ประกันสังคมเยียวยามาตรา 33

33 ม ประกันสังคมเยียวยาเช็คสิทธินายจ้าง?

ประกันสังคมเยียวยา

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยถึงกรณีที่สื่อมวลชนแขนงหนึ่ง นำเสนอข่าวว่า แห่ถล่มเละ “สำนักงานประกันสังคม”เยียวยาไม่ทั่วถึง ให้แค่ ม.33 ขณะที่ ม.39 กับคนต่างจังหวัด ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยจากการตรวจสอบในเพจเฟซบุ๊ค “สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน” พบว่า มีผู้เข้ามาสอบถามและทวงถามถึงมาตรการที่ไม่ครอบคลุมกลุ่มผู้ประกันตนอย่างทั่วถึง รวมทั้งพื้นที่ ที่ไม่ใช่พื้นที่ควบคุมสีแดง ซึ่งได้รับผลกระทบเช่นกัน

ประกันสังคมเยียวยา

ประกันสังคมเยียวยา นายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33

นางเธียรรัตน์ ได้กล่าวชี้แจงเพื่อให้ความชัดเจนในเรื่องนี้ว่า กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้จ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19 ให้แก่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง กรณีได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 6 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เนื่องจากว่าคนในระบบประกันสังคมได้ส่งเงินสมทบซึ่งเป็นไปตามระเบียบการส่งเงินสมทบที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ส่วนกรณีที่รัฐบาลจ่ายเยียวยาเพิ่มเติมให้ลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมรายละ 2,000 บาทนั้น เพราะว่าลูกจ้างต้องหยุดงานตามคำสั่ง ศบค. และลูกจ้างเหล่านี้มีฐานข้อมูลในระบบประกันสังคมอยู่แล้ว

ดังนั้น การที่ผู้ประกอบการและลูกจ้างต้องการได้รับการเยียวยาในส่วนนี้ ลูกจ้างเองจะต้องแจ้งให้นายจ้างนำเข้าสู่ระบบประกันสังคม เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการช่วยเหลือและได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง รวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ ที่พึงจะได้รับจากภาครัฐต่อไป

เงื่อนไขการรับสิทธิ เงินเยียวยา

1.ต้องเป็นกิจการที่ได้รับหกระทบในพื้นที่ กิควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่

  • กรุงเทพมหานคร , นครปฐม , นนทบุรี , ปทุมธานี , สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

2.ต้องเป็นผู้ประกันตนใน 4 กิจการที่ได้ผลกระทบ

  1. ก่อสร้าง
  2. ที่พักแรมและบริการค้านอาหาร
  3. ศิลปะความบันเทิงและนันทนาการ
  4. กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ

210502320 4140202382725221 439262373961415825 n 1

นายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33

กลุ่มผู้ประกันตน

ผู้ประกันตนมาตรา 33 สัญชาติไทย ได้รับเงินเยียวยาคนละ 2,000 บาท

กลุ่มนายจ้าง

  1. นายจ้าง ได้ 3,000 บาท X จำนวนลูกจ้างตามความเป็นจริงสูงสุดไม่เกิน 200 คน
  2. นายจ้างรายใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมวันที่ 29 มิ.ย.-30 ก.ค.64 นายจ้างได้ 3,000 บาท/หัวไม่เกิน 200 คน ผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้ 2,000 บาท

ลูกจ้าง 

  • ลูกจ้างที่มีการจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน รับเงินชดเชยเหตุสุดวิสัย 50% ของค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน7,500 บาท
  • รัฐบาลจ่ายเพิ่มเติมให้ลูกจ้างในระบบประกันสังคมที่มีสัญชาติไทยอีก 2,000 บาทต่อคน

โดยวิธีการจ่ายเงินเยียวยาโควิด-19 นั้น กรณีบุคคลธรรมดาและผู้ประกันตน ม. 33 ทาง ประกันสังคม จะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (Prompt Pay) เฉพาะการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน

ส่วนกรณีนายจ้างที่เป็นนิติบุคคล สำนักงานประกันสังคมจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากตามที่นายจ้างแจ้ง หรือตามวิธีการอื่นๆ ที่กระทรวงแรงงานกำหนด โดยเริ่มโอนเงินเยียวยาครั้งแรกภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 และโอนเงินซ้ำทุกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

วิธีการรับเงินเยียวยา

วิธีจ่ายเงินให้นายจ้างกรณีนิติบุคคลหรือบุคคลรรรมถาและผู้ประกันตนมาตรา 33

  1. กลุ่มผู้ประกันตนมาตรา 33 โอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) พร้อมเพย์เฉพาะการผูกบัญชีพร้อมเพย์ กับเลขบัตรประชาชน
  2. กรณีนายจ้างนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมถา สำนักงานประกันสังคมจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากตามที่นายจ้างแจ้ง เพื่อป้องกันการโอนเงินเข้าผิดบัญชี

หมายเหตุ : สงสัย สอบถามเพิ่มเติม โทร สายด่วน 1506

อัพเดท เพิ่มเติมวันที่ 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ต้องมีการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ที่ต้องปิดสถานที่และกิจการต่างๆ เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อพี่น้องประชาชนอย่างหลีกเสี่ยงไม่ได้ ผมได้รับรู้ปัญหาของพี่น้องกลุ่มต่างๆ และไม่เคยหยุดคิดที่จะหาแนวทางช่วยเหลือประชาชนมาโดยตลอด

โดยมาตรการล็อกดาวน์ในครั้งนี้ ผมได้สั่งการให้หน่วยงานด้านเศรษฐกิจเสนอมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบให้ได้มากที่สุด ซึ่งได้มีการประชุมไปแล้วเมื่อวานนี้ (12 ก.ค.) และคณะรัฐมนตรีได้ให้การเห็นชอบมาตรการ์ที่นำเสนอในวันนี้ (13 ก.ค.) 3 มาตราการ คือ

  1. มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สำหรับลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม
  2. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน สำหรับประชาชนทั่วประเทศ
  3. มาตรการความช่วยเหลือบรรเทาค่าใช้จ่ายของประชาชนด้านอื่นๆ

1. มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สำหรับลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ได้แก่

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. นครปฐม
  3. นราธิวาส
  4. นนทบุรี
  5. ปทุมธานี
  6. ปัตตานี
  7. ยะลา
  8. สมุทรปราการ
  9. สมุทรสาคร
  10. สงขลา

กิจการที่ได้รับการเยียวยา มีดังนี้

กลุ่มที่ 1 : 9 หมวดกิจการ (เพิ่มเติมจากเดิม 4 หมวด)

  1. ก่อสร้าง
  2. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
  3. ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
  4. กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ
  5. ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
  6. ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
  7. กิจกรรมกรบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ
  8. วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ
  9. ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร

กลุ่มที่ 2 : กิจการของถุงเงิน (เพิ่มเติมจากเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่ม)

  1. ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
  2. ร้าน OTOP
  3. ร้านค้าทั่วไป
  4. ร้านค้าบริการ
  5. กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)
  • ระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือ: 1 เดือน (อาจมีการขยายต่อตามสถานการณ์)

รายละเอียดของการเยียวยา

แบ่งตามกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ

  1. ลูกจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) และจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท
  2. น่ายจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อราย สูงสุดไม่เกิน 200 คน
  3. สำหรับผู้ประกันตนตาม ม. 39 และ 40 รัฐบาลจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้ 5,000 บาทต่อคน
  4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (freelance) ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
  5. ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2
  6. ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
  7. ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่ “มีลูกจ้าง” ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2
  8. ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่ “ไม่มีลูกจ้าง” ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
    รวมทั้งสิ้นภายใต้กรอบวงเงิน 30,000 ล้านบาท

2. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน

ค่าไฟฟ้า : ให้มีการลุดค่าไฟฟ้สำหรับบ้านอยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เฉพาะอย่าง องค์กรไม่แสวงหากำไร และการสูบน้ำเพื่อการเกษตร (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) เป็นเวลา 2 เดือน คือ ก.ค. และ สค. 2564

หลักเกณฑ์ลดค่าไฟ ดังนี้

  • สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก
  • สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้คิดดังนี้
    1. หากใช้ฟฟ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าไฟเดือน ก.พ. 64 ให้คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้จริง
    2. หากใช้ฟฟ้ามากกว่าค่าไฟเดือน ก.พ. 64 หากไม่เกิน 500 หน่วย ให้คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยของเดือน ก.พ. 64
    3. หากใช้ 501 – 1,000 หน่วย ให้คิดค่าไฟเท่ากับหน่วยของเดือน ก.พ. 64 บวกด้วยหน่วยที่มากกว่าหน่วยของเดือน ก.พ. 64 ในอัตราร้อยละ 50
    4. หากใช้มากกว่า 1,000 หน่วย ให้คิดค่าไฟเท่ากับหน่วยของเดือน ก.พ. 64 บวกด้วยหน่วยที่มากกว่าหน่วยของเดือน ก.พ. 64 ในอัตราร้อยละ 70 ทั้งนี้ให้เป็นส่วนลดก่อนการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • สำหรับกิจการขนาดเล็ก ให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 100 หน่วยแรก
  • สำหรับกิจการขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เฉพาะอย่าง องค์กรไม่แสวงหากำไร และการสูบน้ำเพื่อการเกษตร ให้ยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าต่ำสุด (Minimum Charge) ไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2564

ค่าน้ำประปา : ลดร้อยละ 10 สำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ระยะเวลา 2 เดือน (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) เป็นเวลา 2 เดือน คือ ก.ค. และ สค. 2564 โดยรวมทั้งสิ้นภายใต้กรอบวงเงิน 12,000 ล้านบาท

3. มาตรการความช่วยเหลือด้านอื่นๆ

มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา

ครม. เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หารือกับสถานศึกษาในสังกัดเพื่อกำหนดแนวทางลดค่ใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง’ ในภาคเรียนที่ 1 /2564 และให้จัดทำโครงกรที่รัฐร่วมสมทบส่วนลดบางส่วนให้แก่สถานศึกษา ให้เสนอครม. ภายใน 1 สัปดาห์ รวมถึง
แนวทางการช่วยเหลือปัญหาทางการเงินแก่สถานศึกษาเอกชนด้วย

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้

ครม. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หารือกับธนาคารพาณิชย์ ดำเนินมาตรการผ่อนปรนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย หรือเลื่อนงวดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ให้แก่ทั้งประชาชนและผู้ประกอบการอย่างจริงจัง และกำหนดมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือประชาชนสำหรับผู้ให้บริการ
นอกระบบการกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย และกำหนดมาตรการจริงจังสำรับผู้ทวงถามหนี้ที่ดำเนินการอย่างไม่เป็นธรรมกับประชาชนด้วย และให้ดำเนินการโดยเร็วที่สุด
การเยียวยาในครั้งนี้ แม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณพอสมควร แต่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ และมีความจำเป็น เพื่อช่วยให้พี่น้องประชาชนได้ผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ ผมขอให้พวกเราทุกคนไม่ยอมแพ้ต่อช่วงเวลาที่ยากลำบาก ผมและรัฐบาลจะหาทางช่วยทุกท่านให้ได้มากที่สุด และจะไม่มีวันยอมแพ้ต่อสงครามครั้งนี้ ไม่ลดละ
เลิกล้มความพยายาม ไม่ว่าจะมีอุปสรรคหรือปัญหาใดๆ และจะสู้จนกว่าเราจะเอาชนะได้ครับอัพ