กลยุทธ์ทางการตลาด แผนการมีอะไรทางลัดสำเร็จก่อน 7 กลยุทธ์?
กลยุทธ์ทางการตลาด 4p กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง กลยุทธ์ทางการตลาด ตัวอย่าง กลยุทธ์ทางการตลาด คือ กลยุทธ์ทางการตลาด 7p กลยุทธ์การตลาด
วิถีทางหรือแนวทางที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อจัดสรรและวางตำแหน่งกำลังทรัพยากรทางทหารในสนามรบ ด้วยจุดมุ่งหมายแห่งการพิชิตศัตรู กลวิธีหรือแบบแผนสำคัญที่ถูกวางไว้สำหรับการดำเนินงานใดๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสำเร็จ และส่งผลให้บรรลุ
กลยุทธ์เป็นแผนที่รวมทุกอย่างซึ่งสามารถรวมทิศทางการดำเนินในอนาคตได้ สามารถกำหนดการใช้ทรัพยากรขององค์กรได้บรรลุตามภารกิจและวัตถุประสงค์ ซึ่งสามารถแข่งขันอยู่ในตลาดได้ หากกล่าวอย่างสั้นๆ แผนกลยุทธ์คือ แผนที่ทำให้องค์กรอยู่รอดในระยะยาวและได้เปรียบการแข่งขันในตลาด ผู้วางแผนกลยุทธ์จะต้องสามารถมองไปข้างหน้า มองไปในอนาคตได้อย่างถูกต้อง
เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น รักษาฐานะทางการบริหารและการแข่งขันให้เหนือกว่าองค์กรอื่นและดำรงอยู่ในธุรกิจนั้นตลอดไป การวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการกำหนดกลยุทธ์และการนำกลยุทธ์ไปใช้ การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กร การเลือกกลยุทธ์ที่จะทำให้องค์กรสามารถไปสู่วัตถุประสงค์นั้นได้
การวางแผนกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับ 3 หัวข้อ ที่สำคัญ คือ
มีความสัมพันธ์ต่อความรับผิดชอบของผู้บริหารลำดับขั้นของกลยุทธ์ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ในกลยุทธ์ระดับต่างๆ ขององค์กร การวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ตลอดจนการสร้างระบบต่างๆ ในองค์กรเพื่อนำกลยุทธ์ไปใช้
การบริหารการตลาด ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ การวางแผน การปฏิบัติการ และการควบคุมแผนงาน เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้บริโภคกับกิจการ ทำให้กิจการสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์โดยมีขอบข่ายของงานการบริหารการตลาดดังนี้
CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility
corporate หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ไม่แสวงหาผลกำไร
social หมายถึง สังคม กลุ่มสังคม เป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ อยู่ที่ต้องการพัฒนาสังคมไหน
responsibility หมายถึง การร่วมรับผิดชอบ ทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อการทำธุรกิจ จนมาถึงการทำกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
CSR หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดย CSR สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับ 1 Mandatory Level
ข้อกำหนดตามกฎหมาย คือ การที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค,กฎหมายแรงงาน, การจ่ายภาษี
ระดับ 2 Elementary Level
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ คือ การที่ธุรกิจคำนึงถึงความสามารถในการอยู่รอดและให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งกำไรที่ได้นั้นต้องมิใช่กำไรซึ่งเกิดจากการเบียดเบียนสังคม
ระดับ 3 Preemptive Level
จรรยาบรรณทางธุรกิจ คือ การที่ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสมและผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่ใจเพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะสังคมใกล้ที่อยู่รอบข้างที่มีความคาดหวังว่าจะได้รับการดูแล หรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ
ระดับ 4 Voluntary Level
ความสมัครใจ คือ การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามแนวทางของ CSR ด้วยความสมัครใจไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคม ซึ่งการประกอบธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ
กิจการทางธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับ 1 เป็นอย่างน้อย ส่วนการดำเนินการในระดับต่อไปให้ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละองค์กร โดยหัวใจหลักสำคัญของการปฏิบัติตามแนวทาง CSR ควรอยู่บนหลักพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม
เนื่องจากการทำ CSR จะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาด มีความสำคัญต่อการวางกลยุทธ์ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้สึกได้ว่า เป็นการสร้างภาพลักษณ์มากจนเกินไป ที่สำคัญควรทำด้วยใจ เพราะไม่เพียงสร้างผลประโยชน์แก่องค์กรเท่านั้น แต่ชุมชน มูลนิธิ หรือคนอื่นๆ ก็จะได้รับประโยชน์ร่วมกันไปด้วย
หลักการ CSR ที่ดีจะต้องสร้างความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ ที่สำคัญควรจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้การทำ CSR นั้นเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดได้ ที่สำคัญสามารถสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างภาพลักษณ์ในสายตาคนในสังคมได้
เป็นกลยุทธ์กระบวนการของสินค้าหรือบริการ ซึ่งทำให้ผู้บริโภครายบุคคล/กลุ่มผู้บริโภค ได้รับสิ่งที่ตนเองจำเป็น Need ต้องการ Want ผ่านการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการด้วยสิ่งของมีมูลค่ากับอีกฝ่าย
เป็นการสร้างและบริการ Social and managerial process ซึ่งแต่ละบุคคล กลุ่มบุคคลได้รับสิ่งทีสนองความจำเป็น need ความต้องการ want ของเขาจากการสร้างสรรค์create การนำเสนอ offering การแลกเปลี่ยน Exchanging สินค้าหรือบริการ ที่มีคุณค่า Value กับบุคคลอื่นได้อย่างเสรี.
การยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญของการตลาด คุณภาพการบริการลูกค้าต้องดี เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีอันยาวนาน พนักงานต้องได้รับการอบรมให้รู้จักสินค้าของตนเป็นอย่างดี เพื่อจะได้สามารถช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ ขณะเดียวกัน องค์การควรมอบความไว้วางใจให้พนักงาน โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการทำงาน เพื่อให้เกิดการกระตุ้น เกิดความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วม หรือให้พนักงานมีส่วนเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท เพื่อการเป็นเจ้าของร่วม ทำให้เกิดกำลังใจในการทำงาน
คุณค่า(Value) = ประโยชน์ = ประโยชน์ตามหน้าที่ + ประโยชน์ทางอารมณ์จิตใจ
ต้นทุน ต้นทุนที่เป็นตัวเงิน + เวลา+ พลังงาน + สุขภาพจิต
คุณค่า (Value) หมายถึง คุณค่าสินค้าหรือบริการเพื่อจูงใจให้ผลิตภัณฑ์เกิดการแลกเปลี่ยน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เสนอให้กับลูกค้าต้องมีคุณค่า (Value) ในสายตาของลูกค้า ต้องมีแตกต่างจากคู่แข่งขัน (Competitive differentiation) นักการตลาดต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้มีคุณค่าเพิ่ม (Value added) ในสายตาของลูกค้า
กลยุทธ์ ระดับ องค์กร คือ กลยุทธ์ระดับองค์กร หรือ Corporate Level Strategy
เป็นกลยุทธ์ระดับมหภาคที่ครอบคลุมทุกแง่มุมในการดำเนินธุรกิจ เป็นจุดเริ่มที่สำคัญที่ทุกองค์กรควรจะกำหนดขึ้นก่อนเริ่มธุรกิจเพราะจะช่วยทำให้เห็นวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนมุ่งเน้นความมุ่งหมายขององค์กรว่า ต้องการจะทำอะไรในระยะยาวให้สำเร็จ
กลยุทธ์ ระดับ ธุรกิจ คือ กลยุทธ์ระดับธุรกิจ หรือ Business Level Strategy
เป็นกลยุทธ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อแปลงวิสัยทัศน์หรือความมุ่งหวังของกลยุทธ์ระดับองค์กรให้มีความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ขั้นตอนในรายละเอียดของวิธีการที่จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
กลยุทธ์ CRM คือ อะไร
Customer Relationship Management (CRM) โดยเน้นในด้านการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีศักยภาพและโอกาสในการทำกำไรสูงให้กับธุรกิจโดยกิจการต้องการให้ลูกค้าอยู่กับกิจการอย่างยาวนาน โดยเน้นกิจกรรมทางการตลาด ตลอดจนให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูง
ย่อมาจาก Search Engine Optimization หมายถึง กลยุทธ์การโปรโมทเว็บไซต์ให้ติดอยู่ในอันดับต้นๆ บน Search Result Page หรือหน้าแสดงผลการค้นหา เมื่อกรอก Keyword หรือคำค้นหา ที่ผ่านทางช่อง Search Engine หรือเครื่องมือค้นหา ในโปรแกรมอินเตอร์เน็ท Google, Yahoo!, Bing ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่มีเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ในระยะยาว
กลยุทธ์ ระดับ หน้าที่ คือ กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ หรือ Functional Level Strategies
เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในงานประจำวันซึ่งต้องจัดทำเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรกำลังมุ่งไปสู่เป้าหมาย การทำงานตามภาระหน้าที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งเชื่อมโยงกับเป้าหมายของกลยุทธ์ระดับธุรกิจและระดับองค์กร บางภาระหน้าที่จัดเป็นสายงานหลัก (line) ในขณะที่บางภาระหน้าที่จัดเป็นสายสนับสนุน (staff)
ยกตัวอย่างกลยุทธ์ระดับหน้าที่ เช่น กลยุทธ์ crm คือ
CRM ป็นทั้งกลยุทธ์ของพนักงานในองค์กรที่จะในการให้บริการแก่ลูกค้า เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างและรักษาความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อองค์กรและเป็นผู้สร้างกำไรระยะยาวให้กับองค์กร สามารถช่วยให้องค์กรคาดการณ์ส่วนแบ่งทางการตลาดได้ แต่ว่าจะต้องให้ความสำคัญกับทั้งลูกค้าภายในและภายนอกองค์กร
การทำ CRM จะประสบความสำเร็จได้อย่างไร Key สำคัญก็อยู่ที่ขั้นตอน ดังนี้
กลยุทธ์แห่งการรวมพลังที่เกิดจากการรวมกันย่อมมีมากกว่าแต่ละส่วนดำเนินการเอง ในด้านการบริหารกลยุทธ์ผู้บริหารจะต้องส่งเสริมให้การบริหารบรรลุพลังรวมทั้ง 4 อย่างคือ ต้นทุน เทคโนโลยีและการบริหารให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แนวคิดทางด้านพลังรวมนี่เองที่ทำให้เกิดการตัดสินใจรวมธุรกิจเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้บริษัทมียอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมาก
กลยุทธ์การตีตลาดจากพื้นที่รอบข้างที่มีคู่แข่งน้อย เข้าสู่ภายในที่มีคู่แข่งที่แข็งแรง ใช้ความได้เปรียบจากฐานลูกค้าและพื้นที่ทำเล ที่ถึงแม้มีน้อยและอ่อนแอกว่า แต่ก็อยู่ในตำแหน่งที่ล้อมคู่แข่งไว้ จนคู่แข่งไม่สามารถขยับขยายตัวได้
เป็นคำศัพท์เชิงทหารจากตำราพิชัยสงคราม นำมาใช้ในหลักการทำธุรกิจ คือการตีตลาดจากต่างจังหวัดพื้นที่รอบๆข้างที่มีจำนวนคู่แข่งน้อยราย ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจน้อยก่อนถึงปริมาณลูกค้าจะไม่มาก แต่จะใช้พื้นที่นี้ในการสร้างฐานที่แข็งแกร่งสู่การเข้าไปตีตลาดหลัก
สูตรผสมกลยุทธ์ของการตลาด4P เป็นคาถาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ทางการตลาดกันเลยทีเดียว หรือที่เรียกกันว่า ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) ประกอบด้วย Product Price Place Promotion ซึ่งเป็นมุมมองทางด้านของผู้ประกอบการ
อาทิเช่น กลยุทธ์ ผลัก คือ Push Strategy การส่งเสริมการตลาดแบบผลักหมายความว่าแบรนด์จะใช้พนักงานขายบวกกับการส่งเสริมการขายไปยังคนกลางซึ่งอาจจะเป็นร้านโชว์ห่วย ร้านค้าปลีกต่างๆ ด้วยการโฆษณา หรือการส่งเสริมการขาย ลด แลก แจก แถม
Pull Strategy หรือ การส่งเสริมการตลาดแบบดึง แบรนด์จะโปรโมทสินค้าผ่านเครื่องมือต่างๆ ไปยังผู้บริโภค ทั้งการโฆษณา การส่งเสริมการขาย เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคอยากซื้อสินค้า และหากทำสำเร็จ ตลาดก็จะเกิดความต้องการขึ้น ช่องทางจัดจำหน่าย คนกลาง ร้านค้าปลีก ก็จะต้องการสินค้านั้นไปขาย
กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด
กลยุทธ์ การ ตลาด 4p คือ Marketing Mix เป็นเครื่องมือวางแผนการตลาดผ่านการวิเคราะห์ส่วนผสมทางการตลาด 4 ส่วน
Promotion ใช้ IMC เรียงลำดับความสำคัญของเครื่องมือ โดยเน้นวัตถุประสงค์ 5 กลยุทธ์
กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง หรือ Differentiated marketing ตามแนวทางจะเลือกส่วนแบ่งตลาดที่มากกว่า 1 ส่วน เป็นตลาดเป้าหมาย โดยออกแบบผลิตภัณฑ์ และส่วนผสมทางการตลาดให้ต่างกันตามความเหมาะสมกับแต่ละส่วนตลาด การใช้นโยบายการตลาดที่แตกต่างกันมีทั้งข้อดี และข้อเสีย
สำหรับการตลาดที่ต่างกันประกอบด้วย
กลยุทธ์ความได้เปรียบทางด้านต้นทุนต่ำ หรือ Cost leadership ก็คือ องค์การผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่งขันและเปรียบเทียบกับประโยชน์ใช้สอยของสินค้านั้น โดยปกติต้นทุนต่ำจะเกิดขึ้นเมื่อตลาดใหญ่มากและสินค้าที่ผลิตจะต้องเป็นสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกัน การที่มีต้นทุนของสินค้าเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างต่ำเท่านั้นไม่เพียงพอ แต่จะต้องเป็นต้นทุนส่วนรวมขององค์การและของทุกผลิตภัณฑ์ ผลดีของต้นทุนต่ำก็คือ บริษัทมีกำไรสูงกว่ากำไรปกติและขณะเดียวกันป้องกันคู่แข่งไม่ให้ลดราคาลง ป้องกันลูกคาและผู้ขายวัตถุดิบกดดันในด้านราคาเพราะต้นทุนต่ำอยู่แล้ว
กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญและเสริมสร้างความดีงามของสังคม สิ่งแวดล้อม ประยุกต์/มีความยืดหยุ่นในการใช้กลยุทธ์การตลาดสีใดก็ได้ ตามที่มั่นคง แข็งแกร่ง ยั่งยืนเป็นฐานที่ มั่นในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน หากผู้บริหารและองค์กรมีความยึดมั่นอยู่บนคุณงามความดี ศีลธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ ความจริง และปรับมุมมองจากที่คอยตักตวงผลประโยชน์จากสังคม มาเป็นการช่วยเหลือ แบ่งปัน และเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม แสวงหาจุดสมดุลระหว่าง People, Planet, Profit และ Passion เป็นแรงขับเคลื่อนในการบริหารงานทุกภาคส่วน ใช้ CSR วัตถุประสงค์ในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรสู่สังคม มีพันธกิจ วิสัยทัศน์ นโยบาย การผลิต การบริหาร การตลาด การสื่อสาร การบริหารงานบุคคล ฯลฯ นับจากวันก่อเกิดองค์กร แต่งงบประมาณสูง ส่งผลให้อาจขาดความต่อเนื่องได้
การเพิ่มกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะกับ ‘ธุรกิจบริการ’ ประกอบด้วย
ประเภทกิจกรรม กลยุทธ์ csr คือ สามารถแบ่งได้ออกมาเป็น 5 ประเภทหลักดังนี้
– ลงทุนในธุรกิจใหม่ที่เกื้อหนุนธุรกิจเดิม โดยเป็นธุรกิจที่อยู่ต้นทางหรือปลายทางของธุรกิจเดิม (Forward – Backward Integration)
– ลงทุนในธุรกิจใหม่ที่แตกต่างไปจากธุรกิจเดิมโดยสิ้นเชิง (Conglomerate Diversification) เพื่อกระจายความเสี่ยงของการลงทุน
– จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ (Alliance Strategy) เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้ธุรกิจเดิมโดยไม่ต้องลงทุนเอง
– ขายทิ้งกิจการบางส่วน (ที่ไม่ทำกำไร หรือขาดทุน)
– ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ (Restructure)
ดังนั้นทำให้ กลยุทธ์ มี 3 ระดับ คือ แบ่งตามขนาดโครงสร้าง มีตามระดับองค์กร ตามระดับธุรกิจ และตามระดับปฏิบัติการ
กลยุทธ์ retrenchment คือ กลยุทธ์การลดขนาดกิจการ หรือกลยุทธ์หดตัว ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ บริษัทไม่สามารถทำกำไรได้ เกิดความขาดทุนในกิจการ
นอกจาก 3C แล้ว ถ้าต้องการเน้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าต้องอาศัยการทำ 2I ดังนี้คือ
Integration การรวมเข้าด้วยกัน นั่นคือ การรวมข้อมูลของลูกค้าให้แผนกต่าง ๆ ของบริษัทรับรู้ข้อมูลข่าวสารของลูกค้าอย่างทั่วถึง ทั้งบริษัท ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อมาจากทางแผนกใด ๆ ก็ตามต้องตอบคำถามของลูกค้าได้โดยไม่มีการปฏิเสธและต้องรู้ข้อมูลของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง เพื่อตอบสนอง การทำการตลาดแบบตัวต่อตัว ซึ่งคือ C ตัวที่ 2 Customization นั่นเอง
Interaction การทำการตลาดแบบตอบโต้ การสนทนาตอบโต้กับลูกค้ายุคของข้อมูลข่าวสารมีอิทธิพลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลเพื่อให้เข้าใจได้ถึงความต้องการของลูกค้ามากขึ้นโดยการเลือกสื่อที่สามารถเข้าถึงลูกค้าอย่างทันท่วงทีเช่น อินเทอร์เน็ต
เป็นกลยุทธ์ที่ใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติ การลดไม่ให้เกิดขยะและปัญหาโลกร้อน
TOWS Matrix คือ การสร้างกลยุทธ์ใหม่จากสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบันขององค์กร ที่มีการต่อยอดมาจาก SWOT Analysis ด้วยการจับคู่ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกขององค์กร
SWOT Analysis ประกอบด้วย
วิเคราะห์สิ่งดีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ (Product) และบริษัท
ปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร ได้แก่
เมื่อนำปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมาจับคู่กัน จะทำให้เกิดเป็นการวิเคราะห์ของ TOWS Matrix ได้ออกมาเป็นกลยุทธ์ 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
Strength และ Opportunity หมายถึง การใช้จุดแข็งร่วมกับโอกาส
เป็นกลยุทธ์ที่เน้นสร้างผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุด ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งของธุรกิจร่วมกับโอกาสที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในตลาดให้ดียิ่งขึ้น จุดแข็งเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถส่งเสริมให้ธุรกิจเจริญเติบโตได้อย่างที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องมองถึงโอกาสในปัจจุบันหรือโอกาสที่กำลังจะมาถึง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างก้าวกระโดด หรือที่เรียกกันว่า “ถูกจุด ถูกเวลา”
Weakness และ Opportunity หมายถึง การใช้โอกาสลดจุดอ่อน
กลยุทธ์การอุดจุดอ่อนอาจเป็นเรื่องของจังหวะเวลา ที่จะเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจแก้ไขจุดอ่อนหรือลดทอนจุดอ่อนของตัวเองลงไปได้ เช่น ช่วงโควิดที่คนต้องกักตัวอยู่บ้านสามารถปิดจุดอ่อนด้วยการหันไปขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และวางกลยุทธ์โฆษณาร้านบนสื่อออนไลน์มากขึ้นสามารถจับเทรนด์ในตลาด และเข้าถึงลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche Market)
Strength และ Threat หมายถึง การใช้จุดแข็งรับมืออุปสรรค
กลยุทธ์จุดแข็งที่มีอยู่มาป้องกันหรือหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากรบุคคลหรือเครื่องมือในองค์กรก็ตาม เนื่องจากหลายองค์กรที่กำลังเติบโตอย่างมาก มักมีความต้องการใช้จุดแข็งเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์เชิงรุกเพียงอย่างเดียว จนอาจมองข้ามการนำจุดแข็งมาเตรียมรับมือกับอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น
Weakness และ Threat หมายกึง การแก้ไขจุดอ่อนและเลี่ยงอุปสรรค
กลยุทธ์แบบนี้จะแตกต่างจากอีก 3 กลยุทธ์ที่ ป้องกันเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่เป็นกลยุทธ์เชิงรับที่มีไว้เพื่อพยุงสถานการณ์ของที่เกิดขึ้นไม่ให้แย่ลง ด้วยการพยายามบรรเทาปัญหาหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหาเกิดเพิ่ม ลักษณะเป็นกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
Marketing 3.0 เป็นยุคของการใช้ค่านิยมเป็นตัวผลักดันการตลาด (values-driven era) โดยอาศัยองค์ประกอบ (building blocks) 3 ประการได้แก่ Collaborative, Cultural และ Spiritual Marketing
แนวคิดแบรนด์ใหม่ด้วย 3i Model การสร้างแบรนด์ในความคิดใหม่ยุค 3.0 จะเป็นโมเดล 3I คือ
ช่วยให้องค์กรมีการสร้าง 3 มิติ คือ เหตุผล อารมณ์ และจิตวิญญาณ มองลูกค้าเป็นคนที่มีจิตวิญญาณ ต้องการมีส่วนร่วมทั้งส่วนตัวและสังคม
CSV ย่อมาจาก Creating Shared Value หมายถึง กลยุทธ์การสร้างวิถีคุณค่าทางธุรกิจ โดยการใช้แนวคิด และรูปแบบทาธุรกิจ ผนวกเข้ากับความสามารถในการแสวงหากำไร และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กร โดยใช้ทรัพยากร และความชำนาญการขององค์กรเพื่อสร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจสู่สังคมไปพร้อมกัน
กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่มุ่งสร้างตลาดใหม่ที่ไร้การแข่งขัน ทำให้คู่แข่งขันไร้ความหมาย สร้างและเน้นลูกค้าใหม่ กรองความต้องการของผู้บริโภค สร้างความต้องการที่ไม่เคยมีมาก่อน ราคาไม่มีผลต่อคุณค่าของสินค้า สร้างความแตกต่างและที่ต้นทุนต่ำ เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันแบบดั้งเดิม ผู้ประกอบการต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่าง หรือต้องสร้างความต้องการใหม่ ๆ (New Demand) โดยใช้ Innovation ใหม่ๆ เนื่องมาจากมีเครื่องมือสนับสนุนที่มีความเป็นปัจจุบัน ดังนั้น หากผู้ประกอบการจะสร้างกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นกลยุทธ์แบบ “ทะเลสีน้ำเงิน” เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาก่อนว่าลูกค้าในอุตสาหกรรมของตนเอง ในเวลานี้ซื้อสินค้าหรือบริการด้วยเหตุผลด้วยราคาที่ต่ำ หรือซื้อที่ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นจึงเริ่มมาวิเคราะห์ว่าใครคือผู้ที่ไม่ใช่ลูกค้าของธุรกิจเรา? (Non-Custommer)
กลยุทธ์ 5C มีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
มีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมภายในบริษัท
กลยุทธ์ 5C ประกอบไปด้วย
กลยุทธ์ Strategic สำหรับนักบริหาร อ้างอิงจาก หนังสือการจัดการเชิงยุทธศาสตร์สำหรับ CEO
โดย รองศาสตราจารย์ อาจารย์บุญเกรียติ ชีวะตระกูลกิจ
“ถ้าคุณจะนั่งเครื่องบิน …. อย่าไปหัวลำโพง”
แหล่งอ้างอิง :
หนังสือเรียน “ประเด็นในปัจจุบันทางการตลาด” โดย ดร.วิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก กรุงเทพฯ
หนังสือเรียน “การจัดการการตลาด” โดย ดร.ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก กรุงเทพฯ
หนังสือเรียน “การจัดการเชิงกลยุทธ์” โดย ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ, อาจารย์วีระ วีรขจรศักดิ์ และดร.ธณษ์วรรณ ร่างใหญ่ : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก กรุงเทพฯ
หนังสือ “การจัดการเชิงกลยุทธ์ : การสร้างและการดำเนินกลยุทธ์” แปลและเรียบเรียง โดย ดร. ทรรศนะ บุญขวัญ
หนังสือ “มองโลกให้ บวก” โดย ดร. ทรรศนะ บุญขวัญ
เอกสารประกอบการบรรยาย “การจัดการการเชิงกลยุทธ์” โดยอาจารย์ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก กรุงเทพฯ
หนังสือ “หนังสือการจัดการเชิงยุทธศาสตร์สำหรับ CEO” โดย รองศาสตราจารย์บุญเกรียติ ชีวะตระกูลกิจ
หนังสือ “การบริหารการตลาดยุคใหม่” โดย ร.ศ. ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ
https://greedisgoods.com/retrenchment-strategy-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/
http://research.swu.ac.th/downloads/PROMOTIONAL%20STRATEGY.pdf
https://thaiwinner.com/surrounding-your-competitions/
https://mbamagazine.net/index.php/intelligent/esg-chapter/item/1888-csv
https://thaiwinner.com/surrounding-your-competitions/
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com