plagiarism

Plagiarism การคัดลอกผลงานทางวิชาการที่ไม่มีใครพูด 7 คัดลอก?

plagiarism

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ คงเป็นช่วงที่เพื่อนข้าราชการหลายท่านจะต้องเตรียมตัวเพื่อการเขียนผลงานเพื่อใช้ประกอบการประเมินเลื่อนระดับ ดังนั้นในฐานะผู้เขียนซึ่ง เป็นบรรณารักษ์จึงขอเล่าเกร็ดความรู้สําหรับผู้ที่กําลัง จะต้องเขียนผลงาน หรืองานทางวิชาการต่าง ๆ ซึ่งจําเป็นที่จะต้องรู้เกี่ยวกับความสําคัญในการเขียนรายการอ้างอิง (Reference) เพราะหากท่านไม่สนใจแล้วท่านอาจมีโอกาสเข้าข่าย plagiarism ได้

การลักลอกผลงาน การคัดลอกผลงาน การโจรกรรม ทางวิชาการ

plagiarism มีผู้แปลเป็นภาษาไทยไว้หลายคํา เช่น การลักลอกผลงาน การคัดลอกผลงาน การโจรกรรม ทางวิชาการ การโจรกรรมทางวรรณกรรม การขโมยผลงาน และการลอกเลียนผลงาน เป็นต้น สําหรับบทความนี้ผู้เขียนขอใช้ คําว่า plagiarism ตรง ๆ โดยไม่แปล

การใช้ผลงานหรือแนวคิดของบุคคลอื่นเพื่อทําให้ดูเหมือนเป็นงานของตนเอง

ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา ได้กล่าว สรุปไว้ว่า “plagiarismหมายถึง การใช้ผลงานหรือแนวคิดของบุคคลอื่นเพื่อทําให้ดูเหมือนเป็นงานของตนเอง” (มานิตย์ จุมปา, ๒๕๕๖ : ๙๘) ซึ่ง Plagiarism นี้บางครั้งเกิดด้วยความตั้งใจ และหลายครั้งเกิดจากความไม่ตั้งใจแต่ขาดความระมัดระวังในเรื่องของการอ้างอิงให้ถูกต้อง ทั้งนี้

คัดลอกเกิน ๑,๐๐๐ คํา หรือ ร้อยละ ๑๐

ในบางกรณีอาจถึงขั้นเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้สร้างผลงานวรรณกรรมต้นฉบับซึ่งผิดกฎหมายด้วย หากคัดลอกเกิน ๑,๐๐๐ คํา หรือ ร้อยละ ๑๐ ของผลงานขึ้นอยู่กับจํานวนใดน้อยกว่ากัน ดังนั้นถ้าจําเป็นต้องคัดลอก มากกว่านี้ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน (ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข, ๒๕๕๖)

รูปแบบต่าง ๆ ของ Plagiarism พอจะสรุปได้ ดังนี้ (บุษบา มาตระกูล, ๒๕๕๑ : ๘-๙)

  1. Copy and Paste P l a g i a r i s m (การคัดลอก-แปะ) คือ การนําข้อความจากต้นฉบับมาใช้โดยไม่ใส่เครื่องหมายคําพูด และเขียนอ้างอิง
  2. Word Switch P l a g i a r i s m (การเปลี่ยนคํา) คือ การนําข้อความต้นฉบับมาเปลี่ยนบางคําโดยไม่ใส่เครื่องหมาย คําพูดและเขียนอ้างอิง 
  3. Metaphor P l a g i a r i s m (การอุปมา) คือ การนําคําอุปมาของต้นฉบับมาใช้ โดยไม่ได้อุปมาเป็นอย่างอื่น โดยไม่อ้างอิง
  4. Style P l a g i a r i s m (สํานวน) นําข้อความต้นฉบับผู้อื่นมาใช้โดยเรียงประโยคใหม่อันแสดงถึงรูปแบบสํานวนเดิม
  5. Idea P l a g i a r i s m (ความคิด) คือ การนําทฤษฎีต่าง ๆ มาวิเคราะห์ วิจารณ์ ถึงความรู้ทั่วไป หากมีผู้อื่นวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีนั้นแล้วต้องอ้างอิง หากไม่อ้างอิงจะเป็น P l a g i a r i s m ดังนั้นอาจเลี่ยงได้โดยเขียนด้วยทฤษฎีอื่น 
  6. การกระทําอื่นๆ ที่ถือเป็น P l a g i a r i s m เช่น การส่งผลงานชิ้นเดียวกันไปยังสํานักพิมพ์ ๒ แห่ง หรือลอกผลงานตัวเอง (Self P l a g i a r i s m) การส่งผลงานที่ทําร่วมกับผู้อื่นไป เผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนร่วม การลอก การบ้าน การใช้บทความจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่อ้างอิง การนําคํากล่าว สุนทรพจน์ สถิติ ภาพ กราฟ ผู้อื่นไปใช้โดย ไม่อ้างอิง

การกระทําที่เข้าข่าย P l a g i a r i s m

การกระทําที่เข้าข่าย P l a g i a r i s m นี้มีมานานแล้วทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครสนใจเอาความกับผู้กระทําผิดเช่นนี้นัก แม้จะเป็นการกระทําที่นับว่าผิดศีลธรรมและจรรยาบรรณก็ตาม จนกระทั่งพบการกระทําในลักษณะ P l a g i a r i s m นี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะในวงการวรรณกรรม ธุรกิจ เกมคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ และการศึกษา อีกทั้งในยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เจริญก้าวหน้าเอื้ออํานวยให้

การคัดลอก ต่าง ๆ สามารถกระทําได้โดยง่ายและรวดเร็ว จึงยิ่งทําให้ P l a g i a r i s m  แพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักเรียน นักศึกษา ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าสารสนเทศต่าง ๆ โดยนํามาใช้ตัดแปะข้อความของคนอื่นในผลงานของตัวเองโดยไม่มีการอ้างอิง หรือที่เรียกว่า Cyber-P l a g i a r i s m  อันเป็นความมักง่ายและคาดว่าอาจารย์ผู้สอน จะจับไม่ได้ การกระทําดังกล่าวเกิดขึ้นมากในแวดวงมหาวิทยาลัยจึงทําให้สถาบันและองค์กรต่าง ๆ จําเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือสําหรับใช้ตรวจจับ P l a g i a r i s m ของเหล่านักเรียน นักศึกษา เมือผู้เขียนได้ไปสัมมนาทางวิชาการกับ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมา จะมีหน่วยงานต่าง ๆ มานําเสนอ โปรแกรมตรวจจับ P l a g i a r i s m อยู่เสมอ

ซึ่งโปรแกรมและฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันมากในการตรวจจับ P l a g i a r i s m ได้แก่ Deja vu, eTBLAST (ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข, ๒๕๕๑), Viper (นฤตย์ นิ่มสมบุญ, ๒๕๕๗), Turnitin และ DupliChecker ส่วนของไทยมี CopyCat และ Anti-Koppae (แอนตี้ ก็อปแปะ) โดยนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NECTEC) รวมทั้ง อักขราวิสุทธิ์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เทคนิคหลีกเลี่ยงการกระทํา Plagiarism

เทคนิคหลีกเลี่ยงการกระทํา Plagiarism (บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๕) (ต้องอ่าน! สุดยอดเทคนิคเขียนงานหลีกเลี่ยง P  l  a  g i a r i s m, ๒๕๕๕)

๑. ค้นคว้าจากหลาย ๆ แหล่ง อ่านให้เข้าใจถ่อง แท้ และเขียนผลงานด้วยสํานวนตัวเอง

๒. จดบันทึกย่อทุกครั้งที่อ่านข้อมูล และกํากับแหล่งอ้างอิงทุกครั้ง

๓. เขียนผลงานด้วยภาษาตนเองไม่นําคําของคน อื่นมาใช้ โดยทิ้งเวลาหลังจากอ่านข้อมูลต่าง ๆ สักพักจึง เขียนงานตัวเองจะช่วยให้สํานวนที่เขียนเป็นภาษาของเรา เองอย่างแท้จริง

๔. เขียนโดยใช้วิธีถอดความ หรือ การสรุปสาระสําคัญแทนการคัดลอก และเขียนอ้างอิงให้ถูกต้อง

๕. หากจําเป็นต้องนําข้อความนั้นมาอ้างอิง ควรเขียนอ้างอิงให้ชัดเจน และใส่เครื่องหมายคําพูดตรงข้อความที่คัดลอก

ควรมีการอ้างอิงให้ถูกต้อง

ปัจจุบันสังคมวิชาการของไทยหันมาให้ ความสําคัญกับ P l a g i a r i s m เพิ่มขึ้น หากท่านกําลังทําผลงานวิชาการใด ๆ อยู่ก็ควรมีการอ้างอิงให้ถูกต้อง จะได้ไม่เข้าข่ายผู้กระทําการ P l a g i a r i s m ผู้เขียนขอแนะนําเพิ่มเติมว่าระบบการเขียนอ้างอิงนั้นมีหลายแบบซึ่งแตกต่างกันไป บางระบบต่างกันแค่เพียงการใช้เครื่องหมาย

ดังนั้น ควรศึกษาให้ดีและยึดระบบการอ้างอิงที่สถาบันหรือหน่วยงานที่ท่านจะต้องเสนอผลงานชิ้นนั้นเป็นผู้กําหนดให้ใช้เท่านั้น ไม่ควรใช้ความเคยชินแล้วใช้ระบบการอ้างอิงอื่นตามแบบสถาบันอื่นที่ท่านเคยเรียน หรือเคยเสนอผลงานมาก่อน เพราะอาจทําให้ผลงานท่านไม่ผ่านเกณฑ์ของแต่ละแห่งได้

ที่มา:http://www2.feu.ac.th/acad/llrc/AAP/download/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20Plagiarism%20%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88.pdf

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 168679: 520