ทิศ-6

ทิศ 6 ทางศาสนาทางโลกธรรมเอาไว้ในพระไตรปิฎก DIRECTION พรรษา?

Click to rate this post!
[Total: 154 Average: 5]

ทิศ 6

            พระธรรมเทศนาเรื่องทิศ 6 ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส เอาไว้ในพระไตรปิฎก พระสูตรที่ชื่อว่า “สิงคาลกสูตร” ในพรรษาที่ 16 ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงกล่าวถึงวิธีการปฏิบัติตนต่อผู้อื่น ทั้งในทางโลกและทางธรรม ใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยให้ความสำคัญกับบุคคลประเภทต่างๆ มีทั้งหมด 6 ส่วน ที่เปรียบเสมือนทิศทั้ง 6 รอบตัวของเรา

ทิศ 6

หลักทิศ 6

           หน่วยของสังคมสำคัญที่สุด เล็กที่สุด ทรงอานุภาพที่สุด หากบุคคลใน แต่ละทิศปฏิบัติตนตามหน้าที่ ซึ่งมีอยู่ประจำทิศได้สมบูรณ์จริงๆ แล้ว ย่อมสามารถที่จะฉุดสังคมส่วนใหญ่ ให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นการจำแนกความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่งมีต่อมนุษย์ด้วยกันเอง เป็นสัมพันธภาพอันดีงามที่มนุษย์ในสังคมควรกระทำ

เพื่อดำเนินชีวิตได้อย่างมีสุข ทุกความสัมพันธภาพของทุกคนล้วนต้องเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันจนไม่สามารถละทิ้งซึ่งหน้าที่ใดที่หนึ่งที่ควรปฏิบัติต่อผู้อื่นได้  ทั้งนี้ก็เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมก็ย่อมเปลี่ยนแปลงตาม ซึ่งอาจมีผลต่อความเชื่อ ความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนยุคใหม่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อจะได้ศึกษาแนวทางของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเชื่อ อุดมคติ และจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธศาสนิกชนต่อการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งทางโลกและทางธรรมควบคู่กัน

แผนผัง ทิศ 6

  • ทิศ 1 ทิศเบื้องหน้า คือ ทิศตะวันออก “ปุรัตถิมทิส”  คือ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย และผู้มีอุปการะอื่นๆ ที่เลี้ยงดู
  • ทิศ 2 ทิศเบื้องขวา คือ ทิศใต้  “ทักขิณทิส”  คือ ครูบาอาจารย์ที่พร่ำสอนวิชา
  • ทิศ 3 ทิศเบื้องหลัง คือ ทิศตะวันตก “ปัจฉิมทิส”   คือ สามี ภรรยา
  • ทิศ 4 ทิศเบื้องซ้าย คือ ทิศเหนือ “อุตตรทิส”  คือ มิตร สหาย เพื่อน
  • ทิศ 5 ทิศเบื้องบน “อุปริมทิส”  คือ สมณชีพราหมณ์ นักบวช แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา คฤหัสถ์
  • ทิศ 6 ทิศเบื้องล่าง “เหฏฐิมทิส”  คือ  คนรับใช้ ลูกน้อง ลูกจ้าง

ทิศทั้ง6 นำมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร

         หลักธรรมเรื่องทิศ 6 คือ หลักธรรมที่พระพุทธศาสนาวางกรอบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนต่อบุคคลต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัว เป็นหลักการจัดการความสัมพันธ์กับคนในสังคมเดียวกัน โดยเปรียบเทียบบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับตัวเราเป็นทิศทั้ง 6 ทิศ โดยสมมติให้เรายืนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ก็จะพบว่ามีบุคคลเบื้องหน้าเป็นทิศบูรพา บุคคลเบื้องหลังเป็นทิศปัจฉิม

ทิศ 6 คือ บุคคล 6 ส่วน ที่เกี่ยวข้องกับตัวเราในสังคม และการดำเนินชีวิตมนุษย์ สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีทางด้านร่างกายและจิตใจให้ตอบสนองและส่งเสริมที่เกิดมา โดยการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเสมอ เพราะมนุษย์ทุกคนมีสัญชาติญาณแห่งความอ่อนแอเกินกว่าจะใช้ชีวิตอยู่ได้เพียงลำพังในโลกที่กว้างใหญ่ใบนี้

ทิศ 6 มีความสําคัญอย่างไร

           ไม่ว่าชีวิตแต่ละคนจะมีจุดมุ่งหมายหรือจุดยืนในทิศทางซึ่งแตกต่างไม่ว่าชีวิตแต่ละคนจะมีจุดมุ่งหมายหรือจุดยืนในทิศทางซึ่งแตกต่างกันเพียงไร ทุกชีวิตยังคงต้องดำรงอยู่บนพื้นที่ของโลกสาธารณะ ซึ่งล้วนแล้วแต่ดำเนินไปด้วยความสัมพันธ์สอดคล้องกันของผู้คนเสมอ 

ดังนั้น ความสำคัญของทิศทั้ง 6 คือ “การทำหน้าที่ในการดำเนินชีวิตให้สมบูรณ์ เพื่อทำให้คนเป็นมนุษย์เพื่อมีสุขทั้งทางกายและทางใจ” การวางตนให้เป็นที่รักของผู้อื่น การมีน้ำใจช่วยเหลือแบ่งปันกัน เข้าใจในสถานภาพของตัวเรา และเข้าใจในสถานภาพของคนรอบๆข้าง จะส่งผลดีให้แก่ชีวิตช่วยให้ชีวิตดำเนินในทางที่สะดวก “การคิดถึงตัวเองบ้าง คือเรื่องที่ดี แต่การคิดถึงคนอื่นบ้างคือเรื่องดีที่ยิ่งใหญ่กว่าเสมอ”

หลักทิศ 6

หลักทิศ 6

หลักทิศ6 คือ การจำแนกความสัมพันธ์ของมนุษย์ซึ่งมีต่อมนุษย์ด้วยกันเอง เป็นสัมพันธภาพอันดีงามที่มนุษย์ทุกคนพึงปฏิบัติต่อผู้คนรอบกาย คือ หน้าที่ที่มนุษย์ในสังคมควรกระทำเพื่อการดำเนินชีวิตได้อย่างมีสุข สัมพันธภาพของทุกคนล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน จนไม่สามารถละทิ้งซึ่งหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งที่เราควรปฏิบัติต่อผู้อื่นได้

ทิศ 6 หมายถึง

            การดำเนินชีวิตตามหลักทิศ 6 นั้นเป็นวิธีการส่งเสริมให้มนุษย์ใช้ชีวิตกับผู้คนรอบข้างในการปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกต้องต่อกันเพื่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมของสังคมให้ดีขึ้น เพราะเมื่อทุกคนรู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบที่จะพึงปฏิบัติต่อผู้อื่นที่ตนเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาชีวิตของมนุษย์ให้เกิดคุณค่าอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้ง 3 อย่าง ดังนี้

  1. ประโยชน์ต่อตนเอง (อัตตัตถะ)
  2. ประโยชน์ต่อผู้อื่น (ปรัตถะ)
  3. ประโยชน์อย่างยิ่ง (อุภยัตถะ)

ทิศเบื้องขวา

ทิศ 6 มีอะไรบ้าง

  1. ปุรัตถิมทิศ 
  2. ทักขิณทิศ
  3. ปัจฉิมทิศ
  4. อุตตรทิศ
  5. อุปริมทิศ
  6. เหฏฐิมทิศ

ปุรัตถิมทิศ ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดาบิดา เพราะเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามา

       ในพจนานุกรมมคธ-ไทย ให้ความหมายคำว่า “มารดาบิดา” ตรงกับภาษาบาลีว่า  “มาตาปิตุ” ว่า มาตา หรือ มาตุ แปลว่า ผู้รักบุตร มาจากศัพท์ “ปุตตํ มาเนตีติ มาตา” แปลว่า ผู้ใดย่อมรักบุตร ผู้นั้นย่อมชื่อว่ามารดา

ส่วนคำว่า ปิตา หรือ ปิตุ แปลว่า ผู้เลี้ยงบุตรโดยธรรมมาจากศัพท์ “ปุตตฺวา ปาตีติ ปิตา” แปลว่า  ผู้ใดย่อมเลี้ยงบุตร ผู้นั้นย่อมชื่อว่าบิดา ส่วนคำว่า “บุตร”

หน้าที่ของมารดาบิดาพึงปฏิบัติต่อบุตรธิดา พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มี 5 ประการ ด้วยกัน คือ

    1. ห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว
    2. ให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี
    3. ให้ศึกษาสรรพศาสตร์และศิลปวิทยา
    4. หาภรรยาหรือสามีที่ดีให้
    5. พึงมอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันควร

หน้าที่ของบุตรธิดาที่จะพึงปฏิบัติต่อมารดาบิดา พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มี 5 ประการ ด้วยกัน คือ

    1. พึงต้องเลี้ยงดูตอบแทนบุญคุณของท่าน
    2. พึงช่วยทำกิจการงานของท่าน
    3. พึงดำรงวงศ์ตระกูล
    4. พึงประพฤติตนให้เหมาะสมที่จะเป็นทายาทสืบสกุล
    5. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วพึงทำบุญกรวดน้ำอุทิศ

         มารดาบิดา คือ ผู้ที่มีอุปการคุณต่อบุตรเป็นอย่างมาก เพราะท่านเป็นผู้ให้ทั้งชีวิตและให้การอบรมสั่งสอน มุ่งหวังให้บุตรธิดาเป็นคนดี รู้จักรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ของตนเองและสังคม มารดาบิดาต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะผู้ที่จะสั่งสอนผู้อื่นได้ดี จะต้องอบรมตนเองให้เป็นแบบอย่างเสียก่อนจึงจะได้รับการยอมรับ เพราะบุตรธิดาหรือสมาชิกในครอบครัวจะดีมีคุณภาพหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับต้นแบบคือมารดาบิดาเป็นผู้มีศรัทธาตั่งมั่นในศีล ไตร่ตรองด้วยปัญญาก่อนลงมือกระทำย่อมซึมซับแก่บุตร

         ในส่วนของคุณธรรมพื้นฐานของบุตรธิดาที่พึงมีต่อมารดาบิดาคือ ความกตัญญูกตเวที เพราะท่านได้ชื่อว่าเป็นบุพการีหมายถึงผู้มีอุปการคุณมาก่อน บุตรที่เป็นผู้กตัญญูกตเวที ต้องระลึกนึกถึงอุปการคุณของมารดาบิดาต้องย่อมเลี้ยงดูท่านทั้งสอง จึงจัดว่าเป็นผู้ที่สมควรได้รับการยกย่องและสรรเสริญ ในทางพุทธศาสนาเรียกบุตรผู้ประพฤติตนเช่นนี้ว่า “สัตบุรุษ”อันหมายถึง คนดี

ทักขิณทิศ ทิศเบื้องขวา  ได้แก่ ครูอาจารย์ เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ควรแก่การบูชาคุณ

        ครู คือบุคคลที่มีหน้าที่หรือมีอาชีพในการสอนที่เกี่ยวกับระบบวิชาความรู้หลักการคิด การอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ซึ่งวิธีในการสอนจะแตกต่างกัน ต้องคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของการศึกษาเล่าเรียน

        ในพจนานุกรมมคธ-ไทย ให้ความหมายคำว่า “ครู” มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต “คุรุ”

ภาษาบาลี “ครุ, คุรุ” คำว่า “ครู”  แปลว่า หนัก, ยำเกรง, เอาใจใส่, เอื้อเฟื้อ หมายความว่า ผู้มีใจหนักแน่น ไม่ใจเบาฉุนเฉียว โกรธง่ายใจเร็ว มีน้ำหนักเสมือนฉัตรศิลา เป็นผู้ที่ศิษย์พึงเคารพยำเกรง ผู้เอาใจใส่ดูแลในการเรียนของศิษย์ เอื้อเฟื้อต่อศิษย์เสมือนลูกของตนเอง

หน้าที่ของครูอาจารย์ พึงอนุเคราะห์ศิษย์ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มี 5 ประการ ด้วยกัน คือ

    1. พึงแนะนำให้เป็นคนดี
    2. พึงให้เรียนดี
    3. บอกความรู้ในศิลปวิทยาทุกอย่างด้วยดี
    4. ควรยกย่องความดีให้ปรากฏในมิตรสหาย
    5. ควรทำความป้องกันในทิศทั้งหลายแก่ศิษย์

หน้าที่ของศิษย์พึงกระทำต่อครู อาจารย์ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มี 5 ประการ ด้วยกัน คือ

    1. ลุกขึ้นยืนรับ
    2. พึงเข้าไปคอยรับใช้
    3. พึงเชื่อฟังและตั้งตนอยู่ในโอวาท
    4. พึงดูแลปรนนิบัติ
    5. เรียนศิลปวิทยาโดยความเคารพ

  ครูอาจารย์ถือได้ว่าเป็นกัลยาณมิตร เป็นบุคคลที่เรียกกันว่า “ปูชนียบุคคคล” เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะอบรมสั่งสอนแนะนำ ชี้แจง ชักจูง ช่วยบอกหนทางในการดำเนินชีวิต และเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นดำเนินไปตามมรรคาแห่งการฝึกฝน การอบรมอย่างถูกต้องทั้งในคุณธรรมจริยธรรมและสัมมาอาชีพ ดังนั้นมารดาบิดาผู้ปรารถนาความเจริญของบุตรควรมอบบุตรให้เป็นศิษย์แก่ครูอาจารย์ให้ช่วยอบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ ครูอาจารย์จึงเปรียบเสมือนมารดาบิดาคนที่สอง จึงนับว่าเป็นผู้มีพระคุณแก่ศิษย์อย่างมหาศาล ควรที่ศิษย์จะทำคารวะและปฏิบัติที่ดีต่อครูอาจารย์

ปัจฉิมทิศ ทิศเบื้องหลัง  ได้แก่ บุตรภรรยา เพราะติดตามเป็นกำลังสนับสนุนอยู่ข้างหลัง

              ในพจนานุกรมมคธ – ไทย กล่าวถึงคำว่า “สามี” แปลว่า เจ้าของวิเคราะห์ตามศัพท์ว่า “สํ เอตสฺสาตฺถีติ สามิโก หมายถึง ความเป็นเจ้าของย่อมมีแก่ชายนั้น เพราะเหตุนั้น ชายนั้นชื่อว่า สามี”

ส่วนคำว่า “ภรรยา” หรือ “ภริยา” แปลว่า หญิงอันบุรุษพึงเลี้ยง วิเคราะห์ตามศัพท์ว่า “ภริตพฺพโต ภริยา หมายถึง หญิงอันบุรุษพึงเลี้ยง ชื่อว่า ภรรยา”

หน้าที่ของสามีพึงปฏิบัติต่อภรรยา พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มี 5 ประการ ด้วยกัน คือ

    1. พึงให้เกียรติยกย่องภรรยา
    2. ไม่ดูหมิ่น ดูแคลน
    3. จงรักภักดี ไม่ประพฤตินอกใจ
    4. พึงมอบความเป็นใหญ่ในบ้านให้
    5. พึงให้ของขวัญและให้เครื่องแต่งตัว และในส่วน

หน้าที่ของภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามี พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มี 5 ประการ ด้วยกัน คือ

    1. ควรจัดการงานดี
    2. พึงสงเคราะห์คนข้างเคียงทั้งสองฝ่ายดี
    3. จงรักภักดี ไม่ประพฤตินอกใจ
    4. พึงรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
    5. พึงขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง

             ภรรยาผู้เป็นผู้อยู่ในทิศเบื้องหลัง เพราะเป็นกำลังสนับสนุนอยู่ข้างหลังสามีฉะนั้นผู้เป็นสามีพึงต้องบำรุงภรรยาของตนด้วยการยกย่องให้เกียรติในฐานะที่เป็นภรรยา 

              สามีภรรยาอยู่กินกันด้วยความรัก เป็นผู้สร้างครอบครัว จะมั่งคงถาวรก็ต้องมีศีลธรรม มีปัญญาและความรักมาหล่อเลี้ยงชีวิต สามีและภรรยาจะครองชีวิตคู่ด้วยกันอย่างมีความสุขได้ ควรมีมีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน และมีปัญญาเสมอกัน ชีวิตคู่ก็มีความสำคัญ เพราะสามีภรรยาเป็นเสาหลักของสถาบันครอบครัว เป็นเพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ดังนั้นคุณค่าที่เกิดสำหรับชีวิตคู่ คือการรู้บทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของตน ซึ่งจะเป็นหลักประกันในชีวิตเรื่องความสุขในครอบครัว

อุตตรทิศ ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย เพราะเป็นผู้ช่วยให้ข้ามพ้นอุปสรรคภัยอันตราย และเป็นกำลังสนับสนุน ให้บรรลุความสำเร็จ

          ในพจนานุกรมมคธ – ไทย กล่าวถึงคำว่า มิตร หมายถึง เพื่อน หรือสหาย และแยกมิตรออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • ประเภทแรก “อาคาริก” หมายถึง เพื่อนที่เป็นชาวบ้านหรือฆราวาสผู้มีคุณธรรม กรุณาตามปกติธรรมดา
  • ประเภทที่ 2 “อนาคาริก” หมายถึง เพื่อนที่เป็นสมณะ มีคุณธรรมความดีทางจิตใจ

               เพื่อนที่ดีควรทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ผู้ให้คำแนะนำที่ถูกทางธรรม ที่เรียกว่า กัลยาณมิตร และเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นสังคมความประสานสามัคคีนำความเจริญมาสู่หมู่คณะ มิตรสหายที่ดีควรบำรุงอนุเคราะห์กัน

หน้าที่ของเพื่อนหรือสหายพึงปฏิบัติต่อกัน พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มี 5 ประการ ด้วยกัน คือ

    1. การให้การแบ่งปันสิ่งของ
    2. กล่าววาจาอันเป็นที่รัก
    3. ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์
    4. การวางตนสม่ำเสมอ
    5. การไม่พูดจาหลอกลวงกัน

หน้าที่ของมิตรสหายก็ต้องย่อมอนุเคราะห์ซึ่งกันและกันเมื่อเพื่อนหรือสหายมีภัย พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มี 5 ประการ ด้วยกัน คือ

    1. ป้องกันมิตรผู้ประมาทแล้ว
    2. ป้องกันทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว
    3. เมื่อมีภัยก็เป็นที่ให้พึ่งพิงพำนักได้
    4. จะไม่ละทิ้งในยามมีอันตราย
    5. พึงนับถือตลอดถึงวงศ์ตระกูลของญาติมิตร

                 หน้าที่ของมิตรที่แสดงต่อมิตร หมายถึง ช่วยเหลือต่อกันด้วยสิ่งของการแสดงน้ำใจไมตรีในสิ่งที่เพื่อนต้องการ ทั้งยังสร้างความผูกพันให้แน่นเฟ้นมากยิ่งขึ้น คำว่ามิตรแท้คือ ต้องสามารถดูแลเพื่อนพร้อมจะเคียงข้างเสมอ เป็นเหมือนคู่ชีวิต ที่สำคัญพร้อมจะตายแทนกันได้ ทุกคนในโลกนี้มีมิตรแท้แน่นอน

                 สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรักษาสัมพันธภาพของมิตรสหายให้ได้ยาวนานที่สุด เมื่อไหร่ที่ขัดใจกันก็ต้องพร้อมอภัยให้เสมอ ถ้าปฏิบัติได้ตามหลักการดังกล่าวข้างต้น นั่นคือการรักษามิตรภาพให้อยู่คงนานมากที่สุด

อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน  ได้แก่ สมณพราหมณ์ คือ พระสงฆ์ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรม และเป็นผู้นำทางจิตใจ

             ในหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ กล่าวถึง สมณะ แปลว่า ผู้สงบ หมายถึง  พระสงฆ์นักบวชทั่วไป แต่ในพระพุทธศาสนาให้หมายจำเพาะว่า หมายถึง ผู้ระงับบาป ได้แก่ พระอริยบุคคล และผู้ปฏิบัติเพื่อระงับบาป

ส่วนสมณพราหมณ์ในที่นี้ หมายถึง “พระภิกษุสงฆ์” ที่ปฏิบัติตามคำสอนแล้วปฏิบัติตามพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาเท่านั้น บุคคลทั้งหลายผู้หวังความเจริญ ควรบำรุงพระสงฆ์ สมณพราหมณ์ นักบวช

หน้าที่ของบุคคลพึงบำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นทิศเบื้องบน พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มี 5 ประการ ด้วยกัน คือ

    1. การแสดงออกทางกายการกระทำสิ่งใดก็ต้องประกอบด้วยความเมตตา
    2. การแสดงออกทางคำพูด การพูดข้อความใดก็ต้องประกอบด้วยความเมตตา
    3. การคิดสิ่งใดก็ต้องคิดประกอบด้วยความเมตตา
    4. ควรเปิดประตูต้อนรับด้วยความเต็มใจ
    5. ควรอุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4 หรืออามิสทานและเครื่องยังชีพอยู่ตลอด

หน้าที่ของพระสงฆ์ สมณพราหมณ์ นักบวช ย่อมอนุเคราะห์แก่ศาสนิกชน พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มี 5 ประการ ด้วยกัน คือ

    1. ห้ามไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง
    2. ให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดีทั้งหลาย
    3. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี และความมีน้ำใจอันดีงาม
    4. พึงให้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟังเทศนาธรรม
    5. อธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
    6. ช่วยบอกทางสวรรค์ คือ ทางดำเนินชีวิตที่มีความสุขความเจริญ

          พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ นักบวช เป็นสาวกและตัวแทนของพระพุทธเจ้า เป็นผู้นำทางสว่างทางจิตใจ ชี้ทิศที่ถูกต้อง สั่งสอนศีลธรรมให้ยึดถือปฏิบัติตาม จึงเป็นผู้ที่ควรอุปถัมภ์ คิดดี พูดดี และปฏิบัติดีต่อท่าน ให้การต้อนรับด้วยความเต็มใจ

เหฏฐิมทิศ ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ คนใช้ คนรับใช้ คนงาน ลูกน้อง บริวาร เพราะเป็นผู้ช่วยทำการงานต่างๆ เป็นฐานกำลังให้

                คนใช้ ลูกจ้าง คนงาน หมายถึง ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน เป็นจำพวกไม่ใช่ทาส แยกเป็นคนรับจ้างชั่วคราว และเป็นคนงานประจำ ซึ่งนิยมเรียกกันว่ากรรมกร ลูกจ้าง คนใช้

หน้าที่นายจ้างพึงอนุเคราะห์แก่ทิศเบื้องล่าง พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มี 5 ประการ ด้วยกัน คือ

    1. พึงจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง
    2. พึงให้อาหารและของรางวัล
    3. พึงดูแลรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้
    4. พึงมอบของฝากของกำนัลให้ในโอกาสอันควร
    5. ด้วยปล่อยให้หยุดงานในกาลสมัย ในส่วนฝ่ายคนใช้

หน้าที่ลูกจ้างพึงอนุเคราะห์แก่นายจ้าง พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มี 5 ประการ ด้วยกัน คือ

    1. ควรลุกขึ้นทำการงานก่อนนายจ้าง
    2. ควรเลิกกิจการงานทีหลังนายจ้าง
    3. ควรถือเอาแต่ของที่นายจ้างให้
    4. พัฒนาการงานให้ดีขึ้น
    5. ควรนำคุณของนายจ้างไปสรรเสริญในที่อื่น ๆ

            ในพระพุทธศาสนาการประพฤติตนของนายจ้างกับลูกจ้าง และคนใช้ รวมถึงกรรมกร ต้องมีความชอบและประกอบด้วยธรรม มีความสม่ำเสมอกัน มิได้แบ่งแยกถึงชนชั้นวรรณะ คนที่เกิดมาอยู่ในตระกูลมั่งคั่งร่ำรวยแล้ว ควรที่จะต้องสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น อุปมาเหมือนก้อนมหาเมฆที่ให้ความชุ่มชื่นแก่ข้าวและกล้าโดยทั่วไป ลูกจ้างกับนายจ้างเปรียบเสมือนน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ต้องมีความถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน มีคำโบราณกล่าวถึงคำที่ว่าฝากผีฝากไข้กันเลยทีเดียว

           ฉะนั้นนายจ้างที่ปราศจากลูกจ้างก็ไม่สามารถดำเนินกิจการงานทั้งปวงได้ ส่วนลูกจ้างไม่มีนายจ้างก็ปราศจากการงาน รวมถึงการดำเนินชีวิตตามหลักสัมมาอาชีพก็มิอาจจะราบรื่นได้เช่นกัน

ทิศ 6 ภาษา อังกฤษ

THE SIX DIRECTIONS IN BUDDHISM แปลว่า  ทิศทั้ง 6 ในพระพุทธศาสนา

ความหมายของทิศ 6

       ในทางพระพุทธศาสนา ทิศ 6 หมายถึง อารยะ คือ ระเบียบแบบแผนอันประเสริฐ เพราะเป็นการทำหน้าที่ของตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสถานะที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นๆ การวางรูปแบบการปฏิบัติที่เหมาะสมตามสถานภาพ และบทบาททางสังคมของบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับตัวเรา การปฏิบัติตนได้ถูกต้อง และเหมาะสมกับสถานภาพ ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของความสงบสุขในสังคม ถ้าบุคคลไม่ปฏิบัติต่อบุคคลในลักษณะที่ควรจะเป็นแล้ว สังคมย่อมที่จะเกิดความวุ่นวาย เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสติปัญญา แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานซึ่งอาศัยสัญชาตญาณในการอยู่รวมกันหากิน และสืบพันธุ์

        เนื่องจากมนุษย์มีระยะเวลาในการเลี้ยงดูกันค่อนข้างนาน การสร้างความสัมพันธ์กันจากระดับครอบครัวเป็นเบื้องต้น ความมีสติปัญญาของมนุษย์ทำให้มนุษย์เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตรู้จักคิดแก้ไขปัญหาและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น การอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะจำเป็นต้องอาศัยกฎระเบียบเป็นสิ่งควบคุมเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ กฎระเบียบบางอย่างใช้เพื่อบังคับและมีบทลงโทษเพื่อให้เป็นตัวอย่างของผู้อื่น กฎระเบียบบางอย่างมีไว้เพื่อกำหนดทิศทางการทำงานเท่านั้น ไม่มีการลงโทษ เพราะไม่มีความเสียหายที่ทำให้เสียชื่อเสียง กฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ดีเป็นปัจจัยแห่งความยั่งยืนต้องมีรากฐานมากความถูกต้อง

แหล่งอ้างอิง :

1.พชร ช่วยเกื้อ. (2561). ทิศ 6. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: พี เอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้งส์.
2.สมร ทองดี. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์. เอกสารการสอนชุดวิชามนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
3.พระสมชัยอนุตฺตโร. ศึกษาหลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธตามแนวทางของหลักธรรมเรื่องทิศหกในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4.ปัญญานันทภิกขุ. (2525). หน้าที่ของคน. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
https://www.thairath.co.th/horoscope/belief/2085560
https://www.naiin.com/product/detail/228612
https://www.tungsong.com/Read/six%20point/six.asp
https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34877
file:///D:/sycronize-data/Downloads/252708-Article%20Text-900533-2-10-20210610.pdf
file:///D:/sycronize-data/Downloads/85912-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-208687-1-10-20170507.pdf

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

220507
221234
คู่มือจัดตั้งบริษัท
แนวคิด
218245
ตรวจสอบบัญชีธนาคาร
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ดูดวง
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 170920: 1867