ISO มาตรฐานย่อจากระบบคุณภาพอะไรบ้างทำได้อย่างเจ๋งครบ 7 ISO?
iso คือ ระบบ ISO 9001 คืออะไร มาตรฐาน ISO มีอะไรบ้าง? ISO ย่อมาจาก ระบบการบริหารงานคุณภาพ มีการวัดระดับคุณภาพซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากลทั่วโลก
มาตรฐาน ISO คืออะไร ระบบ iso มีกี่ประเภท
ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันได้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันอย่างสูงเพื่อให้ธุรกิจของตนได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการบริการ อุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ คำว่า ISO ว่ามันคืออะไร และมีบทบาทสำคัญมากน้อยแค่ไหนในเชิงธุรกิจ
ISO ย่อมาจาก (International Organization for Standardization) คือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และอุตสาหกรรม ส่วนมาตรฐานที่องค์กรนี้ออกมา ก็ใช้ชื่อนำหน้าว่า ISO เช่น ISO 9000 และ ISO 14000 ซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบบริหารคุณภาพ และระบบบริหารสิ่งแวดล้อม
ISO ถูกผลักดันโดยประเทศเยอรมนี ในช่วงปี 2521 หลังสงครามโลกจบลง โดยให้ทั่วโลกมีมาตรฐานคุณภาพสินค้าเดียวกันส่วนองค์กรมาตรฐานโลกก็จัดตั้งระบบ ISO/TC176 ขึ้นต่อมาอีก1ปีอังกฤษพัฒนาระบบคุณภาพที่เรียกว่า BS5750 ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ จากนั้นในปี 2530 ISO จึงจัดวางระบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพที่สามารถตรวจสอบได้ผ่านระบบเอกสารหรือที่เรียกว่า อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดใช้ในทุกประเทศทั่วโลก
ISO จะมีสมาชิกจากหลายๆ ประเทศทั่วโลก และสมาชิกก็แบ่งเป็นระดับๆ แตกต่างกันไปอีก ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ และมาตรฐานต่าง ๆ ที่ออกมาก็เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard) นอกจากนี้มาตรฐาน ISO ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กร
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. Member body เป็นตัวแทนทางด้านการมาตรฐานของประเทศ แต่ละประเทศจะมีหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่สมาชิก ISO เพียงหน่วยงานเดียว
2. Correspondent member เป็นหน่วยงานของประเทศซึ่งยังไม่มีการจัดตั้งสถาบันมาตรฐานเป็นการเฉพาะ
3. Subscriber member เป็นหน่วยงานในประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจต่ำสมาชิกประเภทนี้จะจ่ายค่าบำรุงสมาชิกในอัตราที่ได้รับการลดหย่อน
1. สมัชชาทั่วไป (General Assembly)
2. คณะมนตรี (Council)
3. คณะกรรมการบริหารด้านวิชาการ (Technical Management Board)
4. คณะกรรมการวิชาการ (Technical committee)
5. สำนักเลขานุการ (Central Secretariat)รชนิดใดขนาดใหญ่ หรือ เล็ก ผลิตสินค้าอะไร หรือ ให้บริการอะไร
1. องค์กร/บริษัท
– การจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิตตลอดจนการให้บริการมีระบบ และมีประสิทธิภาพ
– ผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการและได้รับการยอมรับ
– ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
– ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
2. พนักงานภายในองค์กร/บริษัท
– มีการทำงานเป็นระบบ
– เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
– พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น
– มีวินัยในการทำงาน
– พัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มมีการประสานงานที่ดี และสามารถ พัฒนาตนเองตลอดจน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน
3. ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค
– มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการ ว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ
– สะดวกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ
– ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพความปลอดภัยและการใช้งาน
ปัจจุบันมาตรฐานสากลที่สำคัญต่อการค้าเป็นมาตรฐานสากลด้านระบบบริหาร ได้แก่ ระบบคุณภาพ และการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือที่รู้จักกัน มีดังนี้
ISO 9000 คือการจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร
ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
ISO 9002 มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย
ISO 9004 เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำ ในการจัดการในระบบคุณภาพ ซึ่งจะมีการกำหนดย่อย ในแต่ละประเภทธุรกิจ
ISO 14000 เป็นระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง
ISO 18000 มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ISO 14000 คือ มาตรฐานเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการ ปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environmental aspects) ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การป้องกันมลพิษและการดำเนินธุรกิจของ องค์กร
ISO 14000 ที่ใช้เป็นแนวทางให้องค์กรหรือหน่วยงานสามารถจัดระบบการจัดการของตนเพื่อให้บรรลุนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ ดังนั้นระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมจึงเป็นระบบที่มีโครงสร้างหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีวิธีการ กระบวนการและทรัพยากรอย่างเพียงพอในการดำเนินการ ภายใต้หลักเกณฑ์ PDCA
1.การวางแผน (Planning)
2.การนำแผนไปปฏิบัติ (Doing)
3.การตรวจสอบ (Checking)
4.และการ ทบทวน (Action)
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือ ISO 14000 จึงเป็นมาตรฐานสากลที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับทั้งในเชิงพาณิชย์และสังคม เนื่องจากการดำเนินการของระบบจะช่วยให้องค์กรสามารถวางนโยบายและวัตถุประสงค์ ข้อกำหนด กฎระเบียบต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงองค์กรสามารถควบคุมและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
อันอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดจนกระบวนการทำงานอื่น ๆ ได้ หลักการของมาตรฐาน ISO 14001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 เป็นระบบที่ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร และช่วยให้องค์กรมั่นใจในการดำเนินงาน ที่สอดคล้องกับกฎหมาย เพื่อลดความเสี่ยง ที่ต้องรับผิดทางแพ่งที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อม ยังช่วยเปิดโอกาสในการดำเนินธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าที่มีความสนใจ ด้านสิ่งแวดล้อม และช่วยเสริมสร้างทัศนะคติของผู้ปฏิบัติงาน และปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงาน ของภายในองค์กรให้ดีขึ้น
ISO 14000 สามารถพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งด้านมลภาวะและการใช้พลังงานไปสู่ระบบที่ยั่งยืนใน 3 แนวทาง คือ
1. ระบบ ISO 14000 จะทำให้มีการจัดการด้านวัตถุดิบ และการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนสาธารณูปโภคอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย ลดปริมาณของเสียและมีการใช้พลังงานสาธารณูปโภคต่าง ๆ ลดน้อยลง
2. ระบบ ISO 14000 จะผลักดันให้มีการปรับปรุงการจัดการของหน่วยงาน/องค์กรอย่างต่อเนื่อง และมีการวิวัฒนาการที่ดีขึ้นทุกปี ทั้งในแง่ของการป้องกันมลพิษและการลดการใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ
3. ระบบ ISO 14000 จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายด้านการอนุรักษ์พลังงาน อนุกรมมาตรฐาน 14000 ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก
1. มาตรฐาน ISO 14001 ENVIRONMENTAL MANAGEMENT SYSTEM (EMS)
เน้นเรื่องมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการหรือองค์กรที่จะต้องกำหนดเรื่องสิ่งแวดล้อมในระดับนโยบาย และแผนงานของบริษัท เพื่อสำหรับปฏิบัติและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามนโยบายและแผนที่กำหนดไว้
2. มาตรฐาน ISO 14061 SUSTAINABLE FOREST MANAGEMENT SYSTEM : SPECIFICATION DOCUMENT (SFM)
เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน : ข้อกำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดคุณลักษณะสำหรับระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนที่หน่วยจดทะเบียนหรือหน่วยรับรอง
ต้องใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณารับรองระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนของผู้ยื่นคำขอ ซึ่งมีบางประเทศได้นำแนวทางไปประกาศกำหนดเป็นมาตรฐานแห่งชาติแล้ว สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะมีการนำระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนมาใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้าในอนาคต โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีการปรับปรุงร่างมาตรฐาน และเมื่อได้มีการประกาศใช้มาตรฐานดังกล่าว สมอ.ก็จะจัดทำโครงการนำร่องให้คำปรึกษาและแนะนำการจัดทำและพัฒนาระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนในปีงบประมาณ 2544
1 ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า โดยเฉพาะคู่ค้าหรือคู่แข่งทางการค้าที่มุ่งประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมควบคู่กับประเด็นคุณภาพอื่น ๆ
2 องค์กรจะเป็นที่ยอมรับและได้รับความเชื่อถือ ความไว้วางใจจากสังคม สถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ มากขึ้น
3 องค์กรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ เนื่องจากจะทำให้องค์กรสามารถวางแผนการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้น้อยลง และลดค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาและการบำบัดของเสียได้
4 เกิดสัมพันธภาพอันดีต่อสังคมภายนอก เนื่องจากการผลิต การบริการขององค์กรไม่มีผลกระทบต่อชุมชนหรือสังคมภายนอกอื่น ๆ
5 องค์กรสามารถสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีได้ เป็นต้น
6 เพิ่มศักยภาพด้านการขยายตลาดต่างประเทศจะใช้ประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าโดยองค์กรต้องได้รับการรับรองระบบ
7 ลดความเสี่ยวอันเกิดจากความเสียหายและอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับสิ่งแวดล้อม
ที่มา:http://www.khonkaen.tmd.go.th/km/doc/1.1%20%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%20ISO.pdf
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com