ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ คืออะไรงานให้เครดิตภาพตัว@อ่านว่า 9 ลิขสิทธิ์ ?

ลิขสิทธิ์

ความหมายของลิขสิทธิ์

พระราชบัญญัติลิข สิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 “ลิข สิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่เพียง ผู้เดียวที่จะทำการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น และ “ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิข สิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ กล่าวโดยสรุป ลิข สิทธิ์ คือ ความคุ้มครองที่มีให้แก่เจ้าของผลงานสร้างสรรค์ ที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะ ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เจ้าของลิข สิทธิ์มีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานอันมีลิข สิทธิ์ของตน โดยกฎหมายลิข สิทธิ์ได้ให้ความคุ้มครองถึงสิทธินักแสดงด้วย

ประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์

งานอันมีลิขสิทธิ์ มี 9 ประเภท ได้แก่
1) งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ บทความ บทกลอน โปรแกรมคอมพิวเตอร์
2) นาฏกรรม เช่น ท่าเต้นท่ารำ ที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว
3) ศิลปกรรม เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย
4) ดนตรีกรรม เช่น ทำนองเพลง หรือเนื้อร้องและทำนองเพลง
5) โสตทัศน์วัสดุ เช่น วีซีดีคาราโอเกะ
6) ภาพยนตร์
7) สิ่งบันทึกเสียง เช่น ซีดีเพลง
8) งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น รายการโทรทัศน์
9) งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะ เช่น การเพ้นท์ศิลปะบนร่างกาย

สิ่งที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์

สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้แก่

1) ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร เว้นแต่หากมีการนำข้อมูลดังกล่าว มาเรียบเรียงจนมีลักษณะเป็นงานวรรณกรรม อาทิ การวิเคราะห์ข่าว บทความ ผลงานนั้นอาจได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานวรรณกรรม
2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือหนังสือตอบโต้อื่นใดของหน่วยงานของรัฐ
4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 1) ถึง 4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
6) ความคิดขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์

สิทธิในลิข สิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน ดังนั้น เจ้าของลิข สิทธิ์จึงควรที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนโดยการเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ ที่แสดงว่าได้ทำการสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้น เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์สิทธิหรือความเป็นเจ้าของในโอกาสต่อไป

อย่างไรก็ดีการแจ้งข้อมูลลิข สิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิใช่เป็นการรับรองสิทธิของเจ้าของลิข สิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของลิข สิทธิ์ในงานที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิข สิทธิ์ และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของลิข สิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งหรือมีข้อพิพาทเกี่ยวกับเจ้าของลิข สิทธิ์จำเป็นต้องอาศัยการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล ซึ่งต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป

ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์

บุคคลที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
1) ผู้สร้างสรรค์ด้วยความคิดริเริ่มของตนเอง โดยไม่ลอกเลียนงานของบุคคลอื่น และอาจหมายรวมถึงผู้สร้างสรรค์งานร่วมกันด้วย
2) ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงาน หรือลูกจ้าง (เว้นแต่ทำหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น)
3) ผู้ว่าจ้างในกรณีว่าจ้างให้บุคคลอื่นสร้างสรรค์งาน (เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น)
4) ผู้ดัดแปลง รวบรวม หรือประกอบเข้ากัน โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิข สิทธิ์
5) กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น โดยการจ้างหรือตามคำสั่ง หรือในความควบคุมดูแลของตน
6) ผู้รับโอนลิขสิทธิ์

การคุ้มครองลิขสิทธิ์

เจ้าของลิข สิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ต่องานอันมีลิข สิทธิ์ของตน ดังนี้
1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียง
4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิข สิทธิ์แก่ผู้อื่น
5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตามข้อ 1) 2) หรือ 3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ ที่ไม่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม

อายุการคุ้มครอง

การคุ้มครองลิข สิทธิ์จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยทั่วไปความคุ้มครองจะมีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย แต่มีงานบางประเภทที่จะมีอายุการคุ้มครองแตกต่างกัน โดยสามารถแยกสรุป ดังนี้
1) กรณีสร้างสรรค์คนเดียว ลิข สิทธิ์จะมีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็น เวลา 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
2) กรณีสร้างสรรค์ร่วมกันหลายคน ลิข สิทธิ์จะมีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลา 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย
3) กรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ลิข สิทธิ์จะมีอายุ 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือ 50 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
4) กรณีที่ผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ ให้ลิข สิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
5) งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ลิข สิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น หรือ 50 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
6) งานที่สร้างสรรค์โดยการจ้างหรือตามคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ให้มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น หรือ 50 ปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
7) งานศิลปะประยุกต์ ลิข สิทธิ์มีอายุ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น หรือ 25 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

การละเมิดลิขสิทธิ์

การกระทำที่ถือว่าเป็นการละเมิดลิข สิทธิ์ คือ การกระทำที่กระทบต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิข สิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนี้
1) การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรงมีองค์ประกอบของความผิด คือ
(1) เป็นการกระทำต่องานอันมีลิข สิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
(2) มีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้แก่
– การทำซ้ำหรือดัดแปลง
– เผยแพร่ต่อสาธารณชน
2) การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อมมีองค์ประกอบของความผิด คือ
(1) เป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิข สิทธิ์ของผู้อื่น
(2) ผู้กระทำรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิข สิทธิ์ของผู้อื่น
(3) มีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้แก่
– การขาย มีไว้เพื่อขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เสนอให้เช่าซื้อ
– เผยแพร่ต่อสาธารณชน
– แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลิข สิทธิ์
– การนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
(4) การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อหากำไร

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

การกระทำใดแม้เข้าข่ายเป็นการละเมิดลิข สิทธิ์ แต่เข้าข้อยกเว้นดังต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติลิข สิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ถือว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นการละเมิดลิข สิทธิ์
1) การใช้งานลิข สิทธิ์นั้นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิข สิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิข สิทธิ์
2) การใช้งานลิข สิทธิ์นั้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิข สิทธิ์เกินสมควร
2.11 แนวทางการดำเนินคดีละเมิดลิข สิทธิ์
สำหรับแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีละเมิดลิข สิทธิ์ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติลิข สิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งคดีละเมิดลิข สิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความได้ ต้องมีผู้เสียหาย คือ เจ้าของลิข สิทธิ์มาแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน จึงจะมีอำนาจในการดำเนินคดี และผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิด ทั้งนี้คดีละเมิดลิข สิทธิ์คู่กรณีสามารถที่จะประนีประนอมยอมความกันเพื่อยุติคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) ที่บัญญัติไว้สรุปได้ว่า ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับ

หลักฐานประกอบคำร้องทุกข์ ได้แก่
1) หลักฐานการสร้างสรรค์งานลิข สิทธิ์ หรือหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของลิข สิทธิ์
2) กรณีมอบอำนาจให้ทนายดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของลิข สิทธิ์ทุกช่วง กรณีเจ้าของลิข สิทธิ์เป็นชาวต่างประเทศหนังสือมอบอำนาจต้องมีโนตารีพับลิครับรอง และสถานทูตไทยหรือ กงสุลไทยรับรองลายมือชื่อโนตารีพับลิค อีกชั้นหนึ่ง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย โดยผ่านการรับรองความถูกต้องของเอกสารด้วย หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
3) หลักฐานการโฆษณางานครั้งแรก
4) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของเจ้าของลิข สิทธิ์และผู้รับมอบอำนาจ
5) ตัวอย่างสินค้าลิข สิทธิ์ของจริง และตัวอย่างสินค้าที่ละเมิด
6) กรณีเป็นลิข สิทธิ์ต่างประเทศ ประเทศที่จะได้รับความคุ้มครองจะต้องเป็นสมาชิกอนุสัญญากรุงเบอร์น หรือเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก
7) หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

สำหรับการจับกุมคดีละเมิดลิข สิทธิ์ มีลักษณะเหมือนคดีอาญาทั่วไป เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์มอบคดีแล้วต้องร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจค้น จับกุม และไปนำชี้ว่าสินค้าชิ้นใดเป็นสินค้าที่ละเมิดลิข สิทธิ์ เพราะเจ้าหน้าที่อาจไม่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอที่จะแยกแยะได้ว่าสินค้าชิ้นใดเป็นสินค้าละเมิดลิข สิทธิ์หรือไม่ รวมทั้งต้องสนับสนุนพยานหลักฐานในการดำเนินคดี

อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลิข สิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

พนักงานเจ้าหน้าที่
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า “ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้” ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิข สิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมาตรา 5 กำหนดไว้ว่า “ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้” ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 7/2552 เรื่องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลิข สิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1) ข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติลิข สิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ได้แก่ (1) อธิบดี (2) รองอธิบดี (3) ผู้อำนวยการระดับสูง (4) ผู้อำนวยการระดับต้น (5) ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป (6) ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไป

2) ข้าราชการในสังกัดสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในทุกจังหวัดดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติลิข สิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ภายในท้องที่หรือเขตอำนาจของแต่ละจังหวัด ได้แก่ (1) พาณิชย์จังหวัด (2) ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป (3) ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปตั้งแต่ระดับชำนาญงานขึ้นไป

3) ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 25/2556 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และ บัตรพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลิข สิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้พนักงานราชการของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลิข สิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้แก่ (1) พนักงานราชการที่ดำรงตำแหน่งนิติกร และ (2) พนักงานราชการที่ดำรงตำแหน่งนักวิชาการพาณิชย์

อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 67 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) เข้าไปในอาคาร สถานที่ทำการ สถานที่ผลิต หรือสถานที่เก็บสินค้าของบุคคลใดในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น หรือเข้าไปในยานพานะเพื่อตรวจค้นสินค้า หรือตรวจสอบเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ (2) ยึดหรืออายัดเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(3) สั่งให้บุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้อยคำ สมุดบัญชี เอกสารหรือหลักฐานดังกล่าวมีประโยชน์แก่การค้นพบหรือใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวก ตามสมควร

มาตรา 68 ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 72 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตาม
มาตรา 67 หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา 67 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 75 บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิข สิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัตินี้ และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 69 หรือมาตรา 70 ให้ตกเป็นของเจ้าของลิข สิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ส่วนสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดให้ริบเสียทั้งสิ้น

ข้อสังเกต
1. เนื่องจากความผิดตามพระราชบัญญัติลิข สิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นความผิดอันยอมความได้ และผู้เสียหายต้องร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มิใช่พนักงานสอบสวน ดังนั้นในทางปฏิบัติความผิดฐานละเมิดลิข สิทธิ์จึงเป็นเรื่องของผู้เสียหายที่ต้องไปร้องทุกข์ และเมื่อมีการร้องทุกข์แล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการบังคับใช้กฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป
2. พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายลิข สิทธิ์ ไม่มีอำนาจในการจับกุม

ผลงานที่มีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง

ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ หมายถึง ผลงานทางวรรณกรรม, ศิลปะ, ดนตรี, ภาพยนตร์, วิทยาศาสตร์, และอื่น ๆ ซึ่งมีการป้องกันลิขสิทธิ์เพื่อให้ผู้สร้างหรือผู้ลงนามสามารถควบคุมการใช้งานและการกระทำกับผลงานนั้นได้ ลิขสิทธิ์มีลักษณะเป็นสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งที่มีลิขสิทธิ์รวมถึง

  1. หนังสือและวรรณกรรม นวนิยาย, นิยายสั้น, นิตยสาร, บทความวิชาการ, และงานเขียนทางวรรณกรรมอื่น ๆ มีลิขสิทธิ์ที่คุ้มครอง

  2. ภาพและภาพวาด ภาพถ่าย, ภาพวาด, งานศิลปะที่สร้างขึ้นโดยศิลปิน, และผลงานทางศิลปะสื่อสารภาพมีลิขสิทธิ์

  3. ดนตรี เพลง, บทเพลง, และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสียงดนตรีมีลิขสิทธิ์

  4. ภาพยนตร์และวีดีโอ ภาพยนตร์เต็มเรื่อง, สื่อสังคม, และวีดีโอที่สร้างขึ้นมีลิขสิทธิ์

  5. ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันมือถือที่สร้างขึ้นมีลิขสิทธิ์

  6. สิ่งพิมพ์ นิตยสาร, หนังสือพิมพ์, แผ่นพับ, และงานพิมพ์อื่น ๆ มีลิขสิทธิ์

  7. สถาปัตยกรรม สถานีรถไฟ, อาคาร, และสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบและสร้างขึ้นมีลิขสิทธิ์

  8. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โค้ดคอมพิวเตอร์, แอลกอริทึม, และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมีลิขสิทธิ์

  9. สิ่งประดิษฐ์ การประดิษฐ์และสิ่งที่สร้างขึ้นมีลิขสิทธิ์

  10. วิจัยวิทยาศาสตร์ งานวิจัย, บทความวิชาการ, และรายงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีลิขสิทธิ์

การลิขสิทธิ์ช่วยป้องกันการคัดลอกและการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาตของผลงานทางปัญญาเหล่านี้ หากคุณต้องการใช้งานหรือเผยแพร่ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ในทางที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ควรติดต่อผู้เรียกเสียงสิทธิ์หรือรับอนุญาตให้ใช้ผลงานนั้นได้ บางครั้งผู้ใช้งานอาจต้องชำระค่าใช้จ่ายหรือรับอนุญาตจากผู้ลงนามก่อนที่จะนำผลงานมาใช้งานแบบเชิงพาณิชย์หรือประโยชน์ส่วนตนได้

ที่มา:ipthailand.go.th/images/2562/Suppress/lesson2.pdf

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 170198: 86