คุณลักษณะอันพึงประสงค์

8 ประการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียนที่ไม่มีใครรู้?

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

แน่นอนว่าทุกอย่างย่อมมีหลักเกณฑ์ หลักสูตร หรือแบบแผนที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมา การศึกษาไทยก็เช่นกัน ได้มีการกำหนดหลักสูตรการเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือที่เราเรียกกันว่า ‘คุณลักษณะอันพึงประสงค์’ มีทั้งหมด 8 ประการ ดังต่อไปนี้

มีการกำหนดหลักสูตรการศึกษาเพื่อเป็นแกนกลางให้เหล่าบุคลากรทั้งหลายได้นำไปปฏิบัติตาม เพื่อนำมาซึ่งประสิทธิภาพสูงสุดของการศึกษาไทย และเสมือนเป็นการบ่งบอกถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่ควรพึงมี ยึดเป็นหลักปฏิบัติที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วย 8 ประการ ดังต่อไปนี้

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ

 

1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ กล่าวคือ นักเรียนควรแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าของความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย และคงความเป็นไทยให้สืบเนื่องต่อไป
 
2. ซื่อสัตย์สุจริต กล่าวคือ นักเรียนควรแสดงให้เห็นคุณค่าที่ดีที่ควรนำไปปฏิบัติในเรื่องของการพัฒนาจิตใจ เพราะสิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมไทย
 
3. มีวินัย กล่าวคือ นักเรียนสามารถที่จะรู้จักการควบคุมตนเองในการทำสิ่งใดสิ่งนึงป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ อย่างการศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับปริญญา เป็นต้น
 
4. ใฝ่เรียนรู้ กล่าวคือ นักเรียนควรรักการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือพัฒนาสิ่งเดิมให้ดียิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา ยิ่งโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักเรียนยิ่งต้องใฝ่หาความรู้ และเรียนรู้สิ่งใหม่ให้ทันกระแส เพื่อนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบัน
 
5. อยู่อย่างพอเพียง กล่าวคือ นักเรียนควรดำเนินตามแนวพระราชดำริหรือหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มุ่งเน้นเรื่องความพอเพียง การออมเงิน รวมทั้งการใช้เงินอย่างไม่ประมาท ซึ่งเป็นหลักที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของตนเอง ชุมชน และท้องถิ่น เพราะการไม่มีหนี้ถือเป็นลาภอันประเสริฐยิ่ง
 
6. มุ่งมั่นในการทำงาน กล่าวคือ นักเรียนควรรู้จักการวางแผนและเลือกวิธีการปฏิบัติหน้าที่ให้เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อนำไปสู่จุดหมายของการเรียนรู้ และปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
 
7. รักความเป็นไทย กล่าวคือ นักเรียนควรมีความตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองดีในสังคมไทย สืบทอดเอกลัษณ์และความเป็นไทยให้สืบเนื่องต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน
 
8. มีจิตสาธารณะ กล่าวคือ นักเรียนควรมีจิตสำนึกที่ดีสำหรับการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน หรือขาดโอกาศในสังคมไทย รู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวม เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพื่อสังคมไทยจะได้เป็นสังคมที่น่าอยู่

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือ

 

คุณภาพโดยรวมของผู้เรียน หมายความไปถึงเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของสังคม สามารถพิจารณาจากสภาพความเป็นอยู่ในสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน นำมาซึ่งความจำเป็นที่ต้องปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังกล่าวไว้
นอกจากจะเป็นคุณลักษณะพึงประสงค์ขั้นพื้นฐานที่ผู้เรียนควรปฏิบัติตามแล้ว ยังสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้นได้ แสดงให้เห็นถึงภาพรวมในด้านของสติปัญญา รวมทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรมไปพร้อมๆ กัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ก้าวหน้า ความมีรากฐานที่มั่นคง รวมทั้งความสงบสุขในสังคมไทยของเรา ทั้งหมดทั้งมวลนี้รวมไว้ในคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนเรียบร้อยแล้ว

หากพูดถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลายท่านอาจกำลังสงสัยถึงนิยามหรือความหมายที่แท้จริงของคำเหล่านี้ ว่ามีนิยามหรือความหมายรวมไปถึงเรื่องใดในสังคมบ้าง

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 8 ประการ เป็นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ถูกกำหนดขึ้นในปีพุทธศักราช 2551 หรือที่หลายๆ คนเรียกว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2551 ซึ่งก็ประกอบไปด้วย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของผู้เรียน ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
 
เชื่อว่าทุกคนอยากให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่ ดังนั้นหลักปฏิบัติจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ หากเรามีหลักปฏิบัติที่ดีและแข็งแรง คนรุ่นหลังก็จะสามารถดำเนินตามรอยและทำให้สังคมไทยน่าอยู่สืบไป

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com