gmo
GMOs การดัดแปรพันธุกรรม
จีเอ็มโอ
อาหาร หนึ่งในปัจจัยสี่เพื่อการดำรงชีพของมนุษย์
มนุษย์ กินอาหารตามธรรมชาติมาหลายศตวรรษแล้ว นั่นคืออาหารที่ปราศจากและ/หรือมีสารเคมีปนเปื้อน แต่อาจไม่ถึงกับก่อให้เกิดอันตรายทันที
มาถึงยุคพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ผ่านพ้นศตวรรษที่ 21 แต่ละสถาบันมีการพัฒนาขีดความสามารถ (ทั้งบุคลากรและเครื่องมือในการทำวิจัย) ในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน
บรรดาหนึ่งในผลงานที่เป็นผลิตผลของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็คือ การดัดแปรพันธุกรรมพืชและสัตว์ ที่เรียกกันย่อๆ ว่า จีเอ็มโอ-GMOs
สังคมไทยตื่นตัว “จีเอ็มโอ” การดัดแปรพันธุกรรม และการปรับปรุงพันธุ์พืชกันในวงกว้าง
โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับปากท้องว่าการกินอาหารที่มีส่วนประกอบจีเอ็มโอ…ปลอดภัยอย่างไร?
ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงข่าวการเก็บมะละกอพันธุ์แขกดำท่าพระที่จังหวัดขอนแก่นด้วย
จีเอ็มโอคืออะไร มีอันตรายหรือไม่
จีเอ็มโอ (GMOs) มาจากภาษาอังกฤษ Genetically Modified Organisms หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรม (ยีน) เป็นผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (เทคนิคการตัดต่อยีน) ในพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ
สรุปว่า จีเอ็มโอคือการตัดแต่งเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งมาใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง
การพิจารณาว่าจีเอ็มโอปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ/หรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้น จะต้องผ่านการทดสอบ
หลายด้านเพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและมีบทบาทในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป และก่อนที่ผู้ผลิตรายใดจะนำจีเอ็มโอ
หรือผลผลิตจากจีเอ็มโอแต่ละชนิดออกไปสู่ผู้บริโภคได้นั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขา เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ
มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ
มีสารเคมีเกี่ยวข้องกับจีเอ็มโอหรือไม่
จีเอ็มโอคือการนำสารพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะ ที่ต้องการ ถ่ายใส่เข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เราต้องการดัดแปรพันธุกรรม ทำให้ขั้นตอนการดัดแปรพันธุกรรม ย่อมมีสารชีวภาพบางตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สารเหล่านี้ จะถูกกำจัดออกไปในขั้นตอนการทำความสะอาด ส่วนสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายยีนนั้น
เป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิต
กินอาหารจีเอ็มโอในระยะยาวมีผลกับร่างกายหรือไม่
ขณะนี้ยังไม่มีรายงานถึงผู้ที่กินอาหารที่มีส่วนประกอบจีเอ็มโอเข้าไปแล้วอาหารจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว เพราะการพัฒนาพันธุ์โดยเทคโนโลยีชีวภาพนั้นมีความจำเพาะสูง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดผล ข้างเคียงมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับวิธีการพัฒนาพันธุ์แบบดั้งเดิม
จีเอ็มโอกับประเทศไทย
ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ที่เป็นจีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์ นอกจากอนุญาตให้นำเข้ามาเป็นพันธุ์ทดลอง เพื่อการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งต้องไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของคน สัตว์ และพืช เช่นเดียวกันกับที่ไม่อนุญาตให้นำไปปลูกในพื้นที่การเกษตรใดๆ จำนวน 40 รายการ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง แตงไทย ถั่วลันเตา มะเขือเทศ มะละกอ เป็นต้น จากทุกแหล่ง
ยกเว้นอาหารสำเร็จรูป นับเป็นสิ่งต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
ภายหลังออกประกาศในปี พ.ศ.2538 มีผู้ขออนุญาตนำเข้ามาทดลองและทดสอบ 8 รายการ เช่น ฝ้าย มะเขือเทศ ข้าวโพด มะละกอ
การปรับปรุงพันธุ์ต่างกับการดัดแปรพันธุกรรมอย่างไร
การปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ โดยใช้ให้พืชผสมข้ามสายพันธุ์แล้วคัดเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุดมาใช้แต่ตำแหน่งและการเรียงลำดับพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ของพืชยังคงสภาพเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้จะมีการถ่ายสายพันธุกรรมจากพืชพันธุ์หนึ่งไปสู่พืช อีกพันธุ์หนึ่งก็ตาม
สำหรับการตัดแต่งพันธุกรรมคือ การนำเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เช่น พืช สัตว์ เชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ใส่ลงไปในสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เพื่อให้การแสดง ออกของยีนของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับยีนของสิ่งมีชีวิตที่ใส่เข้าไปใหม่
ตัวอย่างเช่น การนำยีนของเชื้อไวรัสใส่เข้าไปในพืชเพื่อให้สามารถต้านทานเชื้อไวรัสได้ หรือต้านทานสารเคมีได้ เป็นต้น แต่ทำให้ตำแหน่งและลำดับของพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
การตัดแต่งสายพันธุกรรมอาจทำให้เกิดผลที่ไม่สามารถคาดคิดได้ เพราะเป็นการกระทำที่ผิดธรรมชาติ ซึ่งทำให้ระบบการทำงานของสิ่งมีชีวิตผิดปกติไปจากเดิมการแสดงออกของยีนอาจทำให้เกิดปัญหาต่อลักษณะของพืชได้ เช่น เมื่อนำเอายีนที่สามารถต้านทานยาปฏิชีวนะใส่เข้าไปในพืชแทนที่พืชจะสามารถต้านทานโรคได้ดี ในทางตรงข้ามอาจทำให้พืชรับเชื้อโรคได้มากกว่าเดิมเพราะยีนที่ใส่เข้าไปรบกวนการทำงานระบบต้านทานโรคของพืช
ถ้าเทียบเทคนิคการปรับปรุงสายพันธุ์ซึ่งเป็นการเลียนแบบการคัดเลือกแบบธรรมชาติ ต้องอาศัยเวลานาน 10 ปี กว่าจะได้สายพันธุ์ที่ดีที่สุดและมีความแข็งแรงต้านทานโรคได้ดี โดยไม่ต้องกังวลถึงผลกระทบต่อระบบการทำงานของพืช
ตำแหน่งและลำดับของยีนมีความสำคัญมากหากมีบางสิ่งบางอย่างไปรบกวนการทำงานของมันผิดธรรมชาติอาจทำให้การทำงานผิดแปลกไปและเกิดผลที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
ที่มาที่ไปของ GMOs
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้คำจำกัดความของ GMOs หรือในอีกชื่อ LMOS (Living Modified Organisms) ว่า สถานภาพของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการตัดต่อสารพันธุกรรม คำจำกัดความนี้มีความหมายถึงสิ่งมีชีวิตทุกชนิด นับแต่ที่มีขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นไปจนถึงคน สัตว์ พืช ซึ่งล้วนแต่มีหน่วยพันธุกรรมที่เรียกว่า DNA เป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะประจำตัว เช่น ผมสีทอง นัยน์ตาสีฟ้าของมนุษย์ ดอกสีม่วงของกล้วยไม้ ขนหาง สีดำของวัว เป็นต้น
DNA เหล่านี้ เกาะตัวกันเป็นสายเรียกว่า โครโมโซมบรรจุอยู่ในเซลล์ นักพันธุวิศวกรรมอาศัยความ
รู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ทำการตัดต่อปรับปรุงพันธุ์ของสัตว์ พืช ซึ่งมีคุณลักษณะแตกต่างกันโดยยึดหลักปรับเปลี่ยน DNA ในโครโมโซมจากการถ่ายพันธุ์หนึ่งไปยังอีกพันธุ์หนึ่ง
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่มีทั้งคุณภาพดี และต้านทานโรคจาก 2 สายพันธุ์
ซึ่งมีลักษณะเฉพาะต่างกันรวมไว้ด้วยกันในทางพันธุ์เดียว
วิธีการนี้เรียกว่าการแลกเปลี่ยนพันธุ์แบบมาตรฐาน (conventional breeding) ซึ่งยังใช้ได้ดี แต่ต้องใช้เวลานานหลายปี ในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์
แต่เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้นความต้องการบริโภคอาหารของโลกจึงเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นการพัฒนาทางพันธุ์พืชและสัตว์ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาจึงมุ่งเน้นไปสู่เป้าหมายเพื่อให้ได้พืชและสัตว์ที่มีสายพันธุ์ ที่สามารถให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี และต้านทานโรคแมลงหรือวัชพืชมากขึ้น
ในขณะที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลงตามลำดับ นักพันธุวิศวกรรม หรือนักปรับปรุงพันธุ์พืชจึงมีความเห็นว่า หากการปรับปรุงหรือแลกเปลี่ยน DNA กันเฉพาะในหมู่พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์
หรือจุลินทรีย์ด้วยกันเอง ผลผลิตอาหารคงไม่เพิ่มมากนัก และอาจต้องใช้เวลานาน
นักปรับปรุงพันธุ์โดยเฉพาะของสหรัฐฯจึงหันมาทดลองใช้ DNA จากต่างชนิดพันธุ์กัน เช่น DNA จากแบคทีเรียเติมเข้าไปในโครโมโซมพืชชั้นสูง เป็นต้น
การนำ DNA จากสิ่งมีชีวิตหนึ่งหรือ DNA ที่ทำขึ้นใหม่เข้ามารวม หรือร่วมกันอย่างถาวรกับ DNA ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งแล้ว ทำให้เกิดลักษณะประจำตัวใหม่ที่ไม่เคยปรากฏในธรรมชาติ จึงถูกเรียกว่า “การตัดต่อสารพันธุกรรม” (genetic engineering) ส่วนพืช สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตที่ได้มานั้นเรียกว่า “GMOs”
ความเชื่อมั่นต่อ GMOs พันธุ์ใหม่
ความสำเร็จจากการตัดต่อสารพันธุกรรมที่เห็นทั่วไป ตั้งแต่พืช ผัก ผลไม้ เนื้อวัว (ที่นำเข้าหรือที่เลี้ยงและเพาะอยู่ในเขต หรือแปลงทดลองพันธุ์ให้ภูมิต้านทานโรคสูงให้เนื้อและนมมากกว่า) ฝ้าย (ที่ทนต่อหนอนสมอ) มะละกอ (ที่มีไวรัสต้านทานโรคจุดวงแหวน) มะเขือเทศ (ที่สุกช้าเก็บไว้ได้นาน) จนถึงผลิตภัณฑ์ที่วางอยู่ตามชั้นวางสินค้าในซุปเปอร์มาเก็ตซึ่งมีราคาถูกกว่า เช่น มันฝรั่งทอด ซอสมะเขือเทศ น้ำมันพืชจากถั่วเหลือง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม รางวัลที่ได้จากการใช้พันธุวิศวกรรมกำลังกลายเป็นปรปักษ์ต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
และขยายวงกว้างไปยังประชากรในภูมิภาคต่างๆ ของโลก นับตั้งแต่ยุโรป ออสเตรเลีย หรือแม้ แต่ในสหรัฐฯ และอังกฤษ
ทำอย่างไรให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นในการบริโภคพืชพันธุ์ใหม่ และทำอย่างไรจึงจะทำให้อาหารจากจีเอ็มโอเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผู้ผลิต การค้าการส่งออก และแม้แต่สิ่งแวดล้อมโดยปราศจาก อันตราย
จีเอ็มโอเป็นความหวังที่ดีที่สุดของการผลิตอาหารให้มีมากเพียงพอกับความต้องการและผลิตกลับมาสู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วเป็นการลดต้นทุนการผลิตและเวลา ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ที่ส่วนใหญ่ขาดเงินและมีอาหารจำกัด ดังเช่น การพัฒนาพันธุ์ข้าวคลองหลวง 1ที่คัดเลือกสายพันธุ์จากข้าวขาวดอกมะลิ 105 มาพัฒนาพันธุ์ร่วมกับข้าว ก.ข. ของภาคกลาง ให้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี มีคุณภาพ และความหอมใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 นั้น ต้องใช้เวลาสำหรับการพัฒนาตามมาตรฐานเดิม เพื่อให้ได้ข้าวที่มีความเด่นรวมอยู่ในพันธุ์เดียวกันนี้ถึง 14 ปี นับเป็นเวลาที่ยาวนาน หากนำการตัดต่อสารพันธุกรรมมาใช้จะย่นเวลาเหลือไม่กี่ปี
ประโยชน์และความเสี่ยง
เทคโนโลยีเมื่อมีประโยชน์ก็อาจเป็นโทษได้หากการพัฒนาและการนำไปใช้ไม่เป็นไปตามวิธีการที่บ่งบอกอยู่บนฉลาก หรือไม่ระมัดระวังเท่าที่ควร พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม เป็นสิ่งมีชีวิตแปลงพันธุ์ที่อาจมีผลกระทบต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญๆ เช่น แหล่งสารพันธุกรรมที่ได้มา ถ้าได้มาจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เช่น จากพืชถ่ายให้พืช จากสัตว์ถ่ายให้สัตว์ ย่อมมีปัญหาน้อยหรือไม่มีปัญหาเลย
ในทางตรงกันข้าม ถ้าการถ่ายสารพันธุกรรมมาจากจุลินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อและสาเหตุของโรคเข้าไป ในพืชหรือสัตว์ ก็ย่อมจะมีความเสี่ยงสูงมาก ขณะที่พืชพันธุ์ใหม่หลายตัวที่ได้มา ยังถ่ายแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อราด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้สึกปลอดภัยที่จะกินเข้าปากไป และก็นี่ไม่ ใช่ “ยา” แต่เป็นพันธุวิศวกรรมที่นำ “ยีน” จากพืชหรือ แมลง ไปใส่ในอาหารซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเองในธรรมชาติไม่สามารถแนะนำการผสมพันธุ์ในแบบที่เข้าใจได้ง่าย หรือในแบบธรรมดาๆ ได้ และยังทำให้เกิดความกลัวว่าจะมีผลต่อสุขภาพโดยไม่รู้ตัวซึ่งอาหารจีเอ็มโอทั้งหมดควรมีการตรวจสอบก่อนนำอาหารดังกล่าวมาเสนอขายให้แก่ผู้บริโภค ถึงแม้ในวงการวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ จะมีฉันทมติ อย่างกว้างขวางว่า พืชตัดต่อสารพันธุกรรม ในปัจจุบันปลอดภัย แต่กลุ่มต่อสู้เพื่ออาหารในยุโรปเรียกเจ้าพืชพันธุ์จีเอ็มโอนี้ว่า “แฟรงเกนสไตน์”หรือพืชผีดิบ แม้จะไม่ปฏิเสธว่า การตัดต่อทางพันธุกรรม ดังกล่าวเป็นประโยชน์หลายทาง เช่น ทำให้หนอนเจาะสมอฝ้ายเบื่ออาหาร ไม่มากัดกินดอกฝ้ายจนตายไป ไม่ต้องใช้สารเคมี และสารพิษฆ่าแมลงที่เกิดการสะสมจนเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งยังสามารถเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นและราคาจำหน่ายถูกกว่ามาก แต่จีเอ็มโอก็ยังถูกต่อต้านและถูกปฏิเสธผู้คนมากมายเกลียดเจ้าพืชผีดิบตัวนี้ ไม่เฉพาะประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป แต่ยังไม่เป็นที่นิยมบริโภคทั่วไป
ไม่ใช่แค่เหตุผลที่พวกมันไม่ปลอดภัย แต่ความกังวลว่า DNA ที่ได้จากจุลินทรีย์ที่ ไม่ก่อให้เกิดโรค จะมีโอกาสกลายเป็น DNA ที่เกิดโรคหรือไม่ ที่สำคัญ ปัญหาการผูกขาด พันธุ์พืชหรือ พันธุ์สัตว์ที่คิดค้นขึ้นมาได้โดยมีสหรัฐฯ เป็นประเทศ ผู้นำทางเทคโนโลยีชีวภาพนี้ ย่อมเสียเปรียบอย่าง ยิ่งแก่ประเทศอื่นๆ บนเวทีการค้าโลก ที่ไม่สามารถ พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวได้ทัน
สิทธิผู้บริโภค
⇒ รูปลักษณ์ภายนอกของพืชจีเอ็มโอกับพืชปกติ ดูแล้วแทบไม่แตกต่างกันเลย ผู่บริโภคจึงไมาสามารถรับรู่ ได่ด่วยตาเปลาาวาาอาหารชนิดใดมีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ
⇒ การติดฉลากอาหารที่มีจีเอ็มโอจึงเป็นกระบวนการที่ให่สิทธิแก่ผู้บริโภคในการรับรู้ข้อมูลและสิทธิในการเลือกปฏิเสธอาหารที่มีจีเอ็มโอซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคภายใต้รัฐธรรมนูญไทย
⇒ 77 ประเทศทั่วโลกมีกฎข้อบังคับเรื่องการติดฉลากที่เข้มงวดที่สุดคือในสหภาพยุโรป ซึ่งกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีจีเอ็มโอมากกว่าร้อยละ .09 ในส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่ง ไม้ว่าจะตรวจพบ ในผลิตภัณฑ์สุดท้ายหรือไม่จะต้องแสดงฉลาก
⇒ ประเทศไทยเริ่มบังคับใช้กฎกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการติดฉลากอาหารดัดแปรพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546แต่ข้อกำหนดที่ใช้นั้นหละหลวมมาก คือบังคับใช้เฉพาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีถั่วเหลืองหรือข้าวโพดจีเอ็มโอเป็นส่วนผสมอยู่ในสามอันดับแรกของอาหารและต้องมีปริมาณร้อยละ 5 ขึ้นไป จึงจะต้องแสดงฉลาก เท่ากับว่าทำให้อาหารหลายชนิดไม่ต้องแสดงฉลากทั้งๆ ที่มีจีเอ็มโอ
ป้องกันไว้ก่อน
⇒ หลีกเลี่ยงการกินอาหารจีเอ็มโอ
⇒ เลือกซื้ออาหารที่ผลิตด้วยวิธีเกษตรธรรมชาติ
⇒ ห้ามปลูกพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิด ไม่ว่าจะเป็นในแปลงทดลองหรือในไร่นาเกษตรกร
⇒ ผู้ผลิตจีเอ็มโอควรเป็นผู้รับภาระในการทดสอบว่า จีเอ็มโอปลอดภัยอย่างแท้จริงเสียก่อน จึงค่อยนำออกมาขาย มิใช้ให้ผู้บริโภคและเกษตรกรต้องแบกรับภาระที่ตัวเองไม่ได้สร้าง
ข้อดีของ GMOs
GMOs คือผลผลิตจากความก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยาระดับโมเลกุลโดยเฉพาะพันธุวิศวกรรม ที่ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วจนถึงระดับสูงมาก
สิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์และสถาบันวิจัยทั่วโลกทุ่มเทพลังความคิดและทุนวิจัยจำนวนมหาศาลเพื่อศาสตร์นี้ คือความมุ่งหมายที่จะพัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรโลกทั้งทางด้านโภชนาการ การแพทย์ และสาธารณสุข
ความสำเร็จแห่งการพัฒนาศาสตร์ดังกล่าวมีรูปธรรมคือการยกระดับคุณภาพอาหาร ยา และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังที่เราได้รับผลประโยชน์อยู่ทุกวันนี้และในภาวะที่จำนวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ในขณะที่พื้นที่การผลิตลดลง พันธุวิศวกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดอันหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารและยาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
เนื่องจากประสิทธิภาพของพันธุวิศวกรรมเป็นที่ยอมรับว่าสามารถช่วยเพิ่มอัตราผลผลิตต่อพื้นที่สูงขึ้นมากกว่าการผลิตในรูปแบบดั้งเดิม
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการเกษตรในสหรัฐอเมริกาและด้วยการที่พันธุวิศวกรรม สามารถยกระดับคุณ
ภาพชีวิตได้ดังกล่าว จึงมีการกล่าวกันว่า พันธุวิศวกรรมคือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในด้านการเกษตรและการแพทย์ที่เรียกว่า genomic revolution
ข้อเสียของ GMOs
เทคโนโลยีทุกชนิดเมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย ในกรณีของ GMOs นั้นข้อเสียคือ มีความเสี่ยงและความซับซ้อนในการบริหารจัดการเพื่อให้มีความปลอดภัยและให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ
แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ใดได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหาร GMOs แต่ความกังวลต่อความเสี่ยงของการใช้ GMOs เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น กรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค
สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น เคยมีข่าวว่า กรดอะมิโน L-Tryptophan ทำให้ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาเกิดอาการป่วยและล้มตาย อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นนี้แท้จริงแล้วเป็นผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ ทำให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่หลังจาก
กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ มิใช่ตัว GMOs ที่เป็นอันตราย
สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น รายงานที่ว่าถั่วเหลืองตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavone มากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย ซึ่งสารชนิดนี้เป็นกลุ่มของสารที่เป็น phytoestrogen (ฮอร์โมนพืช) ทำให้มีความกังวลว่า การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กทารก จึงจำเป็น ต้องมีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มปริมาณของสาร isoflavine ต่อกลุ่มผู้บริโภคด้วย
ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้ทำ GMOs นั้น ตัวอย่างที่เคยมีเช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทำ GMOs เพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีนในถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารสัตว์
การตัดแต่งพันธุกรรมในสัตว์ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่?
ขณะนี้ยังไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม สัตว์มีระบบสรีรวิทยาที่ซับซ้อนมากกว่าพืช และเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้การตัดแต่งพันธุกรรมในสัตว์ อาจทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิด ได้ โดยอาจทำให้สัตว์มีลักษณะและคุณสมบัติเปลี่ยนไป และมีผลทำให้เกิดสารพิษอื่นๆ ที่เป็นสารตกค้างที่ไม่ปรารถนาขึ้นได้
อาหารตัดแต่งพันธุกรรม(Genetically Modified Food GMF) |
อาหารตัดแต่งพันธุกรรม(Genetically Modified Food GMF)
รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาตสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประโยชน์จากไบโอเทค
ประโยชน์ต่อมนุษยชาติที่เกิดความก้าวหน้าของไบโอเทคมีมากมหาศาล ที่เห็นเด่นชัดและจะมีมากขึ้นภายหลัง human genome project สำเร็จคือ ทางด้านการแพทย์ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านการผลิตอาหารและการเกษตร
ด้านการแพทย์
มีการใช้ไบโอเทคมานานพอสมควรโดยเฉพาะการผลิตเภสัชภัณฑ์ สำหรับรักษาโรค ตัวอย่างเช่น การผลิตอินซูลินรักษาเบาหวาน การผลิต growth hormone รักษาความผิดปกติของการเจริญเติบโตและช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้นการผลิตวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคตับอักเสบบี
นอกจากนี้ยังใช้ไบโอเทคผลิตน้ำยาทดสอบเพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคอีกมากมาย
ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
ไบโอเทคถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากมาย เช่น แบคทีเรีย ที่ได้จากการตัดแต่งพันธุกรรม สามารถใช้ในการเปลี่ยนของเสียต่างๆ ให้กลายเป็นของที่มีประโยชน์ หรือใช้ในการกำจัดคราบน้ำมัน เป็นต้น
ในด้านการผลิตอาหาร
ไบโอเทคมีบทบาทอย่างมากในการเพิ่มคุณภาพและปริมาณในองค์ประกอบของอาหารอย่างมาก เช่น โปรตีน แป้ง ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่
ด้านการเกษตร
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถิ ปรับรูปร่างลักษณะของผลไม้และผักให้ดีขึ้น ทำให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้นโดยไม่เน่าเสีย เพิ่มสารอาหารในพืช นอกจากนี้ยังสามารถผลิตพืชอาหารที่สามารถทนต่อโรคและแมลงได้ดี ในอนาคตคาดว่าจะสามารถคิดค้นพืชที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้
เช่น ทนต่อความแห้งแล้ง อากาศร้อนมากหรือเย็นมาก ทำให้เกษตรกรสามารถปลูกในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถทำได้หรือปลูกได้น้อยมากๆ ปัจจุบันสามารถผลิตพืชดอกที่มีสีสันต่างๆ ได้เกือบจะไม่มีขีดจำกัด ทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก
ไบโอเทคในการเกษตรและอาหาร
ในปัจจุบันการประยุกต์ใช้ไบโอเทค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดแต่งพันธุกรรม (genetically modified organisms-GMO) ของสิ่งมีชีวิตนั้น ดำเนินการในด้านการ เกษตรและอาหารมากที่สุด การประยุกต์ใช้เพื่อจุดประสงค์หลัก 2 อย่าง คือ การเพิ่มผลผลิต และการเพิ่ม คุณค่าทางโภชนาการและทางคุณลักษณะของอาหารการเพิ่มผลผลิตมีการใช้ในหลายรูปแบบ และเพิ่มผลผลิตในหลายลักษณะได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นด้านพืชอาหาร ได้แก่
1. การเพิ่มความต้านทานต่อชีวภาพ (increased biological resistance) โดยเฉพาะการต้านทานแมลงและศัตรูพืชบางอย่าง หรือต้านทานต่อโรคพืชบางชนิด เพื่อที่จะลดการใช้สารพิษฆ่าแมลง หรือฆ่าเชื้อโรคให้น้อยลง จะได้ลดการสูญเสียในการปลูกพืชเหล่านั้น
1.1 พืชที่ต้านทานต่อแมลงและศัตรูพืช เป็นที่ทราบกันว่าแมลงศัตรูพืชเป็นตัวการสำคัญในการทำลายผลผลิตของเกษตรกร โดยปกติจะใช้สารพิษกำจัดซึ่งมีข้อจำกัดทั้งในด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ ตกค้างในพืชผักทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และยังอาจถูกชะล้างด้วยฝนลงสู่แหล่งน้ำและสะสมในดินเกิดมลพิษตามมา การใช้สารพิษเหล่านี้มีข้อเสียคือ อาจทำให้ไม่สามารถควบคุมแมลงได้เต็มที่ บางครั้ง ทำให้แมลงต้านทานต่อสารพิษนั้นๆ แล้วใช้ไม่ได้ผล ต้องมีการเพิ่มการใช้มากขึ้นเป็นเหตุให้มีสารพิษตกค้างมากขึ้น จะเป็นปัญหาต่อผู้บริโภคในวงกว้าง ดังนั้นการตัดแต่งพันธุกรรม โดยนำยีนบางชนิดจากพืชหรือสัตว์ (โดยเฉพาะจากจุลินทรีย์) มาตัดต่อลงไปในยีนของพืชเพื่อทำให้พืชสามารถสร้างสารโปรตีนบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อแมลงศัตรูพืช แต่ไม่มีผลกระทบ กับคน ทำให้พืชต้านทานต่อการทำลายของแมลงศัตรูพืชได้ จะทำให้สามารถลดการใช้สารพิษกำจัดแมลงลงได้ สัตว์ แมลง และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ก็ไม่ถูกทำลายและสามารถช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชได้อีกต่อหนึ่ง ผลที่ได้จะเกิดประโยชน์สองอย่างคือ ช่วยเพิ่มผลผลิตการเกษตรและช่วยลดอันตรายของเกษตรกรที่สัมผัสกับสารพิษฆ่าแมลง
1.2 พืชต้านทานต่อสารพิษปราบวัชพืช (herbicide-tolerant plants) ปกติวัชพืชจะเป็นศัตรูของพืชอาหารโดยจะแย่งน้ำสารอาหาร แสงแดด และแม้ แต่แย่งพื้นที่เพาะปลูก และยังอาจเป็นที่สะสมหรือเป็นที่อาศัยของแมลง และเชื้อโรคต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อพืชอาหารอีกด้วย ทำให้คุณภาพของพืชอาหารลดลง มีการปนเปื้อนจากวัชพืชโดยเฉพาะเมล็ดหรือเกสรของ มัน เกษตรกรจะกำจัดวัชพืชด้วยการตัด ถาง ทำลาย หรือใช้สารพิษฆ่าวัชพืชฉีดฆ่ามัน การถางหญ้ามีข้อเสีย ทำให้ผิวหน้าดินเสื่อมมีปัญหาในระยะยาว การใช้สารพิษฆ่าวัชพืชก็เป็นอันตรายและปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม และยังเป็นอันตรายต่อพืชอาหารด้วย แต่เกษตรกรจำเป็นต้องใช้ ถ้าหากมีวิธีการที่ดีกว่าเกษตรกรคงจะเลือกใช้วิธีนั้น
ไบโอเทคสามารถตัดแต่งยีนบางอย่างที่ทำให้พืชอาหารสามารถต้านทานต่อสารพิษฆ่าวัชพืชได้
เกษตรกรจึงสามารถใช้สารพิษกำจัดวัชพืชในปริมาณที่เหมาะสม โดยไม่ทำอันตรายต่อพืชอาหารที่ได้จากการตัดแต่งพันธุกรรม
1.3 พืชต้านทานต่อโรคพืช (disease- resistant plants) โรคพืชถือว่าเป็นปัจจัยทำลายพืชอาหารอย่างมาก อาจเป็นเชื้อรา ไวรัส ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของพืชอาหารลดต่ำลง ดังนั้นในบางครั้งเกษตรกรจะต้องลงทุนปลูกมากกว่าที่ต้องการ เผื่อการสูญเสียจากโรคทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมาก และต้องใช้สารพิษหรือยาฆ่าเชื้อรา หรือฆ่าแมลงที่เป็นพาหะนำโรคไวรัส ไบโอเทคสามารถตัดแต่งพันธุกรรมโดยใส่ยีนจากเชื้อราที่ทำให้พืชสร้างภูมิต้านทานต่อโรคได้ ทำให้ลดการใช้ยาฆ่าเชื้อราหรือฆ่าไวรัสลงได้ทั้งหลายเหล่านี้จะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดการใช้สารพิษลงได้มาก
2.พืชตัดแต่งพันธุกรรมที่สามารถทนสภาวะ อากาศที่รุนแรงได้ เช่น การตัดแต่งยีนที่เปลี่ยนแปลง การสร้างกรด linoleic ในพืชทำให้พืชทนต่ออุณหภูมิเย็นๆ ได้ดีขึ้น
3.พืชตัดแต่งพันธุกรรมสามารถทำให้มีคุณสมบัติบางอย่างที่ต้องการได้ไม่ยาก เช่น
3.1 ลดการทำให้แพ้ หรือลดความเป็นพิษลง โดยการตัดแต่งยีนที่สามารถทำให้พืชลดการสร้างสารที่เป็นสาเหตุของการแพ้ลง หรือลดการสร้างสารพิษลง
3.2ยืดระยะเวลาทำให้พืชหรือผลไม้สุกช้าลง สามารถเก็บไว้ได้นานในสภาวะอากาศอุณหภูมิ ปกติ โดยไม่ต้องเข้าห้องเย็น หรืออยู่กับต้นได้นานขึ้น เช่น มะเขือเทศตัดแต่งพันธุกรรมจะสุกช้าอยู่กับต้นได้นานทำให้มีรสชาติดีขึ้น และสีสวยก่อนจะเก็บส่งขายตลาด
3.3เพิ่มปริมาณแป้งในอาหาร เช่น มันฝรั่งที่ได้จากการตัดแต่งพันธุกรรม สามารถผลิตแป้งได้มาก
เมื่อนำไปทอดจะอมน้ำมันน้อยลง เหมาะกับการทำมันฝรั่งทอด เช่น เฟนช์ฟราย ที่มีไขมันต่ำ
4.พืชตัดแต่งพันธุกรรม ที่สามารถสร้างสารอาหารได้เหมาะสมตามต้องการ เช่นการเปลี่ยนแปลงการสร้างโปรตีน หรือไขมัน หรืออาจเพิ่มปริมาณ phytochemicals ให้มากขึ้น การเพิ่มปริมาณวิตามินและเกลือแร่บางอย่างในอาหารที่บริโภคประจำเพื่อแก้ปัญหาทุพโภชนาการในประเทศนั้น เช่น การเพิ่มปริมาณบีต้าแคโรทีน และธาตุเหล็กในข้าว (golden rice) เป็นต้น
พืชตัดแต่งพันธุกรรมในอนาคต |
1. ข้าวโพดตัดแต่งพันธุกรรมที่ทนต่อหนอน ทำลายราก (rootworm) ข้าวโพด
หนอนทำลายรากข้าวโพด (Diabrotica Spp) ถือเป็นศัตรูสำคัญอีกชนิดหนึ่งของข้าวโพดมันจะกัด ทำลายรากตั้งแต่ต้นอ่อนทำให้ข้าวโพดไม่โต เกษตรกรต้องใช้สารพิษฆ่าแมลงจำนวนมากฉีดลงไปในดิน ทำให้มีสารพิษตกค้างในดินสูง และยังถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำใต้ดินด้วย ดังนั้นถ้าได้พันธุ์ข้าวโพดที่ทนต่อการทำลายของหนอนชนิดนี้จะช่วยเพิ่มผลผลิตขึ้นมาก และลดการใช้สารพิษลงมากด้วย
2. มะเขือเทศ
มะเขือเทศ ถือเป็นผักที่นิยมรับประทานกันมากทั่วโลก มี lycopene ซึ่งเป็นสารธรรมชาติต้นตอของวิตามินเอ ปัจจุบันกำลังมีการวิจัยก้าวหน้าไปมากในการตัดแต่งพันธุกรรมให้ได้พันธุ์ที่มีส่วนประกอบของสาร lycopene สูงขึ้น นอกจากนี้ยังได้วิจัยจนได้พันธุ์ที่สุก หรือแก่ช้า สามารถให้มันอยู่ที่ต้นได้นานจะมีรสชาติดีขึ้นและสีสวยขึ้นกว่าพันธุ์ธรรมดา
3.ข้าวสีทอง (golden rice)
ข้าวถือเป็นอาหารประจำของชาวเอเชีย ซึ่งมักมีปัญหาการขาดวิตามินเอเสมอๆ ดังนั้นการวิจัยโดยตัดแต่งพันธุกรรมของข้าวเพื่อให้ผลิตเบต้าแคโรทีน ได้ (ซึ่งขณะนี้ไม่มี) โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวสวิส
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบในภาคสนาม อาจจะสามารถปลูกเป็นการค้าได้ใน 1-2 ปีข้างหน้า
4.Canola
Canola เป็นพืชให้เมล็ดที่มีน้ำมัน ปัจจุบันการ วิจัยตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อเพิ่มปริมาณวิตามินอีให้สูงขึ้น
และพยายามให้องค์ประกอบของกรดไขมันที่มีคุณภาพดี
5.พืชวัคซีน (plant-based vaccine)
มีแนวคิดว่าถ้าสามารถตัดแต่งพันธุกรรมพืชจนสามารถสร้างวัคซีนต่อต้านโรคติดเชื้อต่างๆ ได้
จะทำให้การสร้างภูมิคุ้มกันโรคในเด็กง่ายและสะดวกขึ้น เช่น วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอที่ให้ทางปาก
กล้วยหอมถือเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทั้งเขตอบอุ่นและเขตร้อน อย่างกว้างขวาง จึงมีการวิจัยมุ่งใช้กล้วยหอมเป็นต้นตอของการตัดแต่งพันธุกรรมที่มีไวรัสที่ไม่สามารถทำ ให้เกิดโรคได้ (inactivated virus) ซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นวัคซีนป้องกันโรค เช่น โรคอหิวาต์ โรคตับอักเสบบี และโรคอุจจาระร่วง ขณะนี้อยู่ในขั้นทดสอบก่อนที่จะสามารถปลูกได้จริงเป็นการค้าต่อไป
6 .การผลิตหญ้า สำหรับสนามหญ้า
เนื่องจากปัจจุบันการปลูกหญ้า เริ่มมีปัญหาหลายอย่างได้แก่
-ปัญหาการใช้สารเคมีมาก ทั้งปุ๋ย สารพิษฆ่าวัชพืช ยาฆ่าเชื้อราหรือแม้แต่การใช้สีเขียวช่วย
-ปัญหาการใช้นำปริมาณมากที่จะทำให้สนามหญ้า สวยอยู่เสมอปัญหาการต้องตัดหญ้าบ่อย สิ้นเปลืองพลังงาน
ดังนั้นจึงมีการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ได้โดยการตัดแต่งพันธุกรรม เช่น ตัดต่อยีนที่ทนต่อสารพิษฆ่าวัชพืช ทนทานต่อโรคและแมลง มีการเจริญเติบโตช้า ทนทานต่อความแห้งแล้ง ความร้อน และความเย็น พันธุ์หญ้าที่จะออกสู่ตลาดอาจเป็นพันธุ์ แบคทีเรีย Roundup Ready หลายประเภท ซึ่งสามารถใช้กับสารพิษ ฆ่าวัชพืช Roundup Ready ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ปัญหาความปลอดภัยของเทคนิคตัดแต่งพันธุกรรม และอาหารตัดแต่งพันธุกรรม
มีคำถามอยู่เสมอว่าไบโอเทค ด้านการตัดแต่งพันธุกรรมนั้นจะปลอดภัยหรือไม่ นักพันธุศาสตร์จะกล่าวเสมอว่า การถ่ายทอดยีนระหว่างสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันจะไม่มีความเสี่ยงอันตรายใดๆ
เช่นเดียวกับการถ่ายทอดยีนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือการผสมพันธุ์โดยวิธีดั้งเดิม หรือบางครั้งธรรมชาติก็เกิดการ ถ่ายทอดยีนข้ามสายพันธุ์ได้ เช่น แบคทีเรียบางชนิดสามารถถ่ายทอดยีนสู่พืชทำ
ให้พืชสร้างสารบางอย่างเป็นอาหารของแบคทีเรียได้
การถ่ายทอดยีนข้ามสายพันธุ์จะไม่สามารถทำให้เกิดการกลายพันธ์ได้ เช่น การถ่ายทอดยีนจากปลาไปสู่มะเขือเทศ หรือจากมะเขือเทศไปสู่ปลา จะไม่สามารถ ทำให้ปลากลายเป็นมะเขือเทศ
หรือมะเขือเทศกลายเป็นปลาได้ เพราะสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์นั้นมียีนตั้งแต่จำนวนเป็นหมื่นถึงจำนวนแสน ดังนั้นการถ่ายทอดหรือการตัดต่อยีนเพียงหนึ่งหรือสองยีนจะไม่สามารถเปลี่ยนเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตไปได้ อย่างไรก็ตามการศึกษาวิจัย การทดลอง การทดสอบ มักอยู่ในความ ควบคุมของหน่วยงานทางด้านการเกษตร เช่น USDA หรือกรมวิชาการเกษตรในประเทศไทย
สำหรับอาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) นั้นจะปลอดภัยหรือไม่ขึ้นกับการควบคุมดูแลของหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละประเทศ ส่วนใหญ่จะอยู่ในความดูแลของหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอาหาร เช่น USFDA หรือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในประเทศไทย ในปี
ค.ศ.1992 USFDA ได้ออกแถลงการณ์ว่า “สำนักงานไม่พบข้อมูลใดที่แสดงว่าอาหารที่ได้จากการตัดแต่งพันธุกรรมจะแตกต่างจากอาหารอื่นๆ หรือทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยมากไปกว่าอาหารที่ได้จากการผสมพันธุ์ตามปกติทั่วไป” อย่างไรก็ตาม ผู้พัฒนาอาหารประเภทตัดแต่งพันธุกรรมจะต้องแสดงข้อมูลยืนยันความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์นั้นๆ โดยทั่วไปจะใช้หลักการของความเทียบเท่ากับพันธุ์ดั้งเดิม (substantial equiuatence to conventional organism) ซึ่งจะตรวจสอบ 2 ด้าน คือ
1.องค์ประกอบของสารพิษที่รู้จักกันแล้ว สารพิษ ใหม่ต้องไม่เพิ่มขึ้น และองค์ประกอบของสารอาหารต้องไม่แตกต่างจากพันธุ์ดั้งเดิมอย่างมีนัยทางสถิติ
2.มีสารก่อภูมิแพ้เกิดขึ้นใหม่หรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของสารก่อภูมิแพ้เดิมหรือไม่ ถ้ามีจะต้องแสดงบนฉลากให้ผู้บริโภคทราบ
3.ความปลอดภัยของยีนที่ใช้ตัดแต่งพืชพันธุ์ใหม่
ผลกระทบของ GMOs ต่อสิ่งแวดล้อม |
ความกังวลของหลายๆ ฝ่ายเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดยีนไปสู่พืชธรรมชาติอื่น การเปลี่ยนแปลงปริมาณแมลงธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่างๆ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของพืชทั่วไป เป็นต้น ในหลายๆ ประเทศที่มีการศึกษาวิจัยและการปลูกเป็นการค้าได้คำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ในสหรัฐอเมริกาดูแลโดย USEPA (United State Environmental Protection Agency)
ในประเทศไทยดูแลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตามปกติหน่วยงานเหล่านี้จะต้องดูแลทั้งพืชที่ผสมพันธุ์โดยวิธีดั้งเดิมด้วย สำหรับพืชตัดแต่งพันธุกรรมต้องควบคุมดูแลเข็มงวดขึ้นไปอีก ในสหรัฐอเมริกา USEPA ได้ควบคุมการทดสอบภาคสนามของอาหารตัดแต่งพันธุกรรมเป็นหลายพันครั้ง ไม่พบว่ามีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมเลย อย่างไรก็ตาม มีบางคำถามที่อาจจะยังหาคำตอบไม่ได้ขณะนี้ (ทั้งการผสมพันธุ์ตามวิธีดั้งเดิม และการตัดแต่งพันธุกรรม) คือจะมีผลกระทบระยะยาวต่อการเพิ่มขึ้นของวัชพืชที่ใกล้เคียง และผลในการทนทานต่อยาฆ่าวัชพืช เป็นต้น แต่ได้มีวิธีการติดตามตรวจสอบเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว
สำหรับประเทศไทยนั้นกระทรวงเกษตรฯยังไม่เคยอนุญาตให้มีการปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรมทางการค้าในประเทศไทย มีเพียงการอนุญาตให้ทำการทดลองปลูกในภาคสนามในพื้นที่ควบคุม เช่น ในโรงทดลอง หรือในแปลงทดลองที่ควบคุมเท่านั้น ส่วนอาหารตัดแต่งพันธุกรรมนั้นยังไม่มีการอนุญาตอย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากในต่างประเทศได้มีการใช้วัตถุดิบที่ได้จากพืช ตัดแต่งพันธุกรรมในการแปรรูปอาหาร และกระบวนการตรวจสอบยุ่งยาก จึงคาดว่าจะมีอาหารตัดแต่งพันธุกรรมขายในท้องตลาดในประเทศไทย สำหรับเมล็ดพืช (grain) ที่สั่งเข้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลือง และข้าวโพดคงจะมี GMOs อยู่ ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกามีการปลูกถั่ว GMOs ประมาณร้อยละ 50 ของการปลูกทั้งหมด ดังนั้น เราสั่งถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาปีละมากๆ คาดการณ์ได้ว่าจะมีถั่วเหลือง GMOs ปนมาประมาณร้อยละ 50 ข้าวโพดก็เช่นกัน สำหรับถั่วเหลืองนั้นส่วนใหญ่นำเข้ามาทำน้ำมันบริโภคกากถั่วเหลืองนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ ส่วนข้าวโพดเกือบทั้งหมดนำเข้ามาเป็นอาหารสัตว์
พืชตัดแต่งพันธุกรรมจะถ่ายทอดยีนไปสู่วัชพืชพันธุ์ใกล้เคียงได้หรือไม่
ในการทดสอบภาคสนามได้มีการคำนึงถึงผลกระทบเหล่านี้อยู่แล้ว ผู้ทำการวิจัยพืชตัดแต่งพันธุกรรม
จะเลือกเฉพาะพันธุ์ที่ได้ทดสอบแล้วว่าไม่มีการถ่ายทอดยีนไปยังพืชพันธุ์ข้างเคียง (โดยเฉพาะวัชพืช)
สำหรับพืชพันธุ์ที่ไม่ใกล้เคียงกับพืชตัดแต่งพันธุกรรมจะไม่มีการถ่ายทอดยีนกันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
ถ้าพบว่าจะมีการถ่ายทอดยีนกันเกิดขึ้นในการทดสอบภาคสนามหน่วยงานที่รับผิดชอบมีอำนาจสั่งให้หยุดทำการทดสอบได้ทันที
ผลกระทบที่พืชตัดแต่งพันธุกรรมทนทานต่อแมลงจะทำให้แมลงมีการปรับตัวกลายเป็น “Super pest” ได้หรือไม่
หน่วยงานที่รับผิดให้ความมั่นใจว่าแม้ธรรมชาติอาจจะทำให้แมลงปรับตัวนานต่อสารพิษฆ่าแมลง หรือยีนที่สร้างสารพิษฆ่าแมลงได้เพื่อการมีชีวิตรอดก็จริง แต่มีวิธีการควบคุมแบบผสมผสานอยู่แล้วเพราะพืชตัดแต่งพันธุกรรมไม่ใช่คำตอบเพียงอย่างเดียวในการเพิ่มผลผลิตการเกษตร จะต้องมีวิธีการอื่นประกอบด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม พืชที่ทนต่อแมลงจะสามารถ จัดการได้ผลมากกว่าการใช้สารพิษฆ่าแมลง ด้วยเหตุผลสองประการคือ 1) สามารถกำจัดแมลงได้เจาะจงไม่ฆ่าแมลงอื่นที่เป็นประโยชน์
(เหมือนกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในคน) และสามารถฆ่าแมลงที่เป็นอันตรายต่อพืชได้เกือบทั้งหมด
2) พืชตัดแต่งพันธุกรรมจะฆ่าเฉพาะแมลงที่กัดกินพืชเท่านั้นไม่ได้ฆ่าแมลงอื่นที่ไต่อยู่บนพืชหรืออยู่ข้างเคียง เช่น ในดิน ซึ่งต่างจากสารพิษฆ่าแมลงที่ฆ่าเกือบทั้งหมด
ปัญหาเรื่อง Bt corn เป็นอันตรายต่อตัวอ่อนของผีเสื้อโมนาร์ช (Monarch butterfly larva)
ในสหรัฐอเมริกามีการปลูก Bt corn กันมากและเป็นที่กังวลกันว่าจะเป็นอันตรายต่อแมลงอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีเสื้อพันธุ์โมนาร์ช หน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชน ได้กำลังศึกษากันอย่างเร่งรีบในเรื่องนี้แต่จากการติดตามจำนวนผีเสื้อพบว่าจำนวนไม่ได้ลดลงหลังจากมีการปลูก Bt corn ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539
ตรงกันข้ามจากการศึกษาของ University of Kansas พบว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจนในปี
พ.ศ.2540 ที่เป็นห่วงกัน คือ ผีเสื้อโมนาร์ช นั้นอยู่ในวงเดียวกันกับแมลง (Lepiodoptera) ที่ทำลายข้าวโพด ดังนั้นถ้าผีเสื้อกินละอองเกสรของข้าวโพดก็จะเป็นอันตรายได้ ประเด็นที่จะต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ คือ ตัวอ่อนผีเสื้อสัมผัส หรือกินละอองเกสรข้าวโพดเป็นอาหารหรือไม่ หรือถ้าสัมผัสแล้วมีปริมาณมากน้อยเพียงใดปริมาณละอองเกสรมากเท่าใด จึงจะเป็นอันตรายต่อผีเสื้อ อาหารของ ตัวอ่อนผีเสื้อโมนาร์ช คือ milk weed นั้น ขึ้นบริเวณที่ปลูกข้าวโพดเป็น Bt corn หรือไม่ และละอองเกสรของข้าวโพด Bt corn ปลิวไปได้ไกลเพียงใด
ถ้าพิจารณาให้ถ่องแท้ผู้เกี่ยวข้องให้ความเห็นว่า สิ่งที่จะเป็นความเสี่ยงอันตรายของตัวอ่อนผีเสื้อ คือ การฉีดพ่นสารพิษฆ่าแมลง Bt หรือสารพิษฆ่าแมลงอื่นๆ ที่ใช้อยู่มากกว่า และสารพิษสามารถแพร่กระจายลงสู่สิ่งแวดล้อมและไปตามกระแสน้ำไปสะสมในพื้นที่อื่นที่ไม่ได้ปลูก Bt corn แล้วทำอันตรายต่อตัวอ่อนผีเสื้อ ดังนั้นได้เปรียบเทียบกันแล้ว Bt corn อาจจะช่วยอนุรักษ์ผีเสื้อด้วยซ้ำไป
การแสดงฉลากของอาหารตัดแต่งพันธุกรรม
เรื่องการแสดงฉลากอาหารนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้บริโภคจะได้ทราบว่าอาหารที่ซื้อและบริโภคนั้นเป็นอะไร และประกอบด้วยอะไรบ้าง ดังนั้นผู้บริโภคจึงต้องการให้แสดงฉลากอาหารตัดแต่งพันธุกรรมด้วย อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายให้ข้อคิดเห็นว่า
1.ถ้าอาหารตัดแต่งพันธุกรรมนั้นได้รับการพิสูจน์ ชัดเจนและได้รับการรับรองให้ออกสู่ตลาดได้จากหน่วยงานที่ควบคุมดูแลอยู่แล้ว จำเป็นที่จะต้องแสดงบนฉลากอีกหรือไม่ การแสดงฉลากอาจทำให้เข้าใจผิด ว่าอาหารนั้นไม่ปกติ นอกจากว่าอาจมีความเสี่ยงต่อการ แพ้บางอย่าง จึงจำเป็นต้องแสดงฉลากให้ผู้บริโภคทราบ
2.การแสดงฉลากอาหารที่มีส่วนประกอบของอาหารตัดแต่งพันธุกรรมอาจทำให้ค่าใช้จ่ายในการจัด
การการตรวจสอบติดตามสูงมาก เพราะมีชนิดอาหารเป็นพันๆ ชนิดที่มีส่วนประกอบของอาหารตัดแต่งพันธุกรรมเพียงเล็กน้อย ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจะไปเพิ่มราคาส่งต่อไปถึงผู้บริโภคต่อไป
3.เกษตรกรจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนเพิ่มขึ้นมากในการจะต้องแยกผลผลิตปกติ และผลผลิตที่ได้จากพืชตัดแต่งพันธุกรรม
อย่างไรก็ตาม เรื่องการแสดงฉลากนี้ยังไม่มีข้อยุติในภาพรวมระหว่างประเทศขณะนี้บางประเทศ ยอมเสียค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพื่อผู้บริโภคจะได้ทราบ เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มว่าจะมีกฎเกณฑ์การแสดงฉลากอาหารตัดแต่งพันธุกรรมออกมาในเร็วๆ นี้
********************************************************************************************
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
1.รศ.ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
2.กลุ่มกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3.รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปรับปรุงพันธุ์
ยีนแบคทีเรีย + ข้าวโพด ———–> ข้าวโพดที่ผลิตพิษฆ่าแมลงได้ด้วยตัวเอง
ยีนแบคทีเรีย + ถั่วเหลือง ————> ถั่วเหลืองที่ทนทานตัอยาปราบวัชพืช
ยีนไวรัสมะละกอ + มะละกอ ————> มะละกอที่ต้านทานโรคไวรัสจุดด่างวงแหวน
ฮอร์โมนของมนุษย์ +ปลา ————-> ปลาที่โตเร็วและตัวใหญ่ผิดปกติ
จีเอ็มโอในอาหาร
⇒ พืชจีเอ็มโอ 2 ชนิดหลักที่ปลูกเพื่อการค่าแล้ว ได้แก่ ถั่วเหลืองและข้าวโพด ซึ่งใช้เป็นส้วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารเกือบทุกชนิด นอกจากนั้นยังมีมะเขือเทศ มะละกอ มันฝรั่ง ฝ้าย และคาโนล่า (พืชใหน้ำมัน)
⇒ ประเทศที่ปลูกพืชจีเอ็มโอมากที่สุดในโลกได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และอารืเจนตินา ร้อยละ 95 ของพื้นที่ปลูกจีเอ็มโอทั่วโลกอยู๋ใน 3 ประเทศนี้
⇒ แม้ประเทศไทยจะยังห้ามนำเข็าเมล็ดพันธุพืชจีเอ็มโอมาปลูกเพื่อการค้า แต่ไทยก็นำเข้าวัตถุดิบถั่วเหลือง และข้าวโพดมาผลิตอาหารจำนวนมาก