ใบกำกับภาษีเต็มรูป

ใบกํากับภาษี ล่าสุดวิธีเขียนเองมีตัวอย่างอย่างง่ายๆ 2 ใบ?

Click to rate this post!
[Total: 187 Average: 5]

ใบกํากับภาษี คือ

ใบกำกับภาษี ( Tax invoice ) หมายถึง เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการในแต่ละครั้ง

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษี

– กรณีการขายสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ
– กรณีการให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับชำระราคาค่าบริการ
ผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอย่างน้อย 2 ฉบับ ดังนี้
– ต้นฉบับ ส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
– สำเนา เก็บรักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการลงรายงานภาษีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5
ปีนับแต่วันที่ทำรายงาน
สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการต้องเรียกใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่น ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และหากผลการคำนวณภาษีปรากฏว่า ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ถือเป็นเครดิตภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียน มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีที่คำนวณภาษีนั้น และหากในเดือนภาษีที่นำเครดิตภาษีไปชำระยังมีเครดิตภาษีคงเหลืออยู่อีกก็มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปได้ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่ใช้สิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป ก็มีสิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น

ใบกำกับภาษีภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างใบกำกับภาษีภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างใบกำกับภาษีภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างใบกำกับภาษีภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างใบกำกับภาษี ภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างใบกำกับภาษี ภาษาอังกฤษ

ใบกำกับภาษีของแถม

การแถมสินค้าชนิดเดียวกัน ในกรณีที่บริษัทขายเสื้อผ้า ได้ขายเสื้อหนึ่งตัวแถมอีกหนึ่งตัว โดยเสื้อที่แถมมีมูลค่าไม่เกินมูลค่าสินค้าที่ขาย ถือเป็นการขายตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทไม่ต้องนำมูลค่า ของแถม มารวมเพื่อคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้าบริษัทขายสินค้า 1 ชิ้นและแถมสินค้าชนิดเดียวกันอีก 2 ชิ้น ถ้าส่งเริมการขายเช่นนี้จะต้องนำมูลค่าของสินค้าที่แถมอีก 2 ชิ้นนั้นมารวมเพื่อคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี เพื่อนำส่งภาษีขายด้วย

ปิดกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
การใช้สมดุลและโครงสร้างทางไวยากรณ์สำคัญ
220329
220554
วิธีการหาปริมาตรของทรงกระบอก
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 151247: 1570