สถาบันการเงิน

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธปท สถานะเป็นตัวกลางทางการเงิน 2 กำหนด

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ทำความรู้จักกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น เป็นสถาบันการเงินที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งการดำเนินธุรกรรมนั้นต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการจัดตั้ง ซึ่งจะประกอบด้วย

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสิน จัดตั้งภายในรูปแบบของรัฐวิสาหกิจภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง ทำการระดมเงินทุนให้รัฐบาลกู้ยืมเพื่อใช้ในการจ่ายในโครงการและการชดเชยงบประมาณขาดดุล การให้กู้โดยทางอ้อมคือการซื้อตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐบาล และในปัจจุบันนี้ธนาคารออมสินนั้นได้มีรูปแบบการจัดการใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆเช่นการรับฝากในรูปแบบปกติ การรับฝากในรูปของสลากและพันธบัตรออมสิน การปล่อยสินเชื่อ การให้บริการบัตรเครดิต

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเราจะได้ยินชื่อย่อว่า ธกส. เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง ดำเนินธุรกรรมทั้งการรับฝากและปล่อยสินเชื่อ แต่การให้สินเชื่อมีขอบเขตจำกัดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร และ เกษตรกรเท่านั้น ผู้ที่ใช้สินเชื่อจึงมีเพียงเกษตรกรหรือสถาบันการเกษตร ทั้งนี้เพราะจุดประสงค์หลักในการจัดตั้งธนาคารก็เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มการผลิตและมีรายได้ที่ดี เพื่อให้มีฐานะที่ดีขึ้น

กิจการของธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรนั้น รัฐบาลได้กำหนดแผนพัฒนา ให้ทำหน้าที่ของธนาคารชุมชนกลางเพื่อทำหน้าที่บริหารสภาพคล่อง ถูกกำหนดโดยชัดเจนเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนและชุมชนในชนบทตลอดจนขององค์กรอื่นๆ เช่น สหกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนหมู่บ้าน และวิสาหกิจชุมชน สำหรับแหล่งเงินทุนของ ธกส. ที่จะนำมาปล่อยสินเชื่อนั้นได้มาจากหลายแหล่งทั้งจากในและนอกประเทศ แหล่งเงินทุนในประเทศได้แก่การกู้ยืมจากธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารออมสิน และยังมีแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศเช่นธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีชื่อเรียกย่อว่า ธอส. เป็นสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัยของตนเอง วิธีการคือให้กู้ยืมระยะยาวและคิดดอกเบี้ยต่ำ การดำเนินงานของธนาคารโดยวัตถุประสงค์ที่มุ่งให้ความช่วยเหลือประชาชนมากกว่าการแสวงหากำไร ธุรกรรมของธนาคารโดยทั่วไปมีความคล้ายกับธนาคารพาณิชย์ และการปล่อยสินเชื่อจะอยู่ในรูปของที่อยู่อาศัย การซื้ออาคารหรือที่ดิน การซ่อมอาคาร การไถ่ถอนจำนอง เงินทุนของธนาคารส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนโดยกระทรวงการคลัง อีกส่วนมาจากการกู้ยืมธนาคารออมสิน และกระทรวงการคลัง และอีกบางส่วนกู้ยืมจากต่างประเทศ

ธนาคารเพื่อการส่งออกและการนำเข้าแห่งประเทศไทย

ธนาคารออมสิน

ธนาคารเพื่อการส่งออกและการนำเข้าแห่งประเทศไทย มีชื่อเรียกย่อว่า ธสน. เป็นสถาบันการเงินของรัฐ มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่อคุ้มครองและประกันความเสี่ยงแก่ผู้ลงทุนในต่างประเทศ จากวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งดังกล่าวนั้น ธนาคารเน้นการให้บริการทางการเงินที่สนับสนุนการส่งออกสินค้าและบริการจากประเทศไทย และเน้นการลงทุนในต่างประเทศที่ส่งผลต่อการขยายฐานการค้าของประเทศไทย การให้สินเชื่อนั้น มีการให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกทั้งเป็นสกุลเงินบาท สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินเยน การให้สินเชื่อเพื่อขยายกำลังการผลิต การให้สินเชื่อเพื่อสนับสนุนการขายเครื่องจักร การประกันการส่งออก

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มีชื่อเรียกย่อว่า ธพว. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งจึงเป็นการประกอบธุรกิจอันเป็นการพัฒนาและส่งเสริมช่วยเหลือและการค้ำประกันสินเชื่อ การร่วมลงทุน ตลอดจนการให้คำแนะนำปรึกษาหรือการให้บริการที่จำเป็นอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารเฉพาะกิจภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง ดำเนินงานตามหลักของศาสนาอิสลามโดยไม่ผูกพันกับดอกเบี้ย และไม่เกี่ยวข้องกับกิจการที่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม และให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่จำกัดศาสนาใด และธนาคารจัดตั้งขึ้นโดยการลงนามร่วมกันระหว่าง รัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย จัดตั้งโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ สำหรับประชากรในพื้นที่ที่เป็นชาวมุสลิมสำหรับ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภารกิจของธนาคารอิสลามมีดังต่อไปนี้

  • ให้บริการทางการเงินตามหลักศาสนาอิสลามอย่างครบวงจรแก่ผู้ลงทุน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป
  • ส่งเสริมให้มีการระดมเงินออมซึ่งจะเป็นแหล่งเงินทุนทางธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำซึ่งจำเป็นและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการลงทุนในภาคเศรษฐกิจ
  • เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
  • เป็นธนาคารเพื่อสังคมและชุมชน

บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน

บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน มีชื่อย่อเรียก บบส. วัตถุประสงค์หลักคือรับซื้อและรับโอนสินทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพเช่น

  • สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการซึ่งมีอยู่ 56 สถาบัน
  • สถาบันการเงินที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้เข้าถือหุ้น และมีอำนาจบริหารจัดการ

บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย

บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีชื่อเรียกย่อว่า SMC เป็นสถาบันการเงินที่มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง ธุรกรรมหลักคือ

  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยการรับซื้อเงินกู้ที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุน
  • การทำธุรกรรมแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ในการจัดการซื้อเงินกู้ที่อยู่อาศัยอาจชำระราคาด้วยเงินสด หรือพันธบัตรแบบทยอยชำระเงินคืนเงินต้น

บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย

บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย มีชื่อเรียกย่อว่า บสท.เป็นองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์กรเร่งด่วนที่รัฐจัดตั้งขึ้นมาในสมัยของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร ตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาสินทรัพย์เพื่อให้ลูกหนี้อยู่ในสถานะที่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ชื่อเรียกย่อว่า บสย. ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการค้ำประกันสินเชื่อแก่องค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่มีหลักทรัพย์ไม่เพียงพอในการขอกู้จากสถาบันการเงินเพื่อกู้ บสย.จะเข้าไปค้ำประกันเต็มวงเงินสินเชื่อที่ขาดหลักประกัน รายได้ของ บสย.นั้นเกิดจากค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ที่ บสย.เข้าไปค้ำประกันให้

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 159687: 500