เปรียบเทียบบมจ.

เปรียบเทียบ บมจ บจก มีตัวอย่างชี้ข้อบกพร่องแบ่งทุนเป็น 2 ข้อ?

Click to rate this post!
[Total: 182 Average: 5]

บมจ บจก

ทำความรู้จักกับ บริษัทจำกัดและบริษัทจำกัด (มหาชน)

บริษัท จำกัดแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ บริษัทเอกชน จำกัด และ บริษัท จำกัด (มหาชน)

  1. บริษัทเอกชนจำกัด คือ บริษัทประเภทที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น หุ้นละเท่าๆกัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงทุนไปในหุ้นของบริษัท โดยมีผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทตั้งแต่ 7 คน ขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วไปจดทะเบียน และเมื่อจดทะเบียนผู้เริ่มก่อตั้งจัดให้มีการจัดซื้อหุ้นสามัญของบริษัทจนครบ เมื่อจัดตั้งบริษัทได้แล้วต้องมีการจัดประชุมเพื่อแต่งตั้งกรรมการบริษัท
  2. บริษัท จำกัด (มหาชน) คือ บริษัทที่มีการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีชื่อย่อว่า กลต. โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบจำกัดจำนวน ไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ชำระ และมีผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทอย่างน้อย 15 คน และไม่มีการกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเอาไว้

บมจ บจก

ข้อดีของธุรกิจประเภท บริษัท จำกัด

  • สามารถรวบรวมเงินทุนได้เป็นจำนวนมาก จากการขายหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ
  • หุ้นบริษัทสามารถเปลี่ยนมือง่าย
  • สามารถขยายงาน หรือควบกิจการกับบริษัทอื่นได้ง่ายกว่าห้างหุ้นส่วน
  • เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น ถ้าผู้ถือหุ้นตาย หรือลาออก ในกรณีเป็นห้างหุ้นส่วนต้องเลิกกิจการ

ข้อเสียของธุรกิจประเภท บริษัท จำกัด

  • เกิดความขัดแย้งนโยบายการบริหารงาน จากการที่ผู้บริหารและเจ้าของบริษัท หรือผู้ถือหุ้นต่างมองเป้าหมายคนละทาง โดยเจ้าของจะมองที่ราคาต่อหุ้นสูงๆ การจ่ายเงินปันผลสูงๆ ซึ่งสามารถขายหุ้นได้ในราคาที่สูง
  • เสียภาษีซ้ำซ้อน เสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าบุคคลธรรมดา และห้างหุ้นส่วนธุรกิจ

หน้าที่ของบริษัท จำกัด

บริษัท จำกัด ต้องทำงบการเงินอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบ 12 เดือน โดยต้องมีผู้สอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคนทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของบริษัท จำกัด แล้วเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับตั้งแต่วันสิ้นงวดบัญชี พร้อมยื่นงบการเงินต่อสำนักงานบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน ซึ่งถ้าบริษัท จำกัด ไม่นำส่งงบการเงินมีระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

เงื่อนไขและข้อกำหนดของบริษัท จำกัด

  1. อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  2. ไม่สามารถเสนอขายหุ้นกับบุคคลภายนอกหรือประชาชนที่สนใจได้
  3. ผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทอย่างน้อย 7 คนขึ้นไป
  4. ทำการซื้อขายในตลาดแรกเพียงอย่างเดียว
  5. ไม่สามารถทำหนังสือชี้ชวนซื้อหุ้นของบริษัทได้
  6. การเพิ่มทุนนั้นสามารถทำได้โดยขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนที่ได้ครอบครองไว้เพื่อรักษาสัดส่วนในการบริหาร
  7. ไม่สามารถ Take Over โดนควบกิจการได้จากบุคคลภายนอก

หน้าที่ของบริษัท จำกัด (มหาชน)

บริษัทมหาชน        บริษัท จำกัด (มหาชน) ต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นสามัญ วันประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีต่อนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่เสร็จการประชุม และบริษัทจะต้องจัดส่งรายงานประจำปีสำเนางบการเงิน สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่เกี่ยวกับการอนุมัติงบการเงิน การจัดสรรกำไรและการแบ่งเงินปันผลไปยังนายทะเบียนภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ ที่ประชุมอนุมัติงบการเงินนั้นและต้องโฆษณาทางหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 วัน และบริษัท จำกัด (มหาชน) ต้องทำการจัดทำและเก็บรักษา บัญชี งบดุล งบกำไรขาดทุน รวมทั้งผู้สอบบัญชีตรวจสอบและนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ

เงื่อนไขและข้อกำหนดของบริษัท จำกัด มหาชน

  1. อยู่ภายใต้กฎหมายพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนปี 2535, 2544 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2535
  2. เสนอขายหุ้นให้กับบุคคลภายนอกหรือประชาชนที่สนใจในการลงทุนได้
  3. ผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทอย่างน้อย 15 คนขึ้นไป
  4. ทำการซื้อขายได้ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง
  5. สามารถทำหนังสือชี้ชวนซื้อหุ้นของบริษัทได้
  6. สามารถเพิ่มทุนโดยการออกจำหน่ายหุ้นให้กับประชาชนได้อีก แล้วแต่มติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร
  7. อาจ Take over โดนควบกิจการได้จากบุคคลภายนอกถ้าธุรกิจถือหุ้นน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของบริษัทซึ่งน้อยกว่า 51%

โครงสร้างของตลาดเงิน

โครงสร้างตลาด

ตลาดเงิน หมายถึง ตลาดเงินและตลาดทุน หรือตลาดหุ้นซึ่งมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากหน้าที่ในการระดมเงินออม ซึ่งตลาดเงินนั้นจะมีตลาดแรกและตลาดรองเป็นตลาดที่เกิดขึ้นในตลาดทุนที่ทำการระดมทุนในระยะยาวเกิน 1 ปีโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

  1. ตลาดแรก หรือตลาดหลักทรัพย์ที่นำออกมาจำหน่ายครั้งแรก โดยเป็นหลักทรัพย์ที่ถูกเสนอขายโดยบริษัท มหาชน จำกัด ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.) เป็นการระดมทุนโดยตรงจากประชาชนที่นำเงินออมมาลงทุนในตราสารหนี้ หรือ ตราสารทุน เช่น หุ้นกู้ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ส่วนทางบริษัทมหาชนก็ได้เงินทุนเพื่อนำไปดำเนินงานและลงทุนในโครงการที่เหมาะสมโดยจ่ายผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเงินปันผล
  2. ตลาดรอง หรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นการซื้อ หรือ ขายหลักทรัพย์ที่ได้มีการเสนอขายต่อประชาชนแล้ว หรือหลักทรัพย์ที่มีการซื้อ หรือ ขายในตลาดแรก ตลาดรองมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้เกิดสภาพคล่องขึ้นในหลักทรัพย์ และส่งเสริมการซื้อขายในตลาดแรก ตลาดรองที่สำคัญในประเทศได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์การซื้อ หรือ ขายตราสารหนี้เป็นต้น

สนใจจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยทีมงาน รับจดทะเบียนบริษัท ด่วน

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 159695: 1701