พิสูจน์หลักฐาน 3 บทบาทสำคัญในกระบวนการยุติธรรมจบทั้งสองฝ่าย?
การพิสูจน์หลักฐาน เป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่สุดในกระบวนการยุติธรรม เพราะสามารถนำเสนอ ข้อมูลที่มีความชัดเจน และ เป็นกลาง ที่สุดให้กับศาลและผู้
“ใบหุ้น” เอกสารสำคัญที่ผู้ถือหุ้นต้องรู้ และบริษัทต้องทำ
หลายนคงเคยได้ยินเรื่องหุ้น เพราะเมื่อไรก็ตามที่มีการถือครองสัดส่วนได้เสียกันในบริษัทเมื่อไรก็ตาม ก็จะต้องมีการแบ่งหุ้นตามสักส่วนให้แก่นักลงทุนที่ได้ถือหุ้นในบริษัทนั้นเอง ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยสำหรับขนาดบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นในบริษัททั่วไป กับบริษัทที่นำเข้าตลาดหลักทรัพย์โดยจะมีการเปิดให้นักลงทุนได้เข้ามาถือหุ้นด้วยนั้นเอง อย่างไรก็ตามเราจะมาพูดกันถือเรื่อง “ใบหุ้น” ซึ่งเป็นมุมมองของบริษัทที่จะต้องออกให้ผู้ถือหุ้น เพื่อให้บริษัทได้ทำความเข้าใจว่า “ใบหุ้น” มีความสำคัญและจำเป็นตามกฎหมายอย่างไรบ้าง ที่จะต้องออกให้แก่ผู้ที่ถือหุ้นทุกคน และที่สำคัญผู้ที่ถือหุ้นทุกคนจะต้องมีเอกสารใบหุ้น ซึ่งก็ต้องรู้จักลักษณะเอกสารนี้เพื่อผลประโยชน์ของตนเองได้เป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน
ใบหุ้น คือ ลักษระเอกสารหนังสือสำคัญที่จับต้องได้ โดยจะต้องเป็นเอกสารที่บริษัทเป็นผู้ออกให้แก่ผู้ที่ถือหุ้นทุกคน โดยจะต้องมีลักษณะเนื้อความถูกต้อง โดยชี้แจงถึงการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายนั้น ๆ อยู่ สามารถใช้เป็นหลักฐานเอกสารได้ตามกฎหมาย
ความหมายตาม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 (ฉบับที่ 2) มาตรา 3 ได้ระบุความหมายของ “ใบหุ้น” ดังนี้
ใบหุ้น คือ หนังสือสำคัญซึ่งบริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเพื่อเป็นหลักฐานแสดงการถือหุ้นในบริษัท ทำนองเดียวกันเอกสารซึ่งแสดงการเป็นเจ้าของทรัพย์บางอย่างส เช่น โฉนด ที่ดิน ทะเบียนรถยนต์ ในทะเบียนปืน เป็นต้น จึงมีการเอาใบหุ้นใช้เป็นประกันในการกู้ยืมเงินกันได้เหมือนกัน
สำหรับใบหุ้นนั้นจะสามารถแบ่งประเภทได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
ซึ่งการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ซึ่งจะต้องมีพยานอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อรับรองลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอน กล่าวคือการโอนหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือจะสมบูรณ์เพียงส่งมอบใบหุ้นให้แก่กันเท่านั้น แต่จะใช้ในการยืนยันบริษัทหรือบุคคลภายนอกได้ก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนการโอนลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทไว้เรียบร้อยแล้วเท่านั้น
กล่างได้ว่าการออกใบหุ้น เป็นหน้าที่สำคัญของบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ที่จะต้องทำการออก “ใบหุ้น” นั้นเอง
กรณีบริษัทมหาชนจำกัด
สำหรับบริษัทมหาชนจำกัดจะต้องมีการออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้ที่ได้ทำการซื้อภายในสองเดือน โดยนับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท หรือในกรณีมีการจำหน่ายหุ้นที่เหลือให้นับตั้งแต่วันที่ได้รับการชำระค่าหุ้นครบ หรือต้องมีการออกใบหุ้นในกรณีที่มีการออกใบหุ้นใหม่ภายหลังจากที่มีการจดทะเบียนบริษัท ซึ่งข้อความสำคัญภายในเอกสารใบหุ้นจะต้องมีการระบุชื่อบริษัท ระบุเลขทะเบียนบริษัท ระบุวันที่นายทะเบียนได้รับจดจัดตั้งบริษัท ระบุชนิดมูลค่า ระบุเลขที่ใบหุ้น ระบุจำนวนหุ้นที่ได้ และต้องระบุชื่อของผู้ถือหุ้นด้วย เมื่อได้ระบุแล้วจะต้องมีการลงนามลายมือชื่อของกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคน โดยจะสามารถได้ลงชื่อไว้ด้วยลายมือชื่อหรือพิมพ์ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้สามารถที่จะมีการมอบหมายไว้ให้ซึ่งนายทะเบียนหุ้นซึ่งเป็นไปตามกฎหมายของหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ โดยจะสามารถลงลายมือชื่อหรือพิมพ์แทนก็ได้ด้วยเช่นกัน
กรณีบริษัทจำกัด
สำหรับบริษัทจำกัดที่ต้องออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นจะต้องทำได้เฉพาะหุ้นที่ได้มีการชำระมูลค่าเต็มเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทได้อนุญาตไว้ซึ่งลักษณะของการออกใบหุ้นของบริษัทจำกัดจะต้องมีข้อความสำคัญจะต้องระบุไว้เพียงการระบุชื่อเพียงเท่านั้น
คือ บริษัทได้มีการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ ซึ่งกรรมการของบริษัทจะต้องออกใบหุ้นใหม่ขึ้นมา โดยจะมีเลขหมายหุ้นที่ออกใหม่ขึ้นมา ลำดับเลขหมายต่อจากเลขสุดท้ายของหุ้นเดิมของบริษัทเพื่อนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ที่ถือหุ้นฉบับใหม่ ทั้งนี้ในกรณีของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มทุนเลขหมายหุ้นเดิม บริษัทจะต้องระบุเลขหมายแยกออกจากกันให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและได้ทราบว่าบริษัทได้ออกหุ้นใหม่ขึ้นมานั้นเอง
คือ บริษัทสามารถเรียกคืนใบหุ้นเดิมทั้งหมดจากผู้ที่ได้ถือหุ้นบริษัทอยู่ในขระนั้น และได้ออกใบหุ้นฉบับใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นนั้นเอง
การเรียงเลขหุ้นใหม่ของบริษัทสามารทำได้ บริษัทสามารถออกใบหุ้นได้ใน บอจ. 5 เลขหมายของหุ้น โดยจะต้องระบุหมายเลขหุ้นที่เรียงใหม่ ลงวันที่ ระบุวัน/เดือน/ปี ที่ออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นจริง ส่วนวันลงทะเบียนผู้ถือหุ้น ระบุวัน/เดือน/ปี ที่ผู้ถือหุ้นนั้นได้รับจดแจ้งในสมุดทะเบียนหุ้นของบริษัท
การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นถือได้ว่าเป็นเรื่องภายในบริษัท ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ได้แก่ เมื่อกรรมการบริษัทดำเนินการแก้ไขรายการในสมุดทะเบียนหุ้นของบริษัทแล้วประสงค์จะยื่นแบบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ฉบับใหม่ทันที ให้ทำหนังสือนำส่งลงชื่อโดยกรรมการผู้มีอำนาจ หรือจะนำส่งคราวเดียวเมื่อสิ้นปีพร้อมงบการเงินตามปกติที่จะต้องยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอยู่แล้วก็ได้ (บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันประชุมสามัญประจำปี)
ทั้งในรูปแบบบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดเมื่อมีการออกใบหุ้นแก่ผู้หุ้นแล้ว หน้าที่สำคัญอีกอย่างก็คือต้องมีการจัดทำสมุดบัญชีผู้ถือหุ้น โดยมีการจัดทำรวมทั้งการจัดเก็บเอกสารสำคัญนี้ไว้ที่สำนักงานใหญ่เพื่อสามารถใช้เป็นหลักฐาน ซึ่งผู้ถือหุ้นมีสิทธิตรวจดูเอกสารดังกล่าวได้ด้วยเช่นกัน สำหรับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นนั้นตามกฎหมายแล้วจะสามารถสันนิษฐานไว้ก่อนได้เลยว่ามีความถูกต้อง เช่น ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทหรือข้อข้อแย้งขึ้นระหว่าง นาย ก. และ นาย ข. ซึ่งหากทั้งคู่มีการอ้างว่าตนได้เป็นเจ้าของหุ้นในบริษัทแห่งนั้น จะนำหลักฐานซึ่งก็คือสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นมาใช้เพื่อเปิดดูผู้ถือหุ้นดังกล่างได้ ซึ่งหากตามสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นปรากฏเป็นชื่อของใครคนใดก็สามารถสันนิษฐานก่อนได้ตามกฎหมายเลยว่าเป็นจริงตามสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ทั้งนี้อีกฝ่ายหนึ่งสามารถนำเอกสารหรือหลักฐานอื่น รวมทั้งพยานมาเพื่อหักล้างเอกสารทะเบียนผู้ถือหุ้นได้เช่นกัน
ทั้งนี้การไม่ทำใบหุ้นถือที่ไม่เสร็จสมบูรณ์ถือได้ว่ามีความผิดตามกฎหมาย ต้องเสียค่าปรับ ใบหุ้นจะต้องไม่เสียรค่าธรรมเนียมเกิดที่กฎหมายกำหนด และจะต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนด้วยเช่นกัน โดยแบ่งกรณีค่าปรับได้ ดังต่อไปนี้
ค่าปรับกรรมการที่กระทำหรือละเว้น ไม่เกินห้าหมื่น
การโอนหุ้นตามกฎหมายนั้นไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากบริษัทแต่อย่างใด ถือเป็นความชอบของบุคคลผู้ถือหุ้นเองได้เลย หุ้นจึงเป็นกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรมเสมือนเป็นกรมธรรม์ที่จะสามารถเปลี่ยนมือกันได้ การโอนหุ้นจึงสามารถทำได้โดยารสมัครใจของผู้ถือหุ้นและผู้รับโอนหุ้น ตามกฎหมายมาตรา 1129 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 (ฉบับที่ 2) ซึ่งวิธีการโอนหุ้นโดยหลักกฎหมายแล้ว จะต้องมีการลงลายมือรับรองทั้งผู้โอนหุ้นและผู้รับโอนหุ้น โดยจะต้องมีพยานอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อลงลายมือชื่อรับรองด้วย มิเช่นนั้นก็จะถือว่าเป็นโมฆะ อนึ่งตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนนั้นด้วย และที่สำคัญการโอนหุ้นต้องมีการทำใบโอนหุ้นเป็นเอกสารเรียกว่าเป็น หนังสือสัญญาโอนหุ้น
ข้อยกเว้นการโอนหุ้น หากว่าหุ้นนั้นเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นโดยมีข้อบังคับของบริษัทกำกับและกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นที่ไม่สามารถโอนหุ้นหรือเปลี่ยนมือกันได้ เช่น บริษัทได้มีข้อบังคับว่า หากผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งต้องการโอนหุ้นให้แก่ผู้อื่น จะต้องทำการเสนอใบหุ้นที่จะโอนให้แก่ผู้ถือหุ้นภายในบริษัทเพื่อมีการรับซื้อก่อน ถ้าผู้ถือหุ้นของบริษัทไม่มีใครต้องการรับซื้อแล้วบุคคลนั้นที่ต้องการขายหรือโอนหุ้นจึงจะสามารถโอนหุ้นให้แก่บุคคลภายนอกได้ตามข้อบังคับ โดยถือว่าผูกพันผู้ถือหุ้นทุกคนและเมื่อได้จดทะเบียนและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็เป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงโดยไม่เลือกว่าผู้นั้นเกี่ยวข้องกับบริษัทหรือไม่ ตามมาตรา 1022 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 (ฉบับที่ 2) ซึ่งหมายความว่าหากมีการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ โดยมีการฝ่าฝืนคำสั่งข้อบังคับนี้แล้ว จะถือได้ว่าการโอนนั้นมิชอบ แม้ว่าผู้รับโอนจะไม่รู้ถึงขอบังคับนั้นก็ตาม ก็จะนำมายกขึ้นเถียงไม่ได้ เพราะถือได้ว่าข้อบังคับนี้ได้จดทะเบียนและประกาศใยราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวง
สำหรับเรื่องใบหุ้นเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำออกมาเป็นเอกสารหลักฐานที่ผู้ถือหุ้นเองต้องได้รับ และบริษัทต้องมีการจัดเก็บหลักฐานด้วย โดยจะต้องมีการลงลายมือชื่อและรายละเอียดเอกสารดังที่ได้กล่างมาข้างต้นด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามสิทธิ์เรื่องหุ้นยังมีข้อกฎหมาย รวมทั้งละเอียดยกเว้นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์มากมาย ผู้ถือหุ้นควรศึกษาเพื่อผลประโยชน์โดยชอบของตนเอง ทั้งนี้เรื่องใบหุ้นที่ต้องตระหนักไว้เสมอว่า ผู้ถือหุ้นควรศึกษาข้อบังคับซึ่งเป็นรายละเอียดของบริษัทได้กำหนดไว้แล้วด้วยเช่นกัน เพื่อได้ไม่เสียเปรียบ รวมทั้งบริษัทเองก็ต้องชี้แจ้งและออกใบหุ้นให้ตรงเวลาและมีการจัดเก็บหลักฐานไว้เป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน
การพิสูจน์หลักฐาน เป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่สุดในกระบวนการยุติธรรม เพราะสามารถนำเสนอ ข้อมูลที่มีความชัดเจน และ เป็นกลาง ที่สุดให้กับศาลและผู้
เจ้าของธุรกิจในไทย เป็นเจ้าของธุรกิจ ภาษาอังกฤษ อาชีพเจ้าของธุรกิจ เจ้าของธุรกิจ ต้องเรียนอะไร เจ้าของธุรกิจชื่อดัง เจ้าของธุรกิจ ลักษณะงาน เจ้าของธุรกิจ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 10 ข้อ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2561 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ แผนการสอน คุณลักษณะอันพึง
วิธีการจัดตั้งบริษัท ความสำคัญของการ จัดตั้งบริษัท ขั้น ตอน การ จดทะเบียน บริษัท คนเดียว การจัดตั้งบริษัทจํากัด กี่คน การจดทะเบียนบริษัท มีกี่แบบ การจัดตั้ง
วิเคราะห์ความเสี่ยงในการ ลงทุน ความเสี่ยงเฉพาะตัว คืออะไร ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน ความเสี่ยงในการลงทุนทั้งระบบ คืออะไร การลดความเสี่ยง
ภงด 53 คือ ใครบ้าง? ที่เป็นผู้หัก และ ผู้ถูกหัก วิธีคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย อัตราการหัก ในแต่ละประเภทที่ใช้ หลักๆ ความรับผิดของผู้มีหน้าที่หักภาษี