ภพ30

บัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มมูลค่าของการซื้อ-ขายของสินค้าแบบ ภพ.30?

บัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ

แบบภพ.30
แบบภพ.30

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีประเภทหนึ่งที่ทางรัฐบาลจัดเก็บจากมูลค่าของการซื้อ-ขายของสินค้าและบริการในประเทศ และการนำเข้าสินค้า ในอัตรา 7% โดยกรมสรรพากรเป็นผู้ที่มีหน้าที่เก็บภาษีประเภทนี้

ตัวอย่างในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

สินค้าตั้งราคาขาย 100 บาทต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %

= 100 × 7 % = ค่าภาษีที่ต้องเสีย (Vat) จะเท่ากับ 7บาท

ซึ่งผู้ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้จากการประกอบกิจการตั้งแต่ 1.8ล้านขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม

ตัวอย่างการบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

บัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่าง การบันทึกบัญชี ภาษีซื้อ ภาษีขาย

  • การบันทึกบัญชีภาษีซื้อ

เมื่อมีการซื้อ บันทึกการซื้อ และจัดทำรายงานภาษีซื้อ

เดบิต        ซื้อสินค้า                                                                             XX

                     ภาษีซื้อ                                                                              XX

                              เครดิต    เงินสดหรือเจ้าหนี้การค้า                                                       XX

  • การบันทึกบัญชีภาษีขาย

เมื่อมีการขายสินค้า บันทึกการขายและจัดทำรายงานภาษีขาย

เดบิต   เงินสดหรือเจ้าหนี้การค้า                                                      XX

                              เครดิต    ขายสินค้า                                                                             XX

                                               ภาษีขาย                                                                             XX

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ
ภาษีขาย ภาษีซื้อ

รายงานภาษีซื้อ 

ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มจ่ายให้กับบริษัทที่ขายสินค้าหรือบริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วให้กับเรา

รายงานภาษีซื้อ คือรายงานที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำและลงรายงานภาษี เฉพาะรายการที่ซื้อมาและมีหลักฐาน เช่น ใบกำกับภาษี ใบลดหนี้ ใบเพิ่มหนี้ หรือใบเสร็จรับเงินอื่น ๆตามที่กฎหมายกำหนด

รายงานภาษีซื้อ
รายงานภาษีซื้อ

รายงานภาษีขาย

ภาษีขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการที่เราขายสินค้าหรือบริการ ให้แก่คู่ค้า

รายงานภาษีขาย เป็นรายงานที่ผู้ประกอบการที่จะทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำขึ้นเพื่อนบันทึกจำนวนภาษีขายของกิจการที่เรียกเก็บจากลูกค้าในแต่ละเดือน ภาษีขายเกิดจากเดือนใดจะต้องบันทึกลงในเดือนนั้นเท่านั้น โดยจะดูจากใบกำกับภาษีที่ทางกิจการขายให้กับลูกค้า

รายงานภาษีขาย
รายงานภาษีขาย

แบบ ภพ.30 คือ

แบบภ.พ.30คือ แบบที่แสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว โดยจะคำนวนจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อซึ่งจะต้องนำส่งกรมสรรพากรในทุก ๆวันที่15 ของทุก ๆเดือน

แบบ-ภพ.30
แบบ-ภพ.30

การยื่นแบบ ภพ.30

ตัวอย่างการกรอกแบบ-ภพ.30-ยื่นเพิ่มเติม
ตัวอย่างการกรอกแบบ-ภพ.30-ยื่นเพิ่มเติม

การยื่นภ.พ.30 เป็นหน้าที่ที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องนำส่งกรมสรรพกรทุกเดือน ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเลือกส่งได้ 2แบบดังนี้

  1. 1. สามารถนำส่งแบบภ.พ.30ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ภายในวันที่ 15 ของทุกๆเดือน
  2. 2. ผู้ประกอบการสามารถนำส่ง ภ.พ.30 ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/ โดยสามารนำส่งได้ถึงวันที่ 23
    ยื่นเพิ่มเติม-ภพ.30
    ยื่นเพิ่มเติม-ภพ.30

ใบกํากับภาษีอย่างย่อ

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ คือ เอกสารหลักฐานในการขายสินค้า หรือบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้ารายย่อยที่เป็นบุคคลจำนวนมาก ซึ่งผู้ที่สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้คือ กิจการที่จะทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและขายสินค้า หรือบริการให้แก่บุคคลจำนวนมาก เช่นร้านค้าปลีก ร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อเป็นต้น

ซึ่งหากคุณต้องการที่จะใช่เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ก็จำเป็นที่จะต้องยื่นคำขอใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากรด้วย

กรมสรรพากร คือ

กรมสรรพากร คือ หน่วยงานระดับกรมของรัฐบาลที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากรายได้และฐานบริโภคภายในประเทศเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ รวมไปถึงการตรวจสอบการปฏิบัติด้านภาษี และติดตามเร่งรัดภาษีคงค้าง ซึ่งมีหน้าที่ให้การเก็บเงินตสมประมวลรัษฎากร คือ

  1. 1.ภาษีบุคคลธรรมดา
  2. 2.ภาษีนิติบุคคล
  3. 3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. 4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  5. 5.อากรแสตมป์

ภพ.36

ภ.พ.36 คือ การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้จ่ายค่าสินค้า หรือบริการนั้นจะเป็นผู้มีหน้าที่ในการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน เนื่องจากผู้ขายหรือให้บริการไม่ได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งกำหนดการของการยื่นแบบ ภ.พ.36 ก็คือไม่เกิน7วัน ของเดือนถัดไป หลังจากที่มีการชำระค่าสินค้าหรือบริการนั้นๆ โดยสามารถนำส่งได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่ใกล้เคียง และผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 154976: 524