TA

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร 8 คุณสมบัติเงินเดือนรับอนุญาต CPA เช็ค TA?

Click to rate this post!
[Total: 202 Average: 5]

TA ผู้สอบบัญชีภาษีอากร

สอบ cpa คือ
สอบ cpa คือ

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร คือ (Tax Auditing) บุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร จากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร และเสนอรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีต่ออธิบดีกรมสรรพากร พร้อมกับ งบการเงินและแบบแสดงรายการภาษีเงินได้

ผู้สอบบัญชี TA CPA

  1. 1. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor : TA) ที่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งตรวจสอบและ รับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (เพียงประเภทเดียว) 
  2. 2. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant : CPA) ที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี (ซึ่งตรวจสอบและรับรองบัญชีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก) ต้องปฏิบัติงานและรายงานเช่นเดียวกับ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร

ดังนั้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในบทนี้ให้หมายรวมถึงผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบ และรับรองบัญชีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กด้วย

ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก คุณสมบัติ คือ มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

ผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามมาตรา 3 สัตต

ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. 1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทุกประเภท (รวมถึงกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร) และ
  2. 2. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก

หน้าที่และความรับผิดชอบ

หน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบให้ครบถ้วน ดังนี้

  1. รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี จากผลการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร อย่างตรงไปตรงมา หากกิจการไม่ยินยอมปรับปรุงให้ถูกต้องหรือมีข้อยกเว้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้อง รายงานข้อยกเว้นดังกล่าว
  2. การแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตนตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งแจ้ง ล่วงหน้าตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ภายในวันที่ 30 มิถุนายน ของทุกปี พร้อมแนบหนังสือตอบรับ งานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  3. กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นลูกค้าซึ่งได้แจ้ง ไว้แล้ว ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรแจ้งการเปลี่ยนแปลงตามแบบที่อธิบดีกำหนด ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัด จากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ต้องแจ้งก่อนวันที่ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  4. การเสียภาษีของตนเองให้ถูกต้องครบถ้วน ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องเสียภาษีของตนเองให้ ถูกต้องครบถ้วน อย่าหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร

cpa เงินเดือน ตามปริมาณงาน และความรับผิดชอบ

คุณสมบัติของผู้สอบบัญชีภาษีอากร

คุณสมบัติของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
คุณสมบัติของผู้สอบบัญชีภาษีอากร

ที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องมีคุณสมบัติดังนี้

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต คุณสมบัติ

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ตก่ำว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชีซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรองเทียบเท่าไม่ต่ำกว่าปริญญาดังกล่าว
  2. มีอายุไม่ต่ำว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
  3. มีสัญชาติไทย หรือมีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สอบบัญชี ในประเทศนั้นได้
  4. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
  5. ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีเกี่ยวกับภาษีอากร หรือคดีอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นว่าอาจ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งความเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
  6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟันเฟือน ไม่สมประกอบ
  7. ไม่เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต
  8. ต้องผ่านการทดสอบความรู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

ขอบเขตเนื้อหาวิชาที่สอบ

  1. 1. วิชาการบัญชี
    1. ทดสอบความรู้การบัญชีเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน โดยครอบคลุมในเรื่องกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน การบันทึกบัญชี การจัดทํางบการเงินตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน มาตรฐานการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย การบัญชีต้นทุนผลิตสินค้า ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทาง การเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for Non-Publicly Accountable Entities : NPAEs) ที่สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกาศใช้ในปัจจุบั
  2. 2. วิชาการสอบบัญชี
    1. ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกาศใช้ในปัจจุบัน และตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานและการรายงานสำหรับ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร โดยครอบคลุมถึงหลักฐานการสอบบัญชี และวิธีการรวบรวมหลักฐาน หลักพื้นฐานของการควบคุมภายใน การประเมินความเสี่ยง เทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ ในการตรวจสอบบัญชี การจัดทำกระดาษทำการ แนวการตรวจสอบ การสอบทานและการควบคุม งานสอบบัญชี จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
  3. 3. วิชาความรู้เกี่ยวกับประมวลรัษฎากร และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
    1. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทดสอบความรู้เกี่ยวกับ (๑) ประมวลรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ หน้าที่เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการ การนำส่งภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การจัดทำรายงานและบัญชีพิเศษตามประมวลรัษฎากร รวมถึงประกาศเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา ๓ สัตต แห่งประมวลรัษฎากร (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.๒๕๔๓ ประกาศและคำสั่งของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

การขอขึ้นทะเบียนและการออกใบอนุญาต

ที่ผ่านการทาสอบทุกวิชา จะต้องยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอาการตามแบบ (บภ.02) ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันประกาศรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมต่ออธิบดีกรมสรรพากร ใบอนุญาติเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรให้ใช้แบบที่อธิบดีกรรมสรรพากรกำหนดและให้มีอายุ 5 ปี

จรรยาบรรณผู้สอบบัญชีภาษีอากร

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีภาษีอากร TA CPA
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีภาษีอากร TA CPA

ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดไว้ในคําสั่ง กรมสรรพากรที่ ท.ป. 123/2545 เรื่อง กําหนดจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

  1. 1. ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต เช่น
    • ไม่รับตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่ตนขาดความเป็นอิสระ
    • ไม่รับงานในกิจการที่ตนขาดความเป็นกลาง โดยมีผลประโยชน์หรือ ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้น หรือโดยมีเหตุอื่นที่อาจจะก่อให้เกิดความลำเอียง
    • ไม่ปกปิดข้อเท็จจริง หรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงินที่ตนลงลายมือ ชื่อรับรองไว้ในรายงาน
    • ไม่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย ออก หรือใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น
  2. 2. ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน เช่น
    • ต้องปฏิบัติงานด้วยความรู้ความสามารถของวิชาชีพการงาน ใบรับ
    • ไม่ตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติงานได้
    • ไม่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานของกิจการที่ตนมิได้ปฏิบัติงานตรวจสอบหรือควบคุม การปฏิบัติงานตรวจสอบ
    • สอดส่องใช้ความรู้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไป เป็นต้น
  3. 3. จรรยาบรรณต่อผู้เสียภาษี เช่น
    • ไม่เปิดเผยความลับกิจการของผู้เสียภาษีหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องโดยนำออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือให้ ทราบโดยวิธีใดสำหรับกิจการที่ตนได้รู้มาในหน้าที่จากการตรวจสอบและรับรองบัญชี อันเป็นเหตุให้กิจการนั้น ได้รับความเสียหาย เว้นแต่การกระทำนั้นเป็นการกระทำตามหน้าที่ทางวิชาชีพหรือตามกฎหมาย
    • ไม่ละทิ้งการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีที่รับไว้แล้วโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น
  4. 4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมอาชีพ เช่น
    • ไม่แย่งงานตรวจสอบและรับรองบัญชีจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอื่น
    • ไม่ทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกินกว่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้ตรวจสอบและรับรอง บัญชีอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้มอบหมายนั้น เป็นต้น
  5. 5. จรรยาบรรณทั่วไป เช่น
    • ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพในส่วนที่เกี่ยวกับ กฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายอื่น
    • ไม่โฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยประการใด ๆ ซึ่งการประกอบวิชาชีพอันแสดงให้เห็น ว่าจะช่วยเหลือให้เสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริง เป็นต้น

หลักการทำงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร

  1. จัดทำและจัดเก็บแนวทางการสอบบัญชี
  2. จัดทำและจัดเก็บกระดาษทำการ
  3. เน้นการทาสอบคสามถูกต้องของงบการเงินรและบัญชี
  4. กระทบยอดทางบัญชีเป็นกำไรทางภาษี
  5. เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญและแจ้งพฤติการณ์ไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
  6. ทดสอบรายการในแบบแจ้งข้อความ
  7. ชี้แจ้งข้อเท็จจริงและส่งมอบแนวทางการสอบบัญชีและกระดาษทำการ

ความแตกต่างระหว่าง TA กับ CPA

TA CPA ความแตกต่างระหว่าง TA กับ CPA ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
TA CPA ความแตกต่างระหว่าง TA กับ CPA ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ความแตกต่างผู้สอบบัญชีภาษีอากรผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
1. การขึ้นทะเบียนต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544ฯต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราช บัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547
2. สิทธิในการปฏิบัติงานสามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
3. หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงานปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กปฏิบัติงานตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่น เดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบและ
รับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนขนาดเล็ก
4. การรายงานการตรวจสอบและ รับรองบัญชีจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่
จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษี อากรสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
ปก อุทกภัย
อริยสัจแต่ละประการ
อริยสัจแต่ละประการมีข้อห้าม
217837
สัญญากู้ยืมเงินกรรมการ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 151952: 1750