งบการเงิน

ส่วน งบการเงินวิเคราะห์งบการเงินประชุมอนุมัติครบจบ 5 ส่วน?

Click to rate this post!
[Total: 170 Average: 5]

งบการเงิน

งบการเงิน คือ รายงานทางการเงิน ซึ่งให้ข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับกิจการในด้านฐานะการเงิน ณ สิ้นวันใดวันหนึ่ง ทั้งผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินสำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

รายงาน ทาง การเงิน หมายถึง

พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้ให้ความหมายของงบการเงินเพิ่มเติมไว้ว่า งบการเงิน หมายถึง รายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน ไม่ว่าจะรายงานโดยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบประกอบหรือหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน

หลักเกณฑ์การจัด

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการจัดทำงบการเงิน

  1. ให้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ แสดงตามเนื้อหา และความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ
  2. ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ทันที ง่ายต่อการตัดสิน ทันต่อเวลา
  3. มีหลักฐานและข้อเท็จจริงในการจัดทำ สามารถเปรียบเทียบได้
  4. สามารถตรวจสอบได้โดยบุคคลอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกิจการ
  5. เป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่ต้องการให้แสดง
  6. มีความเป็นกลางหรือปราศจากความลำเอียง ครบถ้วน ความมีสาระสำคัญ และต้นทุนในการจัดทำ

ประโยชน์ของงบการเงิน

  1. สามารถนำตัวเลขไปวิเคราะห์หาอัตราส่วนทางการเงิน เช่น อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ration) เป็นต้น
  2. ทราบโครงสร้างการลงทุนและโครงสร้างทางการเงินของกิจการ
  3. ช่วยในการประเมิณการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิของกิจการ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงิน
  4. ประเมินความสามารถของกิจการในการบริหารงาน
  5. ให้ข้อมูลของตัวเลขซึ้งชี้ถึงจำนวน จังหวะเวลา และความแน่นอน ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และที่จะส่งผลต่ออนาคต

ส่วนประกอบงบการเงิน

ส่วนประกอบงบการเงิน งบการเงินประกอบด้วย

ส่วนประกอบงบการเงิน งบการเงินประกอบด้วย

รูปแบบงบการเงิน งบการเงินประกอบไปด้วย 5 ส่วน คือ

  1. งบแสดงฐานะการเงิน
  2. งบกำไรขาดทุน (งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ)
  3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
  4. งบกระแสเงินสด
  5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน

1. งบแสดงฐานะการเงิน

งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) หมายถึง รายงานทางการเงินที่กิจการจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รองรับทั่วไป เพื่อแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใด วันหนึ่ง แสดงถึงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด ว่ากิจการมีขนาดเท่าใด ประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน

2. งบกำไรขาดทุน

งบกำไรขาดทุน (Statement of income) หมายถึง รายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้น เพื่อแสดงผลการดำเนินงานทางการเงินของกิจการสำหรับงวดเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นรายเดือน สามเดือน หรือ หกเดือน แต่โดยปกติแล้วจะใช้หนึ่งปี กิจการจะรับรู้รายได้ และค่าใช้จ่ายสำหรับงวด นั้น ๆ ผลต่างจากการคำนวณ นั้น จะเรียกว่า “กำไร (ขาดทุน)” จากการดำเนินงาน เช่น  การตั้งราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจากราคายุติธรรม  การประมาณการราคาหุ้นที่กิจการซื้อขายในราคายุติธรรม ณ ช่วงเวลาสิ้นงวด เป็นต้น

รูปแบบงบกำไรขาดทุน

    1. แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย เป็นการรวมค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะเดียวกันเข้าไว้ด้วยกัน
    2. แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ของค่าใช้จ่าย เป็นการจัดประเภทค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ โดยแบ่งย่อยได้ 2 ลักษณะ
      • การแสดงกำไรแบบขั้นเดี่ยว (Single Step) เป็นการจัดประเภทรายได้ทั้งหมด
      • การแสดงกำไรแบบหลายขั้น (Multiple Step) เป็นการจัดประเภทรายได้หลัก

ตัวอย่าง งบกำไรขาดทุน 

งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่แสดงแบบขั้นเดียว

งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่แสดงแบบขั้นเดียว

งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่แสดงแบบหลายขั้น

งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่แสดงแบบหลายขั้น

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ

งบแสดงงการเปลียนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น หมายถึง งบการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงในระหว่างงวดของรายการต่าง ๆ ภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้น เช่น ทุนที่ออกชำระแล้ว ส่วนเกินหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น การสำรองเงินตามกฎหมาย กำไรสะสม และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของตัวเลขในงบการเงิน เช่น นโยบายการบัญชีที่ใช้  และข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่ไม่เป็นตัวเงิน เป็นต้น

ตัวอย่าง งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

งบการเงิน10
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

4. งบกระแสเงินสด

งบกระแสเงินสด (statement of cash flows) คือ การแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินสดของกิจการ ผู้ใช้งบการเงินจะใช้ข้อมูลดังกล่าว เป็นเกณฑ์ในการพิจราณาความสามารถของกิจการที่จะได้รับเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด รวมทั้งความจำเป็นของกิจการในการใช้กระแสเงินสดนั้น

ตัวอย่าง งบกระแสเงินสด

งบการเงิน งบกระแสเงินสด
งบการเงิน งบกระแสเงินสด

5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to financial statements) โครงสร้างแบ่งออก 4 ลักษณะ ดังนี้  

  1. แสดงข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน และนโยบายการบัญชีที่เลือกใช้กับรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่สำคัญ
  2. เปิดเผยข้อมูลตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด
  3. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน แต่เป็นข้อมูลที่จำเป็นเพื่อให้งบการเงินถูกต้องตามที่ควร
  4. แสดงอย่างเป็นระบบ รายการแต่ละรายการในงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จและงบการแสเงินสดต้องอ้างอิงข้อมูลทีเกี่ยวข้องในหมายเหตุประกอบงบการเงินได้

ตัวอย่าง หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ตัวอย่าง งบ กระแส เงินสด excel

งบการเงินที่ดี

มีองค์ประกอบในการจัดทำดั้งนี้

  • ความถูกต้องตามที่ควร เช่น จัดทำบัญชีโดยใช้หลักการบัญชีตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เปิดเผยข้อมูล
  • นโยบายการบัญชี เช่น เลือกใช้ให้เหมาะสมกับกิจการ
  • การดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ
  • ใช้เกณฑ์คงค้างใรการจัดทำ รับรู้รายการที่เกิดขึ้น บันทึกบัญชีตรงงวด
  • จัดทำอย่างสม่ำเสมอ แสดงและจัดทำบัญชีโดยใช้มาตรฐานแบบเดียวกัน
  • มีข้อมูลเปรียบเทียบจากปีก่อน ควรมีงบการปีก่อน ๆ 1-2ปี ย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน

 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงบการเงิน

  • ผู้บริหารหรือผู้มีหน้าที่จัดทำ ผู้ที่รับผิดชอบข้อมูลความถูกต้องครบถ้วนตัวเลขในงบกาเงิน
  • ผู้จัดทำ หรือนักบัญชี ลูกจ้างพนักงาน
  • ผู้สอบบัญชี
  • หน่วยงานภาครัฐ เช่น ตลาดหลักทรัพย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร เป็นต้น
  • ผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากงบการเงิน เช่น ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์การเงิน เจ้าหนี้ เป็นต้น
ผู้เกี่ยวข้องกับงบการเงิน ผู้ใช้งบการเงิน

ผู้เกี่ยวข้องกับงบการเงิน ผู้ใช้งบการเงิน

ประชุมอนุมัติงบการเงิน

งบการเงิน ประชุมอนุมัติงบการเงิน

งบการเงิน ประชุมอนุมัติงบการเงิน

การนำส่งงบการเงิน

ผู้มีหน้าที่นำส่งงบการเงิน กำหนดเวลาในการยื่น/เอกสารประกอบ/เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตาม
กฎหมายไทย
2.นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่าง
ประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
3.กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
ต้องนําส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วต่อนายทะเบียนภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี
4 .บริษัทจำกัด ต้องนํางบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วเสนอเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุม ใหญ่ภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดบัญชีต้องนําส่งงบการเงินต่อนายทะเบียนภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติใน ที่ ประชุมใหญ่ต้องนําส่งสําเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นในเวลาที่ประชุม (บอจ.5) ต่อนายทะเบียนภายใน 14 วันนับแต่วันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
5.บริษัทมหาชนจํากัด ต้องนํางบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วเสนอเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุม ใหญ่ภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดบัญชีต้องนําส่งรายงานประจําปีพร้อมสําเนางบดุลและบัญชีกําไรขาดทุนต่อนาย ทะเบียนภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ต้องนําส่งสําเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น โดยผู้มีอํานาจลงนามแทนบริษัทลง ลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้อง

ต้องนําส่งสําเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บมจ.006) ที่มีอยู่ในวันประชุมสามัญ

6.สมาคมการค้า
7.หอการค้า
ต้องนํางบดุลและรายงานประจําปีที่แสดงผลการดําเนินกิจการเสนอเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่สมาคมการค้า หรือหอการค้าภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วัน สิ้นปีบัญชีให้นําส่งงบดุล สําเนารายงานประจําปี และสําเนารายงานการประชุมใหญ่ ต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการประชุมใหญ่
ตัวอย่าง งบ การเงิน ห้างหุ้นส่วน จํา กัด

การขยายหรือเลื่อนกําหนดเวลาการยื่นงบการเงิน

กรณีผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีมีเหตุจําเป็นไม่สามารถยื่นงบการเงินได้ภายในเวลาที่กฎหมายกําหนดให้ ทําหนังสือขอขยายหรือเลื่อนกําหนดเวลายื่นงบการเงินต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และการยื่นหนังสือ ขอขยายหรือเลื่อนกําหนดเวลาจะต้องยื่นก่อนที่จะหมดเวลาตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อาจพิจารณาสั่งให้ขยายหรือเลื่อนกําหนดเวลายื่นงบการเงินออกไปอีกตามความจําเป็นแก่กรณีได้ 1.6 วิธีการในการยื่นงบการเงิน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ. 2558 ดังนี้

  1. ให้ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี ยื่นงบการเงิน รายงานการสอบบัญชี รายงานประจําปี สําเนารายงาน การประชุมผู้ถือหุ้น ทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด
  2. กรณีผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีที่ยังไม่พร้อมยื่นงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ยื่นด้วยตนเอง หรือนําส่งทางไปรษณีย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด และต้องยื่นงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์อีก ครั้งหนึ่ง ภายในสามสิบวันนับแต่วันครบกําหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จึงจะถือว่าเป็นการยื่นงบการเงิน ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด

ช่องทางการนำส่งงบการเงิน

นําส่งด้วยตนเอง 

  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ชั้น3) กระทรวงพาณิชย์ จังหวัดนนทบุรี
  • สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-6 กรุงเทพมหานคร ได้แก่
    • เขต 1 (ปิ่นเกล้า) ธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนบรมราชชนนี โทร. 024468160-1,67,69
    • เขต 2 (พหลโยธิน) อาคารเลขที่ 78/13 ถนนพระราม 6 (สี่แยกประดิพัทธ์)โทร. 026183340-41
    • เขต 3 (รัชดาภิเษก) อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ (ซี 2ชั้น3ถ.รัชดาภิเษก โทร.022767253,55, 56, 59, 6
    • เขต 4 (สุรวงศ์) อาคารวรวิทย์ ชั้น Gเลขที่ 222 ถ.สุรวงศ์ โทร. 0 2234 2951-3
    • เขต 5 (บางนา) อาคารแอมเพิลทาวเวอร์ ชั้น 4 ถ.บางนา-ตราด โทร. 02348 3803-5
    • เขต 6 (สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา) อาคารรัฐประศาสนภักดี (ชั้น 1) เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถ.แจ้งวัฒนะ โทร. 0 2143 7921-2 – สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ทั่วประเทศ
  • สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสาขาได้แก่
    • สาขาหัวหิน โทร. 032-520669, 032-520670
    • สาขาพัทยา โทร.038-222106 , 038-222108
    • สาขาเกาะสมุย โทร.077-427034
    • สาขาแม่สอด โทร.055-532404, 055-532405

ส่งทางไปรษณีย์ไปยังกองข้อมูลธุรกิจ

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เลขที่ 563 ถนนนนทบุรี อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โดยสามารถทําได้ 2 วิธี คือ

  1. ลงทะเบียนตอบรับ ณ ที่ทําการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ
  2. ส่งแบบรับประกันการสูญหาย ส่ง ณ ที่ทําการไปรษณีย์ไทยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร และที่ทําการไปรษณีย์นนทบุรีเท่านั้น

ส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing)

การนําส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) นิติบุคคลสามารถใช้บริการผ่านเว็บไซต์ กรมฯ www.dbd.go.th > เลือก บริการออนไลน์ > ระบบการนําส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing)

งบการเงินที่ดี ควรให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ทุกฝ่ายที่สนใจในกิจการ ข้อมูลทางการบัญชีที่ปรากฏในงบการเงินนั้น จึงควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน กระแสเงินสด สภาพคล่อง ผลตอบแทนจากการลงทุน ตวามสามารถในการชำระหนี้ และทรัพยากรทางเศรษฐกิจของกิจการ

ปิดกิจการ
ประเทศทั้งหมด
พฤติกรรมเสี่ยง
219406
220650
218483
พลังงานนิวเคลียร์
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 151797: 1313