คู่มือจัดตั้งบริษัท

วิธีรู้ก่อนได้เปรียบจัดตั้งบริษัทจํากัดผู้เป็นเจ้าของ 5 วิธี?

Click to rate this post!
[Total: 131 Average: 5]

วิธีการจัดตั้งบริษัท

เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดตั้ง บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัดคือ รูปแบบการดำเนินงานทางธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่ง ทำโดยการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น หุ้นละเท่ากัน ผู้ถือหุ้นทุกคนจำกัดความรับผิดชอบเพียงเงินที่ลงทุนในหุ้นที่ถือเท่านั้น ส่วนใหญ่ผู้เป็นเจ้าของกับผู้บริหารจะเป็นคนละคนกัน การลงทุนในบริษัทจำกัดจะออกมาในรูปของการถือหุ้นซึ่งกิจการประเภทบริษัทจำกัดจะต้องออกหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ์ ผู้ถือหุ้นจะมีจำนวนมากรายละเอียดเกี่ยวกับพวกนี้จะปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นที่ต้องการทราบตามกฎกระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ ทุนจดทะเบียน ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กำไรสะสมที่จัดสรรเป็นสำรองตามกฎหมายและสำรองอื่นรวมทั้งกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร

การจัดตั้งบริษัท

ถ้ามองในกรณีผู้ซื้อหุ้นที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของบริษัทจำกัดก็จะหมายถึงผู้นำเงินมาลงทุนกับธุรกิจโดยการลงทุนผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทน 2 ประเภทคือเงินปันผลและกำไรขาดทุนที่เกิดจากส่วนต่างของราคาซื้อขายหุ้นทุนในบริษัท จำกัด นั้นๆ ซึ่งการคำนวณหาผลตอบแทนของหุ้นทุน สามารถคำนวณได้จากการนำผลรวมของผลตอบแทนทั้ง 2 ประเภทมารวมกัน ส่วนของการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนของหุ้นทุนก็สามารถคำนวณได้จากผลตอบแทนของหุ้นทุน หารด้วยราคาหุ้นทุนที่ซื้อมา

ความสำคัญของการ จัดตั้งบริษัท

ในการจัดตั้ง บริษัทในทางปฏิบัตินั้น ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทจะต้องมาประชุมกันเพื่อวางแผนในการจัดตั้งโดยต้องมีการวางแผนต่างๆดังนี้

  1. ชื่อและวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ชื่อบริษัทต้องมีคำว่าจำกัดไว้ที่ปลายชื่อเสมอ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจนว่าทำมาค้าขายอะไร มีขอบเขตแค่ไหน
  2. ทุนเรือนหุ้น ทุนของบริษัทแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกันต้องกำหนดจำนวนหุ้นที่จะจดทะเบียนและมูลค่าหุ้น หุ้นละเท่าไหร่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งกำหนดไว้ว่าอันมูลค่าของหุ้น หุ้นหนึ่งนั้น มิให้ต่ำกว่าห้าบาท การจำหน่ายหุ้นจะจำหน่ายต่ำกว่าราคาที่ตราไว้ไม่ได้ แต่จะจำหน่ายสูงกว่าราคาที่ตราไว้ได้ การส่งเงินค่าหุ้นครั้งแรกนั้นต้องมิให้น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของมูลค่าหุ้นที่ตั้งไว้ บริษัทต้องมีสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นด้วย หุ้นทุนของบริษัทสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ
  • หุ้นสามัญ คือหุ้นที่บริษัทนำออกขายให้บุคคลทั่วไป โดยมิได้กำหนดสิทธิพิเศษเอาไว้นอกเหนือจากสิทธิที่ผู้ถือหุ้นพึงมีตามกฎหมาย นั่นคือ สิทธิในการเข้าประชุม สิทธิในการออกเสียงหรือลงมติหรือลงคะแนนในที่ประชุม สิทธิในการรับส่วนแบ่งกำไรคือ เงินปันผลตามที่บริษัทประกาศจ่ายเป็นปีๆไป สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนในกรณีบริษัทเพิ่มทุนและกำหนดให้ผู้ถือหุ้นเดิมมีสิทธิซื้อได้ตามที่บริษัทกำหนด ในกรณีบริษัทเลิกกิจการผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในสินทรัพย์ของบริษัทหลังจากได้ชำระหนี้สินของบริษัทเรียบร้อยแล้ว และหุ้นสามัญ คือ หุ้นที่ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลจ่าย และ ส่วนต่างของราคาหุ้นที่ขายได้
  • หุ้นบุริมสิทธิ คือ หุ้นที่บริษัทออกจำหน่ายให้บุคคลทั่วไปโดยกำหนดสิทธิพิเศษไว้นอกเหนือจากสิทธิที่ผู้ถือหุ้นสามัญพึงมี เช่น สิทธิในการรับเงินปันผลคืออาจได้เงินปันผลมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ สิทธิในการรับเงินปันผลทุกปีโดยปีใดไม่จ่ายก็ให้นำไปสมทบจ่ายในปีถัดไป สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนและสิทธิในการรับทุนคืนก่อนหุ้นสามัญเมื่อบริษัทประกาศเลิกกิจการค้า เป็นต้น และ หุ้นบุริมสิทธิ คือ หุ้นที่มีสิทธิเหนือกว่าหุ้นสามัญของบริษัทจำกัด ได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญและเมื่อกิจการเลิก หรือทำการชำระบัญชีก็ได้รับคืนทุนก่อนหุ้นสามัญโดยหุ้นบุริมสิทธิมีหลายประเภทด้วยกัน

ความสำคัญของบริษัท

  1. สำนักงานของบริษัท ซึ่งจดทะเบียนไว้ว่าจะตั้งอยู่ ณ. ที่ใดในประเทศไทยซึ่งจะต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจนเพื่อเป็นหลักฐานในการติดต่ออย่างเป็นทางการกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
  2. คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ ในการบริหารงานของบริษัทนั้นจะต้องมีคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกัน ในเรื่องการใช้เงินค่าหุ้นได้ใช้กันจริง ดูแลความเรียบร้อยของสมุดบัญชีและเอกสารที่กฎหมายกำหนด การจ่ายเงินปันผลและปฏิบัติตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ถ้ากรรมการมีอำนาจจัดการงานของบริษัทได้โดยลำพังตัว ให้แสดงอำนาจของกรรมการนั้นๆว่าคนไหนมีอำนาจในขอบเขตแค่ไหน เพียงใดและกรรมการผู้ใดมีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทได้ เจ้าหน้าที่ระดับบริหารงาน เช่น ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้จัดการอาจเป็นกรรมการบริษัทก็ได้ ตำแหน่งที่เรียกอาจจะเปลี่ยนไปเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่หรือกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ก็ได้
  3. กำหนดเวลาในการดำเนินงาน ถ้าบริษัทตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวให้กำหนดระยะเวลาลงไปด้วย โดยทั่วไปการจัดตั้ง บริษัทจำกัดนั้น จะไม่มีการกำหนดระยะเวลาว่าจะเลิกกิจการเมื่อไหร่ การดำเนินงานทำต่อๆกันไปจนถึงรุ่นหลานก็ยังไม่เลิกกิจการ จะเลิกก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์จำเป็นต้องเลิก เช่น บริษัทล้มละลาย ผู้ถือหุ้นมาประชุมพร้อมกันและลงมติให้เลิกกิจการเป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ถือหุ้นไม่เป็นสาระสำคัญ คือ ถ้าผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดตาย ล้มละลายหรือเป็นผู้ที่ไร้ความสามารถ บริษัทก็ยังดำเนินกิจการต่อไปได้ ผู้ถือหุ้นอาจโอนหุ้นของตนให้กับผู้ใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่เป็นหุ้นที่ระบุไว้ในข้อบังคับของบริษัทว่าห้ามโอน

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

การ์ตูนและการสร้างตัวละครและจักรวาล
ปริมาตรของทรงกระบอกคำนวณ
จำนวนเฉพาะสามารถหาได้อย่างไร
วิธีดูยางรถยนต์
ฝันเห็นงู
ในการศึกษาและวิจัย
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 158835: 1512