ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี 6 DUTY พรบแจ้งขึ้นทะเบียนได้ครบถ้วน?
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ( Accountant ) หมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๘
ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัติ
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
- บริษัทจำกัด
- บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
- นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
- บุคคลธรรมดา ที่ประกอบุรกิจ ตาม บัญชีท้าย
-
- โรงงาน แปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่ง งาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง เป็นผู้มีหน้าที่ จัดทำบัญชี
- เป็นผู้ผลิตผู้จำหน่าย ผู้มีไว้เพื่อจำหน่ายผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า
ประเภทแถบเสียงเพลง แถบวีดิทัศน์ และแผ่นซีดี
ผู้มีหน้าที่ จัดทำบัญชี
|
ผู้รับผิดชอบ
|
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
2. บริษัทจำกัด
3. บริษัทมหาชนจำกัด
4.นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
5. กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
6. สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไข 3 ข้อ ดังนี้ 1. มีสถานที่ประกอบกิจการเป็นประจำ 2. มีพนักงานประจำ 3. มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้
7. บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้มีไว้เพื่อจำหน่ายผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า ประเภทแถบเสียงเพลง แถบวีดิทัศน์ และแผ่นซีดี
|
– หุ้นส่วนผู้จัดการ
– กรรมการ
– กรรมการ
-บุคคลที่รับผิดชอบการดำเนินการในประเทศไทย
– บุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการ
– ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจ
– เจ้าของหรือผู้จัดการ
|
ผู้มีหน้าที่ จัดทำบัญชี ต้องทำ
ต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตน โดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
- ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกัน ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
- ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ จัดทำบัญชีเป็นกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการนั้นเป็นผู้มีหน้าที่ จัดทำบัญชี
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่ จัดทำบัญชี
- จัดให้มีผู้ทำบัญชี ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้ากำหนด
- ควบคุมดูแล ผู้ทำบัญชี ให้จัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามกฎหมายและตรงต่อความเป็นจริง
- จัดให้มีการทำบัญชีนับตั้งแต่วันเริ่มทำบัญชี โดยต้องจัดทำให้ครบถ้วนถูกต้อง ตามที่กำหนด
ในประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการ ในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
- จัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชี ซึ่งได้แก่ บันทึก หนังสือหรือเอกสารใด ๆ ที่ใช้เป็น หลักฐานในการลงรายการในบัญชี
- ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชี ให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นตรงตามความเป็นจริง และตามมาตรฐานการบัญชี
- ต้องปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน เว้นแต่
-
- รอบปีบัญชีแรกอาจปิดบัญชีไม่ครบ 12 เดือน ก็ได้
- รอบปีบัญชีที่ได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือ สารวัตรบัญชีให้เปลี่ยนรอบปี บัญชี จะไม่ครบ 12 เดือน ก็ได้
- ต้องจัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าประกาศกำหนด
- ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เว้นแต่ งบการเงินของ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนไม่เกินห้าล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ให้ใช้บังคับสำหรับการจัด
ทำงบการเงิน ซึ่งมีรอบปีบัญชีที่สิ้นสุดลง ในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป
- ต้องยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
-
- ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีสำหรับนิติบุคคลหรือธุรกิจประเภท
- (1) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
- (2) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
- (3) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
- ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินของนิติบุคคลต่อไปนี้ได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่
- (1) บริษัทจำกัด
- (2) บริษัทมหาชนจำกัด
- ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้
- กรณีนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรบุคคลธรรมดาซึ่งมีหน้า ที่ต้องจัดทำบัญชีเมื่อเลิกประกอบธุรกิจ ต้องส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี
ภายใน 90 วัน นับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
"ความสำเร็จ" มักเป็นปลายทางที่ใครหลายคนใฝ่ฝันถึง แต่ในเส้นทางนี้เต็มไปด้วยบททดสอบที่ท้าทาย เรื่องราวของนักธุรกิจหนุ่มผู้ก้าวขึ้นสู่ความสำเร็จจึงเป็นแรง
กาแฟดำ กินตอนไหนดี กาแฟดำ ประโยชน์ โทษ โรคที่ห้ามกินกาแฟดำ กินกาแฟดำทุกวัน อันตรายไหม โทษของกาแฟดำ ประโยชน์กาแฟดำตอนเช้า กาแฟดำ ยี่ห้อ
ทะเบียนรถ มีเลข 7 ดี ไหม ในชีวิตประจําวันนักเรียนได้รับข่าวสารใดบ้าง ที่ได้มาจากการประมวลผล เลขกาลกิณี ตามวันเกิด เลขกาลกิณี ทะเบียนรถ การประมวลผล
บันทึกสมุดรายวันทั่วไป ตัวอย่างการบันทึกบัญชี ตัวอย่างการบันทึกสมุดรายวันทั่วไป การบันทึกบัญชี 5 หมวด สมุดรายวันทั่วไป เดบิต เครดิต สมุดรายวันเฉพาะ
ในช่วงฤดูฝน น้ำท่วม กลายเป็นปัญหาสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับชุมชน ทั้งบ้านเรือน ทรัพย์สิน และชีวิตผู้คน หลายครอบครัวต้องพลัดพรากจากถิ่นที่อยู่และ
IPL IPL คืออะไร ? IPL สามารถกำจัดอะไรได้บ้าง ความแตกต่างระหว่าง IPL กับ การเลเซอร์ ก่อนทำ IPL ต้องเตรียมตัวอย่างไร ขั้นตอนการักษาเป็นอย่างไร ความ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 57705: 1706