สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร
ทำความรู้จักกับสถาบัน การเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์
สถาบันการเงิน คือ สถาบันที่ทำหน้าที่ในการระดมเงินที่มีออมอยู่และส่งต่อให้กับผู้ต้องการใช้เงินเพื่อนำไปใช้ในการบริโภคหรือการลงทุนในการดำเนินธุรกิจ โดยผู้ยืมต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ออม สถาบัน การเงินประกอบไปด้วยหลายแขนงที่เรารู้จักกันดีก็คือธนาคารต่างๆ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงสถาบัน การเงินประเภทที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์
สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร จะประกอบด้วยสถาบันต่างๆที่มีบทบาทในตลาดเงินดังนี้
- บริษัทเงินทุน หมายถึงธุรกิจที่จัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปธุรกิจจะประกอบกิจการให้สินเชื่อหลายรูปแบบได้แก่
- การให้สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ เป็นการให้กู้ยืมเพื่อการค้า
- การให้สินเชื่อแก่กิจการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือ พาณิชยกรรม
- การให้สินเชื่อแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อการบริโภค
- การให้สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หมายถึงบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงิน โดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน หลักการของธุรกรรมทางการเงินหลักๆคือ การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์และการปล่อยสินเชื่อโดยวิธีการรับจำนอง และการรับซื้อแบบขายฝาก ความสามารถในการจัดหาเงินทุนของบริษัทคือการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
- บริษัทประกันชีวิต เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจการประกันชีวิตด้วยการรับประกันภัย ตกลงจะชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้รับประโยชน์หรือทายาทเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตลง หรือจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยเองในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุยืนยาวจนถึงเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โดยผู้เอาประกันภัยยินยอมจ่ายเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย ดังนั้นการระดมเงินทุนของบริษัทจึงมาจากการขายกรมธรรม์
- บริษัทหลักทรัพย์ เป็นบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้นั้นจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และต้องมีใบอนุญาตประกอบหลักทรัพย์จากกระทรวงการคลัง บริษัทหลักทรัพย์เป็นสถาบัน การเงินที่มีบทบาทมากในตลาดทุนซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อแนวโน้มประสิทธิภาพในการดำเนินงานในระบบการเงิน เมื่อกิจการต่างๆต้องการระดมทุนจึงจัดทำตราสารทางการเงินออกจำหน่าย และการจำหน่ายต้องอาศัยบริษัทหลักทรัพย์ช่วยกระจายสู่นักลงทุน
- บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม กองทุนรวมเกิดจากการนำเงินของแต่ละคนที่เรียกว่าผู้ลงทุนรายย่อยมากองรวมกันให้เป็นก้อนใหญ่ และเงินกองดังกล่าวจะถูกบริหารโดยการนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ เงินกองทุนที่นำไปลงทุนนั้นหากมีกำไรมูลค่าของเงินกองทุนก็จะเพิ่มขึ้น ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนคือ เงินปันผล หรือ กำไรจากส่วนต่างของราคาที่ขายหน่วยลงทุนได้สูงกว่าราคาที่ซื้อมา และกองทุนจะแยกย่อยออกเป็น 2 อย่างคือ
- กองทุนปิด หมายถึงหน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนให้แก่บริษัทผู้ออกตราสารได้ก่อนครบกำหนด บริษัทจะรับซื้อหน่วยลงทุนคืนเมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น
- กองทุนเปิด หมายถึงหน่วยลงทุนที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอดเวลา
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หมายถึงกองทุนซึ่งลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น ซึ่งจะประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสมและบวกกับเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ การจ่ายเงินผลประโยชน์เป็นการตกลงกันตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของพระราชบัญญัติเงินกองทุน เงินทีมีจะถูกนำไปบริหารเพื่อให้เกิดผลประโยชน์
- กองทุนประกันสังคม คือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการให้ได้รับความคุ้มครองเมื่อประสบอันตราย เจ็บป่วย คลอดบุตร ตาย ทุพพลภาพ สงเคราะห์บุตร และชราภาพ เงินกองทุนที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการร่วมมือกันของบุคคล 3 ฝ่ายนั่นคือ ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายรัฐบาล เป็นการจ่ายเงินสมทบตามอัตราที่กำหนดไว้โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันหมด เงินกองทุนจะถูกนำไปบริหารเพื่อให้มีผลประโยชน์ ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำไปลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำจึงมักจะลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรภาครัฐ ตั๋วแลกเงินที่มีอันดับความเชื่อถือสูง แต่ทุกครั้งของการลงทุนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังก่อน
8.สหกรณ์การเกษตร เป็นองค์กรที่รวมตัวกันโดยสมาชิกและมีวัตถุประสงค์เพื่อการช่วยเหลือสมาชิก สหกรณ์มีหลายประเภท เช่น สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การประมง สหกรณ์การเกษตรถูกจัดตั้งขึ้นเป็นลำดับแรกของกลุ่มสหกรณ์ วัตถุประสงค์ของสหกรณ์คือการให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพและใช้จ่ายในครอบครัวช่วยเหลือสมาชิกในด้านการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรเพื่อจำหน่ายแก่สมาชิกในราคาที่ยุติธรรม ช่วยรวบรวมพืชผลของสมาชิกเพื่อจัดจำหน่ายให้ได้ราคาดี ทั้งยังให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการและรับฝากเงินจากสมาชิกอีกด้วย
9.สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกกลุ่มที่มีอาชีพเดียวกันสมาชิกจะเป็นผู้มีรายได้ประจำเป็นรายเดือน สหกรณ์จะทำหน้าที่รับฝากเงินและจัดหาเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืมไปใช้จ่าย สหกรณ์ออมทรพัย์เป็นองค์กรที่นิยมจัดตั้งในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะสมาชิกสามารถใช้บริการได้ทั้งในรูปของการออมทรัพย์และการขอสินเชื่อเพื่อนำไปใช้จ่ายทั้งเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย การทำอาชีพเสริม ตลอดจนเพื่อการเสริมสภาพคล่องในการดำรงชีพ
10.โรงรับจำนำ เป็นสถาบัน การเงินที่ประกอบการรับจำนำสิ่งของและเครื่องใช้ต่างๆทั้งของใหม่และของใช้แล้วเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ เป็นสถาบัน การเงินที่มีความสำคัญสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย รายได้ของโรงรับจำนำจึงมาจากดอกเบี้ยที่ให้กู้ยืมเงินที่ต้องมีสินทรัพย์เป็นหลักประกันส่วนหนึ่ง และเกิดจากกำไรในสินทรัพย์ที่หลุดจำนำซึ่งถูกนำออกขายอีกส่วนหนึ่ง
ธนาคาร คือ หน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน หรือเป็นตัวกลางที่รับเงินออมจากผู้มีเงินออมต่างๆ มาให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืม เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคหรือเพื่อการลงทุน
ธนาคารพาณิชย์ คือ การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันได้กำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น การให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้จะประกอบธุรกิจประเภทอื่นๆ อันเป็นประเพณีของธนาคารพาณิชย์ด้วยก็ได้ สำหรับธนาคารพาณิชย์ คือธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ และหมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ด้วย
ธนาคารในประเทศไทยมีหลายประเภท และธนาคารแต่ละประเภทมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
ประเภทและบทบาทหน้าที่ของธนาคาร
- ธนาคารกลาง หมายถึง สถาบันทางการเงินของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินและเครดิตของประเทศ ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและเสถียรภาพต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายของรัฐบาล ไม่ได้แสวงหาผลกำไรเป็นผลตอบแทนเหมือนกับธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย
- ธนาคารพาณิชย์ เป็นสถาบันทางการเงิน ที่ทำหน้าที่ระดมเงินฝากจากประชาชน เพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานธุรกิจกู้ยืม นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังให้บริการด้านอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจการค้าและประชาชน ธนาคารที่จัดเป็นธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น บทบาทหน้าที่สำคัญของธนาคารพาณิชย์ มีดังนี้
หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์
-
- รับฝากเงิน ธนาคารพาณิชย์รับฝากเงินจากบุคคลและห้างร้านทั่วไป
- ให้กู้ยืมเงิน ธนาคารพาณิชย์จะแสวงหาผลประโยชน์จากเงินฝากของลูกค้า โดยการนำเงินฝากไปให้บุคคลและห้างร้านทั่วไปกู้ยืม โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากผู้ที่กู้ยืมเงินไปลงทุน
- การให้บริการอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
(1) โอนเงิน ธนาคารพาณิชย์ให้บริการโอนเงินภายในประเทศ และระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย และคิดค่าธรรมเนียมการโอนในอัตราต่ำ
(2) ให้เช่าตู้นิรภัย เพื่อเก็บรักษาทรัพย์สินมีค่าของลูกค้าที่มาเช่าไว้ เช่น เอกสารสำคัญ เครื่องประดับที่มีราคาแพง เป็นต้น
(3) เรียกเก็บเงินแทน เช่น รับชำระค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ บริการซื้อขายหุ้น เป็นต้น
- ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ เป็นธนาคารที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เช่น
- ธนาคารออมสิน จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมเงินออมจากประชาชนทั่วไป และเป็นแหล่งเงินกู้ภายในประเทศของรัฐบาล
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีบ้านและที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของประเทศ
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้าสินค้า และการลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ
- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ให้สินเชื่อค้ำประกันตลอดจนให้คำปรึกษากับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการทางด้านการเงินสำหรับชาวไทยมุสลิม ซึ่งจะมีการดำเนินงานตามหลักของศาสนาอิสลาม
สนใจบริการ >>> จดทะเบียนบริษัท สำนักงานบัญชีปังปอน
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
e-sport มีเกมอะไรบ้าง e-sport คืออะไร แบ่งเป็น 3 ประเภท e-sport thailand e-sport game e-sport เขียนยังไง การแข่งขัน e-sport e-sport ย่อมาจาก e sport
อริยสัจ 4 ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน อริยสัจ 4 สอนให้แก้ปัญหาอย่างไร อริยสัจ 4 ประโยชน์ต่อ ตนเอง ตัวอย่างการแก้ปัญหาด้วยอริยสัจ 4 หลักธรรมในการพัฒนา
ตัวหมากรุก มีอะไรบ้าง หมากรุกสากล วิธีเล่น ความหมายของหมากรุกแต่ละตัว ตัวหมากรุกไทย มีอะไรบ้าง หมากรุกสากล เทคนิค หมากรุก ควีน หมากรุก คิง การเดิน
การหักเหของแสง ในชีวิตประจําวัน การหักเหของแสง สรุป การหักเหของแสงผ่านเลนส์ การหักเหของแสงมีอะไรบ้าง การหักเหของแสงผ่านตัวกลาง กฎการหักเห
ทฤษฎีการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ผู้เรียนในยุคดิจิทัล มีลักษณะ อย่างไร เทคนิคการสอน รูป แบบใหม่ ในยุคดิจิทัล แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลมีอะ
สังฆคุณ 9 เกี่ยวข้องกับพระรัตนตรัยอย่างไรและอริยสัจ 4 มีหลักธรรมใดที่เกี่ยวข้องบ้าง อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่เป็นแก่นของพระพุทธศาสนาอย่างไร อริยสัจ 4 มีองค์
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 159557: 1230