สูตร ลาบปลาดุกใส่ข้าวคั่วเหนือมีสารแคลทำได้อย่างเจ๋ง 7 สูตร?
ลาบปลาดุก ส่วนผสมลาบปลาดุก วิธีทำลาบปลาดุก ลาบปลาดุก กี่แคล วิธี วิธีทํา ใส่ข้าวคั่ว เหนือ สารอาหาร ต้ม เหนือ แคลอรี่ วิธี ทํา เหนือ ครัวบ้านพิม โภชนา
เมื่อกล่าวถึง Ebitda คืออะไร คงจำกัดเรื่องความเข้าใจได้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น การดูเรื่อง Ebitda มักจะใช้ดูเพื่อส่วนของกำไร นิยมใช้ในการดูรายการงบประมาณของบริษัทต่าง ๆ สามารถใช้ดู Ebitda margin ของตลาดหลักทรัพย์เพื่อประเมินส่วนของมูลค่าหุ้นได้ด้วยเช่นกัน วันนี้เราจะมาดูกันว่า Ebitda คืออะไร แล้วค่า Ebitda คือส่วนไหน ช่วยดูอะไรในงบการเงินได้บ้าง เราไปดูกันเลย
ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจเรื่องของงบประมาณก่อน สำหรับบริษัทที่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องมีการทำงบการเงินซึ่งเป็นการตามระเบียบข้อบังคับ และบริษัทจะต้องแสดงหรือประกาศงบการเงินของบริษัทตนเอง เพื่อให้นักลงทุนและนักวิเคราะห์สามารถดูตัวเลขของงบการเงินได้ เพื่อจะนำมาประกอบการตัดสินใจเรื่องการลงทุน ทั้งนี้ ส่วนสำคัญของการดูงบการเงินคือส่วนของ “กำไรสุทธิ” เพราะจะชี้ให้เห็นถือผลประกอบการของบริษัทเรื่อง กำไร ขาดทุน เป็นการชี้ให้เห็นว่าบริษัทอยู่รอดมากแค่ไหน โดยสาเหตุที่นักลงทุนนิยมดูกำไรสุทธิเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นส่วนของรายได้ที่ได้จากการทำธุรกิจแล้วจริง ๆ เพราะได้ทำการหักต้นทุน หักดอกเบี้ย หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งหักภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้แล้วเรียบร้อย ทำให้เงินส่วนนี้จำถูกนำมาแบ่งจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นที่เข้ามาลงทุน ในรูปแบบของปันผล รวมทั้งอาจจะมีการสำรองเพื่อขยายธุรกิจหรืออื่น ๆ ตามตกลง
สำหรับ Ebitda คือ ส่วนของงบประมาณในส่วนของกำไร โดยจะเป็นกำไรก่อนนำมาหักดอกเบี้ยภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
สูตรการคำนวณ Ebitda คือ = ยอดขาย – ต้นทุนขาย – ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร + ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย
ถือได้ว่า Ebitda คือ ส่วนของกำไรนั้นเอง เพราะจะได้จากการดำเนินงานของบริษัทแล้ว แต่เมื่อคำนวณแล้วก็ยังไม่ได้นำไปหักค่าใช้จ่ายอีกบางส่วน เรียกได้ว่าเป็นกำไรส่วนของเงินสด
EV/Ebitda คือ Enterprise Value Per EBITDA หรือเรียกว่า Enterprise Multiple ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงถึงมูลค่าความถูกแพงของธุรกิจ ซึ่งรูปแบบตัวเลขของ EV/Ebitda หรือ Enterprise Multiple จะได้รับการประเมินมูลค่าแบบสัมพันธ์ (relative valuation) ไว้เรียบร้อยแล้ว ตัวเลขจะแสดงลักษณะข้อมูลตัวเลขเชิงเปรียบเทียบ มีอัตราส่วนที่ใช้เปรียบเทียบแบบประมาณไว้กับหุ้นตัวอื่น ซึ่งจะสามารถเห็นได้ชัดว่าหุ้นของกิจการบริษัทใดมีมูลค่าถูกหรือแพงกว่ากัน
สูตรการคำนวณ EV/Ebitda คือ (Market Capitalization + Debt)/(Earning Before Interest and Tax + Depreciation + Amortization)
ลักษณะของ EV/Ebitda คือ รูปแบบวิธีการหนึ่งที่นักลงทุนใช้เพื่อใช้ประเมินมูลค่า ซึ่งหลายคนอาจจะเลือกใช้วิธีการ PE แทนก็ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อดีของวิธีการใช้ EV/Ebitda คือช่วยให้ทราบถึงจุดคุ้มทุนหรือเห็นถึงจุด Breakeven Point ได้ด้วยเช่นกัน
Ebitda margin คือ การนำผลจาก Ebitda ไปคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เราสามารถทราบได้ว่ารายได้ต่อหนึ่งบาทเป็นเท่าไร เห็นถึงกำไรที่แท้จริงเชิงเปรียบเทียบได้ชัดเจน โดยตัวเลขของ Ebitda margin สามารถนำไปเปรียบเทียบผลประกอบการดำเนินงานย้อนหลังรูปแบบ (time-series) รวมทั้งสามารถนำไปเทียบได้อย่างชัดเจนกับบริษัทอื่น (cross-sectional)
สูตรการคำนวณ (%) Ebitda margin = Ebitda margin ÷ รายได้ทั้งหมด
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากตัวเลขการคำนวณ (%) Ebitda margin ให้ยึดที่ 0 หากมีผลบวกมากก็เท่ากับบริษัทหรือธุรกิจดำเนินกิจการได้มีกำไรมาก แต่หากต่ำกว่า 0 หรือเป็นลบมากเท่าไรก็แสดงถึงการขาดทุนมากเท่านั้นฃ
Ebitda coverage ratio คือ ตัวเลขแสดงอัตราส่วนการบริหารหนี้สินของธุรกิจ อยู่ในส่วนประเมินผลธุรกิจโดยรวม โดยอัตราส่วนหนี้สิน (Debt ratio) ที่ได้จะแสดงให้เห็นหนี้สินของกิจการมีกี่เปอร์เซ็นต์ มีมากหรือน้อยแค่ไหน เป็นรูปแบบของการคำนวณ หนี้สินทั้งสิ้น/สินทรัพย์ทั้งสิ้น กิจการมีสินทรัพย์เป็นของเจ้าหนี้กี่เปอร์เซ็นต์ และ Ebitda coverage ratio ใช้วัดว่ากระแสเงินสดสามารถชำระค่าใช้จ่ายประจำได้เพียงไร
สูตรการคำนวณ EBITDA coverage ratio = (EBITDA + Lease payments) / (Interest + Loan repayments + Lease payments)
IBD ebitda คือ Interest Bearing Debt เป็นอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
แม้ว่าจะฟังดูคล้ายกันแต่ EBIT และ EBITDA มีความแตกต่างกัน สามารถอธิบาย Ebit Ebitda คืออะไรง่าย ๆ ได้ดังนี้
Ebit คือ ตัวที่จะแสดงถึงผลกำไรของบริษัท เป็นส่วนของรายรับทั้งหมดก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี สามารถแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ที่กำหนด ใช้สูตรการคำนวณคือ รายรับ – ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
Ebitda คือ ตัวเลขที่บ่งชี้ถึงผลการดำเนินงานที่แท้จริงของธุรกิจ ซึ่งจะต้องเป็นตัวเลขที่ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แฝงอยู่ ไม่รวมกับดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา หรือค่าตัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ใช้สูตรการคำนวณคือ รายได้ – ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ไม่รวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย)
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่มาอ้างอิง