งบประมาณเงินสด

แนวงบประมาณเงินสดสิ่งนี้ไม่เคยมีใครบอกคุณของธุรกิจนั้น 4 แนว

Click to rate this post!
[Total: 150 Average: 5]

งบประมาณเงินสด

งบประมาณเงินสดและการประมาณการเงินสด

งบประมาณเงินสดและการประมาณการเงินสด (Cash Budget) ในการดำเนินงานของธุรกิจนั้นเพื่อให้การปฏิบัติงานของแต่ละฝ่ายเป็นไปด้วยความคล่องตัวและเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ธุรกิจจำเป็นต้องมีการประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเพื่อการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับกระแสเงินสดของกิจการ การจัดเตรียมงบประมาณเงินสดเป็นการแสดงให้กิจการได้ทราบถึงแนวทางในการบริหารเงินสดของกิจการในงบประมาณเงินสดจะระบุถึงเงินสดโดยประมาณที่กิจการจะได้รับเข้ามาในแต่ละช่วงเวลา (รายเดือนหรือรายไตรมาส) และเงินสดโดยประมาณที่กิจการจะต้องจ่ายออกไป

งบประมาณเงินสด

ดังนั้นจำนวนเงินสดคงเหลือที่มีจำนวนมากจะช่วยให้ผู้บริหารของกิจการสามารถทำการตัดสินใจนำเงินสดคงเหลือไปลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่กิจการ ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนเงินสดคงเหลือมีน้อยหรือเงินสดขาดมือ จะเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องหาเงินสดเข้ามาชดเชยด้วยการกู้ยืมเงินจากธนาคาร หรือสถาบันการเงินหรือใช้วิธีการจำหน่ายสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่ เนื่องจากการหาแหล่งเงินสดฉุกเฉินเมื่อต้องการใช้ทันทีนั้นต้นทุนของเงินจะสูงหรือหากหาแหล่งเงินสดไม่ได้อาจทำให้กิจการเสียหายเพราะขาดสภาพคล่อง การบริหารเงินสดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จและความล้มเหลวทางการเงินของกิจการผู้บริหารโดยทั่วไปจึงให้ความสำคัญอย่างมากต่อการจัดทำงบประมาณของกิจการผู้บริหารโดยทั่วไปจึงให้ความสำคัญอย่างมากต่อการจัดทำงบประมาณเงินสด

ความแตกต่างระหว่างงบประมาณเงินสดและงบกระแสเงินสด

งบประมาณเงินสดเป็นตัวเลขที่กิจการประมาณไว้ล่วงหน้าก่อนเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจริง เมื่อตัวเลขกระแสเงินสดเกิดขึ้นจริงแล้วจึงนำตัวเลขเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับงบประมาณเงินสดที่กิจการตั้งไว้ ส่วนแตกต่างที่เกิดขึ้นนั้นกิจการนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุเมื่อปรับปรุงแก้ไขเป็นลำดับต่อไป แต่ถ้าเป็นส่วนแตกต่างในแง่ดีหรือบวก ฝ่ายบริหารอาจส่งเสริมให้รางวัลหรือประกาศให้พนักงานทราบเพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดขึ้นอีก งบกระแสเงินสดเป็นรายงานทางการเงินรายงานหนึ่ง งบกระแสเงินสดจะแสดงแหล่งที่มาและแหล่งที่ใช้ไปของเงินสดในงวดบัญชีที่พิจารณาตัวเลขที่เกิดขึ้นในวบกระแสเงินสดเป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้วในระหว่างงวดบัญชี ในงบกระแสเงินสดแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการดำเนินงานกิจกรรมการลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน

แนวทางการจัดทำงบประมาณ

งบประมาณ

แนวทางที่ใช้ในการจัดทำงบประมาณมีความสำคัญมากพอๆ กับข้อมูลตัวเลขที่จะใช้แสดงในรายงานงบประมาณ แนวทางการจัดทำงบประมาณมีดังนี้

  1. วางนโยบายไว้ให้เพื่อผู้บริหารทุกระดับจะได้ทำงานโดยมีข้อสมมุติฐาน เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และจังหวะเวลาการทำงานเหมือนกัน
  2. ให้เจ้าหน้าที่ในทุกระดับหน่วยงานมีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณของหน่วยงานของตน เพราะหากให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณแล้ว จะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของและพอใจ เต็มใจที่จะทำงาน
  3. แนวทางการทำงบประมาณที่วางไว้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้พนักงานเกิดความไม่สบายใจในการปฏิบัติงาน หรือการต่อต้านของพนักงานแต่ละคนควรมีอิสระพอสมควร และมีโอกาสทำงานได้เต็มที่ตามความสามารถของเขา และรับผิดชอบผลงานที่ตนกระทำไป
  4. มีการจัดเตรียมงบประมาณเป็นลำดับๆขึ้นไป เพื่อช่วยให้กิจการมีโอกาสได้รับผลสำเร็จในการดำเนินงานตามเป้าหมาย เมื่อสามารถทำงานตามเป้าหมายทุกๆหน่วยงานก็มีความพอใจ ยินดี และภาคภูมิใจในความสำเร็จของตน

การจัดเตรียมงบประมาณ

การจัดเตรียมงบประมาณ (Budget Preparation) ในการจัดทำงบประมาณทุกหน้าที่และกิจกรรมของธุรกิจจะมีความเกี่ยวกันกับแผนงานที่วางไว้ เช่นแผนงานของแผนกผลิตจะต้องโยงเข้ากับแผนงานของแผนกขาย ถ้ามีการสั่งสินค้าจำนวนมากๆ แผนกผลิตสินค้าควรมีสินค้ารองรับอยู่ตลอดเวลา วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะต้องถูกสั่งเพื่อจะได้มีเวลารับใบเสร็จจากตัวแทนจำหน่าย (Supplier) และเวลาที่ใช้ในการผลิต

ส่วนประกอบของงบประมาณเงินสด มี 4 ประการคือ

  1. เงินสดรับ หรือแหล่งที่มาของเงินสด (Cash Receipts)
  2. เงินสดจ่าย หรือแหล่งใช้ไปของเงินสด (Cash Disbursements)
  3. เงินสดส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง (Cash Excess or Deficiency)
  4. ความต้องการด้านการเงิน (Financing Requirements)

ในส่วนรายรับของงบประมาณเงินสดจะเชื่อมโยงกับเงินสดต้นงวดและรายรับเงินสดสำหรับระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติแหล่งที่มาของรายรับเงินสดคือการสะสมเงินเครดิตของลูกหนี้ และเงินสดจากการขายส่วนของเงินสดรับอื่นๆเช่น ดอกเบี้ยจากการลงทุนต่างๆ เงินปันผลรับ การกู้ยืม การออกหุ้นเพิ่มทุนเป็นต้น ในส่วนการจ่ายเงินสดประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่ใช้เงินสดทุกอย่างในระยะเวลางบประมาณค่าใช้จ่ายนี้รวมค่าใช้จ่ายสำหรับวัตถุดิบ แรงงาน ค่าใช้จ่ายในการผลิต และค่าใช้จ่ายการบริหาร เงินสดส่วนเพิ่มขึ้นหรือลดลงจะบ่งชี้ถึงความแตกต่างระหว่างเงินสดรับกับเงินสดจ่าย จะมีความสำคัญเพราะแสดงถึงเงินรวมที่จะต้องขอยืม ถ้ามีสภาวะการขาดเงินเกิดขึ้นหรือในสภาวะมีเงินส่วนเกิน บริษัทสามารถวางแผนการลงทุนในส่วนเงินลดส่วนที่เกินด้วย

การจำแนกงบประมาณเงินสด

การจำแนกงบประมาณ

งบประมาณเงินสดสามารถแบ่งตามระยะเวลาออกได้เป็น 2 ลักษณะดังนี้

  1. งบประมาณเงินสดระยะยาว เป็นแผนระยะยาวเป็นแผนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของกิจการในรูปเงินสดในแต่ละปีโดยการขยายการลงทุน หรือการทดแทนสินทรัพย์ถาวรเดิมที่หมดอายุการใช้งานแล้ว
  2. งบประมาณเงินสดระยะสั้น เป็นการประมาณเงินสดที่กิจการจะได้รับจากแหล่งต่างๆ เช่นรายได้หลักของกิจการ รายได้เบ็ดเตล็ด จากการกู้ยืม การออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน จากการขายสินทรัพย์ถาวร

ดังนั้นในการทำงบประมาณเงินสด นอกจากการใช้ข้อมูลจากการวางแผนสำหรับปีงบประมาณที่กำลังจัดทำแล้ว ยังใช้ข้อมูลบางส่วนจากปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งยังไม่สิ้นสุดลง ดังนั้นหากสถานการณ์การเงินของปีปัจจุบันต่างไปจากงบประมาณที่วางไว้ ซึ่งเป็นงบประมาณที่กำลังใช้อยู่อย่างมาก ก็ควรจะได้ทำประมาณการเสียใหม่โดยดูจากยอดเงินคงเหลือในมือ  เพื่อให้สถานการณ์เงินสดซึ่งแสดงในงบประมาณเงินสดใกล้เคียงความจริงมากขึ้น

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ปิดกิจการ
221281
กลอนสุภาพคืออะไร
วัตถุที่สามารถสะท้อนแสงได้
เครื่องหมายวรรคตอนแบ่ง
220529
ค่าเสื่อมราคา
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 159827: 1256