gap

GAP ของสารอะไร สารเคมีความปลอดภัยสิ่งที่เพิ่งเปิดเผย 3 GAP?

Click to rate this post!
[Total: 143 Average: 5]

gap

เกษตรและอาหาร

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) หมายถึง แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด โดยขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมี ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุน การผลิตตามมาตรฐาน GAP ก่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

มาตรฐาน GAP เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง การผลิต สำหรับการผลิต สินค้าเกษตร 3 ประเภท ได้แก่
1. พืชผล เช่น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ ฝ้าย ฯลฯ
2. ปศุสัตว์ เช่น วัวควาย แกะ หมู ไก่ ฯลฯ
3. สัตว์น้ำ เช่น ปลาน้ำจืดประเภทลำตัวยาวมีเกล็ด ดังเช่น ปลาแซลมอน และปลาเทร้าท์ กุ้ง ปลา
สังกะวาด ปลานิล ฯลฯ

gap1

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP พืช)

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช เป็นมาตรฐานการปฏิบัติที่ระบุรายละเอียดข้อกำหนดด้านการ
จัดการกระบวนการผลิตที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติที่ดีทางการผลิตพืชทุกชนิด โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ
ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ปลอดจากศัตรูพืช เหมาะสม
กับการบริโภค และมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค

1. แหล่งน้ำ
– แหล่งน้ำต้องสะอาด ไม่มีการปนเปื้อนของวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตราย

gap2

2. พื้นที่ปลูก
– ต้องไม่มีวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อน

gap3

3. การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร
– ใช้ตามคำแนะนำหรืออ้างอิงของกรมวิชาการเกษตร หรือตามฉลากที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับ
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
– ใช้สารเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาตให้ใช้
– ห้ามใช้วัตถุอันตรายที่ระบุในทะเบียนวัตถุอันตรายที่ทางราชการห้ามใช้

gap4

4. การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ
– ปฏิบัติและจัดการการผลิตตามแผนควบคุมการผลิต

5. การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช
– สำรวจ ปูองกัน และกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง
– ผลิตผลที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีศัตรูพืชติดอยู่ ถ้าพบต้องคัดแยกไว้ต่างหาก

gap5

6. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
– เก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะเวลาที่เหมาะสมตามแผนควบคุมการผลิต
– อุปกรณ์ ภาชนะบรรจุที่ใช้ รวมถึงวิธีการเก็บเกี่ยว ต้องสะอาด ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณภาพของ
ผลิตผล และไม่ปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผลต่อการบริโภค
– คัดแยกผลิตผลที่ไม่มีคุณภาพไว้ต่างหาก

gap6

7. การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในแปลงเพาะปลูก
– สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี สามารถปูองกันการปนเปื้อนของวัตถุ แปลกปลอม
วัตถุอันตราย และสัตว์พาหะนำโรค
– อุปกรณ์และพาหนะในการขนย้ายต้องสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผล ต่อ
ความปลอดภัยในการบริโภค
– ต้องขนย้ายผลิตผลอย่างระมัดระวัง

gap7

8. สุขลักษณะส่วนบุคคล
– ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ที่เหมาะสม หรือผ่านกระบวนการอบรมการปฏิบัติที่ถูกต้อง
และถูกสุขลักษณะ
– มีการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคล เพื่อปูองกันไม่ให้ผลิตผลเกิดการปนเปื้อนจากผู้ที่สัมผัสกับผลิตผล
โดยตรง โดยเฉพาะในขั้นการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยวสำหรับพืชที่ใช้บริโภคสด
9. การบันทึกข้อมูล
– บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยการผลิต การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ข้อมูลการขยายผลผลิต
รวมถึงการปฏิบัติในทุกขั้นตอน
– ต้องมีการบันทึกข้อมูลการสำรวจและการปูองกันการกำจัดศัตรูพืช
– ต้องมีการบันทึกข้อมูลผู้รับซื้อผลิตผล หรือแหล่งที่นำผลิตผลในแต่ละรุ่นไปจำหน่าย

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มปศุสัตว์

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ เป็นมาตรฐานรับ รองคุณภาพสินค้าเกษตรและ
อาหารตามกระบวนการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีถูกสุขลักษณะและ
ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยการกำกับดูแลให้มีความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร เริ่มตั้งแต่ระดับฟาร์มเลี้ยงสัตว์
อาหารสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ จนถึงโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ เพื่อยกระดับการจัดการฟาร์ม
เลี้ยงสัตว์ให้ได้มาตรฐาน คุ้มครองผู้บริโภค และเพื่อประโยชน์ในทางการค้า

1.องค์ประกอบของฟาร์ม
1.1 ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม
– สถานที่ตั้งควรอยู่ห่างไกลจาก
1) แหล่งชุมชนเมือง
2) ผู้เลี้ยงสัตว์รายอื่น
3) แหล่งน้ำสาธารณะ
4) แหล่งปนเปื้อนของสิ่งอันตรายทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ
5) โรงฆ่าสัตว์และตลาดนัดค้าสัตว์
– น้ำไม่ท่วมขัง มีการคมนาคมสะดวก
1.2 ลักษณะของฟาร์ม
– มีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม
– มีการจัดวางผังฟาร์มที่ดี มีพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ โรงเก็บอาหาร พื้นที่ทำลายซากสัตว์
พื้นที่บำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล พื้นที่สำหรับอาคารสำนักงานและบ้านพัก แยกเป็นสัดส่วน
– มีรั้วล้อมรอบฟาร์ม
– มีจำนวนโรงเรือนและขนาดที่เพียงพอกับจำนวนสัตว์
– มีแหล่งน้ำสะอาดเพียงพอ
1.3 ลักษณะของโรงเรือน
– โรงเรือนต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง มีหลังคากันแดด กันฝน กันลมแรงได้
– ภายในโรงเรือนมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และมีอุณหภูมิที่เหมาะสม
– ภายในโรงเรือนต้องมีแสงสว่างเพียงพอ
– ภายในโรงเรือนจะต้องมีความเข้มของก๊าซ ฝุุน อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
– พื้นโรงเรือนทำด้วยวัสดุที่เหมาะสม แห้ง สะอาด เพื่อปูองกันการลื่นของสัตว์
– โรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้ภายในโรงเรือนต้องปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อตัวสัตว์และผู้เลี้ยง
– มีอ่างจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้า – ออกโรงเรือน
– โรงเรือนจะต้องมีทางระบายน้ำที่สะดวก

gap8

2. การจัดการฟาร์ม
2.1 การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์
– มีโรงเรือนพอเพียงตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
– สถานที่เก็บอาหารแยกเป็นสัดส่วน อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่อับชื้น มีการจัดการไม่ให้สัตว์พาหะ
นำโรคเข้าไปได้
– มีสถานที่เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์เป็นสัดส่วน สะดวกในการปฏิบัติงาน มีเครื่องมือและ
อุปกรณ์เพียงพอ
– อุปกรณ์ให้น้ำและอาหารต้องแห้ง สะอาด และมีจำนวนเพียงพอ
– มีการจัดการโรงเรือน และบริเวณโดยรอบให้สะอาด ไม่ให้เป็นแหล่งสะสมหรือเพาะเชื้อโรค
แมลง และสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
– โรงเรือนมีการซ่อมบำรุงให้ใช้ประโยชน์ได้ดี มีความปลอดภัยต่อสัตว์และผู้ปฏิบัติงาน

gap9

2.2 การจัดการฝูง
– คัดเลือกและจัดฝูงสัตว์ตามขนาด อายุ และเพศ
– มีการคัดเลือกจัดหาพันธุ์สัตว์เพื่อทดแทน
– คัดสัตว์ที่มีลักษณะไม่ดี พิการ หรือไม่สมบูรณ์ออกจากฝูง

2.3 การจัดการอาหารสัตว์
– อาหารหยาบและอาหารข้น ต้องมีคุณภาพดี มีคุณค่าทางอาหาร และเพียงพอกับความต้องการ
– อาหารสำเร็จรูปต้องมาจากแหล่งที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
– ในกรณีผสมอาหารเอง วัตถุดิบที่ใช้ เช่น รำละเอียด ปลายข้าว กากถั่วเหลือง หรือส่วนเติม
ในอาหาร ต้องมีคุณภาพตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตรวจสอบคุณภาพอาหารที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ
– ถุง กระสอบที่ใส่อาหารต้องแห้งและสะอาด
– เก็บอาหารสัตว์ไว้ในโรงเรือนที่สะอาด มีการระบายอากาศได้ดี ปราศจากนก หนู แมลงและสัตว์
อื่นๆ ที่อาจทำให้อาหารเสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ
– รถขนส่งอาหาร และบริเวณที่ขนส่งอาหารจะต้องแห้งและสะอาด

gap10

2.4 การบันทึกข้อมูล
– การทำบันทึกข้อมูลทะเบียนประวัติ หมายเลขประจำตัวสัตว์
– ในกรณีฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ให้บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต
– บันทึกข้อมูลการใช้อาหาร เช่น การรับจ่ายอาหาร การให้อาหาร การซื้ออาหารสัตว์
– บันทึกข้อมูลการรักษาโรค และดูแลสุขภาพ เช่น การรับจ่ายการใช้เวชภัณฑ์และสารเคมี
การใช้วัคซีน การถ่ายพยาธิ การรักษาโรค การดูแลสุขภาพ
– บันทึกข้อมูลบัญชีฟาร์ม เป็นการทำบัญชีตัวสัตว์ภายในฟาร์ม

gap11

2.5 คู่มือการจัดการฟาร์ม
– คู่มือแสดงรายละเอียด การจัดการฟาร์ม แนวทางปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การดูแล
สุขภาพ การปูองกันและรักษาโรค

2.6 การจัดการบุคลากร
– บุคลากรภายในฟาร์มจะต้องมีการฝึกอบรมเรื่องการจัดการฟาร์ม การปฏิบัติ การเลี้ยง
การจัดการอาหาร การสุขาภิบาลฟาร์ม
– มีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ทำหน้าที่ในการดูแลด้านการปูองกันโรค รักษาโรค และการใช้ยา
– มีจำนวนแรงงานเพียงพอ
– บุคลากรภายในฟาร์มต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เพื่อปูองกันโรคที่สามารถติดต่อจากคนสู่สัตว์ เช่น วัณโรค
– มีการพัฒนาบุคลากร โดยการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ
ในการปฏิบัติงานฟาร์มอย่างต่อเนื่อง

2.7 การควบคุมสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
– ต้องมีระบบปูองกันและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค เช่น สุนัข แมว นก หนู แมลงสาบ และแมลงวัน
อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

3. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์
3.1 การป้องกันและควบคุมโรค
– มีระบบปูองกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม โดยเฉพาะยานพาหนะและบุคคล
– มีการจัดการสุขลักษณะที่ดีภายในฟาร์ม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค โดยฉีดพ่นยาฆ่า
เชื้อโรค สารปูองกันกำจัดแมลง ทำความสะอาดโรงเรือน อุปกรณ์ และบริเวณโดยรอบตาม
ระยะเวลาที่เหมาะสม
– สร้างภูมิคุ้มกันโรคตามโปรแกรมที่กำหนด รวมทั้งการกำจัดพยาธิ
– การจัดการสัตว์ปุวย มีการแยกสัตว์ปุวยเพื่อรักษา
– ไม่ใช้สารต้องห้ามหรือสารเร่งการเจริญเติบโต
– กรณีเกิดโรคระบาด ให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ตรวจโรคที่อาจติดต่อจากสัตว์สู่คน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

gap12

3.2 การป้องกันและรักษาโรค
– อยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
– การใช้ยา ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 7001-2540 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

4. การจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์
– ผู้เลี้ยงต้องตรวจสอบสัตว์อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์มีสุขภาพดี
– ภายในโรงเรือนต้องสะอาดถูกสุขอนามัย
– จัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์
– ดูแลสัตว์ให้ได้รับอาหารอย่างทั่วถึง
– สัตว์ที่ได้รับบาดเจ็บ ปุวย หรือพิการ ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากพิจารณาแล้วเห็นว่า
ไม่สมควรรักษา ให้ทำลายทันทีเพื่อไม่ให้ทุกข์ทรมาน

gap13

5. การจัดการระบบน้ำ
– มีการจัดการระบบน้ำที่ดี
– น้ำที่ใช้ภายในฟาร์มต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
– น้ำมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำใช้
6. การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
– การจัดการของเสีย สิ่งปฏิกูล มูลสัตว์ น้ำทิ้ง และขยะต่างๆ ต้องผ่านการจัดการที่เหมาะสม
ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ หรือก่อความรำคาญต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง และไม่ก่อให้เกิด
มลภาวะ เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ

มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานและ
หลักเกณฑ์สำหรับกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมง โดยจะต้องควบคุมมาตรฐานสินค้าเกษตร
และอาหาร มีการจัดการสุขอนามัยของฟาร์มที่ดี เพื่อให้กระบวนการผลิตของผู้ประกอบการประมง เป็นไปตาม
มาตรฐาน และหลักเกณฑ์ที่กำหนด ส่งผลให้ผลิตผลจากการเพาะเลี้ยงมีคุณภาพดี และมีความปลอดภัย
ต่อผู้บริโภค

1. สถานที่
1.1 บ่อเลี้ยง
– มีการขึ้นทะเบียนฟาร์มอย่างถูกต้อง
– ใกล้แหล่งน้ำสะอาด ห่างจากแหล่งกำเนิดมลพิษ และมีระบบการถ่ายเทน้ำที่ดี
– การคมนาคมสะดวก มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน

1.2 กระชัง
– มีการขึ้นทะเบียนฟาร์มอย่างถูกต้อง
– การคมนาคมสะดวก มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
– อยู่ในบริเวณที่ได้รับอนุญาต
– ไม่ปิดกั้นการไหลของน้ำ
– ควรอยู่ในแหล่งที่มีคุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ ห่างจากแหล่งกำเนิดมลพิษ

gap14

2. การจัดการทั่วไป
2.1 บ่อเลี้ยง
– ปฏิบัติตามคู่มือการเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมงหรือวิธีการอื่นที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
– มีแผนที่แสดงแหล่งที่ตั้งและแผนผังฟาร์มเลี้ยง
– น้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงต้องมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง
– การเลี้ยงต้องดำเนินการอย่างถูกสุขลักษณะ

2.2 กระชัง
– ปฏิบัติตามคู่มือการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชั งของกรมประมง หรือวิธีการอื่น ที่ถูกต้องตาม
หลักวิชาการ
– มีแผนที่แสดงแหล่งที่ตั้งและแผนผังการวางกระชัง
– การเลี้ยงต้องดำเนินการอย่างถูกสุขลักษณะ
– จำนวนกระชังต้องไม่เกินศักยภาพการรองรับของแหล่งน้ำ

gap15

3. ปัจจัยการผลิต
– ต้องใช้ปัจจัยการผลิต เช่น อาหาร อาหารเสริม วิตามิน ฯลฯ ที่ขึ้นทะเบียนกับทางราชการ
(ในกรณีที่กำหนดให้ปัจจัยการผลิตนั้นต้องขึ้นทะเบียน) และไม่หมดอายุ
– ปัจจัยการผลิตต้องไม่ปนเปื้อนยาและสารเคมีต้องห้ามในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามประกาศ
ทางราชการ
– การผลิตอาหารสำหรับสัตว์น้ำ ต้องมีกระบวนการที่ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยต่อสัตว์น้ำและ
ผู้บริโภค
– มีการจัดเก็บปัจจัยการผลิตอย่างถูกสุขลักษณะ

4. การจัดการดูและสุขภาพสัตว์น้ำ
4.1 บ่อเลี้ยง
– มีการเตรียมบ่อและอุปกรณ์อย่างถูกวิธีเพื่อปูองกันโรคที่จะเกิดกับสัตว์น้ำ
– เมื่อสัตว์น้ำมีอาการผิดปกติไม่ควรใช้ยาและสารเคมีทันที ควรพิจารณาด้านการจัดการ เช่น
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพิ่มอากาศ ก่อนใช้ยาและสารเคมี
– ในกรณีที่สัตว์น้ำปุวย จำเป็นต้องใช้ยาและสารเคมี ให้ใช้ยาและสารเคมีที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง
และปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด
– ไม่ใช้ยาและสารเคมีต้องห้ามตามประกาศทางราชการ
– เมื่อสัตว์น้ำปุวยหรือมีการระบาดของโรค ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยจัดการซากและน้ำทิ้ง
ที่เหมาะสม

4.2 กระชัง
– มีการเตรียมและวางกระชังอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อปูองกันปัญหาสิ่งแวดล้อมและโรคระบาด
– มีการเฝูาระวังและดูแลสุขภาพสัตว์น้ำที่เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อสัตว์น้ำมีอาการผิดปกติ ให้รีบ
ดำเนินการแก้ไข
– ในกรณีที่สัตว์น้ำปุวย จำเป็นต้องใช้ยาและสารเคมี ให้ใช้ยาและสารเคมีที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องและปฏิบัติ
ตามฉลากอย่างเคร่งครัด
– ทำความสะอาดกระชังอุปกรณ์เป็นระยะๆ ตลอดการเลี้ยง
– เมื่อสัตว์น้ำปุวยหรือมีการระบาดของโรค ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยจัดการซากและน้ำทิ้ง
ที่เหมาะสม
– ไม่ใช้ยาและสารเคมีต้องห้ามตามประกาศทางราชการ

5. สุขลักษณะฟาร์ม
5.1 บ่อเลี้ยง
– มีการจัดการระบบน้ำทิ้งที่เหมาะสม น้ำทิ้งจากบ้านเรือนต้องแยกจากระบบการเลี้ยง
– ห้องสุขาแยกเป็นสัดส่วน ห่างจากบ่อเลี้ยง และมีระบบจัดการของเสียอย่างถูกสุขลักษณะ
– จัดอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งปัจจัยการผลิตต่างๆ ในบริเวณฟาร์มให้เป็นระเบียบ สะอาด
ถูกสุขลักษณะเสมอ
– มีระบบการจัดเก็บขยะที่ดี เช่น ถังขยะ มีฝาปิดที่มิดชิด เพื่อปูองกันแมลงวัน หนู แมลงสาบ
และการคุ้ยเขี่ยของสัตว์เลี้ยง

5.2 กระชัง
– มีห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ
– ไม่ทิ้งขยะหรือสิ่งปฏิกูลในบริเวณกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ ควรนำไปทิ้ง/ทำลายอย่างถูกต้อง
– ทำความสะอาดกระชัง อุปกรณ์เครื่องมือ และเครื่องใช้ต่างๆให้สะอาด จัดให้เป็นระเบียบ
อยู่เสมอ

6. การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง
– วางแผนเก็บเกี่ยวผลผลิตถูกต้องตามความต้องการของตลาด และมีหนังสือกำกับการจำหน่าย
สัตว์น้ำและลูกพันธุ์สัตว์น้ำ
– มีการจัดการและดูแลรักษาสัตว์น้ำอย่างถูกสุขลักษณะระหว่างการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง เพื่อให้
ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
– ผลผลิตสัตว์น้ำที่เก็บเกี่ยวต้องไม่มียา หรือสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานกำหนด

7. การเก็บข้อมูล
– มีบันทึก การจัดการเลี้ยง การให้อาหาร การตรวจสุขภาพ การใช้ยาและสารเคมีอย่างสม่ำเสมอ
และบันทึกข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน

ที่มา:alro.go.th/asean_data/ewt_dl_link.php?nid=232&filename=index

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ปิดกิจการ
ประสบการณ์การดูการ์ตูนในโรงภาพยนตร์
digital business brand
คำคุณศัพท์ที่ใช้เพื่อแสดงความสัมพันธ์
220994
การรับมรรคและสมุทัย
219433
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 169041: 1156