pdca

PDCA วงจรเดมมิ่ง 5 CYCLE ตัวอย่างเกี่ยวกับการบริหารไม่มีใครรู้

Click to rate this post!
[Total: 226 Average: 5]

PDCA คือ

pdca คือ

วงจรเดมมิ่งวงจร คุณภาพ วงจร PDCA หรืออีกชื่อที่เป็นที่รู้จักคือ วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) คือการบริหารงานด้วยวงจรคุณภาพที่มีความสำคัญในการวางแผนแก้ปัญหา สามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาระบบการทำงานขององค์กรให้ดีขึ้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับ ทุกๆองค์กร ทุกๆเรื่องทั้งองค์กรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการผลิตในอุตสาหกรรม จนถึงการดำเนินชีวิตประจำวันจึงทำให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

วงจร PDCA

กระบวนการ PDCA ประกอปไปด้วย

วงจร-pdca
วงจร-pdca

วงจร pdca มีองค์ประกอบที่สําคัญอะไรบ้าง

  1. Plan – การวางแผน คือ การตั้งเป้าหมายจากปัญหาหรือโอกาสต่างๆ และสร้างแผนการทำงานหรือกระบวนการเพื่อทำให้เป้าหมายนี้ประสบความสำเร็จ
    • ลำดับขั้นตอนในกระบวนการวางแผนประกอบด้วย
      1. การกำหนดวัตถุประสงค์
      2. การพัฒนาข้อตกลงทีเป็นตัวกำหนดขอบเขตในการวางแผน
      3. พิจารณาข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการวางแผน
      4. พัฒนาทางเลือก
      5. ประเมินทางเลือก เพื่อเลือกสิ่งที่เป็นไปได้สูงสุด
      6. เปลี่ยนแปลงแผนสู่การปฏิบัติ
  2. Do – ปฎิบัติ/การทดสอบ คือ ขั้นตอนการทดสอบ เป็นการลงมือทำและเก็บข้อมูลเพื่อหาจุดอ่อนหรือจุดที่สามารถพัฒนามากขึ้นได้ รวมถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ อาจมีการกำหนดโครงสร้างคณะทำงานรองรับ และกำหนดวิธีการและขั้นตอนในการดำเนินงาน เอาไว้อย่างชัดเจน
  3. Check – การตรวจสอบ คือ ขั้นตอนการตรวจสอบ เป็นขั้นตอนหาช่องทางและวิธีพัฒนากระบวนการต่างๆให้เร็วขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของโอกาสและอุปกรรคต่างๆในกระบวนการ ซึ่งขั้นตอนนี้จะเริ่มเมื่อมีการดำเนินโครงการตามข้อที่2 ไปแล้ว และประเมินผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้หรือไม่
  4. Action – การปรับปรุงแก้ไข คือ การนำผลประเมินที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาแผนในการปรับปรุงต่อไป ซึ่งในขั้นตอนนี้ควรจะนำเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น

ACTION PLAN

ตัวอย่าง pdca เกี่ยวกับการบริหาร

Action Plan คือ แผนปฏิบัติ แผนการดำเนินการ แผนการดำเนินงาน เป็นเครื่องมือสำคัญในการแปลงแผนงาน/โครงการไปสู่กิจกรรมย่อยในเชิงปฏิบัติและช่วยในการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินงานปฏิบัติงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ลดภาระในการตัดสินใจว่าจะทำอะไรเมื่อไหร่ ลดความเสี่ยงในการควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนงาน/โครงการ

Action Plan มีขั้นตอนดังนี้

  1. วิเคราะห์ความจำเป็นของการจัดทำแผนปฎิบัติงาน
  2. จัดลำดับความสำคัญของแผนปฎิบัติการ
  3. ดำเนินการตามแผนปฎิบัติการ

Action Plan ที่ดีควรจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

  • ชื่อแผนปฏิบัติ เนื่องจากแต่ละปีมีแผนงานเยอะมาก ดังนั้น เราควรจะตั้งชื่อแผนปฏิบัติให้ชัดเจนและที่สำคัญควรจะตั้งชื่อโดยอาศัยแนวคิดทางการตลาดเข้ามาด้วย เพราะจะช่วยให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถจดจำแผนปฏิบัตินั้นได้ดียิ่งขึ้น
  • ขั้นตอนหลัก ในแผนปฏิบัติควรจะกำหนดกระบวนการหลักๆไว้ให้ชัดเจนโดยเริ่มจากกระบวนการแรกจนถึงกระบวนการสุดท้ายก่อน
  • กิจกรรม เมื่อเราได้ขั้นตอนหรือกระบวนการหลักแล้วให้กำหนดกิจกรรมย่อยๆของแต่ละขั้นตอนว่ามีอะไรบ้าง เช่น ขั้นตอนการฝึกอบรม จะมีกิจกรรมย่อยๆต่างๆประกอบด้วย
  • วิธีการหรือแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อป้องกันปัญหาในการนำกิจกรรมไปปฏิบัติควรจะระบุแนวทางในการปฏิบัติตามกิจกรรมนั้นๆด้วย เช่น ประชาสัมพันธ์โดยใช้การติดประกาศ การใช้อีเมล เป็นต้น
  • กำหนดวันเวลาสถานที่ ให้ระบุว่ากิจกรรมแต่ละข้อนั้นจะทำเมื่อไหร่ ควรระบุวันเวลาและสถานที่ให้ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อจะสามารถดูภาพรวมของแผนปฏิบัติได้ว่ามีกิจกรรมไหนบ้างที่สามารถทำไปพร้อมกันได้ กิจกรรมไหนบ้างที่ต้องรอให้กิจกรรมอื่นเสร็จก่อนจึงจะดำเนินการได้
  • ความเสี่ยงของขั้นตอนหรือกิจกรรม เพื่อให้แผนปฏิบัติเป็นแผนที่คำนึงถึงการปฏิบัติจริงๆจึงควรมีส่วนที่เราเรียกว่าการวิเคราะห์ความเสี่ยงหรือปัญหาอุปสรรคของขั้นตอนหรือกิจกรรมนั้นๆด้วยว่ามีอะไรบ้าง
  • แผนปฏิบัติรองรับหรือแผนปฏิบัติสำรอง ให้นำเอาความเสี่ยงหรือปัญหาอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นมาวิเคราะห์หาทางป้องกันแก้ไข ผ่อนหนักให้เป็นเบา เพื่อป้องกันหรือลดผลที่จะเข้ามากระทบต่อแผนปฏิบัติโดยรวม เช่น อาจจะต้องแบ่งการฝึกอบรมออกเป็นกลุ่มย่อยๆ หรืออาจจะเริ่มกำหนดการฝึกอบรมให้เร็วขึ้นและทยอยฝึกอบรมทั้งปี
  • งบประมาณ ควรจะมีการวิเคราะห์และกำหนดงบประมาณจากทุกกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อให้แผนปฏิบัติมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเราประมาณการงบประมาณย่อยมากเท่าไหร่ โอกาสที่งบประมาณโดยรวมจะผิดพลาดก็ย่อมมีน้อยลง
  • ผู้รับผิดชอบ ควรจะมีการกำหนดตำแหน่งหรือชื่อบุคคลผู้ที่รับผิดชอบแผนปฏิบัติหลัก (Action Plan Leader/Owner) ไว้หนึ่งคน และในแต่ละกิจกรรมควรจะกำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อจะได้พิจารณาดูว่าใครรับผิดชอบมากน้อยเกินไป น้อยเกินไป คนที่รับผิดชอบมีความเหมาะสมกับกิจกรรมนั้นๆหรือไม่

PDCA MODEL

วงจรคุณภาพ
วงจรคุณภาพ

ตัวอย่าง PDCA ในการทำงาน,การเรียน

  • ขั้นตอนที่ 1 Plan : สมาชิกในกลุ่มทำการประชุม วางแผนในการปฎิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย จัดการทำตาราง เวลารายละเอียดที่ใช้ในการทํางานก่อนจะปฏิบัติงาน
  • ขั้นตอนที่ 2 Do : เมื่อประชุมจนได้ข้อสรุป และจัดทำตารางการปฎิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายเรียบร้อยแล้ว แจ้งให้สมาชิกในกลุ่มทราบและลงมือปฎิบัติตามแผนที่ได้วางเอาไว้
  • ขั้นตอนที่ 3 Check : จัดการประชุมสมาชิกภายในกลุ่มเพื่อแก้ปัญหา เมื่อปฎิบัติงานแล้วเกิดปันหาขึ้นในระหว่างการปฎิบัติงาน
  • ขั้นตอนที่ 4  Action : เมื่อประชุมสมาชิกภายในกลุ่มจนไดด้ข้อสรุปถึงปัญหาแล้ว จัดการแก้ไขปรับปรุง และนำไปปรับใช้ในการปฎิบัติงานในครั้งต่อๆไป
ตัวอย่าง-pdca-ในการทำงาน
ตัวอย่าง-pdca-ในการทำงาน

ตัวอย่าง PDCA ในการบริหารบริษัท A

  • ขั้นตอนที่ 1 Plan : จัดตั้งทีมวิเคราะห์หาวิธีการและกระบวนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานในองค์กร
  • ขั้นตอนที่ 2 Do : เมื่อประชุมจนได้ข้อสรุป และจัดทำตารางการปฎิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายเรียบร้อยแล้ว แจ้งให้สมาชิกในกลุ่มทราบและลงมือปฎิบัติตามแผนที่ได้วางเอาไว้ จัดทำแบบสอบถามแจกแก่พนักงานในองค์กรณ์เพื่อรับฟังปัญหาต่างๆ และทำการแก้ไขปรับปรุง
  • ขั้นตอนที่ 3 Check : จัดการประชุมสมาชิกภายในกลุ่มเพื่อแก้ปัญหา เมื่อปฎิบัติงานแล้วเกิดปันหาขึ้นในระหว่างการปฎิบัติงานรวบรวมข้อมูลของ ผลการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาและระดับความสำเร็จของโครงการ สรุปผลการประเมินโครงการ
  • ขั้นตอนที่ 4  Action : เมื่อประชุมสมาชิกภายในกลุ่มจนไดด้ข้อสรุปถึงปัญหาแล้ว จัดการแก้ไขปรับปรุง และนำไปปรับใช้ในการปฎิบัติงานในครั้งต่อๆไป

PDCA ตัวอย่าง

บริษัทที่มีการนำวงจรคุณภาพ หรือ PDCA มาใช้ในกระบวนการทำงานก็จะมีดังนี้

1.บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด : https://www.hondaworkerunion.org/

2.บริษัท มอเตอร์คาร์ จำกัด : http://rawanda4you.blogspot.com/2011/02/blog-post_28.html

Tags : pdca, pdca คือ, action plan คือ, pdca คืออะไร, วงจรเดมมิ่ง, วงจร pdca, ตัวอย่าง pdca ในการทำงาน, ตัวอย่าง pdca ในการทํางาน, ตัวอย่าง pdca เกี่ยวกับการบริหาร, กระบวนการ pdca, pdca หมายถึง, pdca ตัวอย่าง, pdca model, วงจรคุณภาพ, ตัวอย่าง pdca, ตัวอย่าง pdca เกี่ยว กับ การ บริหาร, pdca ตัวอย่างบริษัท, ตัวอย่าง pdca ใน การ เรียน, วงจรคุณภาพ pdca, วงจร คุณภาพ, plan do check act คือ, plan หมาย ถึง, action plan แปล ว่า, pdca cycle คือ,

ปิดกิจการ
221248
การทำ แฮมเมอร์ ในหมากรุก
รางจืดสรรพคุณ
การดูแลผักต้องเผาผัก
220593
220856
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 156197: 1567