หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน แบบนี้ไม่เคยมีใครบอกคุณ 7 หมายเหตุ?

Click to rate this post!
[Total: 100 Average: 5]

หมายเหตุประกอบงบ

หมายเหตุประกอบงบการเงิน Notes To Financial Statement คืออะไร

คำว่าหมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นภาษาทางบัญชีมาจากคำว่า Notes To Financial Statement คือวิธีการเปิดเผยข้อมูลอีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้หมายเหตุซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน ข้อมูลที่จัดทำขึ้นในรูปหมายเหตุจะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากข้อมูลบางชนิด เช่น ข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลขไม่อาจจะแสดงในงบการเงินได้ นอกจากนั้น อาจมีข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องให้รายละเอียดมากขึ้นเพื่อความเข้าใจอันดี อย่างไรก็ดี หมายเหตุนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะจัดทำขึ้นเพื่อแทนการจัดประเภท การกำหนดมูลค่า หรือคำอธิบายที่ถูกต้องในงบการเงิน ดังนั้นข้อความในหมายเหตุจึงไม่ควรขัดแย้งหรือซ้ำกับข้อมูลในงบการเงิน รายการที่ควรจะแสดงไว้เป็นหมายเหตุในงบการเงินได้แก่

หมายเหตุประกอบงบ

  1. วิธีการบัญชีหรือการเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชี ในการวิเคราะห์งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน จำเป็นต้องทราบวิธีการบัญชีและผลจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชี เนื่องจากวิธีการบัญชีที่ใช้นี้มีผลต่อข้อมูลที่ปรากฏในงบการเงินเป็นอย่างมาก การเปิดเผยการเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีโดยใช้หมายเหตุจึงเหมาะสมกว่าวิธีอื่นๆเพราะหมายเหตุอาจอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการบัญชีที่ใช้อยู่เดิม วิธีการบัญชีใหม่ รวมทั้งการแสดงผลต่างได้อย่างละเอียด การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีอาจจะแยกออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
    • การเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชี (Change In Accounting Principles) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปจากหลักการบัญชีหนึ่งเป็นอีกหลักการบัญชีหนึ่ง หรือการเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีที่ถือปฏิบัติ เช่น เคยใช้วิธีตีราคาสินค้าคงเหลือตามวิธีได้ก่อนจ่ายก่อน (First In First Out) มาเป็นวิธีได้หลังจ่ายก่อน (Last In First Out) เป็นต้น เนื่องจากการปฏิบัติทางการบัญชีนั้นมักจะปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ ฉะนั้นการเปลี่ยนหลักการบัญชีจึงมักจะเปลี่ยนจากหลักการบัญชีเดิมไปใช้หลักการบัญชีที่ให้ผลดีขึ้น วิธีการปฏิบัติในการเปลี่ยนหลักการบัญชีมีดังนี้
  • การรายงานในงวดปัจจุบันใช้หลักการบัญชีใหม่
  • ผลแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชีให้แสดงรายการปรับปรุงในงบกำไรขาดทุนงวดปัจจุบันระหว่างรายการพิเศษและกำไรสุทธิ
  • แสดงรายงานทางการเงินงวดก่อนเช่นเดียวกับการรายงานในงวดก่อนๆ
  • แสดงข้อมูลในงบกำไรขาดทุนโดยประมาณและกำไรต่อหุ้นตามงบการเงินในงวดก่อน
  • เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชีต่อกำไรสุทธิประจำปีไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  • แสดงให้ทราบว่าถ้าหากว่าใช้หลักการบัญชีใหม่นั้นจะทำให้กำไรสุทธิในปีก่อนเปลี่ยนแปลงไปเท่าไร
    • การเปลี่ยนแปลงในการประมาณทางการบัญชี (Change In Accounting Estimate) มีลักษณะเช่นเดียวกับการแก้ไขและปรับปรุงรายการปกติหรือรายการที่เกิดขึ้นใหม่ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงการประมาณตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่หรือข้อมูลที่ได้มาใหม่หรือได้เพิ่มเติมซึ่งถือว่ารายการที่ทำไว้ในปีก่อนๆไม่มีการผิดพลาด เพียงแต่ว่าได้ข้อมูลไม่เพียงพอหรือข้อมูลเปลี่ยนไปเท่านั้น ฉะนั้นรายการปรับปรุงควรแสดงดังนี้
  • ใช้ข้อมูลใหม่ในการรายงานทางการเงินทั้งในงวดปัจจุบันและอนาคต
  • ใช้ข้อมูลเดิมในการรายงานทางการเงินในงวดก่อน
  • ไม่ต้องทำการปรับปรุงรายการใดๆในงบดุลต้นงวด
    • การเปลี่ยนแปลงหน่วยงานที่เสนองบการเงิน (Change In The Reporting Entity) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานทางการบัญชีที่จัดทำรายงานทางการเงิน โดยการเปลี่ยนแปลงจากหน่วยงานทางการบัญชีประเภทหนึ่งไปเป็นหน่วยงานอีกประเภทหนึ่ง เช่น จากบริษัทเดียวเป็นบริษัทในเครือ จากบริษัทเดียวเป็นหน่วยงานที่มีสำนักงานใหญ่และสาขาเป็นต้น หากมีการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานดังกล่าวควรจะปฏิบัติดังนี้
  • เปิดเผยข้อมูลถึงสาเหตุและลักษณะของการเปลี่ยนแปลง
  • เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในกำไรก่อนรายการพิเศษกำไรสุทธิและกำไรต่อหุ้นในงวดบัญชีก่อน
  • ถ้าเสนองบการเงินในปีก่อนด้วยให้แก้ไขงบการเงินในปีก่อนเพื่อเสนอข้อมูลของหน่วยงานใหม่
  1. กำไรหรือขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น โดยปกติแล้วสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหลายที่เกิดขึ้นในกิจการจะแสดงไว้ในงบการเงิน
  2. สิทธิเรียกร้องเหนือสินทรัพย์และลำดับแห่งสิทธินั้น ข้อมูลชนิดหนึ่งที่ผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้นของกิจการต้องทราบก็คือหนี้สินหรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อกิจการ
  3. รายการเปลี่ยนแปลงทุนเรือนหุ้นหรือสิทธิของผู้ถือหุ้น ถ้ากิจการมีรายละเอียดเกี่ยวกับทุนเรือนหุ้นไม่มากนัก มักจะแสดงไว้ในวงเล็บต่อท้ายรายการนั้น เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าหุ้น
  4. สัญญาหรือภาระผูกพัน โดยปกติแล้วเมื่อกิจการทำสัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดจะไม่ทำการบันทึกรายการในบัญชี เพราะถือว่าไม่มีเหตุการณ์ใดที่จะกระทบเทือนรายการทางการเงิน เช่น สัญญาเช่าระยะยาว สัญญาขายล่วงหน้า ซึ่งกิจการคาดว่าถ้าหมดอายุสัญญาเช่าแล้วจะต่อสัญญาเช่าใหม่
  5. นโยบายการบัญชี หมายถึงการจัดทำงบการเงินควรจะระบุนโยบายการบัญชีที่ใช้ในกิจการนั้นโดยแสดงไว้ในหมายเหตุใต้หัวข้อสรุปนโยบายการทำบัญชี
  6. รายการระหว่างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกัน เช่น การกู้ยืมเงินระหว่างกิจการโดยไม่จ่ายดอกเบี้ย หรือจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงหรือต่ำกว่าปกติ
  7. รายการที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม จากสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันรัฐบาลตลอดจนกลุ่มชนต่างๆในสังคมต่างก็เรียกร้องให้ธุรกิจรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ในบางประเทศจึงมีการเปิดเผยค่าใช้จ่ายที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ เงินอุดหนุนสถานศึกษา เงินบริจาคให้แก่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย เงินบริจาคเพื่อสาธารณกุศล เงินช่วยเหลือคนว่างงาน เงินช่วยเหลือเพื่อพัฒนาชนบท เป็นต้น

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ศีล5
มะข้ามป้อม
221579
กาแฟสำเร็จรูป
การตลาดเพื่อสังคม
218248
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 158149: 1237