อากรแสตมป์

อากรแสตมป์ซื้อที่ไหนสัญญาจ้างกี่บาทออนไลน์ติด CONTRACT เงินกู้?

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]

อากรแสตมป์

อากรแสตมป์ คือ ( revenue stamp ) ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง ซึ่งมีการจัดเก็บจากการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลักษณะของอากรแสตมป์จะมีการจัดพิมพ์คล้ายกับตราไปรษณียากร (แสตมป์ไปรษณีย์) มีลวดลาย รอยปรุของฟันแสตมป์ และราคาแสตมป์ แต่ต่างกันที่จะไม่มีตราประทับ จะใช้การขีดฆ่าแสดงการใช้แสตมป์ดังกล่าว ซึ่งผู้ที่จะขีดฆ่าได้ต้องเป็นไปตามกำหนดของประมวลรัษฎากร

อากรแสตมป์ซื้อที่ไหน

อากรแสตมป์ซื้อที่ไหน

สำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับข้องกับราชการ ประโยคที่ว่า ” แสตมป์อากร ซื้อได้ที่ไหน ทำไมต้องซื้ออากรแสตมป์ ซื้ออากรแสตมป์ได้ที่ไหน?  “เป็นคำถามที่คุ้นหูสำหรับเจ้าหน้าที่ หรือ พนักงานที่ให้บริการเกี่ยวกับ หน่วยงานราชการ เมื่อประชาชนทั่วไป ติดต่อธุระกับหน่วยงานราชการ เวลาที่ต้องมีการมอบอำนาจหรือทำธุรกรมมต่างๆ กับหน่วยงานราชการ จำเป็นต้องมีการติดอากรแสตมป์ ในหนังสือสัญญาต่าง ๆ เช่น

  • ทำหนังหนังสือมอบอํานาจทั่วไป
  • หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

อากรแสตมป์ ซื้อที่ไหน

ร้านที่จำหน่าย

  1. ร้าน 7-11 มีขายเป็นบางสาขาจะต้องสอบถามพนักงานของสาขา
  2. ร้านขายเครื่องเขียนใกล้บ้าน
  3. สรรพากร พื้นที่ จังหวัด สาขา
  4. สถานที่ราชการต่าง ๆ
  5. เว็บไซต์ที่มีขายอากร
  6. ร้านขายอากรแสตมป์ ใกล้ฉัน

ร้านที่ไม่มี

  1. b2s (บีทูเอส)
  2. office mate (ออฟฟิศเมต)
  3. ร้านขายแสตมป์ทั่วไป เช่น อากร แสตมป์ 7-11 สะสมแต้ม
  4. ธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
  5. ที่ทำการไปรษณีย์

การติดอากรแสตมป์


หนังสือมอบอํานาจทั่วไป ติดอากรแสตมป์
การติดอากรสัญญาจ้าง เมื่อเราทำใบสั่งจ้าง/ข้อตกลง/สัญญาจ้าง เราจะต้องปิดอากรที่ต้นฉบับ 1 บาท ของทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท และจะต้องปิดที่คู่ฉบับ 5 บาท ตัวอย่าง เช่น

กรณีการทำตราสารหนังสือมอบอำนาจทั่วไป ตามลักษณะแห่งตราสาร 7

  • กรณีที่ 1 มอบอำนาจให้บุคคล คนเดียว หรือหลายบุคคล ดำเนินการเพียงครั้งเดียว ต้องติดอากร จำนวน 10 บาท
  • กรณีที่ 2 มอบอำนาจให้บุคคล คนเดียว หรือหลายบุคคล ดำเนินการมากกว่าครั้งเดียว ต้องติดอากร จำนวน 30 บาท
  • กรณีที่ 3 มอบอำนาจดำเนินการมากกว่าครั้งเดียว โดยแต่ละบุคคล กระทำการแทนได้หลาย ๆ เรื่อง ต้องติดอากร 30 บาท
    • ยกเว้นใบแต่งทนาย และใบมอบอำนาจ ซึ่งทนายความให้แก่เสมียนของตนเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาล

หนังสือมอบอำนาจอากรแสตมป์ ดาวน์โหลด

1.หนังสือมอบอํานาจ ขนส่ง 

การมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว  ปิดอากร 10  บาท  และการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการหลายครั้ง  ปิดอากร  30  บาท  เป็นการปิดอากรรายกระบวนงาน ดังนี้

  1. การกระทำหนึ่งกระบวนงานเป็นการกระทำครั้งเดียว ปิดอากรราคา 10 บาท
  2. การกระทำมากกว่าหนึ่งกระบวนงานเป็นการกระทำมากกว่าครั้งเดียว ปิดอากรราคา 30 บาท  เช่น  การมอบอำนาจให้โอนรถ  ถือว่ามี  1  กระบวนงาน  ปิดอากรราคา 10 บาท  การมอบอำนาจให้โอนรถและเปลี่ยนเครื่องยนต์  เป็นการกระทำ  2  กระบวนงาน  ปิดอากรราคา 30  บาท
  3. กรณีการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนกระทำการแยกกัน ให้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจ  โดยปิดอากร ใบมอบอำนาจคนละ 30 บาท  เช่น  สถาบันการเงินมอบอำนาจให้  นาย  ก.  นาย  ข.  นาย  ค.  มีอำนาจลงนามผูกพันดำเนินการแทน  กรณีนี้ต้องปิดอากรราคารวม 90 บาท

2.หนังสือมอบอำนาจ สรรพากร

การให้ตัวแทนไปยื่นคำร้องขอคัดแบบแสดงรายการภาษี ตัวอย่างเช่น

  • กรณี บุคคลธรรมดา
    • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรจำนวน 10 บาท
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจ และ ผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนา
  • กรณี นิติบุคคล
    • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรจำนวน 10 บาท
    • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (อายุไม่เกิน 6 เดือน) โดยผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคลลงนามรับรองและประทับตรา
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้มอบอำนาจผูกพันนิติบุคคล
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนา

3.หนังสือสัญญาจ้าง  การ ติด อากรแสตมป์ ใน หนังสือสัญญา ต่าง

สัญญาจ้าง หนังสือสัญญา การทําตราสารสัญญาจ้าง ยกตัวอย่าง เช่น

  • กรณีที่ 1 กรณีการจ้างที่มีวงเงิน ไม่เกิน 200,000 บาท ติดอากรที่ต้นฉบับ 1 บาท ของทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท และปิดแสตมป์ที่คู่ฉบับ 5 บาท โดยให้ผู้รับจ้างเป็นผู้เสียอากรและเป็นผู้ขีดฆ่าแสตมป์ แต่หน่วยงานก็สามารถขีดฆ่าแทนได้เช่นกัน
  • กรณีที่ 2 กรณีการจ้างที่มีวงเงิน ตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ให้ผู้รับจ้างชำระอากรเป็นตัวเงิน โดยการสลักหลังตราสารที่กรมสรรพากร

4.สัญญาเช่าบ้าน

  • ค่าอาการแสตมป์ต้นฉบับอัตรา 1 บาทต่อ 1,000  บาท
  • ค่าอากรณ์แตมป์คู่ฉบับ
    • กรณีที่ 1 ถ้าต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท ติดอากรจำนวน 1 บาท
    • กรณีที่ 2 ถ้าเกิน 5 บาท อากร แสตมป์ 5 บาท

ตัวอย่าง เช่น นายเอ็มตกลงทำสัญญาเช่าบ้าน เดือนละ  3,000 บาท เป็นเวลา 24 ปี ต้องติดอากรณ์แสตมป์ 72 บาท ( 3,000 × 24 ÷ 1,000 = 72 บาท ) วิธีคำนวณ จำนวนค่าเช่า × ระยะเวลาที่เช่า (คิดเป็นเดือน)/1,000 = ค่าอากรที่ต้องติด ( ส่วนค่าอากรณ์แตมป์คู่ฉบับต้องติด 5 บาท )

5.สัญญาเช่าคู่ฉบับ

ตราสารที่จะต้องติดอากร แสตมป์ได้แก่ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์, สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน, สัญญาจ้างทำของ โดยผู้ให้เช่า ผู้โอน ผู้ให้กู้ จะต้องเป็นผู้ติด โดยจะมีอัตราการติดอากร ด้งนี้

  • ถ้าต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท : ค่าอากรราคา 1 บาท
  • ถ้าเกิน 5 บาท : ค่าอากรราคา 5 บาทวิธีติดอากรแสตมป์ สัญญาเช่า

แสตมป์อากร มีกี่ประเภท

เอกสารที่ต้องใช้อากร แสตมป์

  1. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ
  2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตร และใบรับรองหนี้
  3. เช่าซื้อทรัพย์สิน
  4. จ้างทำ ของ
  5. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
  6. กรมธรรม์ประกันภัย
  7. ใบมอบอำนาจ
  8. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
  9. ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำ นองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน
  10. ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน
  1. ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท
  2. พันธบัตรของรัฐบาลใดๆ ที่ขายในประเทศไทย
  3. เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใดๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค
  4. เลตเตอร์ออฟเครดิต
  5. เช็คสำ หรับผู้เดินทาง
  6. ใบรับของ
  7. ค้ำประกัน
  8. จำนำ
  9. คำสั่งให้ส่งมอบของ
  10. ตัวแทน
  11. คำ ชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
  12. คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร
  13. หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน
  14. ใบรับสำ หรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ ยานพาหนะ

อากรแสตมป์ มีกี่บาท

  1. ราคา 1 บาท
  2. ราคา 3 บาท
  3. ราคา 5 บาท
  4. ราคา 10 บาท
  5. ราคา 30 บาท
  6. ราคา 100 บาท

หนังสือมอบอํานาจ ต้องติดอากรแสตมป์ หรือไม่

หนังสือมอบอํานาจ ไม่ติดอากร ถือว่าเป็นเอกสารไม่สมบูณณ์ ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 118 ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114

ความหมาย ที่เกี่ยวข้องกับอากรแสตมป์ ที่ควรรู้!! 

  • ตราสาร หมายถึง เอกสารที่ต้องเสียภาษีตามหมวดอากรแสตมป์ เอกสารซึ่งตามปกติเป็นกระดาษ ให้หมายความคำว่า กระดาษ ตลอดไปจนถึงแผ่นหนังฟอกหรือสิ่งอื่น ๆ ซึ้งใช้เขียนตราสารนั้น หรือกล่าวอีกในหนึ่ง ก็คือ นอดกจากหมายถึงกระดาตามถ้อยคำแล้ว ยังรวมถึงสิ่งอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดที่ใช้เขียนตราสารด้วย
  • ใบรับ ตามมาตรา 103 หมายถึง บันทึกหรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับ ได้รับฝากหรือได้รับชำระเงิน หรือตั๋วเงิน เป็นหลักฐานแสดงว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ชำระหรือปลดให้รับ บันทึกหรือหนังสือที่กล่าวนั้นจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ ไม่สำคัญ
  • แสตมป์ หมายถึง แสตมป์ปิดทับหรือแสตมป์ดุนบนกระดาษ และแสตมป์ดุนกระดาษนี้ให้หมายความรวมถึงแสตมป์พิมพ์ทับบนกระดาษด้วย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
  • ปิดแสตมป์ หมายถึง การปิดแสตมป์ทักระดาษ หรือการมีแสตมป์ดุนบนกระดาษ
  • ขีดฆ่า หมายถึง การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกโดยในกรณี แสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือจีดเส้นคร่อมฆ่า แสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ในกรณี แสตมป์ ดุนได้เขียนตราสารหรือยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับ แสตมป์ดุลให้แสตมป์ดุลประดฎอยู่ในด้านหน้าของตราสารนั้น

ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์

ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ มีรายละเอียดดังนี้
1 บุคคลตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตรากรแสตมป์ เช่น ผู้รับประกันภัย ผู้ให้กู้ เป็นต้น
2 ตราสารที่ทําขึ้นนอกประเทศให้ผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทยเป็นผู้เสียอากร
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น ถ้าไม่ปฏิบัติตามข้อ 1.2 ผู้ทรงคนใดคนหนึ่งต้องเสีย
อากรแล้วจึงยื่นตราสารเพื่อให้จ่ายเงิน รับรอง สลักหลัง โอน หรือถือเอาประโยชน์ได้
ผู้ทรงตราสารคนใดได้ตราสารตามข้อ 1.2 ไว้ในครอบครองก่อนพ้น 30 วัน นับแต่วันที่
ได้รับตราสารนั้น จะเป็นผู้เสียอากรก็ได้ โดยมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ทรงคนก่อนๆ
3 ตั๋วเงินที่ยื่นให้ชําระเงิน ไม่ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วเงินจะเสียอากรและใช้สิทธิไล่
เบี้ยจากผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหักจากเงินที่ชําระก็ได้
4 ผู้มีหน้าที่เสียอากรตามที่ระบุไว้ในบัญชีอากรแสตมป์อาจตกลงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็น
ผู้เสียอากรแสตมป์ก็ได้ เว้นแต่กรณีตามข้อ 2

ประเภทของอากร ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์
1.บุคคลที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากร เช่น ผู้ให้เช่า ผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกัน ฯลฯ
2.ตราสารที่จัดทำขึ้นนอกประเทศ ผู้ทรงตราสารคนแรกภายในประเทศเป็นผู้เสียภาษีอากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น
3.ตั๋วเงินที่ได้รับชำระเงิน ไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วจะเสียอากรและใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหักค่าอากรจากเงินที่ชำระก็ได้
บางครั้งผู้มีหน้าที่เสียอากร อาจตกลงกับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ให้เสียแทนตนก็ได้ ยกเว้น กรณีที่ 2

วิธีการเสียอากร

การเสียจะเรียกว่า “ปิดแสตมป์บริบูรณ์” แบ่งความหมายไว้ 3 แบบ

  1. 1. แสตมป์ปิดทับ คือการได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ทับกระดาษก่อนกระทำหรือใน ทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว
  2. 2. แสตมป์ดุน คือการได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสีย และขีดฆ่าแล้ว หรือโดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว
  3. 3. ชำระเป็นตัวเงิน คือการได้เสียอากรเป็นตัวเงิน เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียตาม บทบัญญัติในหมวดอากร แสตมป์ หรือตามระเบียบที่อธิบดีจะได้กำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

การยกเว้นอากร

การติดอากรแสตมป์สัญญาจ้างสรรพากรประกาศกำหนด

  • รัฐวิสาหกิจ เฉพาะการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดมาเปลี่ยนสภาพ เป็นของบริษัท จำกัด หรือบริษัท มหาชน จำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ
  • อนุญาโตตุลาการ เฉพาะตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
  • สถาบันพัฒนาองค์การชุมชน (องค์การมหาชน)
  • ผู้ที่ต้องเสียอากร เฉพาะตราสารที่ต้องเสียอากร แสตมป์ในกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน เฉพาะในส่วนของหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะการกระทำตราสารในการให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
  • กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • ผู้ขาย เฉพาะการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการขายอสังหาริมทรัพย์”ดังต่อไปนี้
    • (ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
    • (ข) อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) พร้อมที่ดิน
    • (ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับกรณีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้โอนได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

การได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องปรากฏว่าภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนหรือนับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ผู้ขายได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ซึ่งมีลักษณะตาม (ก) (ข) หรือ (ค) เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน และให้ได้รับยกเว้นเท่ากับค่าอากรที่คำนวณได้จากจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 444) พ.ศ. 2548 ใช้บังคับ 30 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป)

  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอนเนื่องจากการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย”
  • ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
  • สถาบันคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
  • ยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร แก่บุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญา ว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศ
  • ยกเว้นบรรดารัษฎากรประเภทต่าง ๆ ที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร ให้แก่

ก) องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติและเจ้าหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญ ขององค์การ หรือทบวงการดังกล่าว ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในประเทศไทย ในเมื่อประเทศไทย มีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญา หรือความตกลง

(ข) สถานเอกอัคราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล บุคคลในคณะทูต บุคคลในคณะกงสุล และบุคคลที่ถือว่าอยู่ในคณะทูตตามความตกลง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยที ถ้อยปฏิบัติต่อกัน

การลดอากรอากรแสตมป์ ซื้อ ได้ ที่ไหน

ตามประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 155) ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2515 ลดค่า อากรสำหรับตราสารกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยถ้าค่าอากรมีจำนวนสูงกว่า 20 บาท ให้ลดเหลือ 20 บาท

ความรับผิดกรณีไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ และการไม่ออกใบรับ

ความรับผิดทางอาญา

ประเภทความผิด โทษปรับ
มาตรา 124 ผู้ใดมีหน้าที่เสียอากร หรือขีดฆ่าแสตมป์ เพิกเฉยหรือปฏิเสธไม่เสียอากร หรือไม่ขีดฆ่าแสตมป์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
มาตรา 125 ผู้ใดออกใบรับไม่ถึง 10 บาท สำหรับมูลค่าตั้งแต่ 10 บาทขึ้นไป หรือแบ่งแยกมูลค่าที่ได้รับชำระนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรก็ดี จงใจกระทำหรือทำตราสารให้ผิดความจริงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ก็ดี มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
มาตรา 126 ผู้ใดจงใจลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าแสตมป์เป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา 127 ผู้ใดไม่ทำหรือไม่เก็บบันทึกตามมาตรา 105 ตรี หรือไม่ออกใบรับให้ในทันทีที่ถูกเรียกร้องตามมาตรา 106 หรือออกใบรับ ซึ่งไม่ปิดแสตมป์ตามจำนวนอากรที่ต้องเสีย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
มาตรา 127 ทวิ ผู้ใดโดยตนเองหรือโดยสมคบกับผู้อื่นทำให้ไม่มีการออกใบรับหรือไม่ออกใบรับให้ในทันทีที่รับเงินหรือรับชำระราคาตามมาตรา 105 หรือออกใบรับเป็นจำนวนเงินน้อยกว่าที่รับเงินหรือรับชำระราคาจริง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
 มาตรา 128 ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจในการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือโดยรู้อยู่แล้ว หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามคำเรียก หรือไม่ยอมให้ยึดตราสารหรือเอกสาร หรือไม่ปฏิบัติตามหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจ ตามความในมาตรา 123 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 105 ทวิ มาตรา 105 จัตวา หรือมาตรา 123 ทวิ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
มาตรา 129 ผู้ใดโดยเจตนาทุจริตมีแสตมป์ซึ่งรู้อยู่ว่าเป็นแสตมป์ปลอมก็ดี หรือค้าแสตมป์ที่ใช้แล้ว หรือที่มีกฎกระทรวงประกาศให้เลิกใช้เสียแล้วก็ดี มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
หนังสือมอบอํานาจ กรมสรรพากร

อากรแสตมป์

” ศึกษาเรื่องภาษีอากรเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กรมสรรพากร  “

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 149831: 2504