ปก modal-verb

Modal verb กริยาช่วยมีอะไรบ้างสรุปแท้เน้นจำง่ายครบ 2 Modal?

Click to rate this post!
[Total: 153 Average: 5]

modals verbs

เรียนมาก็ตั้งแต่เด็กกับ Grammar มากมาย เชื่อว่าหลายคนก็อาจจะสับสนกับรูปแบบกริยา (Verb) เพราะถ้าแปลตรงตัว กริยาก็คือ การกระทำ แต่กระทำทำของภาษาอังกฤษนั้น จะแบ่ง Verb ออกเป็นกริยาแท้ และกริยาช่วย ทำให้ไม่เหมือนกับภาษาไทยของเรา แต่ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะกริยาช่วย หรือ modal verb คือ กริยาที่จะทำให้การจัดรูปแบบประโยคของคุณให้ได้เข้าง่ายมากขึ้น ถูกหลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษได้นั้นเอง เรียกได้ว่า modal verb คือตัวเอกฝั่งของกริยาเลยก็ว่าได้ ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องmodal verb คืออะไร กันให้ท่องแท้ รู้แล้วจะอ๋อ ช่วยให้ภาษาอังกฤษของคุณลื่นไหลอย่างแน่นอน

verb infinitive คือ modals verbs คือ

modals verbs คือ

Modal Verbs คือ กริยาช่วย สามารถเรียกว่า modal auxiliary verb คือ กริยาช่วยก็ได้เช่นกัน เพราะจะเป็นกริยาช่วยขยายความหมายของกริยาแท้ โดยลักษณะของ Modal Verbs จะไม่ใช่กริยาแท้ แต่จะทำหน้าที่ในการช่วยกริยาแท้ (Main verb) คำที่มักจะคุ้นเคยกันดี คือ shall, should, will, would, can, could, may, might และ must โดยจะสังเกตได้ว่ากริยาช่วยอย่าง Modal-Verbs นั้น มีความหมายในตัวเอง แต่สาเหตุที่ต้องนำมาช่วยกริยาหลัก ก็เพื่อให้ประโยคดูสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และทำให้ถูกต้องตามหลักของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน

modals verbs คือ

  1. Modal-verb ทุกตัว จะต้องตามด้วย Verb infinitive เท่านั้น

โดย Verb infinitive คือ กริยา Verb ที่เป็นรูปธรรมดาช่อง 1 ซึ่งจะไม่ผัน ไม่เติม ไม่มีการเปลี่ยนรูป (ให้สังเกตว่ากริยาที่ต่อท้าย Modal-verb ทุกตัว ต้องไม่เติม –ing, -ed, ไม่เติม to, หรือ ไม่เติม s/es) ซึ่งหลายคนอาจจะสับสนว่า จะต้องมีการใส่ to ระหว่างคำกริยาทั้งหมดก่อน เพราะจะกลายเป็นกริยาซ้อนกัน แต่สำหรับการใช้กริยาช่วยอย่าง Modal-Verbs คือ shall, should, will, would, can, could, may, might และ must สามารถตามด้วยกริยาแท้ได้เลยทันที และกริยาที่มาต่อจะต้องไม่มีการเปลี่ยนรูปแต่อย่างใด เช่น เป็น I can go ไม่ใช่ I can to go หรือ He should sleep ไม่ใช่ He should to sleep แต่หากจะเป็นการใช้กริยาช่วยตามด้วยกริยาแท้ 2 ตัว จะต้องมี to เพื่อเชื่อม เช่น He should go to sleep เพราะ Should เป็น Modal-Verbs หรือกริยาช่วย สามารถตามด้วยกริยาแท้ได้ตัวเดียว โดยที่ go และ Sleep เป็นกริยาแท้ทั้งคู่ที่มาด้วยกันจึงต้องมี to เพื่อคั่นกลางนั้นเอง

verb infinitive คือ

verb infinitive คือ อะไร ก็ได้เกริ่นให้ทราบแล้วว่า มันก็คือ คำกริยาเดิม ที่อยู่ในรูปปกติ ไม่ต้องเติมคำใดๆต่อท้ายทั้งสิ้น ถ้าใครเรียนหลักไวยากรณ์ มันก็คือกริยาช่องที่ 1 เดิมๆนั่นเอง  เช่น come, go, walk, run, swim เป็นต้น infinitive มักจะเริ่มต้นด้วย ตามด้วยกริยารูปแบบง่าย ๆ โดยทั่วไป กริยา infinitive คือกริยาที่มีคำว่า “to” อยู่ข้างหน้า ซึ่ง Infinitive ในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 

  1. Infinitive with to
  2. infiniive without to

Infinitive คือ รูปของกริยาที่ยังไม่ได้ผัน ในภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปแล้วเมื่อพูดถึง infinitive เราจะนึกถึง present infinitive ซึ่งพบบ่อยที่สุด แต่อย่างไรก็ดี infinitive มีอยู่ทั้งหมดด้วยกัน 4 แบบ ได้แก่ the perfect infinitive, the perfect continuous infinitive, the continuous infinitive และ the passive infinitive

Present infinitive มี 2 แบบได้แก่

  • infinitive แบบใช้ to = to + กริยา
  • infinitive แบบไม่ใช้ to = กริยา

คำกริยาของ present infinitive คือ คำกริยาที่พบได้ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ  

V.Infinitive คือ กริยาไม่แท้ชนิดหนึ่งที่เราใช้กันในภาษาอังกฤษ โดยรูปของมันก็คือรูปเพียวๆ ของกริยาเลยครับ ไม่ผัน ไม่ทำเป็นพหูพจน์อะไรเลย V.Infinitive ก็มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ แบบที่มี to กับแบบที่ไม่มี to ทั้งสองแบบนั้นก็มีวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน กริยาใด ๆ ที่นำหน้าด้วยคำว่า ‘to’ เป็น infinitive ใช้ modal-verb ได้กับทุกประธาน

การใช้ infinitive แบบใช้ to เพื่ออธิบายบางสิ่งที่สามารถใช้ได้หรือจะนำไปใช้ ในกรณีนี้ infinitive แบบใช้ to จะตามด้วยคำนามหรือคำสรรพนาม

ตัวอย่างเช่น

  • The children need a garden to play in.
  • I would like a sandwich to eat.
  • I don’t have anything to wear.
  • Would you like something to drink?

ไม่ว่าจะเป็นประธานเอกพจน์หรือพหูพจน์ คนเดียวหรือสองคน คน สัตว์ สิ่งของ สามารถใช้กริยาช่วยอย่าง Modal-verb ทุกตัว ได้เลยโดยไม่ต้องเติม s / es ของกริยาช่วยแต่อย่างใด เพราะกริยาช่วยเข้ามาทำหน้าที่ช่วยกริยาแท้ ดังนั้น กริยาที่จะเปลี่ยนได้มีแค่กริยาแท้เท่านั้น ดังนั้น หากเจอประโยคที่เติมเข้าไปจะถือว่าผิดหลักไวยากรณ์ทันที เช่น She cans, You shoulds เป็นต้น

  1. Modal-verb ทุกตัว สามารถทำเป็นประโยคปฏิเสธหรือคำถามได้เลยทันที

การขึ้นต้นคำถามเพียงแค่นำกริยาช่วยอย่าง Modal-Verbs คือ shall, should, will, would, can, could, may, might และ must ไปใส่ไว้คำขึ้นต้น ก็จะทำหน้าประโยคบอกเล่ากลายเป็นประโยคคำถามทันที โดยที่ไม่ต้องมีการใช้กริยา Do, Does เข้ามาช่วยแต่อย่างใด ซึ่งการใช้ Do, Dose จะเป็นการถามตอบว่า ใช่, ไม่ใช่ แต่กริยาช่วยจะทำให้ประโยคชัดเจนได้ เพราะความหมายของกริยาช่วยนั้นเอง ทั้งนี้ต้องดูที่รูปประโยคเป็นสำคัญด้วยเช่นกัน

สำหรับประโยคปฏิเสธสามารถใช้ not กับกริยาช่วยอย่าง Modal-Verbs ได้เลยทันที ไม่ต้องมีการนำnot มาขยายเพิ่มเติม เพราะบางคนอาจจะสับสนไปเอา don’t หรือ doesn’t มาขยายกริยาช่วยอย่าง Modal-Verbs อีกที จึงทำให้ผิดหลักไวยากรณ์ เพราะมีความซับซ้อนและไม่เข้าใจ เช่น ประโยคที่ถูกเมื่อเป็นปฏิเสธ She can’t open the window แต่ใช้ผิดเป็นเอา do หรือ does มาทำเป็นรูปปฏิเสธแทน กลายเป็น She doesn’t can open the window นั้นเอง

ดังนั้น ให้สังเกตให้ดีกับรูปประโยคลักษณะนี้ทำให้คนผิดไวยากรณ์ค่อนข้างบ่อย โดยที่ can เป็นกริยาช่วยสามารถเปลี่ยนประโยคปฏิเสธได้เองเลย ส่วน open เป็น verb แท้ ไม่สามารถเติม not ที่กริยาแท้ได้ เพราะการเปลี่ยนรูปปฏิเสธจะต้องเปลี่ยนที่กริยาช่วยหรือกริยาตัวอื่นอย่าง do, does เท่านั้น ซึ่งหากในประโยคนี้ไม่มีเรื่องการใช้กริยาช่วย Modal-Verbs อย่าง can รูปประโยคก็จะกลายเป็นไปผันตาม Tense และสามารถเปลี่ยนมาใช้รูปกริยาปฏิเสธจาก do, does ได้ โดยจะขึ้นอยู่กับความหมายเป็นสำคัญ เช่น She doesn’t open the window ก็จะเปลี่ยนความหมายไปเลยจาก เธอไม่สามารถเปิดหน้าต่าง เป็น เธอไม่เปิดหน้าต่าง หมายถึงเธอเลือกจะไม่เปิดไม่ใช่ว่าเปิดไม่ได้นั้นเอง

กริยาช่วยอย่าง Modal-Verbs เปลี่ยนรูปเป็นปฏิเสธ โดยเติม not เข้าไป และสามารถเขียนย่อได้แก่ shall – shan’t, should – shouldn’t, will – won’t, would – wouldn’t, can – can’t , could – couldn’t , may – mayn’t , might – mightn’t,  must – mustn’t

ทั้งนี้ คำว่า have to ก็ถือเป็นกริยาช่วยอย่าง Modal-Verbs ด้วยเช่นกัน โดยคำว่า have to หรือ has to จะแปลว่า “ต้อง” ไม่ได้แปลว่า มี หรือ กิน สามารถทำเป็นรูปปฏิเสธได้ คือ การใช้ do, dose มาช่วยทำปฏิเสธแทน เพราะ have to หรือ has to ในส่วนของกริยาช่วยที่แปลว่า ต้อง ถือเป็นกลุ่มคำเฉพาะ ได้แก่ have to – don’t have to และ has to – doesn’t has to

คำค้น : คือ มีอะไรบ้าง สรุป exercise การ ใช้ worksheet มี อะไร บ้าง what is a what is คือ อะไร examples สรุป pdf mind map 24 ตัว ข้อสอบ พร้อม เฉลย ตัวอย่าง ประโยค exercise พร้อมเฉลย pdf แบบฝึกหัด ม.3 พร้อมเฉลย how to use ability of ability ppt must have to meaning must need possibility need of necessity function of มีกี่ตัว functions past should have to การใช้ offer example of permission worksheet with answers sentences is types of โครงสร้าง of deduction คือ type of list

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่มาอ้างอิง

  • Modal-Verb (กริยาช่วย) ฉบับที่สมบูรณ์แบบครบเครื่องทุกเรื่องที่ต้องรู้. สืบค้น 5 ธันวาคม 2564. จากเว็บไซด์ https://engbreaking.co.th/modal-verb/

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ปิดกิจการ
สิ่งที่ทำให้เกมเต้น
ปก รำวงมาตรฐาน
219379
อาหารตามสั่ง
การทำ ประมาณ ในหมากรุกคืออะไร
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 170862: 1312