สมุทัย นิโรธสามารถเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในชีวิต 9 สมุทัย?
อริยสัจ 4 ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน อริยสัจ 4 คือ อริยสัจ 4 ได้แก่ ขั้นค้นหาสาเหตุสมุทัยของหลักอริยสัจ 4 ตรงกับขั้นใดของการแก้ปัญหาตามหลักวิทยาศาสตร์
สมุทัย คือ ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ความทุกข์ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนนั้นย่อมเกิดจากสาเหตุบางอย่าง มิใช่เกิดขึ้นลอย ๆ ดังพุทธดำรัสว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นจึงเกิด ได้แก่ ตัณหา หรือความทะยานอยาก ซึ่งจำแนกได้ 3 ประการ 1.) กามตัณหา 2.) ภวตัณหา และ 3.) วิภวตัณหา
1.กามตัณหาคือ ความทะยานอยากในกาม
กาม หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่ น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ความทะยานอยากในกาม จึงหมายถึง ความดิ้นรนอยากเห็นสิ่งที่ สวยงาม อยากฟังเสียงที่ไพเราะ อยากดมกลิ่นที่หอม อยากลิ้มรสที่อร่อย อยากสัมผัสที่น่าใคร่น่า ปรารถนา น่าพอใจ
2.ภวตัณหาคือ ความทะยานอยากในความเป็น
ภวตัณหา คือ ดิ้นรนอยากเป็นบุคคลประเภทที่ ตนชอบ เช่น นักร้อง นักแสดง นักการเมือง หรืออยากได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง
3.วิภวตัณหา คือ ความอยากในความไม่มีหรือไม่เป็น
วิภวตัณหา คือ ดิ้นรนอยากไม่เป็นสิ่ที่เขาให้ เป็นหรืออยากจะพ้นไปจากตำแหน่างที่เป็นอยู่แล้ว รวมทั้งอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้หมดไป
สมุทัย ตัวอย่าง สาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
สมุทัย คือ ” สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ” เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกิเลสขึ้น ทำให้จิตใจและร่างกายเกิดความทุกข์ จากสภาวะของตัวตัณหา ดังนั้นตัวสมุทัยธรรมที่ควรละ จะทำให้สู่หนทางแห่งการดับทุกข์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็น การแก้ปัญหาแบบอริยสัจ 4 เป็นแนวทางเบื้องต้นของวิธีดับทุกข์ คือจะต้องประพฤติปฏิบัติตั้งใจทำปหานะ นั่นคือ การละ การขจัดตัวกิเลส การกำจัดตัณหา จากความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลง สมุทัยเป็นเหตุของทุกข์ ต้องละปิดกั้นทางอบายและความอยาก จาก 3 ประการนี้คือ