พระพุทธเจ้าตรัสรู้
พระพุทธเจ้าตรัสรู้
ศาสนาประจำชาติไทย คือ “ศาสนาพุทธ” พุทธประวัติขององค์ “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ผู้ทรงเป็น “พระศาสดาเอกของโลก” ของ “พระพุทธศาสนา” พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในหลักธรรม เป็นพระโพธิญาณ หรือคำเต็มว่า “ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ” นับเป็นเหตุการณ์ที่น่ามหัศจรรย์ของโลก คือ ตั้งแต่พระพุทธเจ้าประสูติ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และพระพุทธเจ้าปรินิพาน เป็นวันเดียวกันทั้งหมด ซึ่ง 3 เหตุการณ์นี้ คือ “วันวิสาขบูชา”
ประวัติพระพุทธเจ้า
ประสูติชีวิตในวัยเด็ก
พระพุทธเจ้า ทรงมีพระนามเดิมว่า “เจ้าชายสิทธัตถะ” เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ผู้เป็นกษัตริย์ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดีย พระองค์ทรงถือกำเนิดในตระกูลศากยวงค์ สกุลโคตมะ
ประสูติ ในวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับเดือนวิสาขะ ในปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ณ สวนลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กับกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ ปัจจุบันคือตำบลรุมมินเด ประเทศเนปาล
ความอัศจรรย์ : หลังจากพระองค์ทรงประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงดำเนินได้ด้วยพระบาท 7 ก้าว พร้อมๆทั้งมีดอกบัวผุดขึ้นเพื่อมารองรับฝ่าพระบาท พร้อมทั้งทรงเปล่งพระวาจาว่า
“เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา”
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕ วัน พระบิดา(พระเจ้าสุทโธทนะ) ทรงโปรดให้ประชุมพระประยูรญาติ และเชิญพราหมณ์ ผู้เรียนจบไตรเพท จำนวนทั้งหมด ๑๐๘ คน เพื่อมาทำนายพระลักษณะของพระราชกุมาร
- พระประยูรญาติได้พร้อมใจกันถวายพระนามว่า “สิทธัตถะ” มีความหมายว่า “ ผู้มีความสำเร็จสมประสงค์ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนตั้งใจจะทำ”
- พราหมณ์ทั้ง 108 คน ได้คัดเลือกกันเองเฉพาะผู้ที่ทรงวิทยาคุณประเสริฐกว่าพราหมณ์ทั้งหมดได้จำนวน 8 คน เพื่อทำนายพระราชกุมาร
- พราหมณ์ 7 คนแรกต่างได้ทำนายไว้ 2 ประการ คือ
“ ถ้าพระราชกุมารเสด็จอยู่ครองเรือนก็จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม” หมายถึง หากดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
“ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิตจักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก” หมายถึง ถ้าเสด็จออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก
- ส่วนพราหมณ์โกณฑัญญะ ผู้มีอายุน้อยที่สุดกว่าทุกคน ได้ทำนายเพียงอย่างเดียวว่า “พระราชกุมารจะเสด็จออกจากพระราชวังและผนวชเป็นบรรพชิต ทำให้การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ละซึ่งกิเลสแล้วในโลก”
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้เพียง 7 วัน พระราชมารดาก็เสด็จสวรรคต พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบหมายให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา เป็นผู้ถวายอภิบาลเลี้ยงดู เจ้าชายสิทธัตถะ
เนื่องจากพระราชบิดาไม่มีความประสงค์อยากให้พระราชกุมารเสด็จออกผนวชเพื่อเป็น ศาสดาของศาสนาพุทธ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงพระเจริญมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ทรงศึกษาในสำนักอาจารย์วิศวามิตร ซึ่งมีเกียรติคุณแพร่ขจรไปไกลไปยังแคว้นต่างๆ เพราะเปิดสอนศิลปวิทยาถึง 18 ศาสตร์สาขา พระสิทธัตถะทรงศึกษาศิลปวิทยาทรงศึกษาเล่าเรียนจนจบศิลปศาสตร์เหล่านี้ได้อย่างว่องไว และเชี่ยวชาญจนหมดความสามารถของพระอาจารย์จึงพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่ความสุข โดยการสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้ประทับ และจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์โปรดให้สร้างปราสาทอันวิจิตรงดงามขึ้น 3 หลัง สำหรับให้พระราชโอรสได้ประทับอย่างเกษมสำราญตั้งชื่อปราสาทตามฤดูกาลทั้ง 3 คือ ฤดูร้อนคือรมยปราสาท ฤดูฝนคือสุรมยปราสาท และฤดูหนาวคือสุภปราสาท
ด้วยพระราชบิดามีพระราชประสงค์มั่นคงที่จะให้เจ้าชายสิทธัตถะไม่ต้องการให้ออกผนวชและให้ทรงครองเพศฆราวาสเป็นพระจักพรรดิผู้ทรงธรรม จึงพระราชทานความสุขเกษมสำราญ แวดล้อมไปด้วยความบันเทิงเจ้าชายสิทธัตถะ เพื่อผูกพระทัยให้มีความมั่นคงในทางโลก
เมื่อพระราชโอรสสิทธัตถะ ทรงเจริญพระชนม์ได้ 16 พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะมีพระราชดำริว่าให้พระราชโอรสได้ทรงอภิเษกสมรสทรงสู่ขอพระนางพิมพาหรือพระนางยโสธรา ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะและพระนางอมิตา ผู้ครองนครเทวทหะนคร ในตระกูลโกลิยวงค์ ได้อภิเษกกับเจ้าชายสิทธัตถะและเสวยสุขสมบัติ
จนเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุมายุได้ 29 พรรษา พระนางพิมพาหรือพระนางยโสรธาจึงประสูติพระโอรส เมื่อพระองค์ทรงทราบถึงการประสูติของพระโอรสพระองค์ตรัสว่า “ราหุล ชาโต, พันธน ชาต , บ่วงเกิดแล้ว , เครื่องจองจำเกิดแล้ว”
เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นผู้มีพระบารมีอันบริบูรณ์ ถึงแม้พระองค์จะทรงพรั่งพร้อมมากมายด้วยสุขสมบัติมหาศาลแต่พระองค์ทรงเบื่อพระทัยในชีวิตคฤหัสถ์ เนื่องจากมีพระบุญญาบารมีพระทัยฝักใฝ่ใคร่ครวญถึงสัจธรรมที่จะเป็นเครื่องนำทางซึ่งความพ้นทุกข์อยู่เสมอ เจ้าชายสิทธัตถะได้เคยเสด็จประพาสอุทยาน ได้ทรงทอดพระเนตรเทวทูตทั้ง 4 คือประกอบด้วย คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และพระภิกษุสงฆ์ พระองค์จึงรู้สึกสังเวชพระทัยในชีวิต และพอพระทัยในเพศบรรพิต มีพระทัยแน่วแน่ที่จะทรงออกผนวช เพื่อแสวงหาโมกขธรรมอันเป็นทางดับทุกข์ถาวรพ้นจากวัฏสงสารไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิด
พระองค์จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกทรงผนวช จากนครกบิลพัสดุ์ ในเวลาช่วงกลางคืนโดยพระองค์ทรงม้ากัณฐกะ พร้อมด้วยนายฉันนะ มุ่งสู่แม่น้ำอโนมานที แคว้นมัลละ เมืองกุสินารา รวมระยะทาง 30 โยชน์ หรือประมาณ 480 กิโลเมตร เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำอโนมา แล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิตหรือพระภิกษุสงฆ์ และทรงมอบหมายให้นายฉันนะนำเครื่องประดับเสื้อผ้าอาภรณ์และม้ากัณฐกะกลับนครกบิลพัสดุ์
จากประวัติเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงเข้าศึกษาในสำนักดาบสภายหลังที่ทรงผนวชแล้ว พระองค์ได้ทรงศึกษา ณ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร พระองค์ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร ทรงได้สมาบัติคือ ทุติยฌาน ตติยฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน และอากิญจัญญายตนฌาน ส่วนการประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักอุทกดาบสรามบุตรทรงได้สมาบัติ 8 คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
- ฌานที่ ๑ คือปฐมฌาน พระองค์ทรงได้ขณะกำลังประทับขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ใต้ต้นหว้า เนื่องในพระราชพิธีวัปปมงคล หรือการแรกนาขวัญ ครั้งเมื่อทรงพระเยาว์
- สำเร็จการศึกษาจากทั้งสองสำนักนี้แล้วพระองค์ทรงทราบว่ามิใช่หนทางพ้นจากทุกข์ บรรลุพระโพธิญาณ ตามที่ทรงมุ่งหวัง
- พระองค์จึงทรงลาทั้ง 2 อาจารย์ เสด็จไปใกล้บริเวณแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
บำเพ็ญทุกรกิริยา
ทุกรกิริยา คือ การกระทำกิจที่ทำได้ยาก ได้แก่การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เมื่อพระองค์ทรงหันมาศึกษาค้นคว้าด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแทนการศึกษาเล่าเรียนในสำนักอาจารย์ ณ ทิวเขาดงคสิริ ใกล้ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือ การบำเพ็ญอย่างยิ่งยวดในลักษณะต่างๆ อาทิเช่น การอดพระกระยาหาร การทรมานพระวรกายโดยการกลั้นพระอัสสาสะ การกดพระตาลุ (เพดาน) การขบฟัน การกดพระทนต์ พระปัสสาสะ (ลมหายใจ) ด้วยพระชิวหา (ลิ้น) และอดอาหารทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วย
จนร่างกายเกิดการซูบผอม แต่หลังจากทรงกระทำทุกรกิริยาได้ 6 ปี ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา เนื่องจากยังไม่ใช่เส้นทางการค้นพบสัจธรรมอันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ พระองค์จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยาและหันกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง ในการคิดค้นวิธีใหม่
วันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
หลังจากพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทำให้พระปัญจวัคคีย์พราหมณ์ ทั้ง 5 ประกอบด้วย
- พราหมณ์โกณฑัญญะ
- พราหมณ์วัปปะ
- พราหมณ์ภัททิยะ
- พราหมณ์มหานามะ
- พราหมณ์อัสสชิ
เป็นผู้คอยปฏิบัติรับใช้ ด้วยความคาดหวังว่าพระมหาบุรุษตรัสรู้แล้ว พระปัญจวัคคีย์พราหมณ์จะได้รับการสั่งสอนถ่ายทอดความรู้ ตามที่พระองค์ทรงค้นพบทางพ้นทุกข์จะได้สอนให้บรรลุตามด้วย เมื่อพระมหาบุรุษทางล้มเลิกความตั้งใจในการการบำเพ็ญทุกรกิริยา จึงเดินทางกลับไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี ชวนกันละทิ้งพระองค์ เป็นผลให้พระองค์ได้ประทับอยู่ตามลำพังในที่อันสงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติดำเนินทางสายกลาง คือการปฏิบัติในความพอเหมาะ
เหตุการณ์สำคัญการการตรัสรู้
นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสเพื่อไปบวงสรวงเทวดา ครั้นเห็นระองค์ได้ประทับที่โคนต้นอชปาลนิโครธ หรือ ต้นไทรด้วยอาการอันสงบ นางสุชาดาข้าในว่าเป็นเทวดา จึงนำถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาสไปถวายแล้วพระองค์เสด็จไปสู่ท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงวางถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาสแล้วลงสรงสนานชำระล้างพระวรกาย แล้วทรงผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ หลังจากเสวยแล้วพระองค์ทรงจับถาดทองคำขึ้นมาอธิษฐานว่า
“ ถ้าเราจักสามารถตรัสรู้ได้ในวันนี้ ก็ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยทวนกระแสน้ำไป แต่ถ้ามิได้เป็นดังนั้นก็ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยไปตามกระแสน้ำเถิด”
ทรงปล่อยถาดทองคำลงไปในแม่น้ำ ผลปราฏว่าเกิดเป็นเหตุการณ์ที่มีความน่ามหัศจรรย์ คือ ถาดทองคำลอยตัดกระแสน้ำไปจนถึงกลางแม่น้ำเนรัญชรา แล้วลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไปไกลถึง ๘๐ ศอก จึงจมลงตรงที่กระแสน้ำวน
ในเวลาเย็นพระองค์เสด็จกลับมายังต้นโพธิ์ที่ประทับ คนหาบหญ้า คือนายโสตถิยะ ได้ถวายหญ้าปูลาดที่ประทับ ณ ใต้ต้นโพธิ์ พระองค์ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า
“ แม้เลือดในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตาม ถ้ายังไม่บรรลุธรรมวิเศษแล้ว จะไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด”
เมื่อทรงตั้งจิตอธิษฐานแล้ว พระองค์ทรงสำรวมจิตให้สงบแน่วแน่ มีพระสติตั้งมั่น มีพระวรกายอันสงบ มีพระหทัยแน่วแน่เป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากกิเลส ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนโยน เหมาะแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว แม้จะมีหมู่มารต่างเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาน
ตามประวัติพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย 3 วาระ
- ดีดพิณสายที่ 1 ขึงไว้ตึงเกินไป เมื่อดีดก็จะขาด
- ดีดพิณวาระที่ 2 ซึ่งขึงไว้หย่อน เสียงจะยืดยาดขาดความไพเราะ
- ดีดพิณวาระที่ 3 ดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึงไว้พอดี จึงมีเสียงกังวานไพเราะ
พระองค์จึงทรงพิจารณาเห็นว่า ทางสายกลางคือไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป นั่นคือเส้นทางที่จะนำสู่การพ้นทุกข์ในที่สุด
ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ คือ
- ยามต้น หรือปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ สามารถระลึกชาติได้
- ยามสอง ทางบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รู้เรื่องการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรมที่กำหนดไว้
- ยามสาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือกิเลส ด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นศาสดาเอกของโลก ซึ่งวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 6 ขณะที่มีพระชนมายุ 35 พรรษา
- พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เวลารุ่งอรุณ ในวันเพ็ญเดือน 6 เดือนวิสาขะ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี
พระ 80 ปาง
พระพุทธรูป 80 ปาง ในที่นี่ขอยกตัวอย่างพระปางสำคัญๆ 5 ปาง
- พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิต
- พระพุทธรูปปางรับมธุปายาส
- พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา
- พระพุทธรูปปางมารวิชัย
- พระพุทธรูปปางสมาธิหรือปางตรัสรู้
พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิต
พระพุทธรูปปางอธิษฐานเพศบรรพชิต พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้น ตั้งฝ่าพระหัตถ์เสมอเสมอพระอุระเบนฝ่าพระหัตถ์ไปทางซ้าย อันเป็นกิริยาสำรวมจิตอธิษฐานเพศบรรพชิต
ความเป็นมา
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกพ้นเขตกรุงกบิลพัสดุ์จนมาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมาจึงเสด็จลงจากหลังม้า ประทับเหนือหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำ รับสั่งแก่นายฉันนะว่าพระองค์จักบรรพชาถือเพศเป็นบรรพชิต ณ ที่นี้ ให้นำเครื่องประดับและม้ากัณฐกะกลับพระนคร เจ้าชายสิทธัตถะทรงตั้งพระทัยว่าเมื่อได้เป็นพระพุทธเจ้าตอนตรัสรู้แล้วจะเสด็จกลับมาเทศนาโปรดพระประยูรญาติ
พระพุทธรูปปางรับมธุปายาส
พระพุทธรูปปางรับมธุปายาส พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิแบพระหัตถ์ทั้งสองยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยารับถาดข้าวมธุปายาส บางแบบอยู่ในพระอิริยาบถนั่งห้อยพระบาท
ความเป็นมา
วันที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า หมายถึง ช่วงเช้าวันเพ็ญวิสาขะ หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ปีระกา) อันเป็นวันครบรอบพระชนมายุ 35 พรรษาของพระบรมโพธิสัตว์ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานของ พระพุทธเจ้า ตรงกัน
นางสุชาดา ธิดาของเศรษฐีผู้หนึ่ง แห่งตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้นำถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาสมาแก้บนต่อรุกขเทวดาที่ต้นไทรใหญ่ เมื่อเห็นพระบรมโพธิสัตว์ประทับ ณ โคนต้นไทร ทรงมีรัศมีออกจากพระวรกายแผ่ซ่านไปทั่วปริมณฑล เข้าใจว่าเป็นรุกขเทวดา จึงนำข้าวมธุปายาสไปถวายพร้อมกับถาดทองคำ พระองค์ทรงแบพระหัตถ์ทั้งสองออกรับถาดข้าวมธุปายาส
พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา
พระพุทธรูปปางรับหญ้าคา พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายื่นออกมาข้างหน้า เป็นกิริยาทรงรับหญ้าคา บางแบบทำเป็นพระอิริยาบถทรงถือหญ้าคาก็มี บางแบบมีรูปพราหมณ์กำลังยื่นหญ้าคาถวายด้วย
ความเป็นมา
พระพุทธรูป หมายถึง พระบรมโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นถาดทองลอยทวนกระแสน้ำดังอธิษฐาน จึงทรงโสมนัส เสด็จสู่ร่มสาละ ครั้นถึงเวลาบ่ายได้เสด็จกลับไปยังอัสสัตถโพธิพฤกษ์มณฑล (ร่มโพธิ์) ระหว่างทางได้พบกับพราหมณ์โสตถิย นำหญ้าคา จำนวน 8 กำ เดินสวนทางมา พราหมณ์โสตถิยเกิดความเลื่อมใสในพระสิริที่มีความงามสง่าจึงน้อมถวายหญ้าคา ทั้ง 8 กำ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี บางแห่งทำรูปแม่พระธรณีนั่งบีบมวยผมประกอบ นิยมสร้างเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
ความเป็นมา
พระพุทธเจ้า คือขณะที่พระบรมโพธิสัตว์ประทับ ณ โพธิบัลลังก์ พญามารสวัตตีประทับบนหลังช้างคีรีเมขล์ 150 โยชน์ ยกทัพมาหมายจะทำลายความเพียรของพระองค์ พญามารเนรมิตร่างสูงใหญ่มีมือนับพันถือศัสตราวุธพร้อมนำเหล่าเสนามารมากมายมืดฟ้ามั่วดิน เหล่าเทวดาทั้งหลายหนีไปหมด แต่พระบรมโพธิสัตว์มิได้หวาดกลัว พวกมารซัดศัสตราวุธเข้าใส่พระบรมโพธิสัตว์ แต่ศัสตราวุธกลายเป็นบุปผามาลัยไปสิ้น
พญามารยังกล่าวว่า “รัตนบัลลังก์เป็นของตน”
พระบรมโพธิสัตว์ทรงกล่าวว่า “รัตนบัลลังก์นี้เกิดมาด้วยบุญที่พระองค์สั่งสมมาแต่ปางก่อน โดยอาศัยแม่พระธรณีเป็นพยาน” แม่พระธรณีได้ปล่อยมวยผมบีบน้ำกรวดอุทิศผลบุญจากการทำทานของพระบรมโพธิสัตว์ให้ไหลพัดพาเหล่ามารไปจนสิ้น
พระพุทธรูปปางสมาธิหรือปางตรัสรู้
พระพุทธรูปปางสมาธิหรือปางตรัสรู้ พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย
ความเป็นมา
พระพุทธเจ้า ออกผนวชหลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์มีชัยชนะเหนือพญามารแล้ว ทรงบำเพ็ญสมาธิต่อไป เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสปราศจากอุปกิเลสแล้ว ในปฐมยามทรงบรรลุจตูปปาตญาณ คือสามารถหยั่งรู้การเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ว่า สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วตายไป ประสบสุขและทุกข์ตามกรรมที่ทำไว้ และในปัจฉิมยามพระองค์ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ทรงทำอาสวกิเลสทั้งหลายให้ดับสิ้นไป จนได้บรรลุอนุตสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลารุ่งอรุโณทัย ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา) สถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จัดเป็นหนึ่งในสังเวชนียสถานทั้ง 4
สังเวชนียสถาน 4 ตําบล คืออะไร
-
สังเวชนียสถานแห่งที่ 1 – สถานที่ประสูติ
คือ สถานที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ ปัจจุบันนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย และสถานที่ประสูตินี้ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนอินเดีย-เนปาลประมาณ 32 กิโลเมตร ปัจจุบันสังเวชนียสถานแห่งนี้ ภาษาทางราชการเรียกว่า “ลุมมินเด” แต่ชาวบ้านทั่วไปก็ยังเรียกว่า “ลุมพินี”
-
สังเวชนียสถานแห่งที่ 2 – สถานที่ตรัสรู้
คือ สถานที่ตรัสรู้นี้ แต่เดิมทีเดียวในสมัยพุทธกาล คือ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมืองคยา แคว้นมคธ ซึ่งมีเมืองราชคฤห์ เป็นเมืองหลวง ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้นี้เรียก ตำบลพุทธคยา ขึ้นอยู่กับจังหวัดคยา โดยห่างจากจังหวัดคยา 12 กิโลเมตร รัฐพิหาร มีเมืองหลวงชื่อ “ปัฎนะ” หรือ “ปัฎนา” หรือชื่อเดิมว่า “ปาฎลีบุตร”
-
สังเวชนียสถานแห่งที่ 3 – สถานที่แสดงปฐมเทศนา
คือ สถานที่แสดงปฐมเทศนา หรือสถานที่พระตถาคตเจ้าทรงยังพระอนุตรธัมจักให้เป็นไป สถานที่นี้อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียกสารนาถ ห่างจากเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร ซึ่งเมืองพาราณสีนี้อยู่ห่างจากเมืองพุทธคยา สถานที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 200กิโลเมตร
-
สังเวชนียสถานแห่งที่ 4 – สถานที่ดับขันธปรินิพพาน
คือ สถานที่ดับขันธปรินิพพาน ด้วยอนุาทิเสสนิพพานธาตุดับไม่มีส่วนเหลือ คือทั้งกิเลส ทั้งเบญจขันธ์ดับหมด ตามปกติพระอรหันต์ทั่วไปๆไปจะนิพพาน 2 ครั้ง คือ
-
- ครั้งแรกนั้นเป็นการดับกิเลส ส่วนเบญจขันธ์ยังอยู่ เรียกว่า “สอุปาทิเสสนิพพาน” หรือ “นิพพาน” เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เพียงแต่จิตเข้าสู่แดนพระนิพพานเท่านั้น เป็นจิตที่สะอาด ไม่มีกิเลส ไม่มีทุกข์แล้ว พระพุทธเจ้า นิพพานครั้งแรกนี้เมื่อวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ ก่อนพุทธศักราช 45 ปี
- นิพพานครั้งที่ 2 ก็คือ “อนุปาทิเสสนิพาน” สถานที่นิพพานที่ “สาลวโนทยาน” เมืองกุสินารา ปัจจุบันมีสถูปและวิหารเป็นสัญลักษณ์ เป็นอุทยานที่ได้รับการรักษาจากทางการอินเดียเป็นอย่างดี มีต้นสาละและไม้อื่นปลูกอยู่ทั่วไป ให้ความร่มรื่นพอสมควร
ต้นสาละอินเดีย
- ชื่อสามัญ : สาละอินเดีย สาละใหญ่ มหาสาละ สาละ
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea robasta C.F. Gaertn.
- วงศ์ : Dipterocarpaceae
จากมหาปรินิพพานสูตร (บางส่วน)
“ดูกรอานนท์…ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา”
“อานนท์เอย อย่างนี้แหละ คราใดที่ตถาคตประสูติ ตรัสรู้ ตถาคตจะต้องปรินิพพานในระหว่างต้นสาละทั้งคู่ซึ่งโน้มกิ่งเข้าหากัน”
ได้กล่าวถึงต้นสาละ หรือต้นไม้ของพระศาสดา หมายถึง อาจจะคุ้นหู หรือเคยได้ยินมาบ้าง พุทธประวัติได้กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าประสูติใต้ต้นสาละ สวนลุมพินีวัน และปรินิพพานใต้ต้นสาละ เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญในสังเวชนียสถาน 4 แห่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญต่อองค์พุทธเจ้า ศาสดาเอกของพระพุทธศาสนา
สถานที่ปฐมเทศนา
บริเวณที่เรียกว่า ”สารนาถ”ในปัจจุบันในสมัยพุทธกาลมีชื่อว่า “อิสิปตนมิคคทายวัน” ปฐมบทแห่งพุทธศาสนา ในภาษาบาลี หรือ ฤษิปตนมฤคทายวัน ในภาษาสันสกฤต สาเหตุที่ได้ชื่อดังกล่าวเพราะเป็นป่าที่มีกวางชุกชุมและเป็นที่เหล่าฤษีและนักพรตนานานิกายมาชุมนุมกันบำเพ็ญตบะและโยคะเพื่อให้เข้าถึงพรหมัน ตามความเชื่อจากคัมภีร์อุปนิษัทของพราหมณ์ นี่เป็นสาเหตุที่เมื่อปัญจวัคคีย์แยกทางกับพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ เพราะความเห็นไม่ลงรอยกัน จึงได้หนีมาบำเพ็ญเพียรต่อที่นี่
นอกจากนี้ทางพุทธยังมีความเชื่อเพิ่มเติมด้วยว่าอาณาบริเวณในป่าแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับของเหล่าปัจเจกพุทธะ 500 พระองค์ในอดีตกาล ส่วนชื่อเรียกที่ว่า สารนาถ นั้นสันนิษฐานว่าได้จากชื่อเทพท้องถิ่นว่า สารังคนาถ ที่มีความหมายว่า “เจ้าแห่งกวาง” ก็สอดคล้องกับความเป็นมาที่ว่าเป็นที่อยู่แห่งกวางอีกเช่นกัน
สาเหตุที่”เมืองสารนาถ” คือ ชื่อพระพุทธเจ้าเลือกเสด็จมา
มีข้อสันนิษฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่าเป็นเพราะอยู่ใกล้พาราณสีซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญของเหล่านักบวชหลากหลายสำนัก การมาเผยแพร่ความคิดของพระองค์ในที่แห่งนี้จึงนับได้ว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อชนหมู่มาก
ประวัติประเทศอินเดีย
ประเทศอินเดียเกิดขึ้นบนอนุทวีปอินเดีย (Indian subcontinent) ซึ่งตั้งอยู่บนบริเวณแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian tectonic plate) ซึ่งในอดีตนั้นเคยเชื่อมอยู่กับแผ่นออสเตรเลีย การรวมตัวทางภูมิศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศอินเดียนั้นเกิดขึ้นราว 75 ล้านปีก่อน เมื่ออนุทวีปอินเดียซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแห่งตอนใต้ คือ “มหาทวีปกอนด์วานา” (Gondwana) ได้เริ่มเคลื่อนตัวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านที่บริเวณมหาสมุทรอินเดีย กินเวลารวมทั้งหมดประมาณ 55 ล้านปี หลังจากนั้นอนุทวีปอินเดียได้ชนเข้ากับแผ่นทวีปยูเรเชีย อันเป็นที่มาของการเกิดเทือกเขาที่มีความสูงที่สุดในโลก คือ “เทือกเขาหิมาลัย” ซึ่งอยู่บริเวณภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ตอนใต้ของเทือกเขาซึ่งเคยเป็นท้องทะเลอันกว้างขวางได้ค่อยๆกลายมาเป็นผืนดินราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่ ทำให้เกิดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาตอนเหนือของอินเดีย (Indo-Gangetic Plain) ทางภาคตะวันตกนั้นติดกับทะเลทรายธาร์ ซึ่งถูกกั้นกลางด้วยทิวเขาอะราวัลลี
อนุทวีปอินเดียได้คงอยู่จนกลายมาเป็นคาบสมุทรอินเดียในปัจจุบัน เก่าแก่ที่สุดทางธรณีวิทยา เป็นบริเวณที่มีความคงที่ทางภูมิศาสตร์ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย เทือกเขาเคดาร์ (Kedar Range) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหิมาลัย
ระบบแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียคือ แม่น้ำคงคา (Ganges) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย แม่น้ำสาขาในระบบแม่น้ำคงคาคือ แม่น้ำยมนา แม่น้ำกากรา แม่น้ำกันดัค และแม่น้ำโคสิ บริเวณผืนดินที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาจัดได้ว่ามีความอุดสมบูรณ์ และกว้างใหญ่ที่สุด โดยเป็นบริเวณกว้างถึงหนึ่งในสี่ของประเทศ
พระพุทธเจ้า มีกี่องค์
พระพุทธเจ้าที่ได้อุบัติขึ้นมาแล้วมีจำนวนมากมายนับประมาณมิได้ ซึ่งในพระไตรปิฎกได้แสดงถึงเรื่อง พระพุทธเจ้า ทั้งหมด 28 พระองค์ การกําเนิดพระพุทธเจ้า ซึ่งตรงตามที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงค้นพบและพยากรณ์ ในการบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- พระพุทธตัณหังกร
- พระพุทธเมธังกร
- พระพุทธสรณังกร
- พระพุทธทีปังกร
- พระพุทธโกณฑัญญะ
- พระพุทธมังคละ
- พระพุทธสุมนะ
- พระพุทธเรวตะ
- พระพุทธโสภิตะ
- พระพุทธอโนมทัสสี
- พระพุทธปทุมะ
- พระพุทธนารทะ
- พระพุทธปทุมุตตระ
- พระพุทธสุเมธะ
- พระพุทธสุชาตะ
- พระพุทธปิยทัสสี
- พระพุทธอัตถทัสสี
- พระพุทธธรรมทัสสี
- พระพุทธสิทธัตถะ
- พระพุทธติสสะ
- พระพุทธปุสสะ
- พระพุทธวิปัสสี
- พระพุทธสิขี
- พระพุทธเวสสภู
- พระพุทธกกุสันธะ
- พระพุทธโกนาคมนะ
- พระพุทธกัสสปะ
- พระโคดม พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาของพุทธบริษัททั้งหลาย
ต้นไม้พระพุทธเจ้า
รายชื่อของต้นไม้ที่มีความสำคัญและมีความเกี่ยวกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ต้นพระศรีมหาโพธิ (อัสสัตถพฤกษ์)
ประวัติกำเนิดพระพุทธเจ้าต้นพระศรีมหาโพธิ คือต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ทรงประทับภายใต้ร่มเงา ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ในวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ภายใต้ร่มเงาของต้นพระศรีมหาโพธิแห่งนี้
ต้นสาละ
ต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสว่า ต้นสาละเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ตามพุทธประวัติของเจ้าชายสิทธัตถะภายใต้ต้นสาละ ณ อุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กับกรุงเทวทหะ ในวันเพ็ญเดือน 6 สถานที่ประสูติพระพุทธเจ้าซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอไภระวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล และปรินิพพาน ใต้ต้นสาละสถานที่ปรินิพพานตั้งอยู่ในรัฐกุสินารา
ต้นอปชาลนิโครธ (ต้นไทร)
พุทธศาสดาทรงประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ 5 ภายหลังทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ประทับนั่งภายใต้ร่มเงาของอปชาลนิโครธเป็นเวลา 7 วัน ต้นอปชาลนิโครธอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นศรีมหาโพธิ
การตรัสรู้ หมายถึง
“การรู้แจ้ง” รู้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เป็นการเข้าถึงความจริงอันสูงสุด ใน “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” เรื่องราว ของพระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงความหมายของการตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธศาสดา การรู้แจ้งความจริงที่เรียกว่า “อริยสัจ 4” คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่
- ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น
- สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่
- นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
- มรรค คือ หนทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์ “มัชฌิมาปฏิปทา” คือ ทางสายกลาง ที่เรียกว่า “อริยมรรคมีองค์แปด” คือมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ ได้แก่
- สัมมาทิฏฐิ = ความเห็นชอบ
- สัมมาสังกัปปะ = ความดำริชอบ
- สัมมาวาจา = การพูดจาชอบ
- สัมมากัมมันตะ = การทำการงานชอบ
- สัมมาอาชีวะ = การเลี้ยงชีพชอบ
- สัมมาวายามะ = ความพยายามชอบ
- สัมมาสติ = ความระลึกชอบ
- สัมมาสมาธิ = ความตั้งใจมั่นชอบ
คําทํานายพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป
“พระศรีอาริย์” ในพุทธทำนาย ตามคำสอนในศาสนาพุทธ สมัยปัจจุบันนี้อยู่ในยุคที่เรียกว่า “ภัทรกัป” ซึ่งมีพระพุทธเจ้าอยู่ 5 พระองค์ คือ กุกุสันโท โกนาคมโน กัสโป และ โคตโม ซึ่งได้แก่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนั่นคือ พระสมณะโคตม พระองค์ได้พยากรณ์ว่า หลังจากศาสนาของพระองค์ดำเนินไปจนครบ 5000 ปีแล้ว จะมีพระพุทธเจ้าตรัสรู้ หมายถึง อุบัติขึ้น ทรงพระนามว่า “พระศรีอาริยะเมตไตรย”
ความเชื่อเรื่อง ศาสดาของพระพทธศาสนา องค์ต่อไปคือ “พระศรีอาริยะเมตไตรย” เกิดจากคำพยากรณ์ หรือคำทำนายของพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทำนายไว้ว่า เมื่อศาสนาของพระองค์ดำเนินไปได้ห้าพันปี จะมีพระพุทธเจ้าองค์ใหม่มาอุบัติขึ้น พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าเมื่อศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าสิ้นสุดไปแล้ว โลกจะล่วงเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมถอย อายุขัยของมนุษย์ลดลงจนเหลือ 10 ปี ก็เข้าสู่ยุคมิคสัญญี ผู้สลดใจกับความชั่วก็หันมารวมกลุ่มกันทำความดี จากนั้นอายุขัยเพิ่มขึ้นถึง 1 อสงไขยปี แล้วจึงลดลงอีก จนเหลือ 80,000 ปี ในยุคนี้จะมีพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีครบ 16 อสงไขยแสนมหากัป ลงมาตรัสรู้พระพุทธเจ้าออกบวช เป็น “พระเมตไตรย” เป็นพุทธทำนาย พระพุทธเจ้าองค์ต่อไป ในงานเขียนในทุกๆนิกายของศาสนาของศาสนาพุทธ ดังเช่น หลักฐานจากพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 3 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จักรวัตติสูตรซึ่งเป็นพระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท โดยถือกันว่ารักษาเนื้อหาได้สมบูรณ์ที่สุดในบรรดาทุกนิกาย ดังนี้
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ 80,000 ปี พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า “เมตไตรย” จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้เป็นอรหันต์ พระผู้มีพระภาคพระนามว่เมตไตรยพระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวะโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรยพระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในตอนกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงเหมือนตถาคตในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรยพระองค์นั้น จักทรงบริหารภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้นฯ”
ในการนี้พระโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่า “อัญญาสิ วตโกณฑัญโญ” แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะจึงได้สมญาว่า อัญญาโกณฑัญญะ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา โดยเรียกการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้ว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”
เที่ยวอินเดียตามรอยพระพุทธเจ้า
-
พุทธคยา
เป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ เป็นที่ตั้งของต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และยังเป็นที่ที่พระพุทธเจ้า เสวยวิมุตติสุข หรือทำการพิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ซึ่งทำให้พิกัดถือเป็นจุดศูนย์กลางของนักแสวงบุญและนักท่องเที่ยวที่ต้องการตามรอยพระพุทธเจ้ามาตลอดสองร้อยปี ซึบซับบรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพุทธแล้ว ในแง่ประวัติศาสตร์
ปัจจุบันอยู่เมืองคยา รัฐพิหาร เป็นสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุดและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดสำหรับชาวพุทธทั่วโลก จุดสำคัญของการไปสักการะ คือองค์มหาโพธิเจดีย์
-
สารนาถ
สถานที่ตั้งของป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาเรื่องอริยสัจสี่เป็นครั้งแรกอันเรียกได้ว่าเป็นปฐมบทแห่งพุทธศาสนา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ( เดือนอาสาฬหะ) เรียกว่า ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ในขณะที่ทรงแสดงธรรม ท่านปัญญาโกณฑัณญะได้ธรรมจักษุ คือบรรลุพระโสดาบัน ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกการบวชครั้งนี้ว่า “ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ” พระอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
-
กุสินารา หรือ กุสินคร พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่ไหน??
พระพุทธเจ้าปรินิพพานอายุ 80 พรรษา ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยานตั้งอยู่ในรัฐอุตตรแคว้นมัลละ เมืองกุสินารา ประเทศอินเดียในปัจจุบัน ซึ่งภายหลังจากการเสด็จปรินิพพาน ได้มีการสร้างระเจดีย์และวิหารขึ้นโดยรอบ
พระเจ้าอโศกมหาราช หลังจากที่ได้มีการจัดให้มีการทำสังคายนาครั้งที่ 3 แล้ว ทรงให้สร้างสถูป คือ มีลักษณะใหญ่ ประดิษฐานรอบๆ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าขึ้น
โดยเมืองกุสินารามีสถานที่ท่องเที่ยวและสักการะสำคัญ คือ สถูปปรินิพพาน ที่พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้ให้ก่อสร้าง ลักษณะขององค์สถูป เป็นสถูปทรงคว่ำ ภายในประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า และพระพุทธรูปมหาปรินิพพาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบสกุลช่างมธุรา มีจุดเด่นอยู่ที่จะสร้างขึ้นด้วยหินทรายสีชมพูเพียงก้อนเดียว ซึ่งผู้ที่ตั้งใจมาแสวงบุญที่นี่ จะมีความตั้งใจถวายผ้าห่มแก่พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพิธีที่สำคัญและสวยงามอย่างมาก ใกล้ๆบริเวณนั้นเป็น “วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์” ที่คนไทยสามารถติดต่อ เพื่อขอพักค้างคืนได้
-
วัดเชตวันมหาวิหาร
ตั้งอยู่ที่ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย “วัดเชตวันมหาวิหาร” วัดที่สำคัญที่สุดในการเผยแผ่พุทธศาสนา ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าจำพรรษานานสุด คือ 19 พรรษา และมีความสำคัญๆ ในพระพุทธศาสนามากมาย ความอุดมสมูบรณ์ สงบ เป็นวัดที่มหาอุบาสก “อนาถบิณฑิกเศรษฐี” สร้างถวายแด่พระพุทธองค์ด้วยความศรัทธา พระองค์ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่นี่ และเป็นที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบด้วย
คำค้น : ที่ไหน หลักธรรมที่ วันที่ และปรินิพพานในวันใด สถานที่ สถานที่ที่ ที่ใด ความจริงอันประเสริฐที่ เรียกว่าอะไร และปรินิพพาน เมื่อมีพระชนมายุเท่าไร และปรินิพพานเมื่อมีพระชนมายุเท่าไร และปรินิพพานเมื่อมีพระชนมายุเท่าไหร่ อายุ สังเวชนียสถานใดคือสถานที่ที่ ความจริงอย่างประเสริฐที่ เรียกว่าอะไร สถานที่ที่ ในสังเวชนียสถาน 4 คือข้อใด ใต้ต้นโพธิ์ ที่ใด ความจริง 4 ประการ หมายถึง ความจริงอันประเสริฐที่ คือ ธรรมอันประเสริฐที่ คือข้อใด และปรินิพพานเมื่อพระชนมายุเท่าไหร่ สถานที่ปัจจุบันที่ มีชื่อว่า การ์ตูน ที่เมืองใด เมื่อใด ความจริงอันประเสริฐที่ เรียกว่าอะไร เมื่อ สถานที่ที่ ปัจจุบัน เรียกว่าอะไร ณ ที่ใด หลักธรรมที่ ที่เป็นความจริงอันประเสริฐ คืออะไร สถานที่ ในสังเวชนียสถาน 4 คือข้อใด สถานที่ใด สถานที่ คือ สถานที่ที่ คือ สังเวชนียสถานบริเวณที่ คือ เหตุที่ อริยสัจ 4 ได้ด้วยพระองค์เองเป็นเพราะพระพุทธคุณข้อใด ความจริงอันประเสริฐ ที่ เรียกว่าอะไร สิ่งที่ นั้น เป็นสัจธรรมเรียกว่า วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ อริยสัจ 4 คือวันใด สถานที่ที่ ในสังเวชนียสถาน 4 คือ ที่ สถานที่ที่ คือสถานที่ใด ตรงกับวันอะไร สถานที่ที่ ในสังเวชนียสถาน ๔ คือ และปรินิพพาน เมื่อมีพระชนมายุเท่าไหร่ วันที่ ตรงกับวันอะไร ความจริงอันประเสริฐที่ คือข้อใด ที่ที่ สถานที่ที่ ในสังเวชนียสถาน 4
แหล่งอ้างอิง :
http://huahin.royalrain.go.th/visakhabuchaday.php
https://hilight.kapook.com/view/37629
https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/72/iid/460
https://mgronline.com/dhamma/detail/9570000048136
http://www.anakame.com/page/Person/206.htm
watchakdaeng.com/2015/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86/
https://www.dmc.tv/pages/buddha_biography/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86.html
https://travel.trueid.net/detail/RmKKwNJNGx6m
http://www.dhammathai.org/buddhism/sangvechani4.php
technologychaoban.com/bullet-news-today/article_82966
https://sites.google.com/site/phuththsthanbuddhistplace/home/sar-nath-sthan-thi-saedng-pthmthesna
https://curadio.chula.ac.th/Program-Detail.php?id=11350
https://sites.google.com/site/supaporn10483/kha-xthibay-raywicha/prawati-khxng-prathes-xindeiy
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000016679
https://www.winnews.tv/news/5111
https://watpasunyata.com/blog/enlightenment/
https://m.facebook.com/nt/screen/?params=%7B%22note_id%22%3A4989786667713334%7D&path=%2Fnotes%2Fnote%2F&_rdr
https://www.bolttech.co.th/blog/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2
https://mgronline.com/travel/detail/9600000036268
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ดูดวง
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 171695: 482