คำสรรพานาม

ชนิด คำสรรพนามมีอะไรบ้างแบ่งได้ตามลักษณะการใช้ครบจบ 6 ชนิด!

คำสรรพนาม

ความหมายของคำสรรพนาม

คำสรรพนาม คือ คำแทนชื่อ เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม

ชนิดของคำสรรพนาม

คำสรรพนาม แบ่งได้ตามลักษณะการใช้เป็น  ๖  ชนิด  คือ                                                     

1.บุรุษสรรพนาม  คือ  คำสรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้ที่พูดด้วย  และผู้ที่พูดถึงแบ่งเป็น                                

สรรพนามบุรุษที่  ๑  แทนชื่อผู้พูด  :  ฉัน  ดิฉัน  ผม  กระผม  ข้าพเจ้า  อาตมา 

สรรพนามบุรุษที่  ๒  แทนชื่อผู้พูดด้วย  :  เธอ  คุณ  ท่าน  ใต้เท้า  โยม  เป็นต้น                     

สรรพนามบุรุษที่  ๓  แทนชื่อผู้พูดถึง  :  เขา  มัน  ใคร  เธอ  ท่าน  พระองค์ท่าน 

2.ประพันธสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาข้างหน้า  เพื่อไม่ต้อง                         กล่าวขึ้นอีก  ได้แก่  ผู้  ที่  ซึ่ง  อัน  ฯลฯ  เช่น                                                                                         

ขุนดาบผู้ได้รับการยกย่องว่ามีฝีมือยอดเยี่ยม คือ พระยาพิชัยดาบหัก                                      

พวกเราต้องให้อภัยกับคนที่ทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์                                                          

3.วิภาคสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม  ที่บอกให้รู้ว่ามีคำนามอยู่

หลายส่วน  และแสดงกริยาร่วมกัน  หรือต่างกันก็ได้  เช่น  คำว่า  บ้าง  ต่าง  กัน  เช่น

กรรมการนักเรียนในห้อง ป. ๖ ต่างทำหน้าที่ของตนอย่างดี                                            

ทุกคนช่วยกันทำงาน                  

4.ปฤจฉาสรรพนาม คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามในประโยคคำถาม  เช่น                                 

ใครทำการบ้านเสร็จแล้ว
บ้านของคุณอยู่ที่ไหน
อะไรอยู่บนกิ่งไม้ 

5.นิยมสรรพนาม คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม  หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว 

เพื่อชี้เฉพาะหรือเพื่อบ่งความชัดเจน  เช่น  คำว่า  นี่  นั่น  โน่น  โน้น  ที่นี่  ที่นั่น  เป็นต้น  เช่น 

นี่เป็นหนังสือสารคดีที่ฉันชอบมากที่สุด
โน่นคือสนามที่น้อง ป. ๑ ใช้เล่น                                                                                                                

6.อนิยมสรรพนาม คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามทั่ว ๆ ไป  ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นอะไร  เช่น 

ไม่มีใครดีเท่าเธอ
ขาไม่มีอะไรจะกิน
นิธิจะอยู่ที่ไหนก็ได้

หน้าที่ของคำสรรพนาม

หน้าที่ของคำสรรพนาม คำสรรพนามทำหน้าที่ได้หลายหน้าที่ในประโยค  ดังนี้ 

1.เป็นประธานของประโยค 

เช่น  ฉันรู้จักสมศรี (ฉันทำหน้าที่เป็นประธาน)  

         นั่นคือปากกาหมึกซึม  (นั่นทำหน้าที่เป็นประธาน)                                          

         ใครเป็นคนทำหมึกเลอะเทอะ  (ใครทำหน้าที่เป็นประธาน)

2.เป็นกรรมของประโยค 

เช่น  ดวงใจเลี้ยงดูเธอดีไหม  (เธอทำหน้าที่เป็นกรรม)      

       ลูกเราทะเลาะกันทุกวัน  (กันทำหน้าที่เป็นกรรม)                 

3.เป็นส่วนเติมเต็ม 

เช่น  คนร้ายกลายเป็นเขาไปได้  (เป็นทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม) 

       ความรักคืออะไร  (อะไรทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม)          

4.เชื่อมประโยค 

เช่น  คนที่ทำกระเป๋าหายคือเขา  (ที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยค)          

คำค้น:คือ แบบฝึกหัดdoc หมายถึง คืออะไร คำนาม pronoun ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือข้อใด เช่น คำนามคำกริยา แบบฝึกหัด มีอะไรบ้าง ม.1 หมายถึงอะไร ป.4 คำนามคำกริยา ม.1 ppt เฉลย คำวิเศษณ์ (pronoun) รูป ป4 คำราชาศัพท์ แบบฝึกหัดป.6 ป.- ภาษาจีน ตู้ ใบงาน ป.6 ภาษาอังกฤษ pronoun แบบฝึกหัดป.3 สื่อการสอน ใบงานเรื่อง pronouns ป.5 ข้อสอบ eng แบบทดสอบ ป.2 แผนการสอน ข้อสอบภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ใบงานที่10ชนิดของคำนามป.5 มีกี่ชนิด pdf ภาษาจีน ป.1

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 183239: 524