จดทะเบียนบริษัททัวร์
- เปิดบริษัททัวร์
การจะเปิดบริษัทนำเที่ยวได้จะต้องศึกษากฎหมายตาม หลัก ๆ ตาม พระราชบัญญัติ ธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการทำบริษัททัวร์ ทั้งนี้ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และครอบคลุมกับการท่องเที่ยวหรือลักษณะการบริการอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น พระราชบัญญัติ โรงแรม พ.ศ.๒๕๔๗ พระราชบัญญัติ สถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๔ หรือ พระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๒ เป็นต้น
ความหมาย
- ธุรกิจนําเที่ยว หมายความว่า ธุรกิจเกี่ยวกับการนํานักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวหรือ เดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีบริการหรือการอํานวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง อันได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ หรือบริการอื่นใดตามที่กําหนดใน กฎกระทรวง
- นักท่องเที่ยว หมายความว่า ผู้เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อประโยชน์ในการ พักผ่อนหย่อนใจ การศึกษาหาความรู้ การบันเทิง หรือการอื่นใด
- มัคคุเทศก์ หมายความว่า ผู้ให้บริการเป็นปกติธุระในการนํานักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ ต่างๆ โดยให้บริการเกี่ยวกับคําแนะนําและความรู้ด้านต่างๆ แก่นักท่องเที่ยว
- ผู้นําเที่ยว หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการดูแลและอํานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ในการเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ
ประกอบกิจการทัวร์ เริ่มต้นบริษัทท่องเที่ยว
- ต้องการเปิดเป็นบริษัทต้องเริ่มด้วยต้นด้วยการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัทว่า ให้บริการการนำเที่ยว และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย หากระบุวัตถุประสงค์ที่ไม่เกี่ยวข้องจะไม่สามารถประกอบกิจการประเภทนี้ได้
- ต้องมีการวางหลักประกันซึ่งได้แก่ เงินสด หนังสือ ค้ำประกันของธนาคาร พันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไทย ค้ำประกันตนเงินและดอกเบี้ย อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ต่อนายทะเบียนเพื่อเป็น หลักประกันการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามจํานวนเงินทกี่ กำหนดในกฎกระทรวง
- ต้องจัดให้มีการประกันอุบัติเหตุให้แก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์และผู้นําเที่ยวในระหว่างเดิน ทางท่องเที่ยว
- ต้องชำระค่าธรรมเนียมประกอบธรุกิจนําเที่ยวทุกสองปี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง
- ท่องเที่ยว
การจดทะเบียนธุรกิจท่องเที่ยว
แบ่งธุรกิจการท่องเที่ยวได้เป็น 4 ประเภท พร้อมทั้งต้องวางเงินหลักประกันที่จะได้คืนเมื่อเลิกกิจการ
ขอใบอนุญาตท่องเที่ยว ดังนี้
- การท่องเที่ยวทั่วไป
- การท่องเที่ยวเฉพาะพื้นที่ประเภททั่วไป ใบอนุญาตินี้จะทำให้คุณสามารถทำธุรกิจท่องเที่ยวได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศและต้องมีการชำระเงินประจำมัดจำไว้นจำนวน 200,000 บาท
- นำนักท่องเที่ยวเข้ามาภายในประเทศ
- ประเภทนำนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ เป็นการทำธุรกิจท่องเที่ยวกับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาและนักท่องเที่ยวที่ใช้บยริการ เป็นการเที่ยวในประเทศไทย และสามารถจัดการท่องเที่ยวแบบ Inbound และแบบ Domestic ได้เท่านั้นจำนวนเงินที่ต้องชำระคือ 100,000 บาท
- การท่องเที่ยวภายในประเทศ
- ประเภทในประเทศ ใบอนุญาติประเภทนี้คุณจะสามารถจัดการการท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวในประเทศเท่านั้นเป็นการเที่ยวแบบ Domestic ใช้เงินประกันอยู่ที่ 50,000 บาท
- การท่องเที่ยวประเภทเฉพาะพื้นที่
- ประเภทเฉพาะพื้นที่ ใบอนุญาตนี้สามารถจัดการการท่องเที่ยวได้เฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้นเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นใช้เงินประกันอยู่ที่ 10,000 บาท
การจดทะเบียนท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิคส์ เพื่อขอใบอณุญาติสำหรับการท่องเที่ยว หรือซื้อขายตั๋วท่องเที่ยว ทำทัวร์ ที่คุณสามารถนำมาจัดการธุรกิจท่องเที่ยวได้ในเว็บไซร์ โดยดำเนินการผ่านหน้าเว็บไซร์ได้เลย
การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว บุคคลธรรมดา
- ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว บุคคลธรรมดา
การออกใบอนุญาต ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
บุคคลธรรมดา
คุณสมบัติในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ดังนี้
- มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว
- มีสัญชาติไทย
- มีภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย (๒) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
- ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟันเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
- ไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวหรือ ใบอนุญาต เป็นมัคคุเทศก์
- หากถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับ กฎหมายการท่องเที่ยว ต้องพ้นมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี
กรณีนิติบุคคล
- เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
- วัตถุประสงค์เกี่ยวกับการ ท่องเที่ยว
- มีสำนักงานอยู่ในราชอาณาจักรไทย
- กรรมการหรือผู้มีอํานาจจัดการแทนนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติ
- มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว
- มีภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย (๒) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
- ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟันเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
- ไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวหรือ ใบอนุญาต เป็นมัคคุเทศก์
- หากถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับ กฎหมายการท่องเที่ยว ต้องพ้นมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี
- กรณีถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภท ไม่จํากัดความรับผิดต้องเป็นผู้มี สัญชาติไทย ถ้าเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด ต้องเป็นของบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย และกรรมการของบริษัทเกินกึ่งหนึ่งต้องเป็นผู้มี สัญชาติไทย
มัคคุเทศก์
การจะเป็นมัคคุเทศก์ ต้องยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จาก นายทะเบียน การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทน ใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
- มัคคุเทศก์
ขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
คุณสมบัติของมัคคุเทศก์ตามกฎหมาย
- มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
- มีสัญชาติไทย
- สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขามัคคุเทศก์หรือสาขาการ ท่องเที่ยวที่มีวิชาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์ หรือสําเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาในสาขามัคคุเทศก์หรือ สาขาการท่องเที่ยวที่มีวิชาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์ไม่น้อยกว่าที่คณะกรรมการกําหนดหรือได้รับวุฒิบัตร หรือหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ตามหลักสูตรที่คณะกรรมการกําหนด
- ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคติดต่อที่คณะกรรมการ กําหนด
- (ข) ไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์หรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจ นําเที่ยว
- ไม่อยู่ในระหว่งการเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามมาตรา ๔๖ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) หรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๓ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) และยังไม่พ้นกําหนดห้าปีนับถึง วันยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
- ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวตามมาตรา ๔๖ (๕) หรือใบอนุญาต เป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๓ (๕)
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
- ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวต้องแสดงใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวไว้วนที่ เปิดดเผยเห็นไดง่าย ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนําเที่ยวที่ระบุไว้ในใบอนญุาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว
- ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวต้องไม่กระทําการใดอันจะก่อให้เกิดความเสีย หายแก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว หรือนักท่องเที่ยว
- ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ กำหนด
- ในการโฆษณาหรือชี้ชวนเกี่ยวกับการนำเที่ยว ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
- ชื่อผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยว และสถานที่และเลขที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว
- ระยะเวลาที่ใช้ในการนําเที่ยว
- ค่าบริการและวิธีการชําระค่าบริการ
- ลักษณะและประเภทของยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง
- จุดหมายปลายทางและที่แวะพัก รวมทั้งสถานที่สําคัญในการนําเที่ยว
- ลักษณะและประเภทของที่พัก และจํานวนครั้งของอาหารที่จัดให
- จํานวนมัคคุเทศก์ หรือผู้นําเที่ยวในกรณีที่จัดให้มีมัคคุเทศก์หรือผู้นําเที่ยว
- จํานวนขั้นต่ำของนักท่องเที่ยวสําหรับการนําเที่ยวในกรณีมีเงื่อนไขว่าต้องมีนักท่องเที่ยวไม่น้อยกว่าจํานวนที่กําหนด
อัตราค่าธรรมเนียม
- ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท
- ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขา ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
- ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ฉบับละ ๓,๐๐๐ บาท
- ใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
- ใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขา ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
- ใบแทนใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
- การต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ครั้งละ ๕,๐๐๐ บาท
- การต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยวสาขา ครั้งละ ๒,๐๐๐ บาท
- การต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ครั้งละ ๓,๐๐๐ บาท
รหัสธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
รหัสธุรกิจ | ลายละเอียด |
---|
79110 | ตัวแทนธุรกิจการเดินทาง (Travel agency activities) บริการของธุรกิจตัวแทนที่เกี่ยวข้องเบื้องต้นในการขายหรือบริการด้านการเดินทาง การท่องเที่ยว การจัดหาพาหนะและที่พักแรมให้แก่สาธารณชนทั่วไปและแก่ลูกค้าทางธุรกิจ |
79120 | ธุรกิจจัดนำเที่ยว (Tour operator activities) การจัดรายการนำเที่ยวซึ่งขายผ่านตัวแทนธุรกิจการเดินทาง หรือขายโดยธุรกิจจัดนำเที่ยวโดยตรง รายการนำเที่ยวอาจรวมถึงการจัดหาพาหนะ ที่พักแรมอาหารและการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ สถานที่ทางประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรม การแสดงมหรสพ ดนตรีหรือกิจกรรมกีฬา รวมถึงการพาคนไปประกอบพิธีฮัจย์ และฮุมเราะห์ |
เช็ครหัสธุรกิจนำเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่ : https://tsic.dbd.go.th/index
เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน เทคโนโลยีกับการเรียนรู้ เทคโนโลยีการเรียนรู้ มีประเภทใดบ้าง ตัวอย่าง การสอนโดยใช้เทคโนโลยี วิจัย การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน การใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการ เรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษา สรุป
กําไรสุทธิทางบัญชี สูตร กําไรทางภาษี คือ กําไรสุทธิทางบัญชี คือ กําไรทางเศรษฐศาสตร์ และ กําไรทางบัญชี ต่างกันอย่างไร กําไรทางบัญชี กับกําไรทางเศรษฐศาสตร์
การอนุรักษ์พลังงาน ตัวอย่าง การอนุรักษ์พลังงาน หมายถึง การอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน การอนุรักษ์พลังงาน ฟิสิกส์ การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน ppt การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า การอนุรักษ์พลังงานถ่านหิน
ปลาหมอสีมีกี่สายพันธุ์ ปลาหมอสี พันธุ์ไหนดี ปลาหมอสี ราคาแพงที่สุด ปลาหมอสีเลี้ยงยากไหม ปลาหมอสี วิธีเลี้ยง ปลาหมอสีราคาถูก ขายปลาหมอสี ส่ง ทั่วไทย ปลาหมอสีตัวใหญ่ที่สุด ใกล้ฉัน ออนไลน์
จํานวนเฉพาะ 1-100 จํานวนเฉพาะ 1-1000000 จํานวนเฉพาะ คือ จำนวนเฉพาะ กับจำนวนธรรมชาติ แบบ ไหน เยอะ กว่า กัน จํานวนเฉพาะ มีอะไรบ้าง จํานวนเฉพาะ 1-100 มีกี่ตัว จํานวนเฉพาะ 1-50 59เป็นจํานวนเฉพาะหรือไม่ เพราะเหตุใด ใกล้ฉัน ออนไลน์
องค์กรธุรกิจ ตัวอย่าง องค์กรธุรกิจในประเทศไทย องค์กรธุรกิจ คือ องค์กรธุรกิจ บริษัท องค์กรธุรกิจ มีกี่ประเภท ชื่อองค์กรธุรกิจ รูปแบบองค์กรธุรกิจ นิติบุคคล องค์กร
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 160476: 560