ลักษณะภูมิประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ เทือกเขาที่ราบสูงทะเลสาบต่ำโคตรเจ๋ง 7 ลักษณะ?

Click to rate this post!
[Total: 152 Average: 5]

ลักษณะภูมิประเทศ

ประเภทของลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎบนพื้นผิวเปลือกโลก จำแนกได้ 10 ประเภท ดังนี้
  1. เนินเขา  (Hill)
  2. ภูเขา  (Mountain)
  3. ทิวเขา  (Mountain Range)
  4. ที่ราบ  (Plain)
  5. ที่ราบสูง  (Plateau)
  6. ทะเล  (Sea)
  7. ทะเลสาบ  (Lake)
  8. เกาะ  (IsIand)
  9. คาบสมุทร  (Peninsula)
  10. แหลม  (Cape)

  เนินเขา (Hill)
1.ลักษณะสำคัญ เนินเขา เป็นภูเขาเตี้ยๆ มีความสูงจากบริเวณโดยรอบตั้งแต่ 100 เมตร ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 600 เมตร และมีความลาดชัน
2.ตัวอย่างเนินเขา ได้แก่ เขาวังและเขาหลวง จังหวัดเพชรบุรี เขาตะเกียบและเขากะโหลก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี เป็นต้น

  ภูเขา (Mountain)
1.ลักษณะสำคัญ ภูเขา เป็นลักษณะภูมิประเทศที่เหมือนกับเนินเขา มียอดแหลมและมีความลาดชันสูง แต่มีความสูงเกิน 600 เมตร ขี้นไป
2.ตัวอย่างภูเขา ได้แก่ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ และเขาสอยดาวเหนือ จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น

 ทิวเขา (Mountain Range)
1.ลักษณะสำคัญ ทิวเขาหรือเทือกเขา เป็นภูเขาสูงใหญ่หลายสิบหลายร้อยลูกวางตัวเป็นแนวต่อเนื่องกัน มีความยาวนับสิบนับร้อยกิโลเมตร
2.ตัวอย่างเทือกเขา เช่น เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาภูพาน และเทือกเขาผีปันน้ำ เป็นต้น

กำเนิดของเนินเขา ภูเขา และเทือกเขา

          เนินเขา ภูเขา และเทือกเขา มีลักษณะการเกิด 3 ประการ ดังนั้น

1.การโก่งตัวของเปลือกโลก หรือการคดโค้งของหิน (Folded Mountain) เป็นภูเขาและเทือกเขาที่พบมากที่สุด มีความสูงมากและเป็นแนวยาวต่อเนื่องกันนับร้อยกิโลเมตร เช่น เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya), เทือกเขาแอลป์ (Alps) และเทือกเขา แอนดิส (Andes) เป็นต้น
2.การเลื่อนตัวของหินเปลือกโลก (Block Mountain) เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นหินเปลือกโลก ส่วนที่เคลื่อนหรือยกตัวสูงขึ้นจะกลายเป็นภูเขามีหน้าผาสูงชัน ส่วนบริเวณที่ยุบต่ำลงจะกลายเป็นแอ่งหรือหุบเขาทรุด เช่น ภูเขาแบล็กฟอร์เรสต์ประเทศเยอรมนี และภูเขาโวสจ์ ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น     
3.การผลักดันจากพลังงานภูเขาไฟ เป็นภูเขาที่เกิดจากการทับถมของวัตถุที่ภูเขาไฟพ่นออกมาจากใต้ผิวโลกเป็นลาวา (Lava) เถ้าถ่าน ฝุ่นละออง และโคลนเหลว เช่น ภูเขาไฟฟูจิยามะ (Fujiayma) ประเทศญี่ปุ่น และภูเขาไฟมายอน (Mayon) ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น

  ที่ราบ (Plain)
1.ลักษณะสำคัญ ที่ราบเป็นลัตกษณะภูมิประเทศของพื้นเปลือกโลกที่แบนราบ (บางพื้นที่อาจมีลักษณะเป็นลอนคล้ายลูกคลื่น) หรือเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากนัก
2.ลักษณะการเกิดของที่ราบ มี 3 ประเภท คือ
1.ที่ราบที่เกิดจากตะกอนที่แม่น้ำพัดพาไปทับถม เช่นที่ราบลุ่มแม่น้ำเข้าพระยา ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ประเทศอินเดีย และที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน ประเทศบราซิล เป็นต้น
2.ที่ราบที่เกิดจากตะกอนที่คลื่นทะเลพัดพาไปทับถม เช่น ที่ราบชายฝั่งทะเลบางแสน และพัทยา จังหวัดชลบุรี ที่ราบชายฝั่งฟลอริดาสหรัฐอเมริกา และที่ราบชายฝั่งทะเลของประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
3.ที่ารบที่เกิดจากการกัดเซาะของธานน้ำแข็ง เช่น ที่ราบไซบีเรียของรัสเซีย ที่ราบทุ่งหญ้าแพรรีในรัฐอินเดียนา รัฐไอโอวาและรัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

  ที่ราบสูง (Plateaue)
1.ลักษณะสำคัญ ที่ราบสูงเป็นพื้นที่ค่อนข้างราบ โดยมีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณใกล้เคียงโดยรอบตั้งแต่ 300 เมตร ขี้นไป ที่ราบสูงบางประเภทมีรูปร่างคล้ายโต๊ะ บางประเภทมีพื้นที่ด้านหนึ่งลาดเทเอียงลงสู่ชายฝั่งทะเลหรือพื้นที่ที่ต่ำกว่า หรือบางประเภทมีเทือกเขาขนาบไว้เกือบทุกด้าน
2.ตัวอย่างที่ราบสูง ที่ราบสูงส่วนใหญ่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลกหรือการเลื่อนตัวของหินเปลือกโลกได้แก่ที่ราบสูงทิเบตประเทศจีนที่ราบสูงเดคคาน ประเทศอินเดีย และที่ราบสูงเกรตเบซิน สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

  ทะเล (Sea)
1.ลักษณะสำคัญ ทะเลเป็นแหล่งน้ำเค็มตามธรรมชาติ มีขนาดเล็กกว่ามหาสมุทร
2.ชนิดของทะเลที่สำคัญ จำแนกได้ 2 ชนิด คือ
1.ทะเลเปิด คือ ทะเลที่มีน่านน้ำบางส่วนเชื่อมต่อกับมหาสมุทร เช่น ทะเลอาหรับทะเลจีนใต้ และทะเลอันดามัน เป็นต้น
2.ทะเลปิด คือ ทะเลที่มีแผ่นดินล้อมรอบ ไม่มีส่วนใดเชื่อมต่อกับมหาสมุทรหรือทะเลอื่นใด ได้แก่ ทะเลดีดซี (Dead Sea) และทะเลแคสเปียน (Caspian) เป็นต้น

  ทะเลสาบ (Lake)
1.ลักษณะสำคัญ ทะเลสาบ เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่มีแผ่นดินล้อมรอบ มีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม อาจมีแม่น้ำ เป็นทางระบายน้ำไหลออกหรือนำเข้าจากทะเลหรือมหาสมุทร
2.ประเภทของทะเลสาบ จำแนกตามลักษณะการเกิดได้ 6 ประเภท คือ
1.เกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดิน เช่น ทะเลสาบเขมร (Tonle Sap) ประเทศกัมพูชา หนองหาน และกว๊านพะเยา ประเทศไทย
2.เก็ดจากการปิดกั้นของสันดอนชายฝั่งทะเล ทำให้เกิดเป็นทะเลสาบน้ำเค็ม (Lagoon) เช่น ทะเลสาบสงขลาของประเทศไทย
3.เกิดจากแม่น้ำเปลี่ยนเส้นทางเดิน มีลักษณะเป็นบึงรูปโค้ง หรือทะเลสาบรูปแอก (Oxbow Lake) พบในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล และ แม่น้ำชี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเประเทศไทย
4.เกิดจากปล่องภูเขาไฟยุบตัว เช่น ทะเลสาบโทบา เกาะสุมาตราของอินโดเนเซียทะเลสาบบนปล่องภูเขาไฟพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ และทะเลสาบติติกากา ระหว่างประเทศเปรูกับโบลิเวีย เป็นต้น
5.เกิดจากธารน้ำแข็งกัดเซาะ เช่น ทะเลสาบส่วนใหญ่ในประเทศฟินแลนด์ และทะเลสาบทั้งห้า ระหว่างสหรัฐอเมริกากับแคนาดา
6.เกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก โดยการยกตัวของแผ่นดินในทะเลเดิมทำให้ยังคงมีน้ำทะเลขังอยู่ในแอ่งแผ่นดิน เช่น ทะเลสาบแอร์ (Eyre) และทะเลสาบซอลต์เลก (Salt Lake) ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

  เกาะ (Island)
1.ลักษณะสำคัญ เกาะ เป็นลักษณะภูมิประเทศแบบหนึ่งที่มีน้ำทะเลล้อมรอบเกาะเล็ก ๆ บางแห่งมีลักษณะเป็นภูเขาใต้ท้่องทะเลและโผล่ส่วนยอดขึ้นมา เกาะขนาดใหญ่บางแห่งมีที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่มีผู้คนตั้งถิ่งฐานอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น
2.ประเภทของเกาะ จำแนกตามลักษณะที่ตั้งของเกาะมี 2 ประเภท ดังนี้
1.เกาะกลางมหาสมุทร เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ค่อนข้างมาก มีน้ำทะเลลึก ส่วนใหญ่เป็นเกาะภูเขาไฟหรือปะการังโดยเฉพาะหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น หมู่เกาะนิวคาลิโดเนีย และหมู่เกาะโซโลมอน เป็นต้น
2.เกาะชายฝั่ง เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ เกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะไหหลำ เกาะลังกาและหมู่เกาะของประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

 คาบสมุทร (Peninsula)
1.ลักษณะสำคัญ คาบสมุทร เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินใหญ่ที่ยื่นล้ำออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร
2.ตัวอย่างของคาบสมุทร ได้แก่ คาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรอาหรับ คาบสมุทรเกาหลี และคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย เป็นต้น

 แหลม (Cape)
1.ลักษณะสำคัญ แหลม เป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทร มีลักษณะเป็นส่วนของแผ่นดินเล็ก ๆ ยาวเรียวยื่นออกไปในทะเล
2.ตัวอย่างแหลมที่สำคัญ เช่น แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช, แหลมฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และแหลมกูดโฮป (Good Hope) สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นต้น

คำค้น : ทวีปอเมริกาเหนือ แผนที่ ทวีปออสเตรเลี่ย ภาคเหนือ ภาคใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวีปอเมริกาเหนือ ภาษาอังกฤษ ของทวีปอเมริกาเหนือ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย อเมริกาเหนือ ที่พบทางตะวันออกของทวีปเอเชีย ภาคเหนือ ภูเขา ในการแปลความหมายแผนที่ สิ่งที่ควรคำนึงถึง มากที่สุด คือข้อใด ข้อใดคือสิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุด ในการแปลความหมายแผนที่ ทวีปยุโรป การอ่านแผนที่ บริเวณที่เป็นสีน้ำตาลจะมี แบบใด มาเลเซีย แผนที่ ทวีปเอเชีย ภูมิอากาศภาคเหนือ ในการแปลความหมายแผนที่ สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดคือข้อใด ออสเตรเลีย สิงคโปร์ แผนที่ เราจะหาข้อมูลอะไรได้บ้าง ทะเลสาบติติกากา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการแปลความหมายแผนที่ สิ่งที่ควรคำนึงถึง มากที่สุด แกรนด์แคนยอน แคนาดา ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นปัจจัยประภทใด เทือกเขาร็อกกี้ ของภาคเหนือ บริเวณคาบสมุทรแกนดิเนเวีย มี แบบใดเด่นชัดที่สุด ออสเตรีย ทุนดรา ลักษณะภูมิประเทศ่ของเอเชียตะวันออกเป็นลักษณะแบบใด นักเรียนจะ…ไม่พบ…ข้อมูลใดในแผนที่ ของภาคใต้ ฟิลิปปินส์ เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ทวีปเอเชีย เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ จังหวัดตาก ญี่ปุ่น ยอดเขาอากอนกากวา เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ในแผนที่ จะพบว่าภาคใดมีสีน้ำตาลมากที่สุด ประเทศมาเลเซีย

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ประโยชน์ของการดื่มน้ำ
เงินและสถาบันการเงิน
220598
ยำขนมจีน
ประเทศไทยมีกี่จังหวัด
เกมเต้นสามารถมีประโยชน์
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 172534: 1458