สถาบันการเงิน

สถาบันการเงิน ที่ไม่ใช่ธนาคารอะไรบ้างรายชื่อครบจบ 10 ที่?

Click to rate this post!
[Total: 173 Average: 5]

สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

ทำความรู้จักกับสถาบัน การเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์

สถาบันการเงิน คือ สถาบันที่ทำหน้าที่ในการระดมเงินที่มีออมอยู่และส่งต่อให้กับผู้ต้องการใช้เงินเพื่อนำไปใช้ในการบริโภคหรือการลงทุนในการดำเนินธุรกิจ โดยผู้ยืมต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ออม สถาบัน การเงินประกอบไปด้วยหลายแขนงที่เรารู้จักกันดีก็คือธนาคารต่างๆ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงสถาบัน การเงินประเภทที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์

สถาบันการเงิน

สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร จะประกอบด้วยสถาบันต่างๆที่มีบทบาทในตลาดเงินดังนี้

  1. บริษัทเงินทุน หมายถึงธุรกิจที่จัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปธุรกิจจะประกอบกิจการให้สินเชื่อหลายรูปแบบได้แก่
  • การให้สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ เป็นการให้กู้ยืมเพื่อการค้า
  • การให้สินเชื่อแก่กิจการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือ พาณิชยกรรม
  • การให้สินเชื่อแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อการบริโภค
  • การให้สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย
  1. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หมายถึงบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงิน โดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน หลักการของธุรกรรมทางการเงินหลักๆคือ การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์และการปล่อยสินเชื่อโดยวิธีการรับจำนอง และการรับซื้อแบบขายฝาก ความสามารถในการจัดหาเงินทุนของบริษัทคือการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
  2. บริษัทประกันชีวิต เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจการประกันชีวิตด้วยการรับประกันภัย ตกลงจะชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้รับประโยชน์หรือทายาทเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตลง หรือจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยเองในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุยืนยาวจนถึงเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โดยผู้เอาประกันภัยยินยอมจ่ายเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย ดังนั้นการระดมเงินทุนของบริษัทจึงมาจากการขายกรมธรรม์
  3. บริษัทหลักทรัพย์ เป็นบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้นั้นจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และต้องมีใบอนุญาตประกอบหลักทรัพย์จากกระทรวงการคลัง บริษัทหลักทรัพย์เป็นสถาบัน การเงินที่มีบทบาทมากในตลาดทุนซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อแนวโน้มประสิทธิภาพในการดำเนินงานในระบบการเงิน เมื่อกิจการต่างๆต้องการระดมทุนจึงจัดทำตราสารทางการเงินออกจำหน่าย และการจำหน่ายต้องอาศัยบริษัทหลักทรัพย์ช่วยกระจายสู่นักลงทุนสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์
  4. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม กองทุนรวมเกิดจากการนำเงินของแต่ละคนที่เรียกว่าผู้ลงทุนรายย่อยมากองรวมกันให้เป็นก้อนใหญ่ และเงินกองดังกล่าวจะถูกบริหารโดยการนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ เงินกองทุนที่นำไปลงทุนนั้นหากมีกำไรมูลค่าของเงินกองทุนก็จะเพิ่มขึ้น ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนคือ เงินปันผล หรือ กำไรจากส่วนต่างของราคาที่ขายหน่วยลงทุนได้สูงกว่าราคาที่ซื้อมา และกองทุนจะแยกย่อยออกเป็น 2 อย่างคือ
  • กองทุนปิด หมายถึงหน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนให้แก่บริษัทผู้ออกตราสารได้ก่อนครบกำหนด บริษัทจะรับซื้อหน่วยลงทุนคืนเมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น
  • กองทุนเปิด หมายถึงหน่วยลงทุนที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอดเวลา
  1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หมายถึงกองทุนซึ่งลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น ซึ่งจะประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสมและบวกกับเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ การจ่ายเงินผลประโยชน์เป็นการตกลงกันตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของพระราชบัญญัติเงินกองทุน เงินทีมีจะถูกนำไปบริหารเพื่อให้เกิดผลประโยชน์
  2. กองทุนประกันสังคม คือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการให้ได้รับความคุ้มครองเมื่อประสบอันตราย เจ็บป่วย คลอดบุตร ตาย ทุพพลภาพ สงเคราะห์บุตร และชราภาพ เงินกองทุนที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการร่วมมือกันของบุคคล 3 ฝ่ายนั่นคือ ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายรัฐบาล เป็นการจ่ายเงินสมทบตามอัตราที่กำหนดไว้โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันหมด เงินกองทุนจะถูกนำไปบริหารเพื่อให้มีผลประโยชน์ ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำไปลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำจึงมักจะลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรภาครัฐ ตั๋วแลกเงินที่มีอันดับความเชื่อถือสูง แต่ทุกครั้งของการลงทุนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังก่อน

สถาบันการเงิน

8.สหกรณ์การเกษตร เป็นองค์กรที่รวมตัวกันโดยสมาชิกและมีวัตถุประสงค์เพื่อการช่วยเหลือสมาชิก สหกรณ์มีหลายประเภท เช่น สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การประมง สหกรณ์การเกษตรถูกจัดตั้งขึ้นเป็นลำดับแรกของกลุ่มสหกรณ์ วัตถุประสงค์ของสหกรณ์คือการให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพและใช้จ่ายในครอบครัวช่วยเหลือสมาชิกในด้านการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรเพื่อจำหน่ายแก่สมาชิกในราคาที่ยุติธรรม ช่วยรวบรวมพืชผลของสมาชิกเพื่อจัดจำหน่ายให้ได้ราคาดี ทั้งยังให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการและรับฝากเงินจากสมาชิกอีกด้วย

9.สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกกลุ่มที่มีอาชีพเดียวกันสมาชิกจะเป็นผู้มีรายได้ประจำเป็นรายเดือน สหกรณ์จะทำหน้าที่รับฝากเงินและจัดหาเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืมไปใช้จ่าย สหกรณ์ออมทรพัย์เป็นองค์กรที่นิยมจัดตั้งในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะสมาชิกสามารถใช้บริการได้ทั้งในรูปของการออมทรัพย์และการขอสินเชื่อเพื่อนำไปใช้จ่ายทั้งเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย การทำอาชีพเสริม ตลอดจนเพื่อการเสริมสภาพคล่องในการดำรงชีพ

10.โรงรับจำนำ เป็นสถาบัน การเงินที่ประกอบการรับจำนำสิ่งของและเครื่องใช้ต่างๆทั้งของใหม่และของใช้แล้วเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ เป็นสถาบัน การเงินที่มีความสำคัญสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย รายได้ของโรงรับจำนำจึงมาจากดอกเบี้ยที่ให้กู้ยืมเงินที่ต้องมีสินทรัพย์เป็นหลักประกันส่วนหนึ่ง และเกิดจากกำไรในสินทรัพย์ที่หลุดจำนำซึ่งถูกนำออกขายอีกส่วนหนึ่ง

ธนาคาร คือ หน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน หรือเป็นตัวกลางที่รับเงินออมจากผู้มีเงินออมต่างๆ มาให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืม เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคหรือเพื่อการลงทุน

ธนาคารพาณิชย์ คือ การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันได้กำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น การให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้จะประกอบธุรกิจประเภทอื่นๆ อันเป็นประเพณีของธนาคารพาณิชย์ด้วยก็ได้ สำหรับธนาคารพาณิชย์ คือธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ และหมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ด้วย

ธนาคารในประเทศไทยมีหลายประเภท และธนาคารแต่ละประเภทมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

ประเภทและบทบาทหน้าที่ของธนาคาร

  1. ธนาคารกลาง  หมายถึง  สถาบันทางการเงินของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินและเครดิตของประเทศ  ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและเสถียรภาพต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ  แต่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายของรัฐบาล  ไม่ได้แสวงหาผลกำไรเป็นผลตอบแทนเหมือนกับธนาคารพาณิชย์  ได้แก่  ธนาคารแห่งประเทศไทย
  2. ธนาคารพาณิชย์ เป็นสถาบันทางการเงิน ที่ทำหน้าที่ระดมเงินฝากจากประชาชน เพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานธุรกิจกู้ยืม นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังให้บริการด้านอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจการค้าและประชาชน ธนาคารที่จัดเป็นธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น บทบาทหน้าที่สำคัญของธนาคารพาณิชย์ มีดังนี้

หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์

    • รับฝากเงิน ธนาคารพาณิชย์รับฝากเงินจากบุคคลและห้างร้านทั่วไป
    • ให้กู้ยืมเงิน ธนาคารพาณิชย์จะแสวงหาผลประโยชน์จากเงินฝากของลูกค้า โดยการนำเงินฝากไปให้บุคคลและห้างร้านทั่วไปกู้ยืม โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากผู้ที่กู้ยืมเงินไปลงทุน
    • การให้บริการอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
      (1) โอนเงิน ธนาคารพาณิชย์ให้บริการโอนเงินภายในประเทศ และระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย และคิดค่าธรรมเนียมการโอนในอัตราต่ำ
      (2) ให้เช่าตู้นิรภัย เพื่อเก็บรักษาทรัพย์สินมีค่าของลูกค้าที่มาเช่าไว้ เช่น เอกสารสำคัญ เครื่องประดับที่มีราคาแพง เป็นต้น
      (3) เรียกเก็บเงินแทน เช่น รับชำระค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ บริการซื้อขายหุ้น เป็นต้น
  1. ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ เป็นธนาคารที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เช่น
  • ธนาคารออมสิน จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมเงินออมจากประชาชนทั่วไป และเป็นแหล่งเงินกู้ภายในประเทศของรัฐบาล
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีบ้านและที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของประเทศ
  • ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้าสินค้า และการลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ
  • ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ให้สินเชื่อค้ำประกันตลอดจนให้คำปรึกษากับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการทางด้านการเงินสำหรับชาวไทยมุสลิม ซึ่งจะมีการดำเนินงานตามหลักของศาสนาอิสลาม

สนใจบริการ >>> จดทะเบียนบริษัท สำนักงานบัญชีปังปอน

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ปิดกิจการ
ระบบการเตือนภัย
รับจ่ายสำหรับกิจการ
ภงด53
221146
ปก การซื้อขายแบบ E – Commerce
ปก คติประจำใจ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 159557: 1233