มาตราฐานแม่บทบัญชี

มาตรฐานแม่บทบัญชีข้อสมมติการบัญชีวัตถุประสงค์ครบจบ 3 ข้อ?

Click to rate this post!
[Total: 142 Average: 5]

มาตรฐานแม่บทบัญชี

มาตรฐานแม่บทการบัญชีเกี่ยวกับหนี้สิน

แม่บททางบัญชี เป็นแนวคิดพื้นฐาน สามารถเป็นมาตรฐานขั้นตอน การจัดทำ เป็นหัวใจสำคัญสำหรับบัญชี ซึ่งเรื่องเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าและเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงินได้กล่าวถึง เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ หรือ เหตุการณ์บางอย่างอันอาจจะมีผลทำให้เกิดกำไรหรือขาดทุนแก่กิจการ ซึ่งผลสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นอยู่กับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในอนาคตว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่

มาตรฐานแม่บทบัญชี

ความหมายของหนี้สิน

ความหมายของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (Contingent Liabilities)

จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า จะเห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นด้วย และทำให้พอสรุปได้ว่า หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (Contingent Liabilities) หมายถึงหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเนื่องมาจากการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือเหตุการณ์อื่นหรือเงื่อนไขซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตหรืออาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ หนี้สินนี้ไม่เกี่ยวข้องกับจำนวนเงินของหนี้ว่าจะคำนวณได้แน่นอนหรือไม่ จำนวนของหนี้อาจจะคำนวณได้ถูกต้อง แต่ก็ยังจัดเป็นหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเช่น การค้ำประกันหนี้ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้ให้คำจำกัดความของคำว่า หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นไว้ว่าหมายถึง “รายการที่อาจจะเป็นพันธะผูกพันกิจการในอนาคต”หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

ลักษณะของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

ณ วันที่ในงบการเงินงวดใดงวดหนึ่งของกิจการ ฝ่ายจัดการอาจพบว่ามีสถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างที่อาจก่อให้เกิดกำไรหรือขาดทุนในอนาคตต่อกิจการ ในกรณีที่ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์นั้นยังคงอยู่จนถึงวันที่กิจการออกงบการเงิน เหตุการณ์ดังกล่าวนี้จะจัดเป็น เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า (Contingencies) แต่ถ้าความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ดังกล่าวได้คลี่คลาย และสามารถประมาณผลของเหตุการณ์นั้นได้อย่างมีเหตุผล เหตุการณ์นั้นจะจัดเป็นเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน (Events After The Balance Sheet Date)

ฝ่ายจัดการมีหน้าที่ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาว่าเหตุการณ์ในภายหน้าจะทำให้เกิดผลประการใดต่อกิจการและควรจะประมาณผลกระทบทางด้านการเงินด้วย โดยฝ่ายจัดการต้องพิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่ ณ วันที่ในงบดุลจนถึงวันที่ผู้บริหารอนุมัติให้ออกงบการเงินได้ โดยต้องอาศัยการติดตามเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ในงบดุล ประกอบกับประสบการณ์เกี่ยวกับรายการต่างๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และในบางกรณีอาจต้องอาศัยรายงานจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกอีกด้วย เนื่องจากว่าหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นก็จัดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นสามารถกล่าวสรุปได้ว่ามีลักษณะทั่วไป 2 ประการคือ

  1. เป็นหนี้สินประเภทที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบันเป็นมูลฐาน กล่าวคือเป็นหนี้สินที่อาจจะเกิดหรือไม่เกิดในอนาคตก็ได้ แต่มีโอกาสของความเป็นไปได้ที่จะเกิด
  2. เป็นหนี้สินประเภทที่อาจจะกำหนดจำนวนหนี้ได้หรือไม่ได้ กล่าวคือ หนี้สินที่อาจจะเกิดบางครั้งก็สามารถกำหนดมูลค่าของจำนวนหนี้ที่แน่นอนได้ แต่บางครั้งก็ไม่สามารถกำหนดมูลค่าที่แน่นอนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์

ลักษณะของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า อาจแบ่งประเภทได้ 2 ลักษณะตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อกิจการ

  1. ผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า (Gain Contingencies) กิจการจะไม่บันทึกบัญชีผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า เนื่องจากอาจทำให้มีการรับรู้รายได้ที่ไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามถ้ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่าผลกำไรจะเกิดขึ้น กำไรดังกล่าวก็จะไม่เข้าลักษณะที่อาจเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้น กิจการก็จะต้องบันทึกบัญชีผลกำไรนั้นด้วย
  2. ผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า (Loss Contingencies) วิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า กิจการควรบันทึกผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าไว้เป็นผลขาดทุนในบัญชีนั้น เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อดังต่อไปนี้
    1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าผลเสียหายจะเกิดขึ้นในอนาคต และจะมีผลทำให้สินทรัพย์ ณ วันที่ในงบดุลมีค่าลดลง หรือหนี้สินมีจำนวนมากขึ้น ทั้งนี้จะต้องคำนึงส่วนที่อาจเรียกชดใช้คืนด้วย
    2. สามารถประมาณจำนวนเงินได้อย่างสมเหตุสมผล ในกรณีที่ผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าไม่เข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ข้างต้นให้กิจการเปิดเผยข้อมูลไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน (แต่ถ้าโอกาสที่เกิดการขาดทุนมีน้อยมากกิจการก็ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลก็ได้

หลักเกณฑ์ในการกำหนดจำนวนเงินของผลเสียที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ในการกำหนดจำนวนเงินของผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าเพื่อนำมาบันทึกบัญชีนั้น กิจการต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่จนถึงวันที่ออกงบการเงิน ซึ่งได้แก่ เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลที่ชี้ให้เห็นว่ามีการสูญเสียสินทรัพย์ หรือมีหนี้สินเพิ่ม อันเป็นผลเนื่องมาจากสภาพการณ์ที่ไม่แน่นอนก่อนวันที่ในงบดุล
  2. ในกรณีที่มีผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าหลายเหตุการณ์และสภาพการณ์ของแต่ละเหตุการณ์ต่างกันให้พิจารณากำหนดผลเสียหายของแต่ละเหตุการณ์แยกจากกัน
  3. ในกรณีที่มีผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าหลายเหตุการณ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกิจการอาจกำหนดผลเสียหายรวมเข้าด้วยกัน โดยไม่ต้องพิจารณาแยกแต่ละรายก็ได้

ความเสี่ยง

ตัวอย่างของผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าเช่น

  1. ความเสี่ยงทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นทางธุรกิจ
  2. ความไม่แน่นอนจากการเก็บเงินจากลูกหนี้
  3. ภาระผูกพันจากการประกันคุณภาพสินค้า
  4. ความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายในสินทรัพย์เนื่องจากอัคคีภัย หรือภัยอื่นๆ
  5. ความเสียงจากการเวนคืนสินทรัพย์
  6. การถูกฟ้องร้องคดี การถูกเรียกร้องค่าเสียหาย หรือถูกประเมินภาษีที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ทราบผล
  7. การค้ำประกันหนี้สินของผู้อื่น
  8. ข้อผูกพันที่อาจต้องซื้อสินทรัพย์ที่ขายไปกลับคืนมา

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 159023: 1670