปนี้ รายการใดรายการหนึ่ง หรือหลายรายการ ได้แก่
- การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือเปลี่ยนแปลงการลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน
- การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ก่อนหรือหลังจดทะเบียนบริษัทจํากัด
- การจดทะเบียน แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทจํากัด
- การจดทะเบียน แก้ไขเพิ่มเติมกรรมการ
- การจดทะเบียนเพิ่มทุน หรือลดทุนบริษัทจํากัด
- การจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจํากัด หรือการจดทะเบียนเรื่องอื่น ๆ ครั้งละ 5๐๐ บาท
- ใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจํากัด ฉบับละ 100 บาท
- การตรวจเอกสาร
- คําขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจํากัด 50 บาท
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ของบริษัทจํากัด 50 บาท
- การขอสําเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสารพร้อมทั้งคํารับรอง รวมทั้งสําเนาเอกสารพร้อมทั้งคํารับรองที่ออกตาม หมายเรียกของศาล หน้าละ 50 บาท
- การขอหนังสือรับรองข้อความในทะเบียน รวมทั้งหนังสือรับรองที่ออกตามหมายเรียกของศาล 40 บาท
- การถ่ายข้อมูลที่ได้จัดทำจากระบบคอมพิวเตอร์ ค่าบริการ 800 บาท
- ค่าบันทึกข้อมูลซึ่งมีความยาวของระเบียน ไม่เกินสองร้อยอักขระ ระเบียนละ 0.๓๐ บาท
2.ค่าบริการเมื่อจ้างบุคคลอื่นใน การจดทะเบียนบริษัท
การจ้างให้บุคคลอื่นจดทะเบียนบริษัทราคาให้จำเป็นต้องลงรายมือชื่อได้ไม่ใช้ว่าจะให้ใครจดก็ได้ตัวอย่างที่สามารถจ้างให้จดจดทะเบียนบริษัทได้ส่วนใหญ่ เช่น สำนักงานบัญชี สำนักงานทนายความ หรือจะเป็นบุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลง และสิ่งที่ได้รับ กับผู้ว่าจ้าง เรทราคาก็ตั้งแต่ราคา 1000 -15,000 บาท บางครั้งอาจมีการเรียกเก็บค่าบริการ อื่น ๆเพิ่มเติม เช่น ขอคัดหนังสือรับรอง ขอบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หรือการขอ สำเนาต่าง ๆ ที่นี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ที่เราว่าจ้างจะมีการคิดราคาแบบไหน เราก็ควรสอบถามให้แน่ชัดก่อน เผื่อทำความเข้าใจกันก่อนใช้บริการ หากมีการเรียกเก็บหลังตกลงใช้บริการกันแล้ว จะได้เข้าใจตรงกัน
3.ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัท
- ทุนที่ใช้จดทะเบียนที่ใช้จด
- ค่าเช่าสำนักงานเพื่อดำเนินกิจการ
- ค่าทำบัญชี และภาษี ไม่ว่าจะเป็นการคิดรายเดือน หรือ แบบเหมา ส่วนใหญ่จะคิดตามปริมาณเอกสาร หรือรายได้ของกิจการ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละสำนักงานบัญชี หรือผู้ทำบัญชีนั้น ๆ โดยปกติกแล้ว
- ค่าสอบบัญชี อาจแบ่งเก็บ เป็นงวด หรือ ทั้งปี ก็ได้ ราคาก็ขึ้นอยู่กับว่า รายได้ หรือ ความเสี่ยงในการเซ็นรับรอง ของผู้สอบแต่ละคนจะเรียกเก็บ หากเป็นุรกิจขนาดเล็ก อาจเริ่มต้นอยู่ที่หลัก 1,000 บาท จนไปถึง หลัก 10,000 บาท ขนาดกลางส่วนมากจะเริ่มต้นที่ หลัก 10,000 ขึ้นไป จนไปถึง หลัก 100,000 บาท
- ค่าจ้างเงินเดือนพนักงานแต่ละเดือน และถ้าขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้พนักงานจะต้องจ่ายค่าประกันสังคมให้พนักงานด้วย ตัวอย่างค่าจ้างพนักงานมารับโทรศัพท์ ทำงานเอกสาร เงินเดือนประมาณเดือนละ 12,000 -15,000 บาทต่อเดือน
- ค่าวัสดุสิ้นเปลืองที่ต้องใช้ในสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา หมึกพิมพ์ และอื่นๆ
ทั้งนี้เป็นการยกตัวอย่างค่าใช้ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัทที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น ยังมีค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัทอื่นๆ ที่เป็นลักษณะเฉพาะของกิจการที่ท่านต้องการประกอบอาชีพ เช่น หากเป็นการจดทบริษัททัวร์ ก็จะมีค่าใช่จ่ายในการขอเป็นบริษัทนำเที่ยว หรือ จะเป็นกิจการ นำเข้า-ส่งออก ที่ต้องจ่ายให้กับ กรมศุลกากร เป็นต้น
หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล คือ เอกสารที่รับรองความมีตัวตนของนิติบุคคล เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ หรือทำธุรกรรมต่าง ๆ กับบุคคลภายนอก
หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ขอที่ไหน
ปัจจุบันการของหนังสือรับหรือ หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สามารถรับได้ตามช่องทางนี้คือ
- ขอตัวตนเอง (walk in)
- ขอผ่านทาง e-Service สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ dbd.go.th ในหัวข้อ “บริการออนไลน์ / หนังสือรับรองคัดสำเนา ”และสามารถรับได้ 3 ช่องทาง
- ขอผ่านทาง e-Certificate
1.ขอตัวตนเอง (walk in) ไม่ต้องใช้เอกสารหลักฐานใดๆ เพียงแค่กรอกแบบคำขอรับบริการข้อมูลุรกิต (บธ.1) ที่กรมพัฒฯ จัดเตรียมไว้ ณ จุดบริการ เช่น
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 563 ถ.นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง 11000
- สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-6 ค้นหาได้ที่ dbd.go.th เลือก “ติดต่อ/สำนักงานพัฒนาธุนกิจการค้า”
- สำนักงานพาณิชย์จังหวัด
ค่าธรรมเนียม คัดหนังสือรับรองบริษัท รายการละ 40 บาท (สามาถเลือกรายการได้ไม่มีบริการเพิ่มเติม) ชำระเงินที่ฝ่ายการเงิน สถานที่ไปรับ
2.ขอผ่านทาง e-Service สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th ในหัวข้อ “บริการออนไลน์ / หนังสือรับรองคัดสำเนา ”และสามารถรับได้ 3 ช่องทาง คือ
- รับด้วยตนเอง (Walk in)
- ไปรษณีย์ด่วน (EMS)
- พนักงานส่งเอกสาร
ค่าธรรมเนียม คัดหนังสือรับรองบริษัท รายการละ 40 บาท (สามาถเลือกรายการได้ไม่มีบริการเพิ่มเติม) ชำระเงินโดย Internet Banking / ตู้ ATM / เค้าเตอร์ธนาคาร
3.ขอผ่านทาง e-Certificate ปัจจุบันสามารถ ขอผ่าน ได้ 9 ธนาคาร โดยการกรอกแบบฟอร์มที่ธนาคารกำหนดและไม่ต้องใช้เอกสารหลักฐาน คือ
- ธนาคาร กรุงไทย
- ธนาคาร บัวหลวง
- ธนาคาร ธนาชาต
- ธนาคาร กสิกรไทย
- ธนาคาร ไทยพาณิชย์
- ธนาคาร ออมสิน
- ธนาคาร เกียรนาคิน
- ธนาคาร กรุงศรี
- ธนาคาร มิซูโฮ
ค่าธรรมเนียม คัดหนังสือรับรองบริษัท ฉบับละ 200 บาท (จำนวน 5 รายการ) ค่าบริการฉบับละ 150 บาท ถือเป็นค่าบริการของธนาคาร
หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล มีอายุดังนี้
- หนังสือรับรอง *รายการจดทะเบียนนิติบุคคล ประเภท ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และ บริษัทมหาชนจำกัด* ปกติจะเป็นการรับรอง รายการจดทะเบียนปัจจุบัน ณ วัน เดือน ปี ที่นายทะเบียน ออกหนังสือรับรองให้ *จะไม่มีอายุของหนังสือรับรอง* เพราะถ้ารายการที่จดทะเบียนไว้ ตามหนังสือรับรองที่ออกให้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็ใช้ยืนยันได้ตลอดไป
- การกำหนดอายุของหนังสือรับรอง ต้องเป็นฉบับที่ออกให้ไว้ไม่เกิน 1 เดือนบ้าง ไม่เกิน 3 เดือนบ้าง หรือไม่เกิน 6 เดือน บ้างนั้น เป็นการกำหนดอายุของหนังสือรับรอง **จากบุคคล หรือองค์กร หรือหน่วยงานอื่น ๆ เป็นผู้กำหนด มิใช่ นายทะเบียน ผู้ออกหนังสือรับรองเป็นผู้กำหนด **แต่ก็มิได้หมายความว่า **หนังสือรับรอง* ที่กำหนดไว้ตามอายุของหน่วยงานนั้น ๆ *รายการจดทะเบียนที่ปรากฏในหนังสือรับรองฉบับนั้น ๆ จะเป็นรายการจดทะเบียนปัจจุบันเสมอไป* เพราะรายการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ข้อที่
- ดังนั้น *รายการจดทะเบียน* ที่นายทะเบียน ออกหนังสือรับรอง ให้ ณ วัน เดือน ปี ที่ออกให้นั้น **ยังเป็นรายการจดทะเบียนปัจจุบันอยู่หรือไม่ **จึงต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงโดยผู้ใช้หนังสือรับรองฉบับนั้น ๆ **มิใช่อายุของหนังสือรับรอง ที่องค์กรต่าง ๆ ทางสังคมเรา เป็นผู้กำหนดขึ้น.
สถานที่จดทะเบียนบริษัท
ปัจจุบันจดทะเบียนนิติบุคคลที่ไหนก็สะดวกมากขึ้น ท่านสามารถยื่นได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ทุกจังหวัดทั่วทั้งประเทศ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรองเป็นที่เรียบร้อย ก็แสดงว่าบริษัทของเราได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว มีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ โดยสมบูรณ์ทุกประการ ทั้งนี้ยังสามารถขอแบบจดทะเบียนบริษัท หรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้อีกด้วย หรือท่านจะจ้างบุคคลภายนอกที่ รับจดทะเบียนบริษัท ก็ได้
ทรัพย์บัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจดทะเบียน
แบบคํารับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
คําขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
ตัวอย่างคําขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
ตัวอย่าง |
ภาษาอังกฤษ |
แบบคําขอจดทะเบียนบริษัทจํากัด |
Form for requesting the company limited’s registration |
แบบจองชื่อนิติบุคคล |
Form for reserving juristic person’s name |
แบบคําขอหนังสือรับรอง |
Form for requesting the certificate |
หนังสือยินยอมการใช้สถานที่ |
Approval letter of the use of place |
แบบรับรองลายมือชื่อ |
Form for certifying the signature |
รายงานการประชุม |
Meeting report |
สําเนาทะเบียนบ้าน |
Copy of registered address |
การลงประกาศโฆษณาใน หนังสือพิมพ์ |
Advertising on the newspaper |
แบบรายการจดทะเบียนเลิก |
Form for the liquidation |
หนังสือรับรอง |
Certificate |
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน |
Partnership Registration |
ห้างหุ้นส่วนสามัญ |
Ordinary Partnership |
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล |
Juristic Ordinary Partnership |
ห้างหุ้นส่วนจํากัด |
Limited partnership |
หุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิด |
Limited partnership |
หุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด |
Partner without limit |
นิติบุคคล |
Juristic person |
บุคคลธรรมดา |
Ordinary person |
หุ้นส่วนผู้จัดการ |
Managing partner |
ใบจดทะเบียนบริษัท |
Company registration |
คำถามส่วนใหญ่
- จดทะเบียนภาษาอังกฤษ สามารถทำได้หรือไม่
- ตอบ สามารถทำได้ เพียงท่านเตรียมเอกสารทีต้องใช้ เป็นภาษาอังกฤษ
- ค่าใช้จ่ายเมื่อเปิดบริษัทสามารถนำมาลงบันทึกบัญชีได้หรือไม่
- ตอบ ไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่าย เนื่องจาก ระหว่างการดำเนินการจดทะเบียนบริษัทใหม่ท่านยังเป็นบุคคลเพียงธรรมดาอยู่
ตัวอย่างจดทะเบียนบริษัท (ทำรูป)
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
ความฝัน คือเป้าหมายที่เราอยากให้เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นความใฝ่ฝันในอาชีพ ความฝันส่วนตัว หรือการเติบโตในชีวิต จุดสำคัญคือการแยกแยะว่า ความฝัน เป็นมาก
การใช้ฟีเจอร์สตอรี่ ในโซเชียลมีเดียเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะช่วยให้เราแบ่งปันช่วงเวลาสั้น ๆ ให้กับเพื่อนหรือผู้ติดตามได้รู้จักตัวเรามากขึ้น หลายคน
การดูแลรักษารถหลังจากน้ำท่วมมีความสำคัญมาก เนื่องจากน้ำสามารถทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงที่อาจไม่เห็นได้ทันที ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบอย่าง
คำอวยพรวันเกิดแบบเป็นทางการสามารถใช้ได้ในโอกาสต่างๆ 129 พร สำหรับเพื่อน ครอบครัว คนรัก เพื่อนร่วมงาน หรืออื่นๆ ฉันสามารถจัดกลุ่มและสร้างคำอวยพร
ข้อใดเป็นองค์ประกอบของการสื่อสาร ข้อใดเป็นความหมายของการสื่อสาร ข้อควรระวังในการใช้ภาษาเพื่อการ สื่อสาร ผู้รับสารเกิดความรู้สึกในข้อใด ถ้าผู้ส่งสารแต่ง
จรรยาบรรณ มีอะไรบ้าง จรรยาบรรณนักเรียน จรรยาบรรณพยาบาล จรรยาบรรณคือ จรรยาบรรณวิชาชีพครู จรรยาบรรณบริษัท จรรยาบรรณแพทย์ จรรยาบรรณวิศวกร
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 158330: 1297