Power Supply ระบบเพาวเวอร์ซัพพลายหน้าที่เพิ่งเปิดเผย 2 Power?
Power Supply เพาวเวอร์ซัพพลาย ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย ส่วนต่างๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย การเลือกซื้อพาวเวอร์
พีพีอี (PPE) ย่อมาจาก Personal Protective Equipments (ตำราบางเล่ม เรียก เป็น PPD ย่อมาจาก Personal Protective Devices ก็มี) แปลเป็นไทยแบบตรงตัว คือ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น มักเรียกกันว่า “อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล” (ตำราบางเล่มเขียนเป็นอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลก็มี) นอกจากนี้ หากดูตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ (โดยเฉพาะในกฏหมายฉบับใหม่ ๆ) มักเรียก PP E ว่า “อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล” จะเห็นได้ว่า PPE เรียกเป็นภาษาไทยได้หลายลักษณะดังที่กล่าวข้างต้น (การเรียกชื่อ PPE เป็นภาษาไทย ระวังการเรียกสับสนด้วย เคยพบว่า บางท่านเรียกสลับเป็น “อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยฯ” หรือ “อุปกรณ์คุ้มครองอันตรายฯ” ก็มี เพราะอันตรายต้องป้องกันและความปลอดภัยต้องคุ้มครอง)
โดยสรุปแล้ว PP E จึงเป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับสวมใส่/ ปกคลุมอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันและ/ หรือการบรรเทาอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในการทำงาน (อันตรายในที่นี้เป็นอันตรายทั้งที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ (injury) และอันตรายที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย (illness))
ใช้สำหรับป้องกันศรีษะจากการกระแทก การเจาะทะลุของของแข็ง อันตรายจากไฟฟ้าและสารเคมีเหลว อุปกรณ์ป้องกันศรีษะที่สำคัญ คือ หมวกนิรภัย (Safety Helmet/Safety Hat/Hard Hat) (ดังแสดงในภาพที่ 1) นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์ป้องกันศรีษะอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “หมวกกันศรีษะชน (Bump Hat/Bump Cap)” (ดังแสดงในภาพที่ 1)ลักษณะภายนอกคล้ายหมวกนิรภัย แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติทนการกระทบกระแทก การเจาะทะลุ กระแสไฟฟ้าเหมือนกับหมวกนิรภัย ดังนั้น หมวกกันศรีษะชนจึงเหมาะสำหรับงานที่ทำในที่แคบหรือมีความเสี่ยงต่อการชนกับสิ่งกีดขวางบริเวณศรีษะ เช่น ภายในท่อ ถัง หรือโพรง เป็นต้น
ใช้สำหรับป้องกันใบหน้าและดวงตาจากการกระทบกระแทกของของแข็ง การกระเด็นของสารเคมีหรือของเหลวอันตรายอื่น ๆ อันตรายจากงานเชื่อมโลหะ ตัวอย่างของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ แว่นตานิรภัย (Safety Spectacles/Safety Glasses)ครอบตานิรภัย (Goggles) กระบังหน้า (Face Shields) กระบังหน้าสำหรับงานเชื่อมโลหะ(Welding Shields)
ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับมือและแขน จากสารเคมี วัตถุมีคม อุณหภูมิร้อนและเย็น ไฟฟ้า เชี้อโรด สิ่งสกปรกต่าง ๆ ตัวอย่างของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ ถุงมือชนิดต่าง ๆ ปลอกแขน และปลอกนิ้ว
ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับขาและเท้าจากการกระแทก ทับหรือหนีบโดยวัตถุแข็ง การหกใส่ของสารเคมี การสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า ตัวอย่างของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ รองเท้านิรภัย (Safety shoes) รองเท้ายาง รองเท้าพลาสติก
ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลำตัวจากการกระเด็นของสารเคมีอันตราย โลหะหลอมเหลว การสัมผัสอุณหภูมิที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด รวมถึงไฟไหม้ การกระแทกกับวัตถุแข็งต่าง ๆ ตัวอย่างของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ ชุดป้องกันสารเคมี ชุดป้องกันความร้อน แผ่นคาดลำตัว หรือเอี๊ยมทำจากวัสดุชนิดต่าง ๆ
ใช้สำหรับป้องกันไม่ให้สารอันตรายหรือสารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ ตัวอย่างของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ หน้ากากกรองอากาศชนิดต่าง ๆ ชุดส่งผ่านอากาศ (Airline Respirators) อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจแบบมีถังอากาศพกพา (SCBA; Self Contained Breathing Apparatus)
ใช้สำหรับลดระดับเสียงดังจากสภาพแวดล้อมการทำงานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ก่อนเข้าสู่ระบบการได้ยินของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน ตัวอย่างของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ ที่อุดหูลดเสียง (Ear Plugs) ที่ครอบหูลดเสียง (Ear Muffs)
ใช้สำหรับป้องกันไม่ให้คนทำงานในที่สูงตกลงสู่เบื้องล่าง ตัวอย่างของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) สายรัดตัวนิรภัย (Safety Harness) เชือกนิรภัย (Lanyards) สายช่วยชีวิต (Lifelines)
จุลสารฉบับนี้คงกล่าวถึงนิยามและชนิดของ PP E พอสังเขป เป็นความรู้เบื้องต้นโดยไม่ได้ลงรายละเอียดทางวิชาการมากนัก อย่างไรก็ตาม หากสนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราและเอกสารวิชาการที่มีเผยแพร่อยู่มากมาย รวมถึงเอกสารอ้างอิงท้ายจุลสารนี้
สุดท้ายก่อนจาก (ฝากไว้ขำ ๆ….อย่าคิดมากครับ) สำหรับบางอาชีพ (ถึงแม้ไม่ถูกต้องตามกฎหมายไทย แต่ก็มีอยู่ในสภาพความเป็นจริงของสังคม) จากนิยามความหมายของ PP E ทำให้ ชนิดของ PP E ดังกล่าวข้างต้น อาจต้องมีอุปกรณ์ป้องกันบางส่วนของร่างกายเพิ่มเติมอีกหนึ่งชนิด
สำหรับคุณผู้ชาย โปรดให้ความร่วมมือกับผู้ประกอบการ อย่าลืมสวมใส่ PP E ทุกครั้งที่จะปฏิบัติภาระกิจเพื่อความปลอดภัยด้วย
ที่มา:https://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet/book56_1/sanitation.htm
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com