IMD

IMD 4 โครางการ สถาบันศึกษาด้านบริหารธุรกิจเศรษฐกิจภาครัฐ?

IMD คือ

International Institute for Management Development (IMD) เป็นสถาบันการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ และมีหน่วยงานในสังกัดคือสถาบัน IMD World Competitiveness Center ซึ่งเป็นหน่วยงานในระดับสากลที่ทําการเผยแพร่รายงานการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ในรายงาน The World Competitiveness Yearbook (WCY) เป็นประจําทุกปี มาตั้งแต่ปี 1989 และมีการปรับเปลี่ยนหัวข้อตัวชี้วัด (criteria) เป็นประจํา โดยในรายงานฉบับล่าสุดคือ WCY 2019 นั้น มีตัวชี้วัดรวมทั้งสิ้น 332 รายการ ประกอบด้วย Hard Data 143 รายการ Opinion survey 92 รายการ และ Background data 97 รายการ แบ่งกลุ่มตัวชี้วัดได้เป็น 4 ปัจจัยหลัก (Factor) แต่ละปัจจัยหลักแบ่งเป็น 5 ปัจจัยย่อย (Sub-factor) ได้แก่

สมรรถนะทางเศรษฐกิจ

1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic performance) ประกอบด้วยปัจจัยย่อย ได้แก่

  • เศรษฐกิจภายในประเทศ (Domestic economy)
  • การค้าระหว่างประเทศ (International trade)
  • การลงทุนระหว่างประเทศ (International investment)
  • การจ้างงาน (Employment)
  • ระดับราคา (Prices)

ประสิทธิภาพของภาครัฐ

2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government efficiency) ประกอบด้วยปัจจัยย่อย ได้แก่

  • ฐานะการคลัง (Public finance)
  • นโยบายทางภาษี (Tax policy)
  • โครงสร้างเชิงสถาบัน (Institutional framework)
  • กฎหมายและกฎระเบียบทางธุรกิจ (Business legislation)
  • โครงสร้างทางสังคม (Societal framework)

ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ

3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business efficiency) ประกอบด้วยปัจจัยย่อย ได้แก่

  • ผลิตภาพและประสิทธิภาพภาคธุรกิจ (Productivity and efficiency)
  • ตลาดแรงงาน (Labor market)
  • การเงิน (Finance)
  • การบริหารจัดการ (Management practices)
  • ทัศนคติและค่านิยม (Attitudes and values)

โครงสร้างพื้นฐาน

4) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ประกอบด้วยปัจจัยย่อย ได้แก่

  • โครงสร้างพื้นฐานทั่วไป (Basic infrastructure)
  • โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี (Technological infrastructure)
  • โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Scientific infrastructure)
  • สุขภาพและสิ่งแวดล้อม (Health and environment)
  • การศึกษา (Education) ¹

ที่มา:สอวช

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com