จดทะเบียนพาณิชย์

จดทะเบียนพาณิชย์รหัสมีแบบง่ายๆขั้นตอนยุ่งยากเสียเวลา 2 ข้อ?

Click to rate this post!
[Total: 162 Average: 5]

ทะเบียนพาณิชย์

ทะเบียนพาณิช
ทะเบียนพาณิช

ทำธุรกิจต้องรู้เรื่อง “การจดทะเบียนพาณิชย์”

งานทะเบียน

หลายคนได้ยินคำว่าทะเบียนพาณิชย์ก็ต้องกลัวกันแล้ว เพราะกลัวจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากเสียเวลา กลัวเสียภาษี ทำให้หลายธุรกิจแอบดำเนินกิจการแบบที่ไม่มีการจดทะเบียนพาณิชย์ หรือบางธุรกิจก็อาจจะดำเนินกิจการไปแบบไม่รู้ตัวว่ากิจการตนเองเข้าข่ายที่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ก็มีเช่นกัน ซึ่งเป็นผลเสียทำให้สรรพากรต้องติดต่อมาหา ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะต้องจดทะเบียนการค้าหมดเพราะมีกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์เช่นกัน แล้วอย่างนี้ธุรกิจเราเข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนพาณิชย์นั้นแท้จริงแล้วเป็นประโยชน์และเป็นผลดีกับธุรกิจและผู้ประกอบการเสียอีกด้วยซ้ำ นอกจากจะป้องกันไม่ให้เสียค่าปรับแล้ว ก็ยังสามารถเลี่ยงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่มีความจำเป็นต่อธุรกิจได้อีกด้วย ใครที่กำลังลังเลว่ากลัวเรื่องภาษีอยู่ ก็ไม่ต้องตกใจไป เรามาค่อย ๆ เรียนรู้เรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์อย่างง่าย ๆ อ่านจบเข้าใจ ทำตามไปได้อย่างไม่ยากอีกด้วย

จดทะเบียนพาณิชย์

จดทะเบียนพาณิชย์ออนไลน์
จดทะเบียนพาณิชย์ออนไลน์

รู้จักความหมายการจดทะเบียนพาณิชย์

การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตาม “พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2549” ซึ่งมีการระบุไว้ว่า ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะรูปแบบของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลจะต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่า ธุรกิจของบุคคลนั้นดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการดำเนินกิจการหรือธุรกิจของบุคคลนั้นด้วย ลูกค้าหรือคู่ค้าเกิดความไว้วางใจว่าธุรกิจมีอยู่จริงและดำเนินกิจการอย่างถูกกฎหมาย โดยจะแบ่งการจดทะเบียนพาณิชย์ออกเป็น 2 รูปแบบได้ ดังต่อไปนี้

  1. การจดทะเบียนพาณิชย์ธรรมดา
  2. การจดทะเบียนพาณิชย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (กรณีสำหรับธุรกิจบางประเภทที่รับชำระเงินทางออนไลน์ ทั้งทางเว็บไซด์และแอปพริเคชัน)

หมายเหตุเพิ่มเติมในเรื่องการค้าขายทางออนไลน์ผ่านทางช่องทาง Social Media ต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีการชำระเงินตามแพรตฟอร์ม ธุรกิจสามารถทำการจดทะเบียนพาณิชย์แบบธรรมดา และมีการยื่นภาษีได้ตามปกติไม่ต้องใช้วิธีการจดทะเบียนพาณิชย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ทำความเข้าใจเรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์และการเสียภาษี

ก่อนอื่นเลยผู้ประกอบการหรือผู้ที่กำลังดำเนินธุรกิจทั้งหลายต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การจดทะเบียนพาณิชย์ และเรื่องการเสียภาษีนั้นเป็นคนละเรื่องกัน มีความแตกต่างกันบางประการ หลายคนเข้าใจว่าการจดทะเบียนพาณิชย์นั้นคือการเสียภาษีเรียบร้อยแล้ว โดยจะสามารถจำแนกความเข้าใจอย่างชัดเจนได้ ดังนี้

  • การจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อจดแจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่า ธุรกิจหรือร้านค้าของบุคคลนั้นได้ดำเนินธุรกิจจริง มีตัวตนอยู่จริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กิจการ
  • การเสียภาษี เพื่อเสียภาษีให้กับกรมสรรพากร เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ทางกฎหมายภาษีว่าด้วย ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจที่มีรายได้เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจต้องมีการยื่นเสียภาษีแก่กรมสรรพากร และดำเนินการเสียภาษาเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนด

ธุรกิจอะไรบ้างที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ), นิติบุคคลรวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย, ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งประเภทกิจการอันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดที่ต้องมีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. กลุ่มประเภทธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาคนเดียว (กล่าวคือธุรกิจที่ดำเนินกิจการที่มีเจ้าของกิจการคนเดียว), ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ได้แก่ธุรกิจดังต่อไปนี้
  • (1) กิจการเกี่ยวกับโรงสีข้าว, โรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
  • (2) กิจการเกี่ยวกับขายสินค้าทั้งอย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสต็อกเพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  • (3) นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าทั้งอย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม โดยที่สินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
  • (4) กิจการเกี่ยวกับหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมทั้งอย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และได้ขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งได้เงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  • (5) กิจการเกี่ยวกับขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม
  • (6) กิจการเกี่ยวกับขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
  • (7) กิจการเกี่ยวกับขายอัญมณี หรือเครื่องประดับด้วยอัญมณี
  • (8) กิจการเกี่ยวกับซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • (9) กิจการเกี่ยวกับบริการอินเทอร์เน็ต, การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต รวมทั้งกิจการเกี่ยวกับให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
  • (10) กิจการเกี่ยวกับบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้า/บริการ ด้วยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • (11) กิจการเกี่ยวกับการให้บริการฟังเพลง, กิจการร้องเพลงคาราโอเกะ
  • (14) กิจการเกี่ยวกับการให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
  • (15) กิจการเกี่ยวกับการให้บริการตู้เพลง
  • (16) กิจการเกี่ยวกับโรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด
  • (1) กิจการเกี่ยวกับขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
  • (2) กิจการเกี่ยวกับขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
  • (3) กิจการเกี่ยวกับซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต
  • (4) กิจการเกี่ยวกับให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
  • (5) กิจการเกี่ยวกับบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • (6) และกิจการเกี่ยวกับบริการอินเทอร์เน็ต กิจการเกี่ยวกับการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
  • (7) กิจการเกี่ยวกับการให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
  • (8) กิจการเกี่ยวกับการให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
  • (9) กิจการเกี่ยวกับการให้บริการตู้เพลง
  • (10) กิจการเกี่ยวกับโรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
  1. กรณีธุรกิจที่มีผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นชาวต่างชาติ

กรณีที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นชาวต่างชาติหรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ โดยมาดำเนินกิจการหรือมาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย เจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบดูด้วยว่าธุรกิจที่ดำเนินการจะต้องอยู่ภายใต้การได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หากเป็นธุรกิจที่ต้องได้รับอนุญาต ผู้ประกอบพาณิชยกิจจะต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ก่อนเพื่อให้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าอย่างถูกกฎหมาย

ธุรกิจพาณิชยกิจที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

ประเภทของกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ มีดังต่อไปนี้

  1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
  2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
  3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
  4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
  5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
  6. พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515

เอกสารสำคัญในการจดทะเบียนพาณิชย์

งานทะเบียนพาณิชย์
งานทะเบียนพาณิชย์

ธุรกิจจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องนำเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ สามารถดาวน์โหลดดาวน์แบบฟอร์ม/ทะเบียนพาณิชย์ ในรูปแบบพิมพ์เพื่อใช้ในการประกอบจดทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือจะขอรับแบบพิมพ์เองได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร, สำนักงานเขตทุกเขต, เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล, เมืองพัทยา โดยมีเอกสารสำคัญ ดังต่อไปนี้

  1. คำขอจดทะเบียน :แบบ ทพ. (ทั้งหมด 2 แผ่น)
  2. หลักฐานประกอบคำขอ
    • สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบดำเนิน กิจการในประเทศไทย (กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ) ซึ่งรับรองความถูกต้องโดยเจ้าของบัตรประจำตัว
    • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
    • กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    • สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีรายการเกี่ยวกับชื่อ วัตถุที่ประสงค์ ทุน ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการ และอำนาจกรรมการ
    • (กรณีเป็นบุคคลต่างชาติ)หนังสือแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินกิจการในประเทศ
    • (กรณีเป็นบุคคลต่างชาติ)ใบอนุญาตทำงานของผู้รับผิดชอบดำเนินกิจการในประเทศ
    • (กรณีเป็นบุคคลต่างชาติ)ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือหนังสือรับรองการใช้สิทธิตามสนธิสัญญา (ถ้ามี) เอกสารตามข้อ 2.4 และข้อ 2.5 หากทำขึ้นในต่างประเทศ จะต้องมีคำรับรองของโนตารีพับลิคหรือบุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจรับรองเอกสาร พร้อมด้วยคำรับรองของเจ้าหน้าที่กงสุล หรือสถานฑูตไทย

ในกรณีประกอบพาณิชยกิจการขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่น วีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง ต้องแจ้งข้อมูลและส่งเอกสารประกอบเพิ่มเติม ดังนี้

  • แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจเป็นปกติ
  • สำเนาหนังสืออนุญาต หรือ หนังสือรับรองให้เป็นผู้จำหน่ายหรือให้เช่าสินค้าดังกล่าวจากเจ้าของลิขสิทธิ์ของ สินค้าที่ขายหรือให้เช่า หรือ สำเนาใบเสร็จรับเงินตามประมวลรัษฎากร หรือหลักฐานการซื้อขาย จากต่างประเทศ

ในกรณีประกอบพาณิชยกิจการค้าอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี ต้องดำเนินการและ ให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

  • ตรวจสอบและเรียกหลักฐานแสดงจำนวนเงินทุน (กรณีเป็นนิติบุคคลให้ยกเว้น เนื่องจากนาย ทะเบียน สามารถตรวจสอบหลักฐานแสดงจำนวนเงินทุนของนิติบุคคลได้จากระบบคอมพิวเตอร์อยู่แล้วสำหรับ
  • บุคคลธรรมดา ให้เชิญผู้ประกอบพาณิชยกิจมาให้ข้อเท็จจริงของแหล่งที่มาของเงินทุน หรือชี้แจงเป็นหนังสือพร้อมแนบหลักฐานดังกล่าวแทนก็ได้)
  • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ประกอบพาณิชยกิจ หลักฐานการประกอบอาชีพหุ้นส่วนจำพวก
  • ไม่จำกัดความรับผิดหรือกรรมการผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท แล้วแต่กรณี

กรณีประกอบพาณิชยกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

  • ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการ ผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท แล้วแต่กรณี
  • รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (พิมพ์ 1 เว็บไซต์ ต่อ 1 แผ่น)

หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ

  1. ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามแต่กรณี
  2. ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
  3. ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาโดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า “สาขา” ไว้ด้วย
  4. ต้องยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สูญหาย หรือชำรุด
  5. ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
  6. ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ

กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์

  • ธุรกิจจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ
  • การเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามรายการเปลี่ยนแปลง ดังนี้เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ
    • เลิกประกอบพาณิชยกิจบางส่วน หรือเพิ่มใหม่
    • เพิ่มหรือลดเงินทุน
    • ย้ายสำนักงานใหญ่
    • เปลี่ยนผู้จัดการ
    • เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนที่อยู่
    • ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง
    • แก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน (หุ้นส่วนเข้า/ออก) เงินลงหุ้น จำนวนเงินลงทุนของห้าง
    • จำนวนเงินทุน จำนวนหุ้น มูลค่าหุ้นของบริษัทจำกัด จำนวนและมูลค่าหุ้นที่บุคคลแต่ละสัญชาติถืออยู่
    • รายการอื่น ๆ เช่น แก้ไขชื่อเว็บไซต์ ชื่ออักษรโรมัน ฯลฯ
  • เลิกประกอบพาณิชยกิจ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลิกประกอบพาณิชยกิจ
  • ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายต้องยื่นขอใบแทนภายใน 30 วันนับแต่วันสูญหาย

สถานที่จดทะเบียน

  1. กิจการในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่
    • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
    • ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร. 0-2224-1916, 0-2225-1945 หรือที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง และที่เว็บไซต์ www.bangkok.go.th/finance

  1. กิจการในภูมิภาค ยื่นจดทะเบียนได้ที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนบริหารการจดทะเบียน สำนักข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4446-7 และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกจังหวัด

สรุป

ทั้งนี้หากใครยังรู้สึกว่าการจดทะเบียนพาณิชย์เป็นเรื่องยุ่งยาก และมีความกังวลอยู่อีก ก็ไม่ต้องห่วง เพราะในปัจจุบันมีหลายบริษัทที่รับเรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งจะคอยจัดการเรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์ทุกขั้นตอนให้กับผู้ประกอบการธุรกิจทั้งหลาย ไม่ต้องเสียเวลามาดำเนินการอีกด้วย

นอกจากนี้ประชาชนรวมทั้งผู้ประกอบกิจการสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ “กฎหมายทะเบียนพาณิชย์ รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499” เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการบังคับใช้ และการจัดทำร่างกฎหมายพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ที่เว็บไซด์ https://forms.gle/vwVfac2KLhjb11fp7 ซึ่งเป็นของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยตรง

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 157025: 1826