ems

7 Paramedic Ems ย่อมาจากการไหลเวียนเลือดที่ไม่มีใครพูด?

ems

paramedic คือ นักปฏิบัติการฉุกเฉินการเเพทย์ หรือ การแพทย์ฉุกเฉินทำ หน้าที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินระดับสูงสุดในระบบ EMS (Emergency Medical System)

  1. ได้ทั้งบนรถกู้ชีพและจุดเกิดเหตุ
  2. โดยให้น้ำเกลือ
  3. ให้ยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อและหลอดเลือดดำ
  4. การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วย
  5. การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า
  6. การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บทางอากาศยาน
  7. การจัดการภาวะอุบัติเหตุหมู่
  8. การดูแลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
  9. โดยการปฏิบัติงานทั้งหมดจะต้องอยู่ภายใต้กำกับของแพทย์อำนวยการฉุกเฉินเท่านั้น

ems

ems คือ

          EMS ย่อมาจากEmergency Medical Services

ems คือ รถบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน หรือ รถฉุกเฉิน ซึ่งมักจะเห็นเมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน จะพบสัญลักษณ์ EMS ข้างรถพยาบาลหรือรถกู้ชีพฉุกเฉินเสมอ

ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

       การรักษาแพทย์ ฉุกเฉินจะไม่เกิดผลดีหากมีความล่าช้า ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินจะเสียโอกาสในการอยู่รอดชีวิตในทุกนาทีที่ผ่านไป และเป็นที่ทราบกันดีอีกว่าการลำเลียงขนย้ายผู้ป่วยที่ไม่เหมาะสมทำอันตรายซ้ำเติมให้แก่ผู้บาดเจ็บ และยังมีหลักฐานแน่ชัดว่าการนำส่งโรงพยาบาลที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดผลเสียแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้อย่างมากอีกด้วย ความพยามในการจัดระบบบริการที่เหมาะสมจึงได้เกิดขึ้นเรื่อยมาในอดีตแก้ไขข้อบกพร่อง

       “ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน”ยังมีความหมายถึงการจัดให้มีการระดมทรัพยากรในพื้นที่หนึ่งๆให้สามารถช่วยเหลือผู้อาศัยในพื้นที่ได้มีโอกาสขอความช่วยเหลือในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งในภาวะปกติและในภาวะภัยพิบัติได้โดยจัดให้มี

  1. ระบบการรับแจ้งเหตุ
  2. ระบบการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ
  3. ระบบการลำเลียงขนย้ายและการส่งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินให้แก่โรงพยาบาลที่เหมาะสมได้อย่างมีคุณภาพและรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง

      สำหรับในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องขยายบริการครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยประชาสัมพันธ์ผ่านหมายเลขโทรศัพท์1669 ให้ประชาชนรับรู้และสามารถเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ 

      ระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินสามารถตอบสนองความต้องการการดูแลสุขภาพเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉินให้แก่ผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาลให้มากยิ่งขึ้นและระบบดังกล่าวนี้ควรเป็นการรับผิดชอบและดำเนินการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลท้องถิ่นนั้นๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆและประชาชนในพื้นที่เป็นระบบที่ต้องมีการดูแลรับผิดชอบโดยแพทย์หรือระบบทางการแพทย์และควรเป็นระบบที่ไม่มีผลประโยชน์เป็นที่ตั้งหรือแอบแฝง

first aid แปลว่า การปฐมพยาบาล

       ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid) เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บทันที ณ บริเวณเกิดเหตุ อาจเป็นการใช้ทักษะความรู้เฉพาะทางหรือการตัดสินใจที่เหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการช่วยเหลืออาจใช้เพียงอุปกรณ์เท่าที่หาได้ในขณะนั้น เพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือถูกส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

จุดประสงค์ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

         อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ การเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้องอาจช่วยป้องกันความพิการที่อาจเกิดขึ้นจากอาการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุเล็กน้อย ๆ ก็ตาม โดยช่วยลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ และช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว ด้วยวิธีการเช่น การทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเย็น หรือใช้ผ้าพันแผลกดห้ามเลือดสำหรับบาดแผลจากของมีคม ตลอดจนการรับมือในกรณี

ปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับอุบัติเหตุ

         วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นต้องดูตามอาการซึ่งแตกต่างกัน โดยผู้ที่ให้ความช่วยเหลือต้องมีสติ คิดหาวิธีรับมือ และตัดสินใจให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากที่สุด สิ่งที่ผู้ช่วยเหลือควรคำนึงถึง คือ เรื่องขีดความสามารถ ข้อจำกัด หรือความปลอดภัยเป็นอันดับต้น ๆ โดยให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานกู้ชีพและรถกู้ชีพฉุกเฉินเสมอ

ems  คือ

ems คือ อะไร

        เปรียบเสมือนหลักการช่วยชีวิตยามฉุกเฉิน การช่วยชีวิตผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุโดยกะทันหัน เป็นการบำบัดการรักษาเป็นพิเศษเฉพาะเป็นรายๆไป ก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์ เพื่อลดอันตรายให้น้อยลงหรือให้ผู้ป่วยปลอดภัย วิธีการช่วยเหลือชีวิตคนเมื่อยามฉุกเฉิน นอกจากจะช่วยชีวิตผู้อื่นแล้วยังเป็นประโยชน์แก่ตนเองด้วย มีหลักทั่วไป ดังนี้

  1. อย่าให้ผู้คนล้อมตัวผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ปลอดโปร่ง มีแสงสว่างพอสมควรจะได้ทำการปฐมพยาบาลได้สะดวก
  2. ให้นอนนิ่งๆในท่าที่ถูกต้องต่อการพยาบาล
  3. คอยสังเกตชีพจร การหายใจ และอาการป่วยไว้ตลอดเวลา
  4. ก่อนนำผู้ป่วยไปหาแพทย์ ควรได้รับการปฐมพยาบาลเรียบร้อยแล้ว
  5. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือนำส่งโรงพยาบาล ควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการ
  6. ในการนำผู้ป่วยไปหาแพทย์ หรือส่งโรงพยาบาล ควรมีรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วย และการปฐมพยาบาลมาก่อน เพื่อความสะดวกที่แพทย์จะทำการรักษาต่อไป
  7. ถ้าผู้ป่วยอาการสาหัส อย่ารักษาผู้ป่วยด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ หรือนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

      ทำไมต้อง ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน แล้วมีความจำเป็นอะไรที่เราจะต้องมีระบบการแพทย์ฉุกเฉินนี้ เพราะว่าเบื้องหลังของความสวยงาม หรือ กว่าจะมาเป็นระบบการแพทย์ฉุกเฉินในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย และที่สำคัญระบบนี้เป็นตัวชี้วัดหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ได้รับอุบัติเหตุมีโอกาสรอดชีวิต เป็นดั่งวินาทีต่อลมหายใจให้กับภาพต่อไปนี้จะบ่งบอกความสำคัญของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

รถฉุกเฉิน 1669

       ติดต่อสายด่วนช่วยชีวิต ผู้ช่วยเหลือที่พบผู้ป่วยกำลังต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน ให้ตั้ง ก่อนอื่นเราต้องตั้งสติก่อนนะครับ เมื่อเรามีสติความคิดและปัญญาเกิดจริงๆ งานนี้ มีได้สติแล้วก็เรียบเรียงลำดับดังนี้

  1. เกิดอะไรขึ้น
  2. เกิดที่ไหน
  3. อาการเบื้องต้นของผู้ได้รับอุบัติเป็นอย่างไร
  4. อายุ เพศ โรคประจำตัว (ตรวจสอบจากเอกสารติดตัว)
  5. เบอร์โทรติดต่อกลับผู้แจ้ง

        เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็อย่ารอช้า โทร 1669 (ฟรี) emergency medical services : ระบบการแพทย์ฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง

หน่วยพยาบาล ฉุกเฉิน ของ รถ ems

หน่วยกู้ชีพระดับสูง (Advanced Life Support, ALS)

         สามารถให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยหนัก การช่วยชีวิตขั้นสูง การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า การปฐมพยาบาลและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยเทคนิคขั้นสูง การช่วยคลอด สามารถให้สารละลายทางเส้นเลือดและยาบางชนิดได้โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ประจำศูนย์สั่งการ

  • บุคลากร

    1. แพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการอบรม ACLS, มีประสบ การณ์ภาคสนามกับหน่วยกู้ชีพ และผ่านการสอบข้อเขียนในเรื่องการให้ยาและความรู้ความเข้าใจในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
    2. เจ้าพนักงานกู้ชีพ
    3. คนขับรถที่ผ่านหลักสูตร First Responder
    4. เจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรม First Responder
โดยทุกคนต้องมีความรู้ในเรื่อง
      • ความสามารถในการใช้อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ในการกู้ชีพระดับ ALS
      • ความสามารถในการช่วยเหลือผู้ป่วย trauma ได้ถูกต้อง
      • ความสามารถในการลำเลียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ถูกต้อง
  • อุปกรณ์

    1. อุปกรณ์การช่วยชีวิตขั้นสูง เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ (AED)
    2. อุปกรณ์การขนย้าย
    3. เวชภัณฑ์ยาชนิดต่าง ๆ
    4. กระเป๋าชุดปฐมพยาบาล
หน่วยชุดกู้ชีพระดับพื้นฐาน (Basic Life Support, BLS)

ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ได้แก่ การดาม การห้ามเลือด การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธี การช่วยคลอดฉุกเฉิน สามารถให้ยาทางปากบางชนิดได้ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์หรือพยาบาลประจำศูนย์รับแจ้งเหตุ

  • บุคลากร

  1. คนขับรถ ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลสำหรับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร (First Responder) 20 ชั่วโมง
  2. เจ้าหน้าที่กู้ชีพ ผ่านการอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลสำหรับเจ้า หน้าที่และอาสาสมัคร (First Responder) 20 ชั่วโมง
โดยบุคลากรทั้ง 2 คนต้องมีความรู้ในการ
      1. ประเมินสถานการณ์และประเมินสภาพผู้บาดเจ็บได้
      2. ให้การปฐมพยาบาลขั้นต้นและเคลื่อนย้ายได้อย่างถูกต้อง
      3. สามารถช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้
      4. และควรผ่านหลักสูตร EMT-B 110 ชั่วโมงในที่สุด
  1. รถพยาบาลควรมีเปลขนย้ายที่สามารถยึดตรึงกับรถได้
  • อุปกรณ์ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

ชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาลระบบการแพทย์ฉุกเฉิน อย่าง pocket mask, เครื่องดูดเสมหะชนิดใช้มือ ถังออกซิเจนและอุปกรณ์ให้ออกซิเจน อุปกรณ์ขนย้ายลำเลียง ได้แก่ long spinal board, splint คอและแขน สายรัดตรึง ที่ยึดตรึงศีรษะ กระเป๋าชุดปฐมพยาบาลประกอบด้วย Cord Clamp อุปกรณ์ทำแผลและอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ไฟสีน้ำเงิน

 

ทีมหมอกู้ชีพ ต้องการประเมินสภาพแวดล้อม (Scene size-up)

การประเมินสถานที่เกิดเหตุและสภาพแวดล้อมเพื่อหาข้อมูลสำคัญสำหรับการช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นต้น  ขั้นตอนมีดังนี้

1.ความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุ (Scene Safety)

1.1 ประเมินความปลอดภัย

      บุคลากรควรจอดรถห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 100 ฟุต อยู่ในที่สูงกว่าจุดเกิดเหตุเหนือลม มองและสังเกตรอบ ๆ จุดเกิดเหตุ วิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บุคลากรอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยและแจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุให้ส่งตำรวจมาที่จุดเกิดเหตุก่อนเข้าไปในสถานการณ์

ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่มีการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นควรทำดังนี้
      1. เปิดให้มีทางสำหรับออกได้ตลอดเวลา
      2. ไม่ท้าทายตัวต่อตัว
      3. ยึดมั่นว่าเราเป็นบุคลากรสาธารณสุขไม่ใช่ตำรวจ
      4. บอกทุกคนว่าเรามาเพื่อช่วยเหลือ
      5. อธิบายด้วยน้ำเสียงสงบและมั่นใจ
      6. รักษาสถานการณ์ให้นาน พยายามไม่เคลื่อนไหว

1.2 ป้องกันการเกิดอันตรายซ้ำซ้อนในที่เกิดเหตุ

      บุคลากรควรประเมินสภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็ว เช่น ในกรณีจำเป็นอาจต้องตัดกระแสไฟในรถเพื่อไม่ให้รถเคลื่อนไหว หรือทำการหยุดรถด้วยการเจาะยางของล้อรถ ทั้งนี้ เพราะยานพาหนะที่ไม่นิ่งอาจก่ออันตรายแก่ผู้กู้ภัยและผู้บาดเจ็บได้

1.3 การช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

      อุบัติเหตุจราจร ทำได้โดยการควบคุมฝูงชนและการควบคุมจราจร ควรใช้กรวยจราจร ไฟรถพยาบาลฉุกเฉิน ไฟจราจรเป็นเครื่องเตือนอันตรายและป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ การวางกรวยจราจรหรือไฟเตือนควรวางให้ห่างจากจุดเกิดเหตุในระยะทางเป็น 3 เท่าของป้ายจำกัดความเร็ว

      เช่น อุบัติเหตุบนถนนที่จำกัดความเร็ว 50 กม./ชม. ก็ควรวางอุปกรณ์ก่อนถึงจุดเกิดเหตุ 150 เมตร ซึ่งจะเป็นการเตือนให้หยุดรถได้ในเวลาที่พอเหมาะ และหากเป็นทางโค้งควรวางกรวยจราจรก่อนถึงและสิ้นสุดทางโค้งด้วย

1.4 การประเมินความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บออกจากที่เกิดเหตุมายังที่ปลอดภัย

1.5 การป้องกันตนเองของผู้ช่วยเหลือ เช่น ต้องใส่เครื่องป้องกันตนเองก่อนทำงาน เป็นต้น

2.กลไกการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ (Mechanism of injury)

      ประเมินว่ากลไกการเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นอย่างไรเพื่อประเมินอาการบาดเจ็บของผู้ป่วยได้ เช่น ชนคนเดินถนน รถพลิกคว่ำ การกระเด็นออกจากรถ

3.ความรุนแรงของอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ (Situation)

      ประเมินสถานการณ์โดยดูจากการเสียหายของรถ สอบถามจากผู้พบเห็นเหตุการณ์ ผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือไม่ ผู้ช่วยเหลือต้องพิจารณาว่ามีผู้ป่วยจำนวนเท่าใดและต้องช่วยเหลือใครบ้าง ถ้ามีผู้ป่วยจำนวนมากก็ต้องคัดกรอง (triage) และจัดลำดับการช่วยเหลือตามความรุนแรง

      การเตรียมความพร้อมรับอุบัติเหตุหมู่ (Mass Casualty) ณ จุดเกิดเหตุจะวุ่นวายมาก ทำให้ต้องมีการจัดระบบมารองรับและมีการซ้อมแผนเป็นระยะๆ

รถ ems คือ ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ems

บุคลากรในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล มีดังนี้

  1. First responder
  2. EMT-Basic
  3. EMT-Intermediate
  4. EMT-Paramedic

First responder

      เป็นประชาชนที่ต้องผ่านการฝึกอบรมเพื่อให้มีความรู้ในการเรียกขอความช่วยเหลือ ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและขนย้ายผู้ป่วย

EMT-Basic

      เป็นบุคลากรที่ต้องผ่านการฝึกอบรมขั้นพื้นฐานเพื่อทำการช่วยเหลือเบื้องต้นและขนย้ายผู้ป่วยได้

EMT-Intermediate

      เป็นบุคลากรที่ต้องผ่านการฝึกอบรมจนสามารถแทงเส้นเลือด ให้ยาทางหลอดเลือด ใส่ท่อช่วยหายใจบางประเภท เช่น esophageal tracheal combitube, laryngeal mask ได้ เป็นต้น

EMT-Paramedic

      เป็นบุคลากรที่ต้องผ่านการฝึกอบรมจนสามารถทำการรักษาได้มากกว่า EMT-Intermediate เช่น ใส่ท่อ endotracheal tube ได้ อ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ ให้ยาหลากหลายทางเส้นเลือดได้ รวมทั้งหัตถการต่าง ๆ ได้หลายอย่าง

รถ ambulance

รถ ambulance คือ

รถพยาบาล ขนส่งผู้ประสบเหตุไปยังศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน

ความพิเศษ ของรถพยาบาล คือ ด้านหน้ารถ เขียนคำว่า “AMBULANCE กลับด้าน”

      ซึ่งเป็นความตั้งใจเพื่อให้รถคันหน้ามองกระจกหลังแล้ว สามารถอ่านเป็นคำว่า ambulance ได้ทันที โดยไม่ต้องกลับซ้าย-ขวา อีกครั้ง ซึ่งเป็นไปตามหลักการสะท้อนของกระจกตามปกติ และอีกนัยหนึ่งเพื่อเป็นการแจ้งให้รถคันหน้าทราบว่ารถด้านหลังเป็นรถพยาบาล เมื่อประกอบกับสัญญาณไฟและเสียงไซเรนแล้ว ก็จะหลีกทางให้ในทันทีเพื่อให้นำผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพราะเพียงชั่วเวลาเสี่ยววินาทีก็เป็นเวลาที่มีความหมายกับผู้ป่วยต่อการมีลมหายใจ

      การกู้ชีพกู้ภัยของหน่วย แพทย์ ฉุกเฉิน อุปกรณ์ทุกอย่างต้องจัดเตรียมเพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานให้ได้มากที่สุด เนื่องจากการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์กู้ชีพพิเศษในการรักษาฉุกเฉิน  รถพยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญมากในการปฐมพยาบาล จึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ประกอบรถพยาบาลอย่างครบถ้วนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกๆรูปแบบ 

      โรงพยาบาลทุกแห่งควรต้องมีชุดอุปกรณ์มาตรฐานพร้อมใช้อยู่เสมอ  ชุดอุปกรณ์ ใน รถ emergency นี้จะรวบรวมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลฉุกเฉินหลายประเภท ตั้งแต่เปลรับนั่งนอนแบบพื้นฐาน ไปจนถึงอุปกรณ์ขั้นสูงที่ใช้ในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก 

อุปกรณ์ ใน รถ emergency มี อะไร บ้าง

10 อันดับแรกของอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความสำคัญมากและต้องมีประกอบรถพยาบาลทุกคันเสมอ

  1. เครื่องกระตุกหัวใจECG
  2. เครื่องช่วยหายใจ
  3. อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  4. เครื่องอบฆ่าเชื้อ
  5. เครื่องดูดเสมหะ
  6. เครื่องดมยาสลบ
  7. กระเป๋าใส่ยา
  8. อุปกรณ์จ่ายออกซิเจน
  9. อุปกรณ์พยุงคอ
  10. เครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ

เครื่องกระตุกหัวใจECG

      จอมอนิเตอร์ ECG คอยติดตามคลื่นหัวใจไฟฟ้าและแสดงค่า ECG ของผู้ป่วยบนจอ และทำให้นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์สามารถติดตามจังหวะการเต้นของหัวใจโดยรวมและระบุความผิดปกติต่าง ๆ ได้

เครื่องกระตุกหัวใจใช้ในการช็อคหัวใจที่เต้นผิดจังหวะ เพื่อสร้างความเสถียรสำหรับหัวใจที่จะมีภาวะหยุดเต้นเฉียบพลัน หรือเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยอาการทรุดหนัก

เครื่องช่วยหายใจ

       เครื่องช่วยหายใจมีกลไกที่ช่วยในการนำอากาศเข้าสู่ปอดของผู้ป่วย และจะใช้ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่หายใจได้ไม่เพียงพอ หรือหายใจไม่ออกไปยังโรงพยาบาล  มีท่อออกซิเจนติดอยู่กับเครื่องช่วยหายใจเพื่อจ่ายออกซิเจนให้แก่ผู้ป่วย

อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย

      อุปกรณ์กู้ภัยประกอบรถพยาบาลนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้การรองรับอย่างมั่นคงสำหรับผู้ป่วยที่อาจมีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง  สามารถใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในระยะทางสั้นๆการส่งต่อผู้ป่วย ได้

เครื่องอบฆ่าเชื้อ

      เครื่องอบฆ่าเชื้อเป็นอุปกรณ์กู้ภัยที่สำคัญในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ทุกรูปแบบ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งมีชีวิตรูปแบบอื่นที่เกาะอยู่ตามเครื่องมือผ่าตัด หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ

เครื่องดูดเสมหะ

     เครื่องดูดเสมหะใช้ในการดูดสารคัดหลั่งและของเหลวออกจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการทางระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง หรือมีเลือดออกภายใน  การดูดช่วยนำเอาของเหลวที่สะสมภายในออกมาได้

เครื่องดมยาสลบ

      เครื่องดมยาสลบเป็นอุปกรณ์ที่ให้แก๊สทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องในปริมาณที่แม่นยำ เพื่อให้ผู้ป่วยคงอยู่ในสภาวะสลบที่เหมาะสม

กระเป๋าใส่ยา

      กระเป๋าขนาดเท่ากระเป๋าถือทั่วไปนี้เป็นที่เก็บยา ซึ่งจะเก็บยาที่นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ต้องใช้ไว้ตามช่องต่าง ๆ  กระเป๋านี้มีการบุอย่างดีเพื่อป้องกันหลอดยาต่าง ๆ ภายในกระเป๋า

อุปกรณ์จ่ายออกซิเจน

       อุปกรณ์จ่ายออกซิเจนเป็นหนึ่งในอุปกรณ์กู้ภัยประกอบรถพยาบาลขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญที่สุด เพราะมันช่วยให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอกับผู้รอดภัยจากเหตุเพลิงไหม้ หรือผู้ป่วยที่หายใจลำบาก เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด หรือเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยที่หมดสติ

อุปกรณ์พยุงคอ

       อุปกรณ์พยุงคอ หรือเฝือกดามคอเป็นอุปกรณ์ลักษณะวงกลมปรับขนาดได้ ซึ่งนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์จะใส่ไว้รอบคอของผู้ป่วยที่อาจมีอาการบาดเจ็บทางศีรษะหรือคอ เพื่อลดการเคลื่อนไหวของคอ ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บมากขึ้นได้  อุปกรณ์นี้มีหลายขนาด ซึ่งมีการใช้งานแบบเดียวกัน

เครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ

       อุปกรณ์นี้ควบคุมอัตราของสารละลายที่จ่ายให้กับผู้ป่วย  นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ขั้นสูงจะใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล  สามารถควบคุมอัตราและปริมาณของของเหลวที่ส่งได้โดยการตั้งค่าในอุปกรณ์เหล่านี้

โลโก้กู้ชีพ

โลโก้กู้ชีพ

  • ตราประจำหน่วยของศูนย์กู้ชีพ “นเรนทร”มีความหมายถึงการช่วยชีวิตทางการแพทย์ ประกอบด้วยสัญลักษณ์ ได้แก่
    • “หัวใจ” มีความหมายถึง ชีวิต
    • “มือประคอง” มีความหมายถึง การช่วยเหลือ
    • “กากบาทสีขาว” มีความหมายถึง การรักษาพยาบาล
    • “ภายในวงกลม” มีความหมายถึง ความสามัคคีเป็นกลุ่มก้อน
  • ตราสัญลักษณ์ของนักกู้ชีพ(star of life)
                 ผู้ที่ทำการออกแบบตราสัญลักษณ์ของนักกู้ชีพ (star of life) คือ มร.ลีโอ อาร์ เชอวาท์ โดยที่มาที่ไปมีอยู่ว่า ในปี ค.ศ.1973 องค์กรกาชาดสากลของเอมริกาได้มีการร้องเรียนเรื่องการใช้สัญลักษณ์ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันระหว่างกาชาดและหน่วยกู้ชีพ เนื่องด้วยสีที่ใกล้เคียงกันมากของเครื่องหมายทั้งสองคือกาชาดสากลใช้เครื่องหมายบวกสีแดงพื้นขาว ในขณะที่หน่วยกู้ชีพให้เครื่องหมายบวกสีส้มพื้นสะท้อนแสงสีเงิน 

             ทำให้ดูเหมือนเป็นการเลียนแบบสัญลักษณ์ของกาชาดทำให้มีการฟ้องร้องและให้ศาลตัดสิน ผลออกมาว่าฝ่ายกาชาดสากลชนะ ทำให้ต้องมีการออกแบบตราสัญลักษณ์ของนักกู้ชีพขึ้นใหม่ โดยผู้ที่ทำการออกแบบคือ มร.ลีโอ อาร์ เชอวาท์ ได้ทำการออกแบบ แล้วเสร็จพร้อมจดลิขสิทธิ์และนำออกใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1977 โดยที่ลิขสิทธิ์จะมีผลบังคับใช้เป็นเวลายี่สิบปีนับแต่วันประกาศใช้และหลังจากนั้นบุคคลทั่วไปสามารถใช้งานได้โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตในการใช้งาน

โดยในครั้งนี้ได้มีการออกแบบใหม่ทั้งหมดคือใช้เครื่องหมายแท่งเหลี่ยมหกแฉกสีน้ำเงินซึ่งแต่ละแฉกหมายถึงระบบการทำงานของหน่วยกู้ชีพหกหัวข้อคือ

  1. ตรวจสอบและค้นหาผู้บาดเจ็บ ( Detection )
  2. รายงานผลและสภาพของผู้บาดเจ็บเมื่อตรวจพบ ( Reporting )
  3. ตอบสนองต่อผู้ได้รับบาดเจ็บ ( Response )
  4. การให้การรักษาเบื้องต้นในที่เกิดเหตุ ( On Scene Care )
  5. การให้การรักษาผู้บาดเจ็บในขณะทำการเคลื่อนย้าย ( Care In Transit )
  6. การส่งต่อผู้บาดเจ็บไปยังสถานพยาบาลที่ให้การรักษา (Transfer to Definitive Care )
  7. ส่วนสัญลักษณ์รูปงูพันไม้คทาที่อยู่ใจกลางแท่งเหลี่ยมหกแฉกนั้นมีความหมายว่าการให้การรักษา

ems บริการ

             การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน  คือ ระบบที่มีการเตรียมความพร้อมในด้านทรัพยากรและบุคลากรที่จะให้บริการรักษาพยาบาลทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งนอกและในโรงพยาบาล การรักษาในห้องฉุกเฉินของแต่ละโรงพยาบาลมักเป็นแนวตั้งรับ กล่าวคือ ให้การรักษาแก่ผู้ป่วยที่มีอาการและมาถึงโรงพยาบาลแล้ว แต่ในบางครั้งผู้ป่วยมีอาการเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล ซึ่งถ้าให้การรักษาตั้งแต่ที่บ้านหรือ ณ ที่เกิดเหตุก็ย่อมสามารถให้การช่วยชีวิตหรือการรักษาเบื้องต้นที่ดีได้ก่อนที่จะมีอาการลุกลามรุนแรงมากแล้วเมื่อมาถึงโรงพยาบาล ในที่นี้จะขอกล่าวถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลเป็นหลัก

             การช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนมาถึงโรงพยาบาลได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรกในสงครามกษัตริย์นโปเลียน พบว่ามีศัลยแพทย์ชื่อว่า บารอน โดมินิค จีน โลเรย์ ได้นำเครื่องมือแพทย์และแพทย์เข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสงครามเป็นครั้งแรก

             ในระยะแรก ๆ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินมักถูกจัดตั้งขึ้นในสถานการณ์สงครามที่ต้องลำเลียงผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ต่อมาหลักการช่วยเหลือได้นำมาใช้ในยามปรกติจนกระทั่งพัฒนาโครงข่ายทั้งการสื่อสารและหน่วยกู้ชีพอย่างกว้างขวางเพื่อให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             วัตถุประสงค์บริการฉุกเฉินการแพทย์นอกโรงพยาบาล

           1. เพื่อคุ้มครองบุคคลที่ประสบภาวะอันตรายต่อชีวิตและอยู่ในสถานการณ์วิกฤตที่มีความสำคัญต่อโอกาสการรอดชีวิต หรือการรักษาการทำงานของอวัยวะสำคัญต่อการมีชีวิต 

             • จากการไม่ได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐานอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานะที่ด้อยโอกาส ให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่โอกาสการลดภาวะแทรกซ้อนและการรอดชีวิตที่สูงขึ้น

             • โดยมิให้สิทธิการประกันและความสามารถในการจ่ายมาเป็นอุปสรรคในการได้รับการดูแล

             2. เพื่อคุ้มครองบุคคลที่ช่วยเหลือดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่ปฏิบัติการฉุกเฉินอย่างสุจริตจากการถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติโดยมิชอบ

             3. เพื่อคุ้มครองสังคมให้มีการใช้ทรัพยากร (บุคลากร หน่วยบริการ และเครื่องมือ) ของระบบร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

รถ emergency

     การปฏิบัติการรถพยาบาลฉุกเฉิน เจ้าพนักงานกู้ชีพต้องประเมินผู้บาดเจ็บก่อน จากนั้นเลือกอุปกรณ์การเคลื่อนย้ายที่เหมาะสม รถพยาบาลในต่างประเทศมี 3 ประเภท ซึ่งต่างกันที่รูปร่าง ขนาด สมรรถนะการใช้งานให้เหมาะสมตามประเภทผู้ป่วยและตามสภาพพื้นที่

  1. ประเภทที่ 1 มีลักษณะเป็นรถบรรทุก รูปร่างคล้ายกล่อง ประเภทนี้จะมีกำลังสูงมาก ห้องโดยสารแยกจากผู้ขับรถข้างหน้า ทำให้คนขับรถและผู้ช่วยเหลือไม่สามารถติดต่อกันได้โดยตรง
  2. ประเภทที่ 2 ลักษณะเป็นรถแวน ห้องโดยสารมีขนาดเล็กกว่า แต่ผู้ขับและผู้ช่วยเหลือสามารถติดต่อประสานงานกันได้โดยตรง การขับขี่มีความคล่องตัวมาก นิยมใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย เหมาะใช้กับบริการในพื้นที่แคบ การจราจรคับคั่งหรือในแหล่งบ้านพักอาศัย
  3. ประเภทที่ 3 ลักษณะคล้ายรถบรรทุกและรถแวนรวมกัน ผู้ช่วยเหลือสามารถประเมินผู้บาดเจ็บได้ภายในห้องโดยสาร สามารถติดต่อห้องคนขับได้สะดวกจึงเป็นที่นิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา ตามข้อกำหนดของ หน่วยงาน สฉพ. คือ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

คำค้น : tracking เช็คพัสดุ เช็ค เช็คเลขพัสดุ เช็คเลข เช็คพัสดุ tracking เช็คพัสดุไปรษณีย์ไทย track เช็คพัสดุ ไปรษณีย์ tracking thailand ตรวจพัสดุ ไปรษณีย์ เช็คพัสดุไปรษณีย์ เช็คไปรษณีย์ พัสดุ เช็คพัสดุไปรษณีย์ไทย เช็ค ตรวจ เช็ค ไปรษณีย์ เช็คเลขพัสดุ เช็ค ไปรษณีย์ไทย ไปรษณีย์ไทย กี่ วัน ถึง ตรวจสอบพัสดุ track เลขพัสดุ ค่าส่ง thailand www.thailandpost.co.th ตรวจสอบสถานะสิ่งของฝากส่ง ถึงไหนแล้ว ตรวจสอบ เช็ค ติดตามพัสดุ เช็ค พัสดุ ถึง ไหน แล้ว ไปรษณีย์ ไทย เช็ค เช็คเลขพัสดุไปรษณีย์ เช็คพัสดุไปรษณีย์ เช็คเลขไปรษณีย์ check เช็คเลขพัสดุ ไปรษณีย์ ตามพัสดุ เช็คพัสดุ ไปรษณีย์ไทย ค่าส่งไปรษณีย์ thailand post เชค ไปรษณีย์ ไปรษณีย์ไทย คือ tracking bangkok เช็คไปรษณีย์ไทย เช็ค-พัสดุ

แหล่งอ้างอิง :                

https://www.dek-d.com/board/tcas/3888330/
https://www.u-review.in.th/th/edu/34256
https://prosoftfamily.softbankthai.com/Article/Detail/32237
https://ws.niems.go.th/items_front/index.aspx
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/14763
https://www.siamfirstaid.com/content/48/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A-step-of-first-aid-
https://www.autospinn.com/2021/04/ambulance-82488
https://www.mertbusiness.com/top-10-medical-equipment-in-ambulance.html
https://www.narenthorn.or.th/node/3
https://th-th.facebook.com/NakonSaketRoiet/photos/a.176811842377152/1084293331628994/?type=3&locale2=th_TH
https://sites.google.com/site/wwwsamrongtairescuecom/rabb-brikar-kar-phaethy-chukchein
https://www.pobpad.com/first-aid-%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7
http://www.r2rthailand.org/network/1667#.YclO6DNBz3g

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com