เครดิตบูโร

NCB เครดิตเช็คดิตบูโรออนไลน์ตรวจสอบทันทีข้อมูลชำระเงิน 2 ข้อ

เครดิตบูโร

เครดิตบูโร ( National Credit Bureau ) หรือ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 โดยมีหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลการชำระเงินสินเชื่อหรือรายงานข้อมูลเครดิต (Credit Report) ของบุคคลและนิติบุคคลจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบาล บริษัทบัตรเครดิต บริษัทผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล บริษัทลิสซิ่งเช่าซื้อ ซึ่งสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกมีหน้าที่ตามกฎหมาย ข้อมูลเครดิตเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการชำระหนี้ของคนแต่ละคน ซึ่งจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต

เครดิตบูโร1

พูดถึงเครดิตบูโรนั้น จะได้ยินอยู่ 2 คำหลัก ๆ คือ 1. ลูกค้ามีประวัติ กับ 2. ลูกค้ามีเครดิต และจะเกี่ยวข้องกับบริษัทที่รับจัดไฟแนนซ์ เป็นซะส่วนใหญ่ ไฟแนนซ์มักจะให้น้ำหนักกับลูกค้าที่มีประวัติการผ่อนชำระมาเป็รระยะเวลาหนึ่ง อาจจะ 1-2 ปี โดยอาจใช้เกณฑ์ชี้วัดจากระยะเวลา ที่เคยผ่อนชำระ และพิจารณาต่อด้วยมูลค่าที่ต้องการขอสินเชื่อ

ข้อมูลเครดิต (Credit Report) 

คือรายงานที่บริษัทข้อมูลเครดิตจัดทำขึ้น และให้สิทธิสถาบันการเงินที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเรียกดู หรือข้าวของเรียกดูได้โดยรายงานข้อมูลเครดิต จะแสดงข้อมูลสินเชื่อประวิติการชำระสินเชื่อ สถานะทุกบัญชีที่เจ้าของข้อมูลมีอยู่กับสถาบันการเงินทุกแห่งที่เป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิต

ข้อมูลเครดิตเก็บไว้นานกี่ปี

เครดิตบูโร ติดกี่ปี คำตอบ คือ 3 ปี เครดิตบูโรจะมีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลสินเชื่อ และประวัติการชำระหนี้สินเชื่อ โดยสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกมีหน้าที่รายงานและส่งข้อมูลให้แก่เครดิตบูโรเป็นรายเดือนทุกเดือน ทางเครดิตบูโรก็จะอัปเดตข้อมูลให้ในแต่ละเดือนไปเรื่อย ๆ ทั้งหมด 36 เดือน จำนวน 36 บรรทัด เรียงทับกันเหมือนขนมชั้น เมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามา ข้อมูลบรรทัดเก่าของเมื่อ 36 เดือนที่แล้วก็จะหายไป

ผิดนัดชําระหนี้เครดิตบูโร

ค้างชําระ เกิน 90 วัน สถาบันการเงินจะส่งข้อมูลสินเชื่อคงค้างให้บริษัทข้อมูลเครดิตต่อเนื่องไปอีก เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ค้างชําระเกิน 90 วันบริษัทข้อมูลเครดิต จะเก็บข้อมูลเครดิตที่ได้รับจากสถาบันการเงิน ไว้ในฐานข้อมูลต่อไปอีก เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปีนับจากวันที่บริษัทข้อมูลเครดิต ได้รับข้อมูลจากสถาบันการเงิน

ข้อมูลเครดิตบูโรประกอบด้วย

เครดิตบูโร2

ด้วยเหตุที่ต้องนำส่งข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้ใช้งานนั้นจึงมีความจำเป็นในการขอข้อมูลที่แท้จริงด้วยข้อมูล 2 ส่วน

1. ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนลูกค้า ดังนี้

  • ชื่อ ที่อยู่
  • วันเดือนปีเกิด
  • สถานะภาพสมรส
  • อาชีพ
  • เลขบัตรประชาชน
  • กรณีเป็นนิติบุคคล ใช่ชื่อสถานที่ตั้ง เลขทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น

2. ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระ ดังนี้

  • ประวัติการขอสินเชื่อ
  • การได้รับอนุมัติ
  • การชำระสินเชื่อ
  • การชำระสินค้า
  • บริการบัตรเครดิต เป็นต้น

พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะเคยทำบัตรเครดิตมากี่ใบ ขอสินเชื่อรถมากี่คัน ขอสินเชื่อบ้านมากี่หลัง บัญชีนั้นจะอยู่ระหว่างใช้งาน ผ่อนชำระ หรือปิดบัญชีไปแล้ว ก็มีแสดงในรายงานข้อมูลเครดิตประวัติของกรผ่อนชำระทั้งหมดก็จะถูกรวบรวมไปไว้ใน บริษัท NCB

ฉะนั้นการรักษาเครดิตบูโรจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะ จะส่งผลให้การเงินของคุณทั้งในปัจจุบัน และอณาคตจะมีความคล่องตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับ เครดิตของคุณอย่างแน่นอน

โดยเครดิตบูโรจะเก็บข้อมูลเครดิตไว้ 36 เดือนสำหรับบุคคลธรรมดา และ 60 เดือนสำหรับนิติบุคคล ข้อมูลการชำระสินเชื่อจากสถาบันการเงินจะถูกส่งเข้าไปในระบบของเครดิตบูโรทุกเดือน ข้อมูลเก่าจึงถูกแทนที่ด้วยข้อมูลใหม่ทุกเดือน โดยทั่วไปสถาบันการเงินจะใช้รายงานข้อมูลเครดิตเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสินเชื่อ เพื่อประเมินความสามารถในการชำระหนี้และการมีวินัยในการชำระหนี้ของเจ้าของข้อมูลหรือผู้ที่ต้องการกู้เงินทั้งนี้ สถาบันการเงินจะต้องขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนจึงจะมีสิทธิขอข้อมูลจากเครติตบูโรได้

เครดิตบูโร3.1

เช็คเครดิตบูโร

ปัจจุบันตรวจเครดิตบูโร สามารถเช็ตได้โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

  1. เช็คผ่านแอพพิเคชั่น
  2. เช็คได้ตามสถานที่ทำการต่าง ๆ

ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 มาตรา 25 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูลให้เจ้าของข้อมูล มีสิทธิที่จะตรวจสอบข้อมูลของตน โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีความยินดีที่ให้ท่านตรวจสอบข้อมูล

ขั้นตอนเช็คเครดิตบูโรผ่านแอพพลิเคชั่น

เช็คเครดิตบูโร ออนไลน์

  1. ตรวจเครดิตสกอริ่ง “เรียลไทม์” ผ่าน KKP e-Banking Application
  2. ตรวจเครดิตบูโรผ่านโมบายแอป “Thanachart Connect”
  3. ตรวจเครดิตบูโรผ่านโมบายแอป “Krungthai Next”
  4. ตรวจเครดิตบูโรผ่านโมบายแอป “TMB TOUCH”

1.ตรวจเครดิตสกอริ่ง “เรียลไทม์” ผ่าน KKP e-Banking Application

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

KKP03

KKP04

KKP05

KKP06

KKP07

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

2. ตรวจเครดิตบูโรผ่านโมบายแอป “Thanachart Connect”

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

3. ตรวจเครดิตบูโรผ่านโมบายแอป “Krungthai Next”

รับรายงานข้อมูลเครดิตรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Credit report) ทางอีเมลภายใน 1 วัน*

ท่านจะได้รับรายงานภายใน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด

ตรวจได้ง่ายๆ ทุกวันไม่เว้นวันหยุด ผ่าน โมบายแอป “Krungthai Next” พร้อมเลือกวิธีรับผลได้ดั่งใจ 2 วิธี

  1. รับผลทางอีเมลภายใน 1 วัน* (ข้อมูลเครดิตรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์)
  2. รับผลทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 7 วันทำการ (ข้อมูลเครดิตรูปแบบเอกสาร)

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

4. ตรวจเครดิตบูโรผ่านโมบายแอป “TMB TOUCH”

รับรายงานข้อมูลเครดิตรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Credit report) ทางอีเมลภายใน 3 วันทำการ รู้ผลทันใจ มั่นใจได้จริง อยู่ที่ไหน ก็รับข้อมูลเครดิตได้ทุกที่ ทุกเวลา

ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านสินเชื่อ บัตรเครดิต หรือสถานะบัญชี ก็ตรวจได้ง่ายๆ ผ่าน โมบายแอป “TMB TOUCH” พร้อมเลือกวิธีรับผลได้ดั่งใจ 2 วิธี

  1. รับผลทางอีเมลภายใน 3 วันทำการ (ข้อมูลเครดิตรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์)
  2. รับผลทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 7 วันทำการ (ข้อมูลเครดิตรูปแบบเอกสาร)

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

ขั้นตอนการเช็คเครดิตบูโร

กรณีชื่อ-สกุล อีเมล เบอร์โทรศัพท์มือถือ และที่อยู่ของท่านมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาปรับแก้ไขในระบบให้ถูกต้อง ก่อนใช้บริการ

หมายเหตุ :

  • หากไม่ได้รับภายในกำหนด โปรดติดต่อ consumer@ncb.co.th
  • บริการยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโรผ่านเคาน์เตอร์สาขา และ ATM ของธนาคารทีเอ็มบี พร้อมรับผลทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้เช่นเดิม

ข้อมูลควรรู้ เจ้าของข้อมูลขอลบหรือแก้ไขประวัติการชำระหนี้ได้ในกรณีที่พบว่าข้อมูลของตนเองไม่ตรงกับข้อมเท็จจริง โดยสามารถยื่นตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนได้ที่บริษัทข้อมูลเครดิตและสถาบันการเงินที่เจ้าของข้อมูลเป็นลูกค้า แต่หากข้อมูลเครดิตตรงตามข้อเท็จจริงแล้ว เจ้าของข้อมูลไม่สามารถขอลบหรือแก้ไขข้อมูลได้ เว้นแต่ในบางกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น เกินอายุการจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น

เช็คได้ตามสถานที่ทำการต่าง ๆ

แบบรอรับได้เลย (ค่าบริการ 100 บาท) ภายใน 15 นาที

(วันจันทร์ – วันศุกร์ (ใช้บัตรประชาชนของตนเอง))

เช็คเครดิตบูโรได้ที่ไหน

  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) อาคาร 2 ชั้น 2
    • เฉพาะเครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) l นิติบุคคล l นิติบุคคล (มอบอำนาจ) l ชาวต่างชาติ
  • เครดิตบูโรคาเฟ่  อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร) (BTS สถานีอารีย์ ทางออก 1)
    • เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ l เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) l ชาวต่างชาติ
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร  สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)
    • เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ l เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) l ชาวต่างชาต
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ภายในสถานี)
    • เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ l เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) l ชาวต่างชาติ
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอขิต (ภายในสถานี) (แห่งใหม่…ล่าสุด) บริการตู้ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง (ตู้คีออส) รับรายงานทางอีเมล…ได้ทันที (ฟรี…ถึง 30ธ.ค.63)
    • เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ l เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) l ชาวต่างชาติ
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร  ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม
    • เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเองและมอบอำนาจ l เครดิตสกอริ่ง (บุคคลธรรมดา) l ชาวต่างชาติ
  • CITI (เดอะมอลล์ บางกะปิ)  (เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-18.00 น.)
  • UOB (ห้างเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต บางใหญ่) (เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-18.00 น.)
    • บุคคลธรรมดาของตนเอง

กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด แบบส่งรายงานกลับไปให้ทางไปรษณีย์ ลงทะเบียน (ค่าบริการ 150 บาท) ภายใน 7 วันทำการ

  • เคาน์เตอร์ธนาคาร (ทุกสาขา) (เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเอง และชาวต่างชาติ) กรุงศรี, กรุงไทย, ธนชาต, ธอส., แลนด์แอนด์เฮ้าส์   และ ธ.ก.ส. (เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเอง)
    • แจ้งเจ้าหน้าที่ ที่เคาน์เตอร์ พร้อมยื่นบัตรประชาชนของตนเอง
  • ใช้บัตร ATM กรุงไทย, ไทยพาณิชย์ (เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเอง)
    • มีบัตรของธนาคารไหน ใช้ตู้ ATM ธนาคารนั้น
    • ทำรายการผ่านหน้าจอ (เมนู ตรวจเครดิตบูโร)
  • ใช้โมบาย แอปพลิเคชัน สำหรับผู้ที่ลงทะเบียน ธนาคารมือถือกรุงไทย, ธนชาต, ทีเอ็มบี (เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเอง) , เกียรตินาคินภัทร (บุคคลธรรมดาของตนเอง และ เครดิตสกอริ่ง บุคคลธรรมดา)
    • ทำรายการผ่านธนาคาร บนโทรศัพท์มือถือ
  • ใช้บริการธนาคารออนไลน์ กรุงศรี, กรุงไทย (เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเอง)
    • มีบัญชีธนาคาร / ทำรายการผ่านเว็บไซต์
  • ที่ทำการไปรษณีย์ เฉพาะสาขาที่ให้บริการ (เฉพาะบุคคลธรรมดาของตนเอง) ตรวจสอบสาขาไปรษณีย์ที่ให้บริการ

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโร

การตรวจเครดิตของตนเอง ณ ที่ทำการบริษัท : ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ณ ที่ทำการบริษัท (ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร) มีขั้นตอนดังนี้

  1. ติดต่อด้วยตนเอง แสดงเอกสารหลักฐาน ดังนี้
    • กรณีบุคคลธรรมดา
      • บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริงนำมาแสดง
    • กรณีนิติบุคคล
      • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 3 เดือน และลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงนำมาแสดง
      • ตราประทับของนิติบุคคล (ถ้ามี) เพื่อใช้ประกอบการยื่นขอคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต
  2. มอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน แสดงเอกสารหลักฐาน ดังนี้
    • กรณีบุคคลธรรมดา
      1. หนังสือมอบอำนาจบุคคลธรรมดา กรอกรายละเอียดและลงนามให้สมบูรณ์ครบถ้วน
      2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงมาแสดง
      3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงมาแสดง
    • กรณีนิติบุคคล
      • หนังสือมอบอำนาจนิติบุคคล กรอกรายละเอียดและลงนามให้สมบูรณ์ครบถ้วน
      • สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม้เกิน 3 เดือน และลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจประทับตราของนิติบุคคล (ถ้ามี)
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และลงนามรับรองความถูกต้องพร้อมตัวจริงนำมาแสดง
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้องพร้อมตัวจริงนำมาแสดง

*** ยื่นเอกสารในข้อ 1 และชำระค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบข้อมูลเครติดต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัท

*** เจ้าของข้อมูลสามารถขอรับรายงานภายในวันยื่นคำขอ หรือยื่นความจำนงให้จัดส่งรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (กรณีให้จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ฉบับละ 20 บาท)

ตัวเลขบอกสถานะอย่างไร

ในรายงานข้อมูลเครดิตนั้น แสดงประวัติการชำระหนี้ย้อนหลังรวม 36 เดือน โดยข้อมูลล่าสุดจะแสดงอยู่ด้านบน สำหรับความหมายของสถานะบัญชีในปัจจุบันเป็นอย่างไร จะมีตัวเลขกำกับอยู่ เราลองไปดูความหมายของรหัสเลขต่าง ๆ กัน

ความ หมาย ของเลขในเครดิต บู โร

  • 10 – ปกติ แปลว่า บัญชีนี้มีการชำระสินเชื่อตามปกติ จ่ายครบ จ่ายตรงตามเงื่อนไข ไม่มียอดค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน
  • 11 – ปิดบัญชี แปลว่า สินเชื่อบัญชีนี้ได้มีการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ไม่มีหนี้ค้าง
  • 12 – พักชำระหนี้ ตามนโยบายรัฐ แปลว่า ที่ผ่านมาเคยมียอดค้างชำระ แต่ตอนนี้เข้าโครงการพักชำระหนี้ตามนโยบายรัฐ จึงทำให้สถานะไม่เป็นการค้างชำระ
  • 20 – หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน แปลว่า เคยค้างชำระในอดีต และปัจจุบันก็ยังค้างอยู่ ซึ่งเป็นสถานะที่เป็นผลลบต่อตัวผู้เป็นลูกหนี้เจ้าของบัญชีนี้

ตัวเลขบอกสถานะอื่น ๆ

  • สถานะบัญชี เลข 10 คือ สถานะปกติ
  • สถานะบัญชี เลข 11 คือ สถานะปิดบัญชี
  • สถานะบัญชี เลข 12 คือ สถานะพักชำระหนี้ ตามนโยบายของรัฐ
  • สถานะบัญชี เลข 20 คือ สถานะมีหนี้ค้างเกิน 90 วัน
  • สถานะบัญชี เลข 30 คือ สถานะอยู่ในกระบวนการทางกฏหมาย
  • สถานะบัญชี เลข 31 คือ สถานะอยู่ในระหว่างชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
  • สถานะบัญชี เลข 32 คือ สถานะศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากคดีขาดอายุความ
  • สถานะบัญชี เลข 33 คือ สถานะปิดบัญชี เนื่องจากตัดหนี้เป็นสูญ
  • สถานะบัญชี เลข 40 คือ สถานะอยู่ระหว่างชำระสินเชื่อ เพื่อปิดบัญชี
  • สถานะบัญชี เลข 41 คือ สถานะเจ้าของข้อมูลขอตรวจสอบรายการ
  • สถานะบัญชี เลข 42 คือ สถานะโอนหรือขายหนี้
  • สถานะบัญชี เลข 43 คือ สถานะปิดบัญชีขณะโอนหรือขายหนี้

เราควรตรวจข้อมูลเครดิตของตัวเองไหม

เครดิตบูโร

เครดิตบูโร

การตรวจสอบเครดิตบูโร ด้วยตัวเอง เป็นการตรวจข้อมูลเครดิตของตัวเอง นอกจากจะเป็นการตรวจเช็กข้อมูลตัวเองในเรื่องประวัติการชำระสินเชื่อทั้งหมดที่เรามีว่าเป็นอย่างไรแล้ว ยังช่วยตรวจสอบให้กับตัวเองอีกด้วยว่าเอกสารสำคัญส่วนตัวของเรานั้น มีใครนำไปแอบอ้างทำอะไรหรือไม่ เช่น ปลอมแปลงสำเนาบัตรประชาชน หรือเอกสารการเงินต่าง ๆ ไปสมัครสินเชื่อโดยใช้ชื่อเรา

ข้อมูลเครดิตมีความสำคัญอย่างไร

ข้อมูลเครดิตคือสิ่งที่แสดงถึงประวัติและพฤติกรรมในการการชำระหนี้ของบุคลนั้น ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจมาก สถาบันการเงินต่าง ๆจะใช้ประโยชน์จากรายงานข้อมูลเครดิตนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยในการพิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อ หรือจะสรุปได้ว่า ผู้ที่มีประวัติชำระหนี้ดีนั้นจะมีโอกาสที่ดีกว่าในการได้รับสินเชื่อในจำนวนที่เหมาสม

คำถามอื่น ๆ ทั่วไป

ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย

  1.  เป็นสัญญาณเตือนของระบบการเงิน
  2.  เป็นเครื่องมือในการดูทิศทางเศรษฐกิจของสถาบันต่าง ๆ
  3.  เป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงิน

ความสำคัญต่อสถาบันการเงินในฐานะผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้

  1. ใช้ตรวจเช็คพฤติกรรมขอกู้-การชำระหนี้เพื่อวิเคราะห์หรือทบทวนสินเชื่อ
  2. เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการให้กู้ยืม ป้องกันการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อรายได้

ความสำคัญต่อผู้กู้หรือลูกหนี้

  1. ใช้ตรวจเช็คข้อมูลเครดิตของตัวเอง
  2. ใช้ตรวจเช็คหรือแก้ไขประวัติการชำระทุกข้อมูลบัญชีสินเชื่อให้ถูกต้อง
  3. หากผุ้กู้มีประวัติการชำระที่ดีก็มีโอกาสที่จะได้ลดดอกเบี้ยเงินกู้

ที่มา : www.ncb.co.th/

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 153505: 451