หลักการบัญชีเบื้องต้น

หลักการบัญชีเบื้องต้น วิธีนี้ไม่เคยมีใครบอกคุณ 7 หลักการ?

Click to rate this post!
[Total: 127 Average: 5]

หลักการบัญชีเบื้องต้น

การบัญชี และการจัดทำบัญชี

บ่อยครั้งเราจะพบว่าภาษาที่ใช้ในธุรกิจส่วนหนึ่งมาจากบัญชี เช่น ทรัพย์สิน หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร หรือขาดทุน เป็นต้น ในแต่ละวันที่มีการดำเนินธุรกิจจึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะมีภาษาบัญชีเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้นสิ่งแรกเริ่มที่เราควรจะให้ความรู้ความเข้าใจกับบัญชีก็คือ ความหมายของการบัญชี

หลักการบัญชีเบื้องต้น
หลักการบัญชีเบื้องต้น

การบัญชี (Accounting)

หมายถึง การนำรายการและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึก จัดหมวดหมู่ สรุปผล และวิเคราะห์ตีความหมาย อย่างมีหลักเกณฑ์ การเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปผล ข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปของตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่ายและผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ สรุปความหมายของการบัญชีได้ดังนี้

  1. การจดบันทึกรายการค้าทางการเงิน
  2. การจัดหมวดหมู่แยกประเภทของเหตุการค้า
  3. การสรุปผลและรายงานในการจัดทำข้อมูลทางบัญชี
  4. การวิเคราะห์และตีความหมายของข้อมูลทางบัญชี
  5. การเก็บรวบรวมข้อมูลทางบัญชีให้กับผู้เกี่ยวข้อง

การบัญชี (Accounting) นอกจากความหมายที่ว่าเป็นการนำรายการและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึก จัดหมวดหมู่ สรุปผล และวิเคราะห์ตีความหมายอย่างมีหลักเกณฑ์ การรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปผล ข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปของตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการดังได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว งานบัญชียังเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการให้ผลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยมากแล้วการจัดการงานด้นบัญชีมักจะประกอบไปด้วย

  1. การวางระบบบัญชี
  2. การวัดผลการดำเนินงาน
  3. การตรวจสอบข้อมูล
  4. การจัดทำรายงาน
  5. การวางระบบและประเมินผลการควบคุมภายใน
  6. การวิเคราะห์และตีความหมายของข้อมูลทางบัญชี
  7. การจัดวิธีการบันทึกรายการพิเศษต่างๆ
  8. การจัดทำรายงานพิเศษต่างๆ

งานที่เกี่ยวกับบัญชี

ในการจดบันทีกรายการค้าที่เกิดขึ้นให้เป็นหมวดหมู่โดยการแยกประเภทของรายการค้าที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ กระบวนการบัญชีได้แยกงานที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของฝ่ายบัญชีออกเป็น 4 ประเภทคืองานที่เกี่ยวกับบัญชี

  1. การบัญชีสาธารณะ (Public Accounting Profession)

นักบัญชีมีหน้าที่จัดทำบัญชีสาธารณะก็คือ นักบัญชีอิสระที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือพนักงานประจำของกิจการซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะได้แก่ สำนักงานบัญชีที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ธุรกิจที่ไม่ได้จัดทำบัญชีด้วยตัวเอง แต่ได้ว่าจ้างให้สำนักงานบัญชีตัวแทนเป็นผู้จัดการให้ นอกจากนี้ยังมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับบัญชีได้เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor) ได้รับอนุญาตที่ขึ้นตรงต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยจะทำหน้าที่ให้การตรวจสอบและให้ความเห็นจากงบการเงินและรายงานของกิจการในแต่ละปีที่เป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด และห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน นอกจากนี้แล้วยังมีงานด้านการตรวจสอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor) ที่ขึ้นตรงกับกรมสรรพากร มีหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีและรายงานการสอบบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน สำนักงานบัญชีบางแห่งก็มีการรับเป็นที่ปรึกษางานด้านบัญชีและภาษีอากร

  1. การบัญชีส่วนบุคคล (Private Accounting) นักบัญชีในส่วนของการบัญชีส่วนบุคคลนั้นจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจการที่มีหน้าที่เป็นพนักงานบัญชีในการจัดทำบัญชี ซึ่งภายในฝ่ายหรือแผนกบัญชีของแต่ละธุรกิจอาจจะประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี ผู้จัดการสมุห์บัญชี หัวหน้า และพนักงานบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี ซึ่งจะต้องมีผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีก็คือ ผู้ทำบัญชี ซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบสูงสุดในฝ่ายบัญชี ทำหน้าที่ดูแลงานด้านบัญชีให้สำเร็จลุล่วง ถูกต้อง ครบถ้วนเป็นไปตามพระราชบัญญัติการบัญชี สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่โดยทั่วไปแล้วมักจะแยกงานเกี่ยวกับบัญชีไว้ดังนี้
  2. บัญชีการเงิน (Financial Accounting)
  3. การตรวจสอบภายใน (Internal Auditing)
  4. การบัญชีภาษีอากร (Tax Accounting)
  5. การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting)
  6. การจัดทำงบประมาณ (Budgeting)
  7. การบัญชีบริหาร (Management Accounting)
  8. การบัญชีรัฐบาล (Governmental Accounting) ในส่วนนี้นักบัญชีจะเป็นข้าราชการที่อยู่ในส่วนของหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ซึ่งในการจัดทำบัญชีจะต้องจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามระเบียบ วิธี และนโยบายของรัฐบาล โดยจะมีหน่วยงานสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการจัดทำบัญชีในภาครัฐบาลด้วยกันเอง
  9. การบัญชีเพื่อการศึกษา (Accounting Education) นักบัญชีในส่วนนี้ก็คือผู้ที่มีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในด้านบัญชี ไม่ว่าจะเป็นหลักการบัญชีทั่วไปและมาตรฐานการบัญชีให้กับผู้ที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับงานบัญชี นอกจากนี้ยังช่วยให้คำปรึกษา แนะนำ หรือตรวจสอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอีกด้วย

ข้อแตกต่างระหว่างการบัญชี(Accounting)กับการจัดทำบัญชี(Bookkeeping)

เมื่อได้ทราบถึงความหมายของการบัญชีว่าเป็นการนำรายการและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึกจัดหมวดหมู่ สรุปผล และวิเคราะห์ตีความหมายอย่างมีหลักเกณฑ์ การเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปผล ข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปของตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการแล้ว มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่าระหว่างคำว่าการบัญชีกับการจัดทำบัญชีแตกต่างกันอย่างไร โดยมากแล้วมักจะมีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อนในความหมายเกี่ยวกับการบัญชีและการจัดทำบัญชี

ข้อแตกต่าง

การจัดทำบัญชี (Bookkeeping) หมายถึงการจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับรายรับรายจ่าย หรือเหตุการณ์ค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายการทางการเงิน การจัดทำบัญชีจึงเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชี สามารถแสดงผลการดำเนินงาน และแสดงฐานะทางการเงินในระยะหนึ่งได้

ปิดกิจการ
ในหมากรุก การทำ แคสเซลล์
วิธีไล่แมลงวัน
คำนามที่มีลักษณะเป็นรูปทรง
ความเสี่ยงในการลงทุน
220968
217847
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 163463: 1169