อาหารประจําอาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชาเป็นการรวมตัวกันเพื่อพัฒนาประเทศในภูมิภาคเดียวกัน แล้วยังก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของอาหารการกิน อาหารประจำชาติอาเซียน สะท้อนถึงวัฒนธรรมชีวิตความเป็นอยู่ของคนในอาเซียน ที่ได้รับอิทธิพล จากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยกัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
หลายประเทศมีวัฒนธรรมการกินที่ คล้ายกัน ในแต่ละชาติก็มีเมนูอาหารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละประเทศไป ทั้ง 10 ประเทศอาเซียนมีเมนูประจำชาติ ดังนี้
ประเทศไทย : ต้มยำกุ้ง
ชาวต่างชาติทั้งหลายให้การยอมรับว่าเด็ดที่สุด พูดได้ว่าถ้ามาประเทศไทยแล้ว เมนูนี้ก็ถือว่า มาไม่ถึงเมืองไทย ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ เปรี้ยว เผ็ด เค็ม กลมกล่อม หอมด้วยสมุนไพร ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกขี้หนู จึงทำให้เป็นที่หลงใหลของชาวต่างชาติ
ขั้นตอนการทำ ในแต่ละคน ไม่แตกต่างกันมาก ดังตัวอย่าง ขั้นตอนที่แนะนำจากเว็บไซต์ food.mthai.com ดังนี้
- ก่อนอื่นต้องแกะเปลือกกุ้งผ่าเอาเส้นดำออกล้างให้สะอาด
- หั่นเครื่องต้มยำ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดและเห็ด ให้พร้อมนำน้ำซุปไปตั้งไฟให้เดือด ใส่เครื่องต้มยำลงไปให้หมด
- พอเดือดอีกครั้งก็ใสกุ้งที่เตรียมไว้ลงไปเลย
- หลังจากใส่กุ้งลงไปแล้ว ให้ใส่ น้ำตาล น้ำปลา พริกขี้หนู พริกเผา ใครชอบรสแบบไหนใส่ลงไป ตามด้วยเห็ดฟางแล้วปิดเตา
- จัดชามเสิร์ฟหั่นผักโรยหน้า เพิ่มความหอ
อาหารเมียนม่า : โมฮินกา
เป็นอาหารของชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่ากินข้าวเป็นหลัก และเมนู โมะน์หี้นค้า หรือขนมจีนเมียนม่า เป็นเมนูประจำชาติที่ชาวเมียนม่านิยมกินเป็นอาหารเช้า หาซื้อกินได้ทั่วไปมีแบบแห้งและแบบน้ำ ขนมจีนน้ำยาพม่าคือขนมจีนน้ำยาที่ทำจากปลา ไม่มีกระทิ คล้ายกับน้ำยาป่าของคนไทย ใช้ปลาน้ำจืดในการทำเช่น ปลาดุก ปลาช่อน ผักที่ใส่ในน้ำยาก็จะเป็น หยวกกล้วยและใช้แป้งถั่ว ทำให้น้ำแกงข้น
ขั้นตอนการทำโมฮิงก้า ก๋วยเตี๋ยวพม่านี้สูตรการทำมาจากเว็บไซต์ Sanook! WOMEN
- ตำเครื่องปรุงน้ำแกงให้เข้ากัน
- นำไปเคี่ยวในน้ำเดือด ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว เกลือ และน้ำตาลตามชอบ เคี่ยวไปเรื่อยๆ จนน้ำแกงงวดลงและเข้มข้น
- จัดขนมจีนและเครื่องปรุงต่างๆ ใส่ลงในชาม เติมน้ำแกง โรยผักชีและพริกคั่ว พร้อมเสิร์ฟ
อาหารเวียดนาม : เปาะเปี๊ยะเวียดนาม
เน้นกินผัก เช่น เฝอ ก๊วยจั๊บญวนแหนมเนือง หมูยอ แต่อาหารประจำชาติเวียดนามคือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม เป็นอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวียดนาม แผ่นเปาะเปี๊ยะทำจากแผ่นแป้งข้าวเจ้า โดยไส้เปาะเปี๊ยะเป็นไก่ หมู กุ้ง กินกับผักสมุนไพรหลายชนิด เช่น สะระแหน่ ผักกาดหอม และน้ำจิ้มหวาน
ขั้นตอนการทำ ปอเปี๊ยะสดสูตรการทำมาจาก sites. goggle
- แล่เนื้อหมูเป็นชิ้นบางๆ ตามขวาง หมักด้วยซีอิ้วขาว ซอสปรุงรสซอสหอยนางรม น้ำตาลทราย คลุกให้เข้ากัน แช่ตู้เย็น ๑ ชั่วโมง
- นำเนื้อหมูที่หมักไว้มาย่าง พอสุกหั่นเป็นชิ้นยาวๆ นำใบเมี่ยงมาห่อโดยนำผักกาดหอมวาง ตามด้วยใบโหระพา ใบสะระแหน่ ผักชีฝรั่งแครอทซอย และหมูย่าง ห่อให้แน่น
ขั้นตอนการทำน้ำจิ้ม
- นำพริกชีฟ้าแดง กระเทียมโขลกให้ละเอียด
- ใส่หัวผักกาดขูดฝอย แครอทขูดฝอย ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู น้ำตาลทราบ เกลือและพริก ใส่กระเทียมที่โขลดไว้ ตั้งเตาเคี่ยว ๑๐ นาที
อาหารกัมพูชา : อาม็อก
คนกัมพูชากินข้าวเป็นอาหารหลักคล้ายกับคนไทย และมีน้ำพริกกับผักแกล้มเหมือนกับหลายๆ ประเทศคนกัมพูชานิยมกินเนื้อควายเป็นส่วนมากอาหารประจำชาติของกัมพูชา คือ “อาม็อก” เป็นอาหารคาวยอดนิยมของกัมพูชาคล้ายห่อหมกของไทย โดยนำเนื้อปลาสดๆ ลวกพริกเครื่องแกง และกะทิแล้วทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง
ขั้นตอนการทำนี้ สูตรมาจาก lenplay.com
- นำพริกแกง กะทิ และไข่ไก่ คนให้เข้ากัน
- ใส่เครื่องปรุงรสลงในภาชนะผสมแล้วคนให้เข้ากัน
- ใส่เนื้อปลาน้ำจืดหัดเป็นชิ้นพอคำลงไปผสม
- นำใบยอใส่ลงที่กระทงสี่มุมที่เตรียมไว้
- ตักส่วนผสมที่เข้ากันดีแล้วลงในกระทง นึ่งด้วยความร้อนประมาณ ๑๐ นาที หรือจนสุก
- ตกแต่งโดยราดหัวกระทิเคียวสุกและพริกแดงให้สวยงาม
- เสิร์ฟพร้อมข้าวสวยร้อน โรยด้วยหอมซอย
อาหารลาว : ซุปไก่
อาหารประจำชาติลาว คือ “ซุปไก่” เป็นอาหารพื้นเมืองของประเทศลาว มีส่วนผสมในการประกอบ คือ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม และหอมแดง อาหารลาวโดยส่วนใหญ่มักจะมีผักและสมุนไพรเป็นส่วนผสมในการปรุงคล้ายกับอาหารไทย “ซุปไก่” จัดว่าเป็นอาหารที่เรียบง่ายที่สุด ปรุงน้อยที่สุด รสชาติดั้งเดิมไม่ได้มีรสจัดอย่างที่เราเข้าใจกัน
ขั้นตอนการทำนี้ สูตรมาจาก sites.google.com
- นำตะไคร้ กระเทียม หัวหอม พริก โขลกพอแหลก
- ใส่น้ำลงหม้อจนร้อน นำส่วนผสมที่โขลกใส่ลงไป
- พอน้ำเดือด นำไก่ใส่ลงไป พอไก่สุก ปรุงรสเปรี้ยว เผ็ด เค็ม
- ตักใส่ถ้วย โรยด้วยสะระแหน่และผักชีลาว เสิร์ฟร้อนๆ พร้อมข้าวเหนียว
อาหารมาเลเซีย : นาซิ เลอมัก
คนมาเลเซียส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้น อาหารการกินของคนมาเลเซียจึงเป็นแบบมุสลิม หรือที่เรียกว่า “อาหารฮาลาล” อาหารประจำชาติของมาเลเซีย คือ “นาซิ เลอมัก” เป็นข้าวหุงกับกะทิ และใบเตย กินกับเครื่องเคียง 4 อย่าง คือ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ มักทานเป็นอาหารเช้าประเทศสิงคโปร์ และภาคใต้ของไทยก็นิยมกินเช่นกัน
ขั้นตอนการทำนี้ สูตรมาจาก pantip.com
- ล้างข้าวให้สะอาดใส่ลงในหม้อหุงข้าว พร้อม น้ำและกะทิ เกลือ มัดใบเตยลงใส่หุงข้าวปกติ
- โขลกพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กระปิ ให้ละเอียด ใส่น้ำมันพืช 2 ชต และพริกที่โขลกลงผัด ปรุงรสด้วย น้ำตาลทรายแดง น้ำมะขามเปียก น้ำมะนาว เกลือ ผัดให้เข้ากัน ยกลง
- ตักข้าวที่หุงใส่จาน พร้อมใส่เครื่องเคียงและน้ำพริกหวาน
อาหารอินโดนีเซีย : กาโด กาโด
กาโด กาโด (Gado Gado) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของอินโดนีเซีย คล้ายกับสลัดแขก ซึ่งจะประกอบด้วยถั่วเขียว มันฝรั่ง ถั่วงอก เต้าหู้ ไข่ต้มสุก กะหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง รับประทานกับซอสถั่วที่มีลักษณะเหมือนซอสสะเต๊ะ อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไป นั่นเอง
ขั้นตอนการทําวิธีนี้ สูตรมาจาก projects577.wordpress.com
- นำพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่าอ่อน รากผักชี ตะไคร้ มาปั่นให้ละเอียด ถ้าแห้งเกินไปสามารถเติมกะทิลงไปได้เล็กน้อย
- นำส่วนผสมที่ปั่นแล้วลงกระทะ ผัดไฟแรง พอเริ่มแตกมันให้ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ และน้ำมะขามเปียก จากนั้นใส่ถั่วลิสงคั่วป่นลงไป เมื่อเดือดอีกครั้งให้ปิดไฟได้
- ทอดเต้าหู้เตรียมไว้แล้วลวกผักทั้งหมดตามลำดับ กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ แครอท ข้าวโพดอ่อน เห็ดฟาง และใช้น้ำอีกหม้อนึงลวกถั่วงอก
- เรียงผักใส่จานให้สวยงาม วางไข่ต้มผ่า
- ราดน้ำแล้วรับประทานทันที
อาหารสิงคโปร์ : ลักซา
“ลักซา” เป็นอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว เป็นอาหารดั้งเดิมของชาวเปอรานากัน กลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีน ประกอบไปด้วย เส้น ถั่วงอก ลูกชิ้นปลาหรือฮือก้วย กุ้ง หอยแครง น้ำต้มยำกะทิและเสิร์ฟคู่กับน้ำพริก ตกแต่งด้วยใบลักซาทานคู่กับห่อหมกปลา
ขั้นตอนการทําวิธีนี้ สูตรมาจาก laksa-singapore.blogspot.com
- ทําน้ำซุป – ต้มนํ้าให้เดือด ใช้กระดูกหมูหรือซี่โครงไก่ ต้มให้เดือดๆ เติมผงคนอร์ รากผักชี น้ำกระเทียมดอง หัวไชเท้า ก็หั่นใส่ลงไป จะทําให้รสชาติหวาน
- วิธีทํา – ลวกเส้น ใส่รอไว้ในถ้วย ใส่กระเทียมเจียว จากนั้น ใส่หมูสับ ลูกชิ้น (ต้องลวกให้สุกก่อน) ใส่ไข่ต้มผ่าครึ่ง และเกี้ยวทอด
- เครื่องปรุง – ใส่พริก น้ำปลา น้ำตาล พริกไทย ตั้งฉ่าย น้ำส้ม / มะนาว ถั่วป่น ตักน้ำซุปราดเล็กน้อย ด้วยต้นหอมผักชี ตั้งฉ่าย
วิธีทำต้มน้ำสต็อก นำไก่และน้ำเปล่าต้มให้เดือดแล้ว เติมปลาแอนโชวี่แห้งลงไป เคี่ยวบนไฟปานกลาง 1 ชั่วโมง หรี่ไฟแล้วเคี่ยวต่อในขณะเดียวกัน ตำหรือปั่นส่วนผสมทั้งหมดของเครื่องแกงจนเป็นเนื้อเดียวกัน
- ตั้งกระทะไฟปานกลาง ใส่น้ำมันพืชลงไป 4 ช้อนโต๊ะแล้วผัดเครื่องแกงประมาณ 5-10 นาที จนเครื่องแกงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและส่งกลิ่นหอม
- ใส่เครื่องแกงที่ผัดแล้วกับกะทิลงในหม้อน้ำซุป เร่งไฟ รอจนเดือดแล้วปรุงรสด้วยน้ำปลา
อาหารบรูไน : อัมบูยัต
อาหารบรูไน กินเหมือนกับชาวมาลายูกินข้าวเป็นหลักและอาหารที่ทำจากแป้งสาคู เรียกว่า “อัมบูยัต” เป็นอาหารบรูไน มีลักษณะเด่นที่แป้ง จะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊กโดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตไม่มีรสชาติแต่ความอร่อยอยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวและมีเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด มีผักสด เนื้อห่อใบตองย่างหรือเนื้อทอด
ขั้นตอนการทำนี้ สูตรมาจากเว็บไซต์ library.sut.ac.th
- วิธีทำแป้ง ผสมน้ำร้อนกับแป้งสาคู 4 ถ้วยน้ำนาน 10 นาทีแล้วจึงเทน้ำส่วนเกินทิ้ง
- วีธีทำปลา ทำความสะอาดปลาและหั่นเป็นชิ้น นำส่วนผสมอื่นๆ ผัดเข้าด้วยกันและนำปลามาคลุกเคล้าจนสุก
- วิธีทำเครื่องเคียง ผัดส่วนผสมที่โขลกอย่างดีในน้ำมันที่ร้อนจนหอม เพิ่มเกลือ น้ำ ตกแต่งด้วยพริกแดง
ฟิลิปปินส์ : อโดโบ้
ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีเกาะจำนวนมาก อาหารของแต่ละภูมิภาคจึงแตกต่างกันอาหารประจำชาติฟิลิปปินส์ คือ “อโดโบ้” เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจาก ภาคเหนือของ ฟิลิปปินส์ ทำจากเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ที่หมัก และปรุงรส โดยใส่น้ำส้มสายชู ซีอิ๊วขาว กระเทียมสับ ใบกระวานพริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยอบในเตาอบ หรือทอด แล้วนำมารับประทานกับข้าวสวย
ขั้นตอนการทำนี้ สูตรมาจาก aseanbyminandbenz.wordpress.com
- ใส่น้ำมันรำข้าวลงในกระทะ พอร้อนดี ก็นำไก่ลงไปจี่ให้ด้านนอกสุกเล็กน้อย
- เติมซีอิ้วขาว น้ำส้มสายชู น้ำเปล่า หอมใหญ่สับ กระเทียม ใบกระวาน พริกไทยขาว และขิงลงไป เคี่ยวประมาณ 30 นาที จนไก่นุ่ม และน้ำลดลง
- ตัดรสด้วยน้ำตาลทรายเล็กน้อย ก่อนยกออกจากความร้อน เสิร์ฟรับประทานกับข้าว
หมายเหตุ อโดโบ้สูตรต้นตำรับ จะไม่ใส่น้ำตาล แต่พลปรับรสให้เข้ากับรสบ้านเรา โดยตัดความเปรี้ยวให้กลมกล่อมขึ้นด้วยน้ำตาลเล็กน้อย
อาหารเป็นสิ่งที่รวมเอาทุกอย่างมาบอกเล่าเรื่องราว ความเป็นอยู่ อาหารบ่งบอกถึงเชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนาลักษณะภูมิประเทศนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไรและสืบทอดต่อๆ กันมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมการกินของแต่ละประเทศชาติ แต่ละท้องถิ่น อาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่นเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่าย
โดยอาศัยพืชผักหรือวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีวิธีการปรุงและการรับประทานกันตามแต่ละท้องถินแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กัยหลายปัจจัย เช่นท้องถิ่นนั้นหรือภูมิประเทศนั้นอยู่ติดทะเลบ้าง หรืออยู่ติดแม่น้ำ ภูเขาบ้าง ดังนั้น วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารจึงแตกต่างกันออกไป