ตรวจสอบการยื่นภาษี
วิธีการตรวจสอบการยื่นภาษี ทั้งภาษี หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการคงอยากรู้ว่าเงินภาษีที่ส่งให้ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานบัญชี หรือ บุคคลธรรมดาที่รับยื่นภาษี นำส่งเงินที่เราให้ไปแล้วหรือไม่?
ถ้าเงินภาษีที่เรานำส่งไม่ถึงมือ สรรพากร โดยปกติมักไม่ระบุเวลาที่แน่นนอน ในการที่สรรพากรจะแจ้งเตือนผู้ประกอบการให้ทราบว่า “ไม่ได้มีการนำส่งเงิน” บางครั้งอาจนาน บางครั้งอาจใช้เวลาไม่นานขึ้นอยู่กับสรรพากรแต่ละหน่วยงาน เช่น
-
- ภาษี หัก ณ ที่จ่าย หากสรรพามีการตรวจสอบ ยืนยันยอดกับ บริษัทคู่ค้า ทำให้ตรวจพบเจอเร็ว
- แต่ถ้าบางครั้ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ได้มีการตรวจสอบยืนยันยอดกับบริษัทคู่ค้าเรา ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เงินภาษีที่เราโอนให้ผู้รับยื่นภาษีนั้น ได้นำส่งถึงสรรพากรหรือไม่?
ให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่รวบรวมเอกสารนำส่งให้กับ ผู้ทำบัญชี เช่น
-
-
- ใบ หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1,ภ.ง.ด.3,ภ.ง.ด.53)
- ใบกำกับภาษี เป็นต้น
-
เมื่อรวบรวมเอกสารทันเวลา และนำส่งให้ผู้ทำ ผู้ทำมีหน้าที่คำนวณภาษี และนำยื่นแก่กรมสรรพากร โดยการนำส่งนั้น ได้ทั้ง ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต และ ยื่นมือที่เขต
โดยปกติแล้ว สำนักงานบัญชี หรือ ผู้รับทำบัญชี จะให้บริการทำบัญชีควบคู่ไปกับการยื่นเสียภาษีให้กับผู้ประกอบการ โดยจะยื่นภาษีเป็นประจำทุกๆ เดือน
วิธีการตรวจสอบ การยื่นภาษี
-
- ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต
ในการยื่นเน็ตนั้น เป็นสิ่งที่ง่ายเลย ในการตรวจสอบ หากผู้ประกอบการต้องการทราบ ก็ขอเลขจากผู้สมัคร ไว้เช็คในการตรวจสอบ ได้เลย
-
- ยื่นมือที่เขต
หากยื่นด้วยมือ ใบเสร็จที่ได้จะเป็นแบบสีเหลืองหาก ที่นี้!! ก็แล้วแต่ระบบการจัดการของแต่ละที่ว่า จะทำให้ผู้ประกอบการทราบได้อย่างไร เช่น ส่งสำเนาเป็นประจำทุกเดือน ถ่ายรูปส่ง ผ่าน ระบบ Line หรือ บางที่คัดแบบ สแกนและอัพขึ้นระบบ ให้สามารถตรวจสอบได้ทางอินเตอร์เน็ตให้เหมือนกับการยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต
***หมายเหตุ ควรรวมรวมเอกสารก่อนวันสุดท้ายของการยื่นภาษีในแต่ละประเภท
ทั้งนี้ ในการตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐ ปัจจุบันนิยมให้ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น เพื่อความสะดวกของผู้ประกอบการ และสามารถตรวจสอบ ได้อย่างรวดเร็ว นั้นเอง
ที่มา : ตรวจสอบการยื่นภาษี , ตรวจสอบผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดา ,