กลยุทธ์ทางการตลาด

กลยุทธ์ทางการตลาด แผนการมีอะไรทางลัดสำเร็จก่อน 7 กลยุทธ์?

Click to rate this post!
[Total: 177 Average: 5]

กลยุทธ์ทางการตลาด

กลยุทธ์ทางการตลาด คือ วิธีการในการดำเนินการทางด้านการตลาด ทีนี้ในด้านของกลยุทธ์ เรากำหนดกลยุทธ์เวลาทำอะไรอย่างไร กำหนดตามสภาวะแวดล้อม รวมทั้งวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม
ที่เป็นทั้งภายในภายนอก ภายในองค์การ เช่น การเงิน การจัดการ การผลิต และกำลังคน รวมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือมีความพร้อม การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายนอก เป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ ขณะ
เดียวกันสำหรับสภาวะแวดล้อมภายนอกพิจารณาเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมประเทศที่จะเข้าไปสิ่งเหล่านี้จะบอกถึงโอกาสของการดำเนินแผนการตลาด

การกำหนดกลยุทธ์การตลาด คือ วิธีการรวมทั้งในการเข้าตลาดต่างๆ เหล่านั้นตามสภาวะแวดล้อม จะต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมหรือสภาวะแวดล้อมตรง ความสามารถในการวิเคราะห์ของแต่ละคน และความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ที่ตรงนั้นสภาวะแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับสภาวะแวดล้อมมากที่สุด ดังนั้นจะบอกว่ากลยุทธ์การตลาดวิธีนี้ถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสม
เช่น เหมาะสมกับสภาวการณ์ เหมาะสมสภาวะแวดล้อม อยู่กับประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน คิดแปลกแหวกใหม่ไม่เหมือนใคร พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส และดำเนินการวิธีการในการ
ดำเนินการที่จะให้บรรลุได้ตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย อาศัยหลักการดำเนินการกลยุทธ์ การนำ 7s McKinsey มาเป็นกรอบแนวคิดในการนำแผนไปสู่การ ปฏิบัติคือกลยุทธ์หนึ่งที่สามารถเป็นตัวชี้วัด

แผนการดำเนินงานว่ามีข้อดีข้อด้อยหรือจุดอ่อนที่ต้องแก้ไขอย่างไร ประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจเกิดจากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ (7s McKinsey) 7 ประการ ซึ่งได้แก่
  1. กลยุทธ์ (Strategy) คือ การวางแผนกิจกรรมภายในองค์กร โดยให้แผนที่วางขึ้นมานั้นได้สอดคล้องและเหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก และภายในองค์กร
  2. โครงสร้างองค์กร (Structure) หมายถึง ลักษณะโครงสร้างขององค์การที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงขนาดการควบคุม การรวมอำนาจ และการกระจายอำนาจของผู้บริหาร การแบ่งโครงสร้างหน้าที่ ผลิตภัณฑ์ ลูกค้า ภูมิภาคได้อย่างเหมาะสม โครงสร้างขององค์การต้องเหมาะสมในการที่จะสนับสนุนทำให้สามารถดำเนินได้ตามกลยุทธ์
  3. สไตล์ (Style) สไตล์ในการทำงานของผู้บริหารนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง จะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของพนักงานภายในองค์กร มากกว่าคำพูดของผู้บริหาร
  4. ระบบ (System) เป็นการวิเคราะห์ถึงระบบงานขององค์กรในทุก ๆ เรื่อง ทั้งเรื่องระบบการบริหารจัดการ ระบบการปฏิบัติงาน เช่น สารสนเทศ การวางแผน งบประมาณ การควบคุม การจัดซื้อในการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน การฝึกอบรม และการจ่ายผลตอบแทน
  5. บุคลากร (Staff) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลากรอย่างต่อเนื่อง
  6. ทักษะ (Skill) เป็นการพิจารณาทักษะหรือความเชี่ยวชาญขององค์กรโดยรวม ว่ามีความเชี่ยวชาญหรือมีความชำนาญในด้านใด
  7. ค่านิยม (Shared Value) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

เรื่องของสายการบังคับบัญชา ควรเป็นแนวดิ่งให้มากที่สุดมากกว่าแนวราบเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ผ่านขั้นตอนผู้บังคับบัญชาให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ นำเรื่องเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทดแทนแรงงานของคน ทุกคนมีความเห็นที่คล้ายที่เหมือนกันร่วมกันในการที่จะทำงาน นำไปสู่การดำเนินการตามกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมายด้วยกัน เป็นค่านิยมร่วมขององค์การต้องไปในทิศทางเดียวกัน

ตรงนี้ในเรื่องของค่านิยมร่วมทางด้านการตลาดการทำการตลาดองค์รวม ต้องเป็นการบูรณาการไปในทิศทางเดียวกัน เป็นระบบ การทำงานอย่างเป็นระบบหรือการตลาดอย่างเป็นระบบ มีขั้นมีตอนในการปฏิบัติ การทำการตลาดแบบมุ่งองค์รวม คือ

การให้ความสำคัญกับทุกส่วน ทั้งในและนอกองค์กร ซึ่งมีองค์ประกอบหลักอยู่ 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
  1. การตลาดภายในองค์กร Internal Marketing คือ การทำงานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกันในทุกส่วน ตั้งแต่ฝ่ายบริหารระดับสูง และ หน่วยงานต่างๆในองค์กร รวมถึงหน่วยงานด้านการตลาดโดยตรง
  2. การตลาดแบบบูรณาการ Integrated Marketing คือ การมุ่งเน้นไปที่การทำ 4Ps (Product , Price , Place , Promotion) หรือ 4Cs (Customer solution , Cost , Convenience , Communication)
  3. การตลาดสร้างความสัมพันธ์ Relationship Marketing คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าแบบระยะยาว ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดและอาจตรงกับความต้องการของแต่ละคนได้ (CRM=Customer Relationship Management)
  4. การตลาดที่มุ่งรับผิดชอบต่อสังคม Social Responsibility Marketing คือ การทำธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด คือ การมองภาพนอกองค์กร โดยเฉพาะทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Social) และ การทำธุรกิจอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม (Ethics) คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม (Environment) รวมไปถึงการเคารพในกฎหมายของประเทศนั้นๆที่เข้าไปทำธุรกิจ (Legal)

การทำงานตามวัตถุประสงค์ไม่จำเป็นต้องไปบอกให้ทำสิ่งนั้นทำสิ่งนี้ แต่จะทำงานตามกระบวนการ จะต้องเริ่มต้นอย่างไร จะทำงานให้เสร็จการทำงานวัตถุประสงค์ที่กำหนด เป็นเรื่องของทักษะของผู้ปฏิบัติงาน คือความรู้ความสามารถประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงาน หรือกลุ่มทีมงานคนเหล่านี้มีทักษะ มีความรู้ มีความรู้มากน้อยแค่ไหน อาศัยหลักการดำเนินการกลยุทธ์ การนำ 7s McKinsey ผสมผสานกันเป็นอย่างดีต้องไปด้วยกัน จะต้องทำให้กลยุทธ์ทั้งหมดต้องสอดคล้องกันไปในทิศทางไปในแนวเดียวกัน กลยุทธ์การตลาดที่ประสบความสำเร็จ คือ การกำหนดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับสภาวการณ์มากที่สุดการส่งเสริมการตลาดแต่บางคนจะพูดถึง ธุรกิจบริการจะใช้หลักของส่วนประสมทางการตลาดชนิด 4P จะเก่าไปแล้วต้องกล่าวถึง 7P เพราะ การกล่าวแค่ 4P เหมือนกันพูดในเชิงของทางด้านของลูกค้าแต่ถ้า 7P ครบด้าน

  1. Products หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นได้ทั้งสินค้าและบริการ โดยเราอาจจะแบ่งตัวผลิตภัณฑ์ได้เป็น 2 ชนิดได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้กับผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้
  2. Price หรือราคา ในการกำหนดราคาให้เหมาะสม
  3. Promotion โปรโมชั่นเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อจากลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยการที่เราจะสร้างโปรโมชั่นใดๆออกมาควรคำนึงถึงผลที่จะตามมาและค่าใช้จ่าย ที่เสียไป นั้นคุ้มค่าหรือไม่
  4. Place ปัจจัยด้านสถานที่นั้นก็เป็นปัจจัยที่สำคัญไม่ใช่น้อยเพราะหากเราเลือกทำเล หากเราสามารถเลือกทำเลได้เหมาระสมกับธุรกิจเจาะลูกค้าได้ถูกที่ก็จะทำให้ ธุรกิจเราดำเนินไปได้อย่างคล่องตัว
  5. People ปัจจัยด้านบุคคลหรือพนักงานจะต้องมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติบริการให้ กับลูกค้าได้อย่างเต็มความสามารถ อีกทั้งต้องสามารถแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าได้
  6. Physical Evident เป็นลักษณะการสร้างคุณภาพให้กับบริการให้มีภาพลักษณ์ที่ส่งผลทางบวกให้กับ บริการ หรืออาจรวมไปถึงการปรับปรุงด้านกายภาพต่างๆให้ดีขึ้น
  7. Process ปัจจัยด้านกระบวนการต่างๆที่ช่วยในการจัดการ โดยจำเป็นต้องมีระเบียบข้อปฏิบัติที่ชัดเจน รวดเร็วตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าได้อย่างมืออาชีพ

ส่วนกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะนำให้ประสบความสำเร็จได้ 7P ต้องผสมกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ถึงจะทำให้ประสบผลสำเร็จทางด้านการตลาด ข้อแนะนำผู้ประกอบการหน้าใหม่ในการดำเนินกลยุทธ์ การตลาดของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC เมื่อจะเข้าไปสู่ AEC อย่าผลีผลามในการที่จะเข้าไป

ควรจะต้องศึกษาในเรื่องสภาวะแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาวะแวดล้อมภายนอก คือ สภาวะแวดล้อมในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ลงลึกให้ชัดเจนในเรื่องของเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ แล้วอีกประการหนึ่ง คือ เรื่องของเศรษฐกิจสังคมด้วยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน การบริโภคของผู้คน ความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนั้น รวมทั้งเรื่องการเมืองเป็นเรื่องสำคัญมาก

การเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองในประเทศในกลุ่มอาเซียน มีปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง หรือไม่อาจทำการตลาดภายในประเทศก่อน และพยายามที่จะให้ซื้อสินค้าจากเรา ต่อไปคือการทำการตลาดทำการส่งออก ก้าวต่อไปเริ่มตั้งฐานการผลิตในประเทศต่างๆ หรือที่ละประเทศหรือหลายประเทศ

คำค้น : มีอะไรบ้าง 4p หมายถึง คือ 7p ตัวอย่าง 4.0 คือ ถูกนำมาใช้เพื่ออะไร 4.0 วิเคราะห์ 4.0 คือข้อใด ข้อใดไม่ใช่ กลยุทธ์ ทางการตลาด หมายถึงอะไร ใครเป็นผู้กำหนด 4ps หมายถึงข้อใด 8 p ร้านกาแฟ ธุรกิจซื้อมาขายไป 8p คืออะไร มาม่า stp 4p

ที่มา:stou.ac.th

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 172671: 1603