สงเคราะห์บุตร

เช็คเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมเข้าวันไหนง่ายๆครบจบ 33 ม?

Click to rate this post!
[Total: 181 Average: 5]

เช็คเงินสงเคราะห์บุตร

มาตรา 33 คือ ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตนลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป เป็นกฎหมายตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533

เช็คเงินสงเคราะห์บุตรรัฐบาล
เช็คเงินสงเคราะห์บุตรรัฐบาล

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครองใน 7 กรณี จากกองทุนประกันสังคม เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 3  เตือนภายในระยะเวลา 15 เตือนก่อนเตือนที่รับบริการทางการแพทย์ และเลือกโรงพยาบาลแล้วผู้ประกันตนจะได้รับ “บัตรรับรองสิทธิการรักษา” ซึ่งบัตรจะมีชื่อของผู้ประกันตน และชื่อสถานพยาบาลที่เลือกไว้แต่ไม่มีภาพถ่ายติดจึงต้องใช้ควบคู่กับบัตรประจำตัวประชาชนการเข้ารับการรักษาไม่ว่าจะเป็น

  • ผู้ป่วยนอก ( คือ ป่วยแบบไม่พบแพทย์ฯ ตรวจรักษาจัดยาให้แล้วกับบ้าน )
  • ผู้ป่วยใน ที่ต้องนอนรักษา ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายค่ารักษา (ยกเว้นขออยู่ห้องพิเศษหรือขอแพทย์พิเศษเอง )

สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกถือเป็น สถานพยาบาลหลัก (MAINCONTRACTOR) ซึ่งสถานพยาบาลหลักนั้นอาจมี สถานพยาบาลเครือข่าย (SUBCONTRACTOR) เช่นโรงพยาบาลเล็ก ๆ หรือคลินิกเพื่ออำนวยความสะตวกให้แก่ผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าไปรักษาพยาบาลได้โดยไม่สียค่าใช้จ่าย

เงินสงเคราะห์บุตร

เงินสงเคราะห์บุตร คือ สิทธิประโยชน์จากกองทุนหนึ่งในสำนักงานประกันสังคมเพื่อเป็นทุนใช้จ่ายให้ผู้ประกันตนซึ่งจะได้รับประโยชน์ทดแทนจากเงินที่ให้ผู้ประกันตนส่งให้ในรูปแบบเงินสมทบ ไม่ว่าจะส่งจากนายจ้าง ลูกจ้าง หรือรัฐบาลตามกฎหมาย

เงินสงเคราะห์บุตร 2564

ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตร ดังนี้

  1. ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
  2. ผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาแล้ว ไม่น้องกว่า 36 เดือน และนำส่งเงินสมทบเงินประกันสังคมมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนสงเคราะห์บุตร ตามมาตรา 74 พรบ.ประกันสังคม พ.ศ.2533
  3. สามี หรือ ภริยาของผู้ประกันตนตามกฎหมาย หรือ บุคคลที่อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยากับผู้ประกันตนโดยเปิดเผย กรณี บุคคลคนใดบุคคลหนึ่ง ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย
  4. ผู้อุปการะบุตรแทนผู้ประกันตน กรณี ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครอง
  5. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน ตั้งแต่อายุแรกเกิดจนถึงอายุ 6ปี บริบูรณ์ ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น

หมายเหตุ : ในกรณีที่บิดาและมารดาเป็นผู้ระกันตน ให้บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรเพียงฝ่ายเดียว เว้นแต่เมื่อมีการจดทะเบียนหย่าหรือแยกกันอยู่และบุตรอยู่ในความอุปการะของผู้ประกันตนฝ่ายใดให้ผู้ประกันตนฝ่ายนั้น เป็นผู้สิทธิได้รับ

ประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร ได้แก่

  • ค่าสงเคราะห์ความเป็นอยู่ของบุตร
  • ค่าเล่าเรียนบุตร
  • ค่ารักษาพยาบาลบุตร
  • ค่าสงเคราะห์อื่นที่จำเป็น

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

  1. ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
  2. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์ บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
  3. ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น (ไม่ว่าจะเป็นบุตรที่เกิดก่อนหรือหลังการเป็นผู้ระกันตน )
  4. อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน

หมายเหตุ : ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

การหมดสิทธิรับ

  1. เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  2. บุตรเสียชีวิต
  3. ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  4. ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 เอกสารที่ใช้ยื่น

เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม ย้อนหลัง

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  2. กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
  3. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
    • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
  4. กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ
    • สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
    • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
  5. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
  6. กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
  7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้
    1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด
    2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด
    3. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด
    4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด
    5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด
    6. ธนาคารทหารไทย จำกัด
    7. ธนาคารธนชาต จำกัด
    8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    9. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด
  8. เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

สถานที่ยื่นเรื่องขอรับ

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

– ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
– เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
– สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
– พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

เช็คเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม 2564

เช็คเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม 2564

เช็คเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมผ่านแอปพลิเคชั่น

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น SSO Connect หรือเข้าเว็บไซต์ sso.go.th
  2. จากนั้นเข้าสู่ระบบ หากยังไม่ได้เป็นสมาชิกสามารถสมัครผ่านระบบก่อน (สมัครสมาชิก)
  3. ผู้ที่เข้าผ่านแอปฯ กดเลือกเมนู “การเบิกสิทธิประโยชน์” ส่วนผู้ที่เข้าผ่านเว็บไซต์กดเลือกเมนู “การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน”
  4. ระบบจะแสดงรายการจ่ายเงินสงเคราะห์ บุตร เป็นรายเดือนไว้ให้ตามสิทธิ์ของผู้ประกันตน

เงินสงเคราะห์บุตรเข้าวันไหน

คำถามทั่วไป

แตกต่างกัน เงินสงเคราะห์ บุตร คือสิทธิประโยชน์จาก พรบ.ประกันสังคม ที่เก็บจากกองทุนประกันสังคมและที่ประชาชนมีสิทธิได้รับเงินตามที่ตนส่งเงินเข้ากองทุน ส่วนเงินอุดหนุนบุตรนั้นมีไว้ช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี ซึ่งเป็นโครงการของรัฐที่มีไว้ช่วยเหลือประชาชน

หมายเหตุ : เงินสงเคราะห์ บุตรนี้พ่อแม่บุญธรรมยังมีสิทธิได้รับ ซึ่งปัจจุบันหากผู้ที่มีประกันสังคมและมีเงื่อนไขตรงตามคุณสมบัติของโครงการเงินอุดหนุนบุตรก็สามารถของรับสิทธิ์ได้เช่นกัน

ปัจจุบันปี 2564 จะได้รับอยู่ที่ เดือนละ 800 บาท เนื่องจากผลกระทบโควิด-19 เดิมเงินสงเคราะห์ บุตรจะอยู่ที่ 400 บาท/เดือนและ ปี2561 เคยปรับขึ้นแล้วเป็นเดือนละ 600 บาท ดังนั้นสำหรับผู้ที่เคยได้รับในช่วงปี 2561 นั้น จะมีการจ่ายเงินย้อนหลังเพิ่มให้เดือนละ 200 บาท ทั้งนี้ รายเก่าและรายใหม่ จะได้รับอยู่ที่ 800 บาท/เดือน โดยมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564

หมายเหตุ : ทั้งนี้จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบอย่างต่อเนื่องจึงจะได้รับสิทธิประโยชน์

สามารถใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

ใช้สิทธิเบิกได้คราวละไม่เกิน 3 คน

ได้แต่ต้องเข้าเงื่อนไขและสามารถใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์ บุตรจากประกันสังคมได้เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ใน 36 เดือน มาก่อนหน้านี้แล้ว

ผู้ตรวจสอบบัญชี
christmas day
ประวัติและกำเนิดของหวยหุ้น
ปก บอร์ดเกม
217244
ฝันเห็นคนตาย
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 163378: 1577