คำนาม

สมุหนามคำนามชนิด ป 3/4 5 DUTY ตัวอย่างชัดเฉลยว่ามีอะไรจบ?

Click to rate this post!
[Total: 263 Average: 5]

คำนาม

คำนาม คือ  คำที่ใช้เรียกชื่อ  คน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ต่าง ๆ  เช่น พ่อ แม่ เด็ก นก ปลา บ้าน หนังสือ โรงเรียน  เป็นต้น

คำนาม คือ

คำนาม มีอะไรบ้าง

แบ่งได้เป็น 5 ชนิด  คือ

1.สามานยนาม

สามานยนาม คือ  คำทั่วไป  ใช้เรียกชื่อ  สิ่งต่าง ๆ โดยไม่ชี้เฉพาะเจาะจง  เช่น บ้าน คน รถ หนังสือ กล้วย แม่น้ำ เขื่อน โรงเรียน จังหวัด คอมพิวเตอร์ ฯลฯ สามานยนามบางคำยังมีคำย่อยเพื่อบอกชนิดย่อยๆ ของสิ่งต่าง ๆ เรียกว่า สามานยนามย่อย เช่น คนไทย หนังสือเรียน กล้่้วยหอม รถจักรยาน เป็นต้น

ตัวอย่าง คำสามานยนาม

  • คน เช่น เด็ก คนสวน ลูกน้อง ข้าราชการ ครู นักเรียน แม่ค้า นักการเมือง ตำรวจ เป็นต้น
  • สิ่งของ เช่น ช้อน คอมพิวเตอร์ หมวก ปากกา หนังสือพิมพ์ เข็ม เก้าอี้ กระดาษ สายไฟ น็อต เป็นต้น
  • สัตว์ เช่น กวาง นก มด ยีราฟ ช้าง ปลา ควาย ปลวก ลิง หมี เหา พยาธิ เป็นต้น
  • สถานที่ เช่น วัด บ้าน โรงเรียน สถานีอนามัย ประเทศ จังหวัด ตลาด ห้องน้ำ เป็นต้น

2.วิสามานยนาม

วิสามานยนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน  สัตว์  สิ่งของ  เครื่องใช้  และสถานที่โดยเฉพาะเจาะจง  เช่น  ยิ่งลักษน์  ชินวัตร  ประเทศไทย  จังหวัดบุรีรัมย์  โรงพยาบาลตำรวจ

ตัวอย่าง คำวิสามานยนามภาพเคลื่อนไหว

  • จังหวัด เช่น อุดรธานี สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร  สุราษฎร์ธานี  เชียงใหม่ เป็นต้น
  • สถานศึกษา เช่น โนนสะอาดพิทยาสรรค์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์  บดินทรเดชา เป็นต้น
  • วรรณคดีไทย เช่น อิเหนา พระอภัยมณี รามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน ราชาธิราช สามก๊ก สาวิตรี เป็นต้น
  • คน เช่น พัชราภา วีรภาพ ทักษิณ อภิสิทธิ์ ยิ่งลักษณ์ ชูวิทย์ กาญจนา หม่ำจ๊กม๊ก เท่งเถิดเทิง เป็นต้น
  • วัด เช่น มหาธาตุ ราชบูรณะ อภิญญาเทสิตตาราม พระศรีรัตนศาสดาราม จินดาราษฎร์บำรุง เป็นต้น
  • ถนน เช่น  มิตรภาพ ราชประสงค์ ราชดำเนิน พหลโยธิน แจ้งวัฒนะ เพชรเกษม เพชรบุรีตัดใหม่ เป็นต้น

3.อาการนาม

อาการนาม คือ  คำที่ใช้ ” การ ” นำหน้าคำกริยา หรือ ” ความ ” นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น

ตัวอย่าง คำอาการนาม

  • การ มักนำหน้าคำกริยา  เช่น
    • การเรียน การเดิน การออกกำลังกาย การขับรถ การวิ่ง การเล่นกีฬา การปฐมพยาบาล การหายใจ การจับกุม การสืบสวนสอบสวน การสืบค้น การวิจัย การตรวจสอบ การอาบน้ำ การพักผ่อน การประชุม การจดจำ การขัดขวาง การพูดคุย การวาดภาพ  เป็นต้น
  • ความ  มักนำหน้าคำวิเศษณ์  เช่น
    • ความรัก ความดี ความรู้ ความคิด ความหวัง ความอดทน ความเมตตา ความสูง ความยาว ความอบอุ่น ความร้อน ความแห้งแล้ง ความเดือดร้อน ความจำ ความสงบเรียบร้อย ความเห็น ความอ่อนแอ ความรวดเร็ว ความร่ำรวย ความพร้อม ความสะดวกสบาย ความอ่อนหวาน เป็นต้น

หมายเหตุ คำว่า  “การ”  “ความ”  ที่นำหน้านามจะไม่ใช่อาการนาม แต่จะเป็นสามานยนามหรือวิสามานยนาม ( คำนามทั่วไป )เช่น การพลังงาน

  • การบ้าน (สามานยนาม)  การเมือง (สามานยนาม)
  • การไฟฟ้า (สามานยนาม)  การเรือน (สามานยนาม)
  • การงาน  (สามานยนาม)  การทางพิเศษ (สามานยนาม)
  • ความวัว (สามานยนาม)    ความควาย (สามานยนาม)  เป็นต้น

4.ลักษณนาม

ลักษณนาม คือ คำที่แสดงลักษณะของคำข้างหน้า โดยมากจะอยู่หลังตัวเลข หรือ มีคำที่บอกจำนวนประกอบอยู่ด้วย เช่น

ตัวอย่าง คำลักษณะนาม

  • ภิกษุ  ๙  รูป
  • ปลา  ๑  ตัว
  • นก  ฝูง  หนึ่ง
  • จักรยาน  ๔  คัน
  • เรือ  หลาย  ลำ
  • ดินสอ  ๖  แท่ง
  • เครื่องบิน  ๒  ลำ
  • ต้นไม้  ๔  ต้น
  • ร่ม  ๓  คัน
  • แตงโม  ๑  ผล
  • ขลุ่ย  ๑  เลา
  • แห  ๑  ปาก เป็นต้น
คำลักษณะนามมีอะไรบ้าง
คำลักษณะนามมีอะไรบ้าง

สมุหนาม คือ

5. คำ สมุหนาม

คำสมุหนาม คือ คำนามที่ใช้แสดงชื่อหมวดหมู่ มักจะประกอบหน้าคำนามอื่น ๆ เช่น คณะ ฝูง กอง กลุ่ม โขลง

ตัวอย่าง คำสมุหนาม  ภาพเคลื่อนไหว

  • กองยุวกาชาดมาตั้งค่ายอยู่ที่นี่
  • พวกเราไปต้อนรับคณะรัฐมนตรี
  • ฝูงปลาแหวกว่ายในน้ำช่างน่าดู
  • กองทหารฝึกซ้อมกำลังพลดูเข้มแข็ง
  • วงดนตรีลูกทุ่งหมอลำนกน้อยอุไรพรทำการแสดงที่อำเภอโนนสะอาด
  • รัฐบาลเดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
  • เด็ก ๆ ไม่ควรเข้าใกล้ฝูงผึ้งที่แตกรัง
  • เจ้าหน้าที่ป่าไม้พบโขลงช้างด้านในป่าสงวน
  • ผู้กำกับให้กองลูกเสือโรงเรียนพักทำกิจกรรมหลังจากฝึกซ้อมเดินสวนสนาม
  • คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎหมายแล้ว
  • ผู้อำนวยการเชิญคณะครูเข้าร่วมประชุมเย็นวันนี้

ตัวอย่าง คำนาม

ลักษณนาม สมุหนาม
กระต่ายหลายฝูง ฝูงกระต่าย
หนังสือ  ๖  กอง กองหนังสือ
ประชาชน  ๒  กลุ่ม กลุ่มประชาชน
นักร้อง  ๓  คณะ คณะนักร้อง
ช้าง  ๒  โขลง โขลงช้าง
นกฝูงหนึ่ง ฝูงนก

คำนาม ทำหน้าที่อะไร

คำนาม ทำหน้าที่ได้หลายหน้าที่ในประโยค  ดังนี้

  1. ทำหน้าที่เป็นประธาน เช่น การออกกำลังกายตอนเช้าทำให้สุขภาพดี
  2. ทำหน้าที่เป็นกรรมเช่น  ครูดุนักเรียน เสือกินคน
  3. ทำหน้าที่ขยายคำนามอื่น ๆเช่น  เด็กนักเรียนชอบเล่นกีฬา  (ใช้สามานยนามย่อยขยาย)  ควายฝูงนี้ต้องใช้รถบรรทุก  ๓  คันบรรทุก  (ใช้ลักษณนามย่อยขยาย)
  4. ทำหน้าที่ขยายคำกริยาบอกสถานที่  ทิศทางหรือเวลาเช่น  เขาไปโรงเรียน
  5. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มให้แก่คำกริยาเช่น  พวกเราเป็นนักเรียน  ปลากัดคล้าย ปลากริม   โรงเรียนคือสถานที่ให้ความรู้
  6. ทำหน้าที่เรียกขานในฐานะประธาน  กรรม  หรือเรียกขานลอย ๆ เช่น  คุณครูครับ ผมนำหนังสือมาคืนครับ  เจ้าดิ๊กอย่ากัดรองเท้าฉัน

คำนามที่ทำหน้าที่ชนิดนี้  ทำหน้าที่ทำนองเดียวกับคำสรรพนามนั้นเอง ดังจะกล่าวไว้ในเรื่องชนิดของคำสรรพนามต่อไป

บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 183236: 2334