จดทะเบียนสมรส

6 สิ่ง จดทะเบียนสมรสใช้อะไร เปลี่ยนนามสกุลที่ไม่มีใครพูด?

การจดทะเบียนสมรส

ทะเบียนสมรสสำคัญอย่างไร

การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสมีความสำคัญต่อคู่แต่งงาน สามีภรรยา เพราะเป็นเอกสารทางกฎหมายที่ใช้สำหรับยืนยันความสัมพันธ์ และเป็นหลักฐานที่ใช้สำหรับการยืนยันสิทธิ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา เช่น การรับรองบุตร ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับสิทธิ์ต่างๆ ตามกฎหมาย การแบ่งสินสมรส การฟ้องหย่าในกรณีสามีภรรยามีชู้ เป็นต้น

การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสามีภรรยาบางคู่ ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น คู่สามีภรรยาที่ทำธุรกิจ ซึ่งการจดทะเบียนสมรสทำให้ต้องมีการตรวจสอบทางบัญชีการเงินของทั้งสามีภรรยา เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรืออาจเกิดการฟ้องร้องได้ การแต่งงานแบบนี้จึงอาจไม่มีเรื่องทะเบียนสมรสโดยความยินยอมและตกลงของสามีภรรยาเอง แต่ในขณะเดียวกันการแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรสก็กลายเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายที่ทำให้สามีหรือภรรยาโอนทรัพย์สินของตัวเองไปยังบัญชีของอีกฝ่าย เพื่อเลี่ยงการตรวจสอบหรือการเสียภาษีได้เช่นกัน

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส

  1. จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
    กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
  2. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
  3. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
  4. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  5. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  6. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
    * คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
    * สมรสกับคู่สมรสเดิม
    * มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
    * ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
    * ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้

จดทะเบียนสมรส ใช้อะไรบ้าง

  1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  2. สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
  3. หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล(กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน

ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส

  1. การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
  2. คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
  3. คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
  4. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองการแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต

จดทะเบียนสมรส

ค่าธรรมเนียม ในการจดทะเบียนสมรส

  • การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
  • การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ – ส่ง นายทะเบียน
  • การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างใกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท

การจดทะเบียนสมรส ข้อดี ข้อเสีย

  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
  2. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงหรือภรรยามีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของสามี หรือไม่ใช้ก็ได้
  3. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้ (ในกรณีที่อยากถือสัญชาติไทย)
  4. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วมกัน (ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรส) นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนหากมีทรัพย์สินใดงอกขึ้นมา จะกลายเป็นสินสมรสทั้งหมด
  5. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน
  6. การจดทะเบียนสมรสทำให้มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้าง เช่น กรณี ที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือการรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน
  7. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้ เช่น สามีโดนรถชน ภรรยาสามารถเรียกค่าเสียหายถึงชีวิตกับผู้ขับรถชนได้
  8. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาสามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้อย่างออกหน้าออกตามกฎหมาย และหากพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสของตัวเอง และเรียกค่าเสียหายจากชู้ได้ด้วย
  9. การจดทะเบียนสมรสทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (บุตรเป็นสิทธ์ตามชอบธรรมของแม่อยู่แล้ว)
  10. การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้
  11. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
  12. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น ภรรยาโดนกระชากกระเป๋า สามีสามารถแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีกับคนร้ายได้ หรือสามีโดนคนพูดจาหมิ่นประมาทว่าร้าย ภรรยาก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทฝ่ายตรงข้ามแทนสามีได้

ทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายนานแค่ไหน อายุของทะเบียนสมรส

การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทะเบียนสมรสก็จะมีผลทางกฎหมายหรือมีอายุยาวตลอดไปจนกว่าจะมีการจดทะเบียนหย่า ซึ่งการจดทะเบียนหย่าก็เป็นไปตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายหรือถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องมีการฟ้องหย่าโดยให้ศาลเป็นผู้พิจารณา เพื่อใช้เหตุผลและหลักฐานต่างๆ ประกอบ รวมถึงการหาข้อตกลงต่างๆ เช่น การแบ่งสินสมรส สิทธิ์การดูแลบุตร ค่าเลี้ยงดู เป็นต้น

การจดทะเบียนสมรสซ้อน

ตามกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรซ้อนนั้นผิดกฎหมาย และไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรสครั้งหลังถือเป็นโมฆะ หากการจดทะเบียนสมรสครั้งแรกยังไม่มีการจดทะเบียนหย่าที่สมบูรณ์ และภรรยาที่จดทะเบียนสมรสซ้อนจะไม่มีสิทธิ์รับสิทธิ์ตามกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น

บริการตรวจสอบทะเบียนสมรส

ทางอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ www.khonthai.com หรือกรมการปกครองงานทะเบียนราษฎร์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 1548
มาถึงตรงนี้ทุกท่านพอจะทราบถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรสหรือใบทะเบียนสมรสกันแล้ว ใครที่กำลังจะแต่งงาน หรือแต่งงานไปแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลองกลับมาทบทวนกันอีกครั้งนะคะว่าจริงๆ แล้วการจดทะเบียนสมรสดีกับเราหรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกใจและเหตุผลของแต่ละท่านแต่ละ

คำค้น : ฤกษ์ 2565 ไม่มีพยาน ฤกษ์ 2564 แบบฟอร์มหนังสือรับรองบุตร กรณีไม่ได้ ภาษาอังกฤษ ฤกษ์ 2565 หมอช้าง ไม่มีทะเบียนบ้าน ไม่ได้ แต่มีลูก ฟ้องได้ไหม ไม่ได้ ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร ไม่ได้ แต่มีลูก ฤกษ์ดี 2565 วิธี วันดี 2565 ต้องมีพยานไหม 2564 ถ้าไม่ได้ ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร วันดี 2564 ไม่มีพยาน 2563 ไม่ได้ ฟ้องชู้ ไม่มีทะเบียนบ้าน2564 ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร 14 กุมภาพันธ์ 2565 เอกสารใช้ ดูฤกษ์ 2565 ต้องมีพยานไหม 2563 ฤกษ์ 2564 ฤกษ์ ตามวันเกิด 2565 ฤกษ์ 2564 หมอช้าง ฤกษ์ดี 2564 ฤกษ์ 2564 ตามวันเกิด การรับรองบุตร ไม่ได้ เลสเบี้ยน ฤกษ์ เงินสงเคราะห์บุตร กรณีไม่ได้ ฤกษ์ 2565 เงินสงเคราะห์บุตร ไม่ได้ ที่ว่าการอําเภอศรีราชา ไม่เปลี่ยนนามสกุล 2564 ดูฤกษ์ 2564 ลดหย่อนบุตร ไม่ได้ 2564 2565 14 กุมภาพันธ์ 2564 ฤกษ์ 2559 ต้องมีพยานไหม 2565 ฤกษ์ 2562 ซื้อบ้าน คนเดียว เพศเดียวกัน ไทย 2563 ไม่ได้ เบิกประกันสังคม ฤกษ์ 2560 ไม่เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไรบ้าง

ที่มา:thaiembdc.org/2017/06/13/consular17-slide/

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com