การหักเหของแสง
การเคลื่อนที่และอัตราเร็วของแสง
แสงจะเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราตลอด รวมทั้งปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของแสง จากแหล่งกำเนิดหลากหลาย
ชนิด แต่เราทราบหรือไม่ว่า ธรรมชาติของแสงเป็นอย่างไร แสงเคลื่อนที่อย่างไร และเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเท่าใด
การศึกษาแสงที่ตามองเห็น มีสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นเดียวกับ ไมโครเวฟ อุลตราไวโอเลต
ฯลฯ ในสุญญากาศแสงจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยอัตราเร็วประมาณ 3×10^8 เมตรต่อวินาที เมื่อแสงเคลื่อนที่ได้เร็วมาก การเรียกระยะทางที่แสงเคลื่อนที่ได้ในสุญญากาศในเวลา 1 ปี จะเรียกว่า ระยะทาง 1 ปีแสง สำหรับอัตราเร็วของแสงในตัวกลางต่าง ๆ จะมีค่าไม่เท่ากัน และทุกอัตราเร็วจะมีค่าน้อยกว่าอัตราเร็วแสงในสุญญากาศ
กฎการสะท้อนของแสง
เมื่อแสงไปตกกระทบผิววัตถุใด ๆ ปกติแล้วแสงจะสะท้อนออกจากผิวของวัตถุนั้นได้ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าเป็นการสะท้อนได้ของแสง กฎการสะท้อนของแสง มีดังนี้
1. รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติ ต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน
2. มุมตกกระทบต้องมีขนาดเท่ากับมุมสะท้อน
ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสะท้อนแสง
1. ถ้ารังสีตกกระทบตกตั้งฉากกบผิวของวัตถุรังสีสะท้อนจะสะท้อนย้อนแนวเดิมออกมาโดยตลอด
2. หากรังสีสะท้อนอย่างน้อย 2 เส้น มาตัดกันจะเกิดภาพของวัตถุต้นกาเนิดแสงขึ้น ณ จุดตัดนั้น
ระยะจากใจกลางผิวตกกระทบถึงวัตถุ เรียก ระยะวัตถุ (s )
ระยะจากใจกลางผิวตกกระทบถึงภาพ เรียก ระยะภาพ ( s′)
อัตราส่วนของระยะภาพต่อระยะวัตถุ หรือขนาดภาพต่อขนาดวัตถุของการสะท้อนหนึ่งๆ จะมีค่าคงที่ เรียกค่าคงที่นี้ว่า กําลังขยาย (m)
นั่นคือ กําลังขยาย (m) = s/s′ = y/y′
เมื่อ s′= ระยะภาพ s = ระยะวัตถุ
y′= ขนาดภาพ y = ขนาดวัตถุ
โดยทั่วไปแล้วการศึกษาการสะท้อนแสง จะใช้กระจกเป็นอุปกรณ์ในการศึกษา กระจกโดยทั่วไปนั้นจะมี 2 ชนิด
1. กระจกราบ
2. กระจกโค้ง ( กระจกโค้งเว้าและกระจกโค้งนูน )
ภาพที่เกิดจากกระจกเงาราบ
พิจารณาตามรูป เมื่อยิงแสงออกจากวัตถุต้นกำเนิดแสง ไปตกกระทบกระจกดังรูป รังสีของแสงสะท้อนเส้นที่ 1 และ 2 จะกระจายออกจากกัน ดังนั้นรังสีสะท้อนนี้จะไม่สามารถตัดกันและไม่ทําให้เกิดภาพที่ด้านหน้ากระจกได้ แต่ถ้าเราต่อแนวรังสีสะท้อนทั้งสองย้อนไปด้านหลังกระจก จะพบว่าเส้นสมมติที่ต่อออกไปนี้จะไปตัดกันได้ที่จุดจุดหนึ่ง การตัดกันของเส้นสมมตินี้จะทําให้เกิดภาพหลังกระจก เรียกภาพที่เกิดนี้ว่า ภาพเสมือน
สําหรับภาพที่เกิดจากกระจกราบ จะได้ว่า
ระยะภาพ (s) = ระยะวัตถุ (s′)
และ ขนาดภาพ (y) = ขนาดวัตถุ (y′)
ดังนั้น กาลังขยายของกระจกราบ (m) = s′/s = y′/y = 1
ภาพที่เกิดจากกระจกเงาทรงกลม
กระจกเงาทรงกลม หรือกระจกโค้ง จะแบ่งได้เป็ น 2 ชนิดย่อย ได้แก่ กระจกโค้งเว้า และกระจกโค้งนูนกระจกแต่ละแบบจะมีจุดต่างๆ ซึ่งต้องรู้จักเป็นพื้นฐานดังรูป
ถ้าเราให้รังสีของแสงขนานกับเส้นแกนมุขสําคัญมาตกกระทบกระจกเว้า จะพบว่ารังสีสะท้อนของรังสีขนานเหล่านี้จะไปตัดกันที่จุดกึ่งกลางระหว่าง จุด C กับจุด V เสมอ จุดตัดนี้เรียกว่าจุดโฟกัส (F) และระยะห่างจากจุด V ถึงจุด F เรียกความยาวโฟกัส (f) แต่กระจกนูนจะเป็นกระจกกระจายแสง กล่าวคือ เมื่อรังสีของแสงขนานกับเส้นแกนมุขสําคัญไปตกกระทบกระจกนูน รังสีสะท้อนจะกระจายออกจากกัน
ดังรูป แต่ถ้าต่อแนวรังสีสะท้อนย้อนไปด้านหลังกระจก จะพบว่าเส้นสมมุติเหล่านั้น จะไปตัดกนที่จุดกึ่งกลางระหว่างจุด C กับจุด V ด้านหลังกระจก จุดตัดนี้เรียกว่าจุดโฟกัส (F) และระยะห่างจากจุด V ถึงจุด F เรียกความยาวโฟกัส (f) แต่เป็นจุดโฟกสและความยาวโฟกัสเสมือนเท่านั้น
ที่สําคัญ f = R/2 เสมอ
การเกิดภาพโดยกระจกโค้งเว้า
การเกิดภาพโดยกระจกนูน
ภาพที่เกิดจากกระจกนูน จะเป็นภาพเสมือนหัวตั้งขนาดภาพเล็กกว่าขนาดวัตถุอยู่หลังกระจกและระยะภาพสั้นกว่าระยะวัตถุเสมอ
ลักษณะของภาพจริงที่เกิดจากการสะท้อน
1. หัวกลับ
2. เกิดหน้ากระจก
3. เอาฉากมารับได้
ลักษณะของภาพเสมือนที่เกิดจากการสะท้อน
1. หัวตั้ง
2. เกิดหลังกระจก
3. เอาฉากมารับไม่ได้ แต่เห็นได้ด้วยตาเปล่าผ่านกระจก
กฎการหักเหของแสง
เมื่อแสงผ่านจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นไม่เท่ากน จะทําให้อัตราเร็ว (v) แอมพลิจูด (A)และความยาวคลื่น (λ) ของแสงเปลี่ยนไป แต่ความถี่ (f )จะคงที่
ในกรณีที่แสงตกกระทบพุ่งเข้าตกตั้งฉากกับแนวรอยต่อตัวกลาง แสงที่ทะลุลงไปในตัวกลางที่ 2 จะมีแนวตั้งฉากกับแนวรอยต่อตัวกลางเช่นเดิม แต่หากแสงตกกระทบตกเอียงทํามุมกับแนวรอยต่อตัวกลาง แสงที่ทะลุลงไปในตัวกลางที่ 2 จะไม่ทะลุลงไปในแนวเส้นตรงเดิม แต่จะมีการเบี่ยงเบนไปจากแนวเดิมดังรูป ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การหักเหของแสง
กฎของสเนลล์
sinθ1/sinθ2 = v1/v2 = λ1/λ2 = n21 = n2/n1
เมื่อ θ1 และ θ2 คือมุมระหว่างรังสีแสงกับเส้นปกติในตัวกลางที่ 1 และ 2 ตามลําดับ
v1 และ v2 คือความเร็วแสงในตัวกลางที่ 1 และ 2 ตามลําดับ
λ1 และ λ2 คือความยาวคลื่นแสงในตัวกลางที่ 1 และ 2 ตามลําดับ
n1คือดัชนีหักเหตัวกลางที่ 1เทียบกับอากาศ เรียกสั้นๆ ดัชนีหักเหของตัวกลางที่ 1
n2คือดัชนีหักเหตัวกลางที่ 2เทียบกับอากาศ เรียกสั้นๆ ดัชนีหักเหของตัวกลางที่ 2
n21คือดัชนีหักเหของตัวกลางที่ 2 เทียบกับตัวกลางที่ 1
การสะท้อนกลับหมดของแสง
หากยิงแสงจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า เช่นยิงแสงจากพลาสติกไปสู่อากาศ จะเกิดการหักเหซึ่งมุมหักเหโตกว่ามุมตกกระทบเสมอดังรูป สําหรับมุมตกกระทบที่ทําให้มุมหักเหเป็นมุม 90 องศา มุมตกกระทบนั้นเรียก มุมวิกฤติ
ในกรณีที่มุมตกกระทบมีขนาดโตกว่ามุมวิกฤติ จะทําให้แสงเกิดการสะท้อนกลับเข้ามาภายในตัวกลางแรกทั้งหมดไม่มีการหักเหออกไปยังตัวกลางที่ 2 เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าเป็น การสะท้อนกลับหมด
ความลึกจริง ความลึกปรากฏ
พิจารณาตัวอย่างการมองวัตถุที่จมอยูใต้น้ำ เราจะเห็นวัตถุนั้นอยูตื้นกว่าความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุนั้น เมื่อเคลื่อนที่ออกจากน้ำมาสู่อากาศแล้วเข้าตาเรานั้น แสงจะเกิดการหักเห แต่เนื่องจากสายตาของคนเราจะมองตรงเสมอ เราจึงมองเห็นวัตถุอยูตื้นกว่า ความเป็นจริงดังแสดงในรูป
ในกรณีที่เรามองวัตถุลงไปตรง ๆ (มองตั้งฉากกับผิวหักเห) เราสามารถคํานวณหาความลึกปรากฏได้จาก
ลึกจริง/ลึกปรากฏ = n1/n2
เมื่อ n1 คือดัชนีหักเหของตัวกลางที่ 1 ที่แสงอยู่
n2 คือดัชนีหักเหของตัวกลางที่ 2 ที่แสงไป
กรณีที่เรามองวัตถุเอียงทํามุมกับผิวหักเห เราสามารถคํานวณหาความลึกปรากฏได้จาก
ลึกจริง/ลึกปรากฏ = n1 cosθ1/n2 cosθ2
เมื่อ n1 คือดัชนีหักเหของตัวกลางที่ 1 ที่แสงอยู่
n2 คือดัชนีหักเหของตัวกลางที่ 2 ที่แสงไป
θ1 คือมุมตกกระทบในตัวกลางที่ 1
θ2คือมุมหักเหในตัวกลางที่ 2
เลนส์บาง
กล้องจุลทรรศน์ กล้องดูดาว และกล้องถ่ายรูป ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เลนส์ช่วยในการทำให้เกิดภาพ โดยใช้หลักการหักเหของแสง
เลนส์ คือ ตัวกลางโปร่งใสที่มีผิวหน้าเป็นผิวโค้ง ผิวโค้งของเลนส์อาจจะมีรูปร่างเป็นพื้นผิวโค้งทรงกลม
ทรงกระบอก หรือ พาราโบลาก็ได้ เลนส์แบบง่ายสุดเป็นเลนส์บางที่มีผิวโค้งทรงกลม โดยส่วนหนาสุดของเลนส์จะมีค่าน้อยเมื่อเทียบกับรัศมีความโค้ง เลนส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เลนส์นูน (Convex lens ) กับเลนส์เว้า (Concave lens )
เลนส์นูน คือ เลนส์ที่มีตรงกลางหนากว่าตรงขอบเสมอ เมื่อผ่านลำแสงขนานเข้าหาเลนส์จะทำให้รังสีตีบเข้าหากัน และไปตัดกันจริงที่จุดโฟกัสจริง ( Real focus ) ดังรูป
เลนส์เว้า คือ เลนส์ที่มีตรงกลางบางกว่าตรงขอบเสมอ เมื่อผ่านลำแสงขนานเข้าหาเลนส์จะทำให้รังสีถ่างออกจากกันและ ถ้าต่อแนวรังสี จะพบว่ารังสีจะไปตัดกันที่จุดโฟกัสเสมือน (Virtual focus ) ดังรูป
ปรากฏการณ์เกี่ยวกับแสง
การกระจายของแสง
พิจารณาส่องแสงอาทิตย์ผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม(ปริซึม) แสงขาวของดวงอาทิตย์นั้นมีองค์ประกอบด้วยแสงสีต่างๆ 7 สี คือม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง เมื่อผ่านปริซึม แต่ละสีจะเกิดการหักเหออกมาได้ไม่เท่ากัน สีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุดจะเกิดการหักเหน้อยที่สุด สีม่วงมีความยาว คลื่นน้อยที่สุดจะเกิดการหักเหมากที่สุด ส่วนสีอื่นๆ ซึ่งมีความยาวคลื่นแตกต่างกันก็จะเกิดการหักเหได้ไม่เท่ากันด้วย ลักษณะนี้จะทําให้แสงแต่ละสีที่หักเหออกมาเกิดการแยกออกจากกนัดังรูป เรียกว่า เกิดการกระจายของแสง
รุ้งกินน้ำ
รุ้งกินนํ้ามักจะเกิดหลังฝนตกและเกิดในทิศซึ่งตรงกันข้ามกับพระอาทิตย์ ทั้งนี้เพราะหลังฝนตกในอากาศจะมีละอองน้ำอยู่มาก เมื่อแสงตกกระทบเข้าไปในละอองน้ำนี้ จะเกิดการสะท้อนกลับหมด และหักเห ออกมาทําให้สีทั้ง 7 สี ของแสงขาวเกิดการกระจายออกจากกัน รุ้งกินน้ำมี 2 ชนิด ซึ่งปกติแล้วจะเกิดขึ้นพร้อมกัน ได้แก่
1) รุ้งทุติยภูมิ เป็นรุ้งกินน้ำซึ่งแสงจะเกิดการสะท้อนกลับหมดภายในละอองนํ้า 2 ครั้ง รุ้งแบบนี้จะเกิดในระดับความสูงมากกว่ารุ้งชนิดต่อไป แสงที่หักเหออกมาจากละอองนํ้าแต่ละละอองนั้นแสงสีแดงจะหักเหอยู่ด้านบนสีม่วง แต่สีที่มาเข้าตาเรากลับเป็นสีม่วงอยู่บนสีแดง
2) รุ้งปฐมภูมิ เป็ นรุ้งกินน้ำซึ่งแสงจะเกิดการสะท้อนกลับหมดภายในละอองนํ้า 1 ครั้ง รุ้งแบบนี้จะเกิดในระดับตํ่ากว่ารุ้งทุติยภูมิ แสงที่หักเหออกมาจากละอองนํ้าแต่ละละอองนั้น แสงสีม่วงจะหักเหอยู่ด้านบนสีแดง แต่สีที่มาเข้าตาเรากลับเป็นสีแดงอยู่บนสีม่วง
มิราจ
ในบางครั้งคนซึ่งเดินทางในทะเลทราย จะมองเห็นต้นไม้เป็นสองต้นพร้อมกัน โดยต้นไม้ต้นหนึ่งคือต้นไม้ปกติ แต่อีกต้นหนึ่งจะเป็นภาพหัวกลับยอดชี้ลงใต้พื้นทราย ปรากฏการณ์นี้เรียก
มิราจ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเนื่องจากพื้นทรายถูกแดดจัดเผา ทําให้อากาศบริเวณใกล้พื้นทรายมีอุณหภูมิสูงและมีความหนาแน่นตํ่า แต่จุดซึ่งสูงขึ้นมาอีกเล็กน้อย อุณหภูมิจะลดลงอย่างมาก ทําให้ความหนาแน่นอากาศบริเวณนี้สูงขึ้น จึงเกิดความแตกต่างของความหนาแน่นของชั้นอากาศบริเวณนั้นและเมื่อแสงอาทิตย์สะท้อนออกจากยอดไม้ แสงบางส่วนจะพุ่งตรงเข้าตา ทําให้เห็นยอดไม้ชี้ขึ้นบนอากาศเป็นปกติ แต่แสงบางส่วนจะพุ่งลงข้างล่างแล้วเกิดการหักเหตามชั้นอากาศซึ่งมีความหนาแน่นต่างกันอยู่ แล้วย้อนขึ้นมาเข้าตา และเมื่อสายตามองตรงลงไป จะทําให้เห็นยอดไม้ชี้ลงไปใต้พื้นทรายนอกจากตัวอยางนี้ แล้ว ยังมีปรากฏการณ์มิราจให้เห็นได้อีก เช่นการเห็นนํ้าปรากฏบนพื้นผิวถนนที่ร้อนทั้ง ๆ ที่ถนนแห้งหรือเห็นเรือลอยควํ่าอยู่ในอากาศเหนือท้องทะเล เป็นต้น
ตาและการมองเห็น
สายตาของคนปกตินั้นจะมองเห็นวัตถุได้ชัดเจนเมื่อวัตถุอยู่ในระยะใกล้สุด 25 เซนติเมตร และไกลสุดที่ระยะอนันต์ (Infinite) จากตา สําหรับคนสายตายาวหากวัตถุอยู่ที่ระยะ 25 เซนติเมตร จะเห็นไม่ชัด แต่อาจมองเห็นชัดที่ระยะไกลกวานี้ ดังนั้นต้องใช้แว่นตาเลนส์นูน เพื่อนําวัตถุซึ่งอยู่ที่ระยะ 25 เซนติเมตรนั้น ไปสร้างเป็ นภาพเสมือนตรงจุดใกล้ที่สุดที่เขามองเห็นได้ชัด สําหรับคนสายตาสั้น หากวัตถุอยู่ไกลจะเห็นได้ไม่ชัด แต่หากวัตถุอยู่ใกล้ ๆ จะเห็นชัด ดังนั้นต้องใช้แว่นตาเลนส์เว้า เพื่อนําวัตถุที่อยู่ไกล นั้น มาสร้างเป็นภาพเสมือนตรงจุดใกล้สุดที่เขา ยังสามารถเห็นได้ชัดเจน
ทัศนอุปกรณ์
แว่นขยาย
แว่นขยายทําจากเลนส์นูนโดยอาศัยหลักการว่า เมื่อวางวัตถุไว้ใกล้กว่าจุดโฟกัสของเลนส์นูน จะทําให้เกิดภาพเสมือนหัวตั้งขนาดใหญ่กว่าวัตถุ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าย้อนผ่านเลนส์เข้าไป
เครื่องฉายภาพนิ่ง
เครื่องฉายภาพนิ่งมีองค์ประกอบพื้นฐานดังแสดงในรูป
เมื่อแสงจากหลอดไฟผ่านเลนส์รวมแสงแล้วผ่านสไลด์ จากนั้นแสงจะพุ่งผ่านเลนส์ฉายภาพแล้วเกิดการหักเหไปเกิดเป็นภาพจริงหัวกลับขึ้นที่ฉากรับภาพดังรูป เนื่องจากภาพที่เกิดบนฉากเป็นภาพหัวกลับ ดังนั้นเวลาใส่ฟิล์มจึงต้องกลับหัวฟิล์มลงเพื่อให้ได้ภาพหัวตั้งขึ้นบนฉากนั่นเอง
กล้องถ่ายรูป
กล้องถ่ายรูปจะมีองค์ประกอบพื้นฐานดังแสดงในรูป
เมื่อแสงสะท้อนออกจากวัตถุที่จะถ่ายรูปแสงจะพุงผ่านเลนส์นูนหน้ากล้องแล้วหักเหไป เกิดภาพจริงหัวกลับบนฟิล์มในกล้อง จากนั้นแสงจะทําให้เกิดปฏิกิริยาเคมีบนฟิล์มเกิดเป็นรูปภาพที่ต้องการเก็บไว้นั่นเอง อุปกรณ์เสริมในกล้องถ่ายรูปปกติจะมีดังนี้วงแหวนปรับความชัด ใช้ปรับเลื่อนเลนส์ (ปรับโฟกส) เพื่อปรับความคมชัดของภาพ ไดอะแฟรม เป็นช่องกลมปรับย่อขยายขนาดได้ เพื่อปรับแต่งปริมาณแสงให้เข้ามากน้อยตามความพอดี ชัตเตอร์ เป็นแผนทึบแสงคอยกันแสงและปิดเปิดเมื่อต้องการถ่ายรูป หากปริมาณแสงมีมาก ต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ปิดเปิดอย่างรวดเร็ว หากปริมาณแสงมีน้อยต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ปิดเปิดอย่างช้าๆ
กล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์จะมีองค์ประกอบพื้นฐานดังแสดงในรูป
เมื่อแสงสะท้อนออกจากวัตถุที่ต้องการส่องดู แสงจะพุ่งผ่านเลนส์ใกล้วัตถุแล้วเกิดเป็นภาพจริงหัวกลับ (i 1) ในกล้องจุลทรรศน์ และเมื่อจัดให้ภาพที่เกิดนี้อยู่ใกล้กว่าจุดโฟกัสของเลนส์ใกล้ตาด้านบน เมื่อแสงหักเหผ่านเลนส์ใกล้ตาจะทําให้เกิดเป็นภาพเสมือนหัวตั้งขนาดใหญ่(i 2) สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
กล้องโทรทรรศน์
กล้องโทรทรรศน์เปนกล้องที่ใช้ส่องดูวัตถุที่อยูไกลๆ เช่นกล้องดูดาว กล้องส่องทางไกล เป็นต้น กล้องโทรทรรศน์จะมีองค์ประกอบพื้นฐานดังแสดงในรูป
เมื่อแสงจากวัตถุซึ่งอยู่ไกลพุ่งผ่านเลนส์ใกล้วัตถุของกล้องโทรทรรศน์ แสงจะเกิดการหักเหทําให้เกิดภาพจริงหัวกลับ ขึ้นที่จุดโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุนั้น และเมื่อแสงพุ่งผ่านเลนส์ใกล้ตาจะหักเหแล้วทําให้เกิดภาพเสมือน ขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ปัจจุบันเราสามารถทําให้ภาพเสมือนที่มองเห็นเป็นภาพหัวตั้ง โดยใส่เลนส์นูนตัวที่ 3 แทรกไว้ระหว่างเลนส์ใกล้วัตถุกับเลนส์ใกล้ตาดังรูป
ความยาวของกล้องโทรทรรศน์จะมีค่าประมาณ
ความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ + ความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา
กำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์ สามารถหาค่าได้จาก
กำลังขยาย = ความยาวโฟกัสเลนส์ใกล้วัตถุ/ความยาวโฟกัสเลนส์ใกล้ตา
เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์จะมีขนาดที่ยาวมาก หากเราใช้ปริซึมเข้าช่วยจะสามารถลดความยาวของ
กล้องได้ดังรูป วิธีการนี้จะใช้กับกล้องส่องทางไกล
ความสว่าง
ความสว่างบนพื้นผิวใด ๆ สามารถคํานวณหาค่าได้ จากสมการ
E = F/A หรือ E = I/R^2
เมื่อ E คือความสว่าง (ลูเมน/เมตร^2 . ลักซ์)
F คืออัตราการให้พลังงานแสง หรือ ฟลักซ์ส่องสวาง (ลูเมน)
[ปริมาณพลังงานแสงที่ส่องออกมาจากแหล่งกําเนิดต่อหนึ่งหน่วยเวลา]
A คือพื้นที่รับแสง (เมตร^2)
I คือความเข้มของการส่องสว่าง (แคนเดลลา)
[ความสามารถในการเปล่งแสงออกจากแหล่งกําเนิด]
R คือระยะจากแหล่งกำเนิดแสงวัดมาตั้งฉากกบพื้นที่ (เมตร)
แสงสีและการผสมสี
แสงสีปฐมภูมิ คือ แสงสีพื้นฐานซึ่งมี 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีนํ้าเงิน เมื่อนําแสงสีปฐมภูมิมาผสมกัน จะเกิดเป็นสีอื่นๆ อีก ดังนี้
แสงสีแดง + แสงสีนํ้าเงิน ได้ แสงสีแดงม่วง
แสงสีแดง + แสงสีเขียว ได้ แสงสีเหลือง
แสงสีนํ้าเงิน + แสงสีเขียว ได้ แสงสีนํ้าเงินเขียว
ทั้ง 3 แสงสีปฐมภูมิรวมกัน จะได้แสงขาว
สําหรับการมองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆ นั้น เกิดจากการที่วัตถุสะท้อนแสงสีนั้นๆ ออกมาเข้าตาเรา ตัวอย่างเช่น
ถ้าเรามองเห็นวัตถุมีสีเขียว แสดงว่าวัตถุนั้นสะท้อนแสงสีเขียวออกมาเข้าตาเรา ส่วนแสงสีอื่นๆ จะถูกดูดกลืนหมดดังแสดงในแผนภาพ
ถ้าเรามองเห็นวัตถุมีสีเหลือง แสดงว่าวัตถุนั้นสะท้อนแสงสีแดงและเขียวออกมาเข้าตาเรา แล้วแสงสีทั้งสองเกิดการผสมรวมกันเป็นแสงสีเหลือง ส่วนแสงสีนํ้าเงินจะถูกดูดกลืน
ถ้าเรามองเห็นวัตถุมีสีขาว แสดงว่าวัตถุนั้นสะท้อนแสงทุกสีออกมาเข้าตาเรา แล้วแสงสีทั้งหมดเกิดการผสมรวมกันเป็นแสงสีขาว
ส่วนการที่เรามองเห็นวัตถุเป็นสีดํา เป็นเพราะวัตถุนั้นดูดกลืนแสงทุกสีจึงไม่มีแสงสะท้อนมาเข้าตาเรา เราจึงมองเห็นวัตถุนั้นมืดดํานันเอง
การถนอมสายตา
ตาเป็นอวัยวะที่มีความไวต่อแสง การมองในบริเวณที่แสงมีความเข้มมากกับบริเวณที่มีความเข้มแสงน้อย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตา หรือทำให้สายตาเสียได้
เรตินา เป็นส่วนของตาที่เสียหายได้ เมื่อได้รับแสงที่มีความสว่างเกินความสามารถของการรับรู้ของมัน เมื่ออเราดูวัตถุหรือสิ่งต่างๆ ที่วางอยู่กลางแดดหรือบนหาดทรายขาว เราจะรู้สึกตาพร่า หรือบางครั้งก็รู้สึกตามัวทั้งนี้เป็นเพราะว่า เราตินาของตาถูกกระตุ้นจนเกินไปทำให้การตอบสนองช้า ถ้าเราจ้องดูวัตถุที่มีความสว่างมากต่อไป การตอบสนองก็ยิ่งช้าลง สำหรับในกรณีที่ดูวัตถุที่มีความสว่างสูงมาก เรตินาจะถูกทำลายจนใช้การไม่ได้ตลอดไปคือ ตาคนๆ นั้นจะบอด
การดูวัตถุที่มีความสว่างมาก
เช่นดวงอาทิตย์ แสงจากการเชื่อมโลหะ จะต้องไม่มองสิ่งเหล่านี้โดยตรงเพราะความเข้มแสงมากจนทำให้เกิดอันตรายร้าย แรงต่อตาได้ หรือมองวัตถุที่แสงสว่างไม่มากเกินไปแต่มองต่อเนื่องเป็นเวลานานก็สามารถ เกิดอันตรายต่อสายตาได้เช่นกัน การป้องกันไม่ให้แสงที่มีความเข้มมากเข้าสู่ตาโดยตรงเป็นวิธีป้องกันดวงตา จากวัตถุที่สว่างมากๆ
การดูวัตถุที่มีความสว่างน้อย
การดูวัตถุที่มีความสว่างน้อยก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อสายตาได้เนื่องจาก จะต้องเพ่งสายตาเป็นเวลานาน เช่นการอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงน้อยๆ จะทำกล้ามเนื้อตาเสื่อมเร็วกว่าปกติ ดังนั้นจึงต้องอ่านหนังสือในบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ เช่นมีการกำหนดความสว่างสำหรับห้องเรียนไว้ 300-700 Lux เป็นต้น
การดูผ่านทัศนอุปกรณ์
การใช้ทัศนอุปกรณ์อันได้แก่ กล้องส่องทางไกล กล้องโทรทรรศน์ดูวัตถุหรือแหล่งกำเนิดแสงที่มีความสว่างมาก จะทำให้เรตินาเป็นอันตราย เช่นเดียวกับการใช้ตาเปล่าดูวัตถุหรือแหล่งกำเนิดที่มีความสว่างมาก อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อย คือ การดูดวงอาทิตย์ขณะเกิดสุริยุปราคาไม่ว่าจะด้วยตาเปล่า หรือด้วยกล้องส่องทางไกล ความสว่างที่เกิดจากการมองตรงเช่นนั้นมากเพียงพอให้เรตินาพิการอย่างถาวรได้ ดังนั้น ในการดูหรือถ่ายภาพดวงอาทิตย์เมื่อเกิดสุริยุปราคา จึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง โดยดูผ่านแผ่นฟิล์มกรองแสง หรือดูโดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ดูแลทั่วไป เมื่ออยู่กลางแจ้งที่มีความสว่างมากกว่า 10,000 ลักซ์ ควรใส่แว่นกันแดด เพื่อลดความสว่างของแสงที่เข้าตา
ตาราง แสดงความสว่างบนพื้นบริเวณกลางแจ้ง
สภาพอากาศ ความสว่าง (ลักซ์)
เวลา 08.00 น. ท้องฟ้ามีเมฆเต็ม 5,000-6,000
เวลา 10.00 น. ท้องฟ้ามีเมฆเต็ม 17,000-20,000
เวลา 12.00 น. ท้องฟ้าแจ่มใส 54,000-57,000
ข้อแนะนำสำหรับการถนอมสายตา
อ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และถือหนังสือห่างจากดวงตาประมาณ 1 ฟุต ไม่ควรอ่านหนังสือเป็นเวลาติดต่อกันนาน ๆ ควรพักสายตาประมาณ 30-45 นาที เมื่อรู้สึกปวดเมื่อยตา
ดูโทรทัศน์ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และควรนั่งห่างจากจอโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่าของขนาดโทรทัศน์
ไม่ควรจ้องมองพระอาทิตย์เป็นเวลานานๆ
ควรสวมแว่นตาทุกครั้งที่ต้องออกไปสัมผัสกับแสงแดด หรือขับขี่รถยนต์
หลีกเลี่ยงการมองหรือจ้องคลื่นแม่เหล็กจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เตาไมโครเวฟ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ
เวลาที่เศษผงเข้าตา ห้ามขยี้ตาเด็ดขาด แต่ให้คุณล้างตาด้วยน้ำสะอาดหรือหยอดน้ำยาล้างตาแทน
ทุกครั้งที่ลงเล่นน้ำในสระว่ายน้ำ ควรสวมใส่แว่นตาว่ายน้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันคลอรีนหรือเศษผงเข้าตา
ควรระมัดระวังการละเล่นหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตา
เมื่อรู้สึกปวดเมื่อยตา ไม่ควรกดนวดดวงตา หรือกรอกดวงตาไปมา แต่ควรหลับตาประมาณ 20 ถึง 30 นาที
ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดหน้า แว่นตา ยาหยอดตา ร่วมกับผู้อื่น
ควรปิดไฟนอน เพื่อเป็นการพักสายตา
ในกรณีที่สารเคมีเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาด แล้วไปพบจักษุแพทย์โดยด่วน
ควรไปตรวจวัดสายตาเป็นประจำ อย่างน้อยปีละครั้ง
คำค้น : ดรรชนี ดัชนี หน่วย ปรากฏการณ์ ของตัวกลาง หนึ่ง ๆ มีหน่วยในระบบเอสไอ ของตัวกลาง หนึ่ง ๆ มีหน่วยในระบบเอสไอ คือ ค่าดัชนี ดัชนี ของตัวกลาง หนึ่ง ๆ มีหน่วยในระบบเอสไอ เป็น ดัชนี คือ
ที่มา:http://lightgroup123.blogspot.com/p/blog-page_10.html
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เฉลยใบงานที่ 1.1 เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ วัตถุประสงค์ของการใช้แผนที่ คือข้อใด เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร เฉลย เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 10 ชนิด ประโยชน์ของแผนที่ แผนที่หมายถึง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีอะไรบ้าง วิธีใช้ ใกล้ฉัน ออนไลน์
ส่วนประกอบของไฟฉาย ส่วนประกอบของกล่องดินสอ แยกส่วนประกอบของไฟฉาย วิทยาการคํานวณ ประโยชน์ของไฟฉาย กระบอกไฟฉาย ข้อเสียของไฟฉาย ไฟ
หวยลาว กับหวยลาวพัฒนา เหมือน กัน ไหม หวยลาวมีกี่แบบ หวยลาวพัฒนา คือ หวยลาวพัฒนา ดู ยัง ไง หวยลาวมีอะไรบ้าง หวยลาวสามัคคี คืออะไร ลาวพลัส กับ
Social Media Marketing ตัวอย่าง Social Media Marketing คือ social media marketing ข้อดี ข้อเสีย social media marketing มีอะไรบ้าง ข้อดีของ social media marketing มีอะไรบ้าง social media marketing ข้อควรระวัง กลยุทธ์ Social Media Marketing social media marketing ข้อเสีย
ประเภทของเกม 9 ประเภท จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเกม ตัวอย่างแผนการสอนโดยใช้เกม ประโยชน์ของการเล่นเกมการศึกษา ลักษณะของเกมมีอะไรบ้าง เทคนิค
ความฝัน เป็นสิ่งที่คนเรามักเชื่อมโยงกับ โชคลาภ และ เลขเด็ด อย่างแยกไม่ออก หลายคนเคยมีประสบการณ์ ตื่นขึ้นมาแล้วจำความฝันไม่ได้ จนรู้สึกพลาดโอกาสที่
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 172695: 1241