ลูกหนี้การค้า

ลูกหนี้การค้า วิธีบริหารความเสี่ยงและเพิ่มกำไร 5 ลูกหนี้?

Click to rate this post!
[Total: 189 Average: 5]

ลูกหนี้การค้า คือ

ลูกหนี้การค้า คือ (Receivable) หมายถึง สิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่งของเจ้าหนี้ในการที่จะให้ชำระหนี้ด้วยเงินสดหรือทรัพย์สินอย่างอื่น โดยคาดหมายว่าจะได้รับชำระเต็มจำนวนเมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้จัดเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งของกิจการและควรแสดงในงบการเงินด้วยมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับนั่นก็คือจำนวนที่คาดหมายว่าจะเก็บได้

ลูกหนี้การค้า

ประเภทของลูกหนี้

ประเภทของลูกหนี้ ในการดำเนินงานกิจการอาจมีลูกหนี้ 2 ประเภท คือ

  1. ลูกหนี้ การค้า ( Account Receivable Or Trade Receivable )
  2. ลูกหนี้อื่น ( Other Receivable )

ลูกหนี้ การค้า ( Account Receivable ) คือ ลูกหนี้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโดยปกติของกิจการ เช่น จากการขายสินค้า จากการขายบริการให้แล้วแต่ยังไม่ได้รับชำระเงิน โดยปกติต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้ เช่น 30 วัน 60 วัน และมีเงื่อนไขในการชำระหนี้เพื่อจูงใจให้ชำระเงินเร็วขึ้น เช่น 2/10, n/30 , หรือ 2/10 E.O.M. ลูกหนี้การค้าอาจแสดงรวมกับตั๋วเงินรับที่เกิดจากการซื้อสินค้าโดยอาจแสดงเป็นลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ ( Accounts and Notes Receivable ) เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน

ลูกหนี้อื่น ( Other Receivable ) คือ ลูกหนี้ที่เกิดจากรายการค้าประเภทอื่นที่มีลักษณะแตกต่างกันไปนอกเหนือจากการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามปกติของกิจการ ลูกหนี้อื่นรวมทั้งรายการที่ถือเป็นเสมือนลูกหนี้ของกิจการ

เงินให้กู้ยืม เช่น เงินให้กู้ยืมแก่พนักงานและลูกจ้าง เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วม

  • เงินมัดจำ เช่น เงินมัดจำที่จ่ายให้ผู้ขายเพื่อรับประกันการจ่ายเงิน เงินมัดจำความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
  • รายได้ ค้างรับ เช่น เงินปันผลค้างรับ ดอกเบี้ยค้างรับ
  • สิทธิเรียกร้อง เช่น สิทธิเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยให้ชดใช้ค่าสินไหมเมื่อเกิดอุบัติเหตุ สิทธิเรียกร้องต่อรัฐบาลสำหรับการรับเงินภาษีคืน

กิจการควรแสดงบัญชีลูกหนี้อื่นโดยแยกแสดงแต่ละรายการในงบการเงิน เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ระยะยาวขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเรียกเก็บเงิน

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 149958: 1730