พฤติกรรมเสี่ยง ต่อสุขภาพไม่แปลกที่ไม่รู้โคตรเจ๋งจบ 7 เสี่ยง?
พฤติกรรมเสี่ยง
พฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น คือพฤติกรรมที่นำมาหรือเป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิต ทำให้ร่างกายเป็นอันตราย สูญเสียหน้าที่ ขาดโอกาสพัฒนาตามปกติ หรือเสียชีวิต วัยรุ่นจะมีพฤติกรรมเสี่ยงมาก เนื่องจากจิตใจวัยนี้ต้องการความสนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย ต้องการเป็นที่ยอมรับของคนอื่น อยากรู้อยากเห็นอยากลอง มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น แต่ยังขาดการยั้งคิด ไตร่ตรอง และการควบคุมตนเอง
การเข้าใจและหาทางป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมและผลเสียหายที่จะเกิดตามมา
ประเภทของพฤติกรรมเสี่ยง
พฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น แยกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
- พฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ(unintentional injuries) ได้แก่ การร่วมกิจกรรมที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ การไม่ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัย(ไม่สวมหมวกกันน็อค ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เมาในขณะขับรถ ฯลฯ)
- พฤติกรรมความรุนแรง(violence) ได้แก่ การเข้าร่วมกลุ่มที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง การทำร้ายร่างกาย การพกพาอาวุธ ทำลายข้าวของสาธารณะ
- ภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย(depression and suicidal idea)
- การใช้ยาเสพติด(drug abuse) ได้แก่ การลองและใช้ยาเสพติด บุหรี่ เหล้า หรืออยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ใช้ยาเสพติด
- พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์(sexual behaviors) ได้แก่ เริ่มต้นจากการมีแฟนเร็วเกินไป การเริ่มมีสัมผัสแตะเนื้อต้องตัว กอดจูบ อยู่กันตามลำพัง และมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในวัยกลางคน(myocardial infarction) ได้แก่ การรับประทานอาหารไขมันสูง อ้วน ขาดการออกกำลังกาย
การซักประวัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยง
ในวัยรุ่นการซักประวัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยง จะช่วยให้ประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ โดยใช้หัวข้อ HEEADSSS ดังนี้
- H – Home ครอบครัว ที่อยู่อาศัย ชุมชนแวดล้อม ความปลอดภัยในบ้าน
- E – Education/Employment การเรียน การทำงาน เป้าหมายอาชีพและความหวังในชีวิต
- Eating – พฤติกรรมการกิน มากหรือน้อยเกินไป ไม่ถูกสุขลักษณะ ขาดอาหาร ผอมเกินไปหรือเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน
- Activities and friends – กิจวัตรประจำวัน การออกกำลังกาย งานอดิเรก กิจกรรมที่สนุกและเพลิดเพลินคลายเครียด เพื่อนและเพื่อนสนิท กิจกรรมที่ทำร่วมกัน พฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มเพื่อน
- Drugs abuse – การลองใช้ยาเสพติด การใช้เหล้าบุหรี่ หรือยาอื่นๆที่แพทย์มิได้สั่ง
- Sexual activities – พฤติกรรมทางเพศ ความพึงพอใจทางเพศ(sexual orientation) เอกลักษณ์ทางเพศ(sexual identity) พฤติกรรมรักร่วมเพศ การมีเพศสัมพันธ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันการตั้งครรภ์
- Safety/violence/abuse พฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ และความรุนแรง การป้องกันอุบัติเหตุในการใช้ยานพาหนะ(สวมหมวกกันน็อค,คาดเข็มขัดนิรภัย ฯลฯ) การชกต่อยใช้อาวุธ การพกพาอาวุธ ความรุนแรงในครอบครัว การทารุณกรรม การละเมิดทางเพศ
- Suicidal idea ความรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้ เบื่อชีวิต ความคิดอยากตาย การพยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเอง
สาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยง
สาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงวัยรุ่น เกิดจากปัจจัยทางจิตใจและสังคม ดังนี้
- ขาดความรู้และทักษะ ความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับวัยรุ่น ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อันตรายและความเสี่ยงต่างในการดำเนินชีวิต ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ การจัดการอารมณ์เพศตนเอง การแก้ไขปัญหาต่างๆในชีวิต การปฏิเสธ การมีกิจกรรมที่เป็นสุขเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
- ขาดความตระหนัก วัยรุ่นที่มีความรู้และทักษะในการป้องกันความเสี่ยง แต่ยังขาดความตระหนักและจริงจังต่อการป้องกันตนเอง เห็นประโยชน์ของการป้องกัน และเห็นโทษหรือพิษภัยจากพฤติกรรมเสี่ยง จนใช้เป็นหลักในจิตใจที่จะไม่ทำพฤติกรรมนั้น
- ขาดการควบคุมตนเองความรู้ ทักษะและความตระหนัก อาจไม่ช่วยป้องกันความเสี่ยง ถ้าวัยรุ่นไม่มีการควบคุมตนเองดีเพียงพอ อาจคล้อยตามเพื่อนหรือสิ่งแวดล้อมได้ เหล้าและยาเสพติดเป็นสาเหตุที่ทำให้จิตใจเสียการควบคุมตนเอง อาจทำให้มีพฤติกรรมเสี่ยงได้
- ขาดวิธีการที่ทำให้ตนเองพึงพอใจที่ถูกต้อง วัยรุ่นต้องการกิจกรรมที่ช่วยให้ตนเองเกิดความพึงพอใจ ความสุข แต่ถูกต้องเป็นที่ยอมรับได้ วัยรุ่นที่มีจุดเด่น เป็นที่ยอมรับของเพื่อนด้านบวกอยู่แล้ว(เช่น การเรียน กีฬา ดนตรี ฯลฯ) จะไม่แสวงหากิจกรรมด้านลบที่อาจเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
- ปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ หรือโรคทางจิตเวช ทำให้ขาดความสุข เก็บกดความทุกข์ใจ ความก้าวร้าว หรือเคยโดนกระทำทารุณทางกายหรือทางเพศ จะแสดงออกเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เพื่อชดเชย ปิดบัง หรือระบายอารมณ์เป็นพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การใช้ยาเสพติดเพื่อลดความเครียดหรืออารมณ์เศร้า
- อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทัศนคติและแบบอย่างในครอบครัว ความเป็นสุขของครอบครัว อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน และสังคม การชักจูงใจจากแฟชั่น ดารานักร้อง การโฆษณา ค่านิยมทางวัตถุนิยม
การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น
การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงวัยรุ่น ทำได้โดยลดปัจจัยสาเหตุ และเพิ่มปัจจัยป้องกัน และจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ดังนี้
- การให้ความรู้ ที่จำเป็นสำหรับวัยรุ่น ได้แก่ การเลี่ยนแปลงตนเองในวัยรุ่น ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อันตรายและความเสี่ยงต่างในการดำเนินชีวิต ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ
- การฝึกทักษะ ในการรู้จักอารมณ์และความคิดตนเอง จัดการกับอารมณ์ได้ จัดการอารมณ์เพศตนเอง การแก้ไขปัญหาต่างๆในชีวิต การปฏิเสธ การมีกิจกรรมที่เป็นสุขเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
- สร้างความตระหนักในการป้องกันความเสี่ยง จริงจังต่อการป้องกันตนเอง เห็นประโยชน์ของการป้องกัน และเห็นโทษหรือพิษภัยจากพฤติกรรมเสี่ยง จนใช้เป็นหลักในจิตใจที่จะไม่ทำพฤติกรรมนั้น
- ฝึกการควบคุมตนเองฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง การรู้จักจิตใจตนเองและควบคุมได้ รู้จักยั้งคิด ฝึกระเบียบวินัยที่มาจากภายในใจตนเอง ฝึกการปฏิเสธเหล้าและยาเสพติดเป็นสาเหตุที่ทำให้จิตใจเสียการควบคุมตนเอง
- ช่วยให้วัยรุ่นมีกิจกรรมที่ทำให้ตนเองพึงพอใจที่ถูกต้อง วัยรุ่นต้องการกิจกรรมที่ช่วยให้ตนเองเกิดความพึงพอใจ ความสุข แต่ถูกต้องเป็นที่ยอมรับได้ วัยรุ่นที่มีจุดเด่น เป็นที่ยอมรับของเพื่อนด้านบวกอยู่แล้ว จะไม่แสวงหากิจกรรมด้านลบที่อาจเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
- สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี พ่อแม่เป็นแบบอย่าง มีทัศนคติที่ดีต่อลูก แสวงหากิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ครอบครัวมีความสุข ทัศนคติดีต่อการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ส่งเสริมกลุ่มเพื่อนที่ดี ให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ครอบครัว ชุมชน และสังคม
คำค้น : หมายถึงอะไร หมายถึง เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยง และแนวทางการป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ ข่าวที่มี มีอะไรบ้าง การ์ตูน คืออะไร ข่าว ต่อ สุขภาพ ความรุนแรง ข่าวบุคคลที่มี เกิดจากความประมาท ภาษาอังกฤษ คือ ข่าว ปัญหา ทาง เพศ โควิด
ขอบคุณที่มา:psyclin.co.th
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไลฟ์สไตล์
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 174464: 607