mou

MOU ย่อจาก MOQ แปลว่า เข้าใจความร่วมมือที่ไม่รู้ครบ 5 MOU?

Click to rate this post!
[Total: 162 Average: 5]

mou คือ

ความหมายของ MOU กับ MOA

M O U : Memorandum of Understanding หมายถึง “บันทึกความเข้าใจ” เป็นรูปแบบการจัดทำหนังสือที่แสดงความประสงค์ของบุคคลหรือนิติบุคคลสองฝ่ายหรือมากกว่านั้น ที่จะทำความร่วมมือกัน โดยเต็มใจที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุ มีการวางแผน ทำกิจกรรมร่วมกันในภาพกว้าง โดยไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัดใด ๆ (non-legally binding agreement) เนื่องจากไม่มีสภาพบังคับ หากไม่ปฏิบัติตาม เป็นเพียงการแสดงเจตนาที่แน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติตามเนื้อหาที่ระบุไว้ใน M O U ซึ่งปกติใช้สำหรับความตกลงที่มีขอบเขตจำกัด หรือมิได้มีลักษณะเป็นการถาวร มักจะมีการเรียกชื่ออีกอย่างว่า “บันทึกความเข้าใจความร่วมมือ” เป็นหลักฐานยืนยันถึงการสนับสนุนการทำงานร่วมกัน การให้ความช่วยเหลือด้านทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากร ระหว่างหน่วยงาน

MOU ยกตัวอย่าง เช่น

บันทึกความเข้าใจ (M O U) เรื่อง “ความร่วมมือการดำเนินงานด้านการบินร่วม ระหว่างกองทัพบกกับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย” ซึ่งกองทัพบกให้การสนับสนุนบุคลากรนักบินและสถานที่จอดอากาศยานแก่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นผู้สนับสนุนทรัพยากรดำเนินการและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบินให้แก่กองทัพบก
บันทึกความเข้าใจ (M O U) เรื่อง การส่งข้อมูลข่าวสารแจ้งเตือนภัยธรรมชาติผ่านบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ร่วมมือกับบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ AIS, DTAC, TRUE MOVE H, CAT และ TOT เป็นต้น

MOA : Memorandum of Agreement หมายถึง “บันทึกข้อตกลง” เป็นหนังสือสัญญาซึ่งมีข้อตกลงที่มีรายละเอียดลักษณะกิจกรรมที่ชัดเจน มีการระบุหลักเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหรือดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามที่ให้สัญญาไว้ กล่าวคือ MOA มีสภาพบังคับตามกฎหมาย และได้รับการคุ้มครองในทางกฎหมาย (legally binding agreement) ดังนั้นหากฝ่ายใดประพฤติผิดสัญญาอีกฝ่ายก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว MOA มักจะเป็นการลงนามในเรื่องสำคัญและมีการกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบกฎหมาย

MOA ยกตัวอย่าง เช่น

บันทึกข้อตกลง ระหว่างกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กับกรมพัฒนาที่ดิน เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลแผนที่จากโครงการจัดทำแผนที่เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์๑ ซึ่งบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ มีการกำหนดให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติตามระเบียบกรมพัฒนาที่ดิน ว่าด้วยการบริการแผนที่และข้อมูลทางแผนที่ พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อไม่ให้กระทบต่อลิขสิทธิ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่าง MOU กับ MOA

ชื่อเรียกM O U : Memorandum of Understanding
บันทึกความเข้าใจ /บันทึกความเข้าใจความร่วมมือ
MOA : Memorandum of Agreement
บันทึกข้อตกลง /บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
ผู้มีอำนาจลงนาม -หัวหน้าส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและภารกิจ/บริการสาธารณะของหน่วยงานนั้น ๆ
-บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคล
-หัวหน้าส่วนราชการในฐานะผู้แทนรัฐบาลกรณีทำข้อตกลงกับต่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาล
-หัวหน้าส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและภารกิจ/บริการสาธารณะของหน่วยงานนั้น ๆ
-บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคล
จำนวนผู้ลงนาม ตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
วัตถุประสงค์ เพื่อร่วมมือกัน โดยเต็มใจที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุ มีการวางแผน และทำกิจกรรมร่วมกันในภาพกว้าง โดยไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัดใด ๆ(non-legally binding agreement)เพื่อร่วมมือกัน โดยเต็มใจที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุ ถือว่าเป็นสัญญาตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากผิดสัญญา สามารถฟ้องเป็นคดีได้(legally binding agreement)
ความเข้มข้นและความเป็นทางการนิยมใช้สำหรับความร่วมมือที่มีขอบเขตจำกัดไม่เป็นการถาวร ไม่มีความยุ่งยาก และมีความเป็นทางการน้อยกว่า MOAเป็นความร่วมมือที่มีลักษณะเข้มข้น เคร่งครัดและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่า M O Uมีการระบุกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามที่ตกลงไว้ หรือมีการดำเนินงานที่มีผลกระทบและผูกพันเรื่องงบประมาณของหน่วยงานที่ทำความตกลง

ข้อพิจารณาเกี่ยวกับองค์ประกอบในการจัดทำ MOU และ MOA

ชื่อของบันทึก– กรณี M O U อาจกำหนดเป็นชื่อกว้าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมความร่วมมือตามที่ตกลง
– กรณี MOA ต้องกำหนดชื่อข้อตกลงเป็นกรณีเฉพาะเจาะจง (In case of)
รายละเอียดผู้ลงนาม– ชื่อคู่ลงนามแต่ละฝ่าย ระบุตำแหน่งในฐานะผู้มีอำนาจลงนามแทนหน่วยงาน
– ตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานของแต่ละฝ่าย (ถ้ามี)
วัตถุประสงค์– อธิบายขอบวัตถุประสงค์เป็นข้อ ๆ ว่าร่วมมือกันเนื่องจากเหตุใด หรือเพื่อบรรลุเป้าหมายใด
หน้าที่และขอบเขตความร่วมมือของผู้ลงนาม-แต่ละฝ่ายมีหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองอย่างไร (อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน)
-ต้องให้การสนับสนุนอีกฝ่ายอย่างไร (สิ่งที่จะต้องปฏิบัติต่ออีกฝ่ายตามที่ตกลงไว้)
การดำเนินการ หรือ ขั้นตอนวิธีปฏิบัติ– ระบุกิจกรรม ระบวนงาน หรือเหตุการณ์ที่จะต้องร่วมมือกัน ให้เป็นรูปธรรม
– กรณีมีค่าใช้จ่าย ต้องระบุให้ชัดเจนว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบหรือออกค่าใช้จ่าย
– กรณีนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในบันทึก ต้องกำหนดวิธีแก้ไข เช่น ให้ตกลงกันใหม่อีกครั้ง หรือระบุวิธีขอความยินยอมจากอีกฝ่ายในกรณีขอทบทวน แก้ไขเพิ่มเติม เป็นต้น
– ระบุข้อสงวนสิทธิ์ ในกรณีมีกฎหมายบังคับ เช่น ข้อกำหนดเกี่ยวกับความลับทางราชการข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี)
ระยะเวลาการให้ความร่วมมือและการบอกเลิกความร่วมมือ– การให้ความร่วมมือขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ร่วมมือกัน ซึ่งโดยปกติจะมีเวลามากกว่า ๑ ปี แต่ไม่ควรเกิน ๑๐ ปี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์และประเภทกิจกรรม เริ่มตั้งแต่เมื่อใด จนถึงเมื่อใด (ระบุวัน เดือน ปี)
– วิธีการขอบอกเลิกความร่วมมือก่อนถึงกำหนดสิ้นสุดตามที่ระบุไว้ในบันทึก
ข้อความแสดงเจตนารับบันทึก /การลงลายมือชื่อผู้ลงนามหรือประทับตราองค์กรเพื่อรับรองบันทึก– ต้องระบุว่าบันทึกที่จะลงนามนี้มีจำนวนทั้งสิ้นกี่ฉบับ ข้อความถูกต้องตรงกัน และพยาน
– ต้องมีข้อความว่า “ทั้งสองฝ่าย (หรือกรณีมีการลงนามหลายฝ่าย อาจใช้คำว่า “ทุกฝ่าย”)ได้อ่านและเข้าใจข้อความในบันทึกโดยตลอดแล้วเป็นไปตามเจตจำนงหรือความประสงค์ในการให้ความร่วมมือ จึงได้ลงนามในบันทึก และให้หน่วยงานผู้ลงนาม (ระบุชื่อหน่วยงาน ) ถือไว้หน่วยละ ๑ ฉบับ
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับองค์ประกอบในการจัดทำ M O U และ MOA

อาจกล่าวได้ว่าความร่วมมือในลักษณะ MOU และ MOA เป็นวิถีแห่งการทำงานของโลกในยุคสมัยใหม่การประสานงานและให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านข้อมูลและทรัพยากรระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเองรวมถึงการบูรณาการร่วมกับภาคเอกชน

นอกจากจะสร้างความเป็นเลิศและความเข้มแข็งภายในองค์กรแล้วยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานให้แก่ระบบราชการอันจะก่อให้เกิดผลดีแก่ประชาชนและประเทศชาติเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญในฐานะเครื่องมือทางการบริหารนโยบายเพื่อยกระดับคุณภาพการทำงานและปรับปรุงการให้บริการสาธารณะที่ดีอย่างยั่งยืนแก่ส่วนรวมอย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา:law.disaster.go.th/site5/download-src.php?did=42003

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

แหวนหมั้นใส่นิ้วไหน
คำคุณศัพท์คืออะไร
การไถ่ถอนหุ้นกู้
รายได้
เงิน กยศ
ปลาหมอสีมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 169002: 900