4m

แนวทฤษฎีหลักการบริหารความสําคัญประกอบด้วย MANAGEMENT4M

Click to rate this post!
[Total: 337 Average: 5]

4m คือ

4m Material, Man, Machine และ Method องค์ประกอบของ ทฤษฎี 4m เป็นหนึ่งในทฤษฎีการบริหารปัจจัยในกระบวนการผลิต ที่จะต้องบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตให้ต่ำที่สุด และเป็นตัวช่วยในการเพิ่มผลผลิตให้กับผู้ประกอบการ

  • คน Man
  • เงิน Money
  • วัตถุดิบ Material
  • การบริหารจัดการ Management

หลักการบริหาร 4m

ในการผลิตจะมีขั้นตอนควบคุมการผลิตเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นในผลผลิตที่ได้ให้เกิดกับลูกค้า ดังนั้น ในกระบวนการผลิตจะเน้นเรื่องของความสามารถในการควบคุมการผลิต โดยมีเป้าหมายที่จะควบคุมให้การผลิตมีคุณภาพที่ดี มีความสม่ำเสมอ สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามเป้าหมาย ในบทความนี้จะพูดถึงการจัดการกับปัจจัยหรือตัวแปรในการผลิต

โดยทั่วไปแล้วมักจะให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยหลักที่สำคัญ 4 กลุ่มได้แก่ Man, Method, Material และ Machine หรือที่มักนิยมเรียกว่า 4M เพราะปัจจัยเหล่านี้มีความสำคัญจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการผลิตได้ รายละเอียดปัจจัยในแต่ละกลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้

หลักในการบริหารมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและในแต่ละสถานการณ์ แต่ที่สำคัญที่ได้ยึดถือกันมาโดยตลอดคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) โดยมีการปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่สำคัญ ๆ ทุกคนควรจะต้องรับรู้รับทราบ ร่วมกันตัดสินใจ และร่วมกันทำ รวมทั้งการใช้หลัก การบริหารแบบพี่น้อง มีปัญหาหรือเรื่องอะไรที่สำคัญ จะปรึกษาผู้อาวุโส ซึ่งเป็นที่เคารพของทุกคน ไม่มีการเข้มงวดมาก มีการให้รางวัลและพร้อมที่จะไม่ให้รางวัลแก่คนที่ไม่ดี มีอะไรก็จะพูดกันแบบตรงไปตรงมา ดูผู้อาวุโส เป็นต้นแบบ (Modeling)

ผู้บริหารระดับกลางจะต้อง ศึกษา Style การบริหารและวัฒนธรรมของหน่วยงานของตน เพราะ style การบริหารแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องปรับรูปแบบการบริหารของเราให้เข้ากับนายได้ วิธีการพูดหรือ approach กับนายบางคนก็มีลักษณะนิสัยการทำงานที่ไม่เหมือนกัน ต้องศึกษาว่านายที่ทำงานด้วยเป็นอย่างไร culture เป็นอย่างไง

4m management

4mมีอะไรบ้าง
ปัจจัย การ บริหาร 4m
  1. แนวคิดทฤษฎีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ Man คือ คนงาน พนักงาน หรือบุคลากรทั้งจากภายและภายนอก เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด
    • เพราะการผลิตหรือดำเนินการใด ๆ จะต้องเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยคน ทั้งในดานความคิด การวางแผน การดำเนินการ หรือจัดการทำให้เกิดการผลิตหรือกิจกรรมทางธุรกิจทุกรูปแบบ การพัฒนาคนจริงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ การบริหารกำลังคน ต้องมีการพัฒนาคนด้านความรู้ ทักษะ และวางแผนการใช้คนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับงานให้มากที่สุด
  2. money management คือ เงินทุน Money
    • เงินหรือทุน ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจทั้งจากเงินทุนภายในและภายนอก ในทางธุรกิจเงินทุนถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด เพราะการทำธุรกิจทุกอย่างไม่สามารถดำเนินได้ดีหากขาดทุนในการดำเนินงานของทฤษฎีการบริหารจัดการ เมื่อทำธุรกิจทุกอย่างจะต้องเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเงินทุน เพราะจะเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจและปัจจัยต่างๆ ให้ดำเนินการไปได้ทั้งในด้านค่าแรงคน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ การมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามหลักการบริหารงานในการดำเนินธุรกิจ
  3. วัสดุ ( Material ) คือ วัสดุสิ่งของ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนอะไหล่ ผลิตภัณฑ์ บริการหรืออุปกรณ์อื่นๆ
    • มีส่วนนำมาใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ เป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต่อมา เพราะทุกธุรกิจต้องอาศัยสิ่งที่ได้ในกลุ่มนี้มาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิต ดังนั้นต้องรู้จักบริหารจัดการวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพสามารถมีเพียงพอในการผลิต บริหารจัดการให้ได้ต้นทุนที่ต่ำในการผลิต และทำให้ธุรกิจได้ผลกำไรสูงสุด การบริหารวัสดุ ในการดำเนินงานว่าทำอย่างไรให้สิ้นเปลืองทรัพยากรในการผลิตให้น้อยที่สุด หรือการใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด
  4. การบริหารจัดการ Management คือ การให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกัน
    • เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสรรบุคลากร การนำหรือสั่งการ และการควบคุมองค์กรหรือความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันการจัดการทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วยการใช้งานตามตำแหน่ง ตลอดจนการจัดวางทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรเทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งยังช่วยบริหารให้กับองค์กรต่างๆ ให้มีความก้าวหน้าด้วย

การ วิเคราะห์ 4m

ปัจจัยในกระบวนการผลิต 4 ด้าน (4M in Production Process) เรื่องของคน ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะมีผลกับการผลิต และปัจจัยต่างๆ ก็จะมีความสำคัญมากน้อยตามลำดับความเหมาะสมในแต่ละองค์กร ขึ้นอยู่กับความต้องการ ความสามารถ และการจัดการขององค์กรเหล่านั้นว่ามีการบริหารจัดการที่ดีหรือไม่

จากการที่ปัจจัย 4M มีความสำคัญจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการผลิตได้ ดังนั้น บางครั้งจะเห็นว่า ทฤษฎี การบริหาร 4m  เป็นกลยุทธ์ แนวคิดการบริหารจัดการเพิ่มลูกค้า รักษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายกับลูกค้า เนื่องจากมีลูกค้าบางราย มักจะกำหนดให้ผู้ผลิตต้องมีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยเหล่านี้ โดยเมื่อไหร่ที่ผู้ผลิตต้องการเปลี่ยนปัจจัยเหล่านี้จะต้องทำการแจ้งให้ลูกค้ารับทราบและให้เขาอนุมัติก่อน

อย่างไรก็ตามในการทำธุรกิจในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ปัจจัยในกระบวนการผลิต 4 ด้าน (4M in Production Process) อาจเริ่มไม่เพียงพอสำหรับการที่องค์กรจะสามารถบรรลุสู่เป้าหมายทางธุรกิจในด้านการผลิตหรือบริการได้ ผู้บริหารงานด้านธุรกิจในยุคปัจจุบันจึงพยายามหาวิธีสร้างความสมบูรณ์ในงานโดยเพิ่มปัจจัยที่สำคัญขึ้นอีก 4 ปัจจัย เพื่่อให้บรรลุความสำเร็จในงาน

การวิเคราะห์ข้อมูล 4M
การวิเคราะห์ข้อมูล 4M

3m คือ

มักเป็นทฤษฎีคนไทยชอบใช้แค่ 3 M คือ คน (Man) เงิน (Money) และวัตถุดิบ (Material) ที่ไม่ค่อยได้ใช้ M อีกตัวคือ การบริหารจัดการ (Management) เพราะยามเศรษฐกิจดี จะเริ่มจาก money man material หรืออาจจะกลับไปมายังไงก็ได้

  1. man คือ เป็น people company นั่นคือ ธุรกิจต้องดำเนินไปด้วยคน ต้นทุนส่วนใหญ่ขององค์กรอยู่ที่เงินเดือน และสวัสดิการ ปรับตัว คนออกไม่รับเพิ่ม และโยกย้ายคนไปยังหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานที่ทำเงินมากขึ้น หรือหน่วยงานต้องการกำลังเสริมเพื่อเดินหน้าต่อสำหรับงานใหญ่ๆ อย่างหน่วยงาน ต่างประเทศ ของผมปีนี้น่าจะทำเงินได้มากขึ้น ก็ย้ายคนไปยังหน่วยงานนั้นๆ
  2. m money คือ เงิน คุณต้องมาพิจารณาทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายปีที่แล้วโดยจะต้องกลับมารีวิวใหม่ทั้งหมด ในเมื่อภาพไม่ได้เป็นตามที่วางแผนไว้ เงินเข้ามาลดลง จะทำอย่างไร จะสามารถหาเงินจากแหล่งอื่นได้หรือไม่ ลองหันมองรอบๆ ตัว และต้องมาบริหารต้นทุนด้วย ต้องลงไปดูอย่างจริงจัง อะไรที่ลดได้รีบลด ประหยัดไว้ก่อน ก่อนจะต้องเฉือนเนื้อตัวเอง ธุรกิจใหม่ๆ หรือธุรกิจที่มีความเสี่ยง งดหรือเลื่อนออกไปก่อน
  3. M – Material หรือวัตถุดิบ หรือสิ่งที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ บริษัทที่ต้นทุนอยู่ที่ Material รีบทบทวน จะหาสิ่งที่ทดแทนกันได้ หรือ หาแหล่ง Material ใหม่ๆ ก็จงเร่ง หรือคิดจะไปต่อรองกับ Vendor หรือ Supplier ให้ช่วยกันยามเดือนร้อนให้ผ่านภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายแบบนี้ไปด้วยกันก็เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาอย่างเร่งด่วนเช่นกัน

ซึ่งคนไทยมักจะลืมเรื่องการดึงเอา M – Management มาบริหารจัดการซึ่งเป็นวิธีคิดตาม ทฤษฎี 4m หรือ หลัก 4 m ที่ไม่ถูกต้องและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างฟุ่มเฟือย

Management คือ

ตามการบริหารจัดการธุรกิจ Management ความหมาย คือ การบริหารจัดการ

” การบริหารและการจัดการ ” คือ กระบวนการของการมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรจากการทำงานร่วมกัน โดยใช้บุคคลและทรัพยากรอื่นๆ การประสานงานและการบริหารหน้าที่ต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายบางอย่าง ประกอบไปด้วยการวางแผน การบริหารทรัพยากรบุคคล และการควบคุมองค์กร โดยที่การบริหารจัดการครอบครัวขยายตัวของธุรกิจตั้งแต่การบริหารจัดการการเงิน การตลาด ทรัพยากรบุคคล กลยุทธ์ การผลิต การปฏิบัติการ และการบริการ

” องค์ประกอบของการจัดการ ” คือ คน (people), กระบวนการ (process), เนื้อหาหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ (content/IT) และกลยุทธ์ (strategy)

” การจัดการทั่วไป  ” คือ ศิลปะในการจัดการให้บุคคลอื่นหรือสมาชิกทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

” การบริหาร ” คือ การดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยอาศัยคน เงิน วัตถุ สิ่งของเป็นปัจจัยในการบฏิบัติงาน

แนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการ

แนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการ
แนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการ
  1. ความรู้เชิงเทคนิคเฉพาะทาง (Technical Skills) ในแต่ละหน้าที่การงาน
    • ผู้บริหารต้องสามารถเข้าใจงานที่ลูกน้องทำได้ เช่น หากอยากจะคุมทีมนักขายก็ต้องขายเป็น หากอยากจะคุณทีมโปรแกรมเมอร์ก็ต้องมีความรู้มาก่อน ความรู้ส่วนนี้จะทำให้ผู้บริหารสามารถช่วยเหลือพนักงานได้ และ ทำให้สามารถประเมินคุณภาพและระยะเวลาในการทำงานได้
  2. ความรู้เชิงภาพรวม (Conceptual Skills) ความสามารถในการมองภาพรวม (Big Picture)
    • ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาในมุมมองที่คนทั่วไปมองไม่เห็น หลายคนเรียกสิ่งนี้ว่าความคิดสร้างสรรค์ บางคนอาจจะบอกว่าเป็นทักษะในการถามและแก้ปัญหาให้ตรงจุด หากพนักงานทั่วไปมีหน้าที่ทำงานประจำ ผู้บริหารก็คือคนที่มองภาพรวมของงานประจำออกและสามารถช่วยพัฒนากระบวนการหรือสร้างเป้าหมายทิศทางได้
  3. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Skills) การร่วมงานกับผู้อื่น
    • ร่วมงานกับบุคคลภายนอกและทักษะในการคุมทีม ซึ่งทีมแต่ละทีม องค์กรแต่ละองค์กร อาจใช้วิธีการบริหารที่แตกต่างกัน ผู้บริหารที่ดีอาจเป็นคนที่ทำงานกับคนได้หลากหลาย หรือถูกออกแบบมาเพื่อทำงานกับองค์กรแบบนี้เฉพาะทางเลยก็ได้

ทฤษฎี 4 M เป็นของใคร

POWER GAMES เป็น ทฤษฎีบริหาร 4M ในทรรศนะทฤษฏีการบริหาร ของ “Peter F.Drucke” (Management Tasksหรือ Management Responsibility)

Peter-f.drucker
Peter-f.drucker

หลักการ บริหาร 4m ปัจจัย

ปัจจัยที่ใช้ในการบริหารจัดการงานบุคคลที่เรียกสั้นๆว่า4M มีอะไรบ้าง ?

Man = การบริหารกำลังคนจะใช้คนอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลกับงานให้ได้เกิดประโยชน์มากที่สุด
Money = การบริหารเงิน จะจัดสรรเงินอย่างไรให้ใช้จ่ายต้นทุนน้อยที่สุด แต่ให้การใช้จำนวนเงินที่มีให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มีประโยชน์สูงสุด
Materials = การบริหารวัสดุในการดำเนินงาน ว่าจะทำอย่างไรให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด ไม่สูญสียทรัพยากรหรือของสิ้นเปลื้องให้น้อยที่สุด หรือให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Management = การจัดการ คือกระบวนการจัดการบริหาร ตลอดจนการควบคุมเพื่อให้การทำงานทั้งหมดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างเต็มที่ ภายใต้ทรัพยากรที่มีทั้งหมด

ทรัพยากรการจัดการ

“Worren G Bennis”   ชี้ ให้เห็นว่าคนมีการศึกษาสูง ระบบการสื่อสารเจริญก้าวหน้า เทคโนโลยีการผลิต และการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองบ่อย ประชาชนได้มีส่วนร่วมการเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ขนาดขององค์การและความต้องการของผู้บริหารหรือสมาชิกในองค์การเพิ่มจำนวนมาก ขึ้น ระบบการบริหารแบบเดิมเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมาไม่สามารถทำให้ทุกหน่วยขององค์การเจริญเติบโตได้ ผู้บริหารจึงควรมีการพัฒนาทรัพยากรทางการจัดการองค์การอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยอาศัยหลักการดังนี้

  1. กำหนดเป้าหมาย (Goal Satin) ควรมีการประชุม อภิปราย เพื่อกำหนดนโยบายร่วมกันทั้งฝ่ายผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างชัดเจน และตรงไปตรงมา
  2. ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relations) ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกัน  เพราะความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน
  3. การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations) การมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การถือเป็นผลพลอยได้ขององค์การ แต่ไม่ว่าคนในองค์การจะมีสัมพันธภาพ ที่ดีต่อกันหรือไม่ก็ตาม ควรได้รับการเปิดเผย เพื่อให้ต่างฝ่ายได้รู้ถึงปัญหา เมื่อรู้ถึงปัญหาทุกคนจะพยายามปรับตัวเข้าหากันและตั้งใจทำงานมากขึ้น
  4. ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมใน การดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหา ระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force) ภายในระบบของหน่วยงานนั้นๆ
  5. แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ (Linking) ความสามารถในการโน้มน้าวคนในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกัน ซึ่งแนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการโน้มน้าวคนในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกันมากที่สุด

หลักการบริหารจัดการ 4  ทฤษฎีทางการจัดการ หลักการบริหารงานในองค์กร

การบริหาร การจัดการ หมายถึง  การดำเนินงานเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยทรัพยากรหรือปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อบริหาร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดการบริหารและการพัฒนาองค์การถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการดำเนินงานให้เป็นผลสำเร็จ เช่นการใช้ ทฤษฎี 3m ใช้ทฤษฎีหลักการบริหาร 4m ในองค์กร และแนวคิดทฤษฎี 4m มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของผู้บริหาร

การบริหารงาน
การบริหารงาน

เนื่องจากผู้บริหารไม่ใช่เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ  แต่จะเป็นผู้ใช้ศิลปะในการทำให้ผู้ปฏิบัติ ทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายตามที่ผู้บริหารตั้งใจ ผู้บริหารยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่หลากหลาย ท้าทาย และเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก จะต้องทำงานโดยมุ่งเน้นแก้ปัญหาที่ซับซ้อนตลอดเวลา ต้องเผชิญกับการแข่งขัน ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับต่างๆ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ภาวะวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

ลักษณะงานบริหารจึงไม่แน่นอน เสี่ยงกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและความหลากหลายต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเกิดภาวะที่ท้าทาย ตามหลักทฤษฎี 5m man money machine material management เหล่านี้ ผู้บริหารก็ควรแสวงหาโอกาสและสร้างความได้เปรียบให้เกิดแก่องค์การ (เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส) โดยการมุ่งเน้นพัฒนาองค์การในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นระบบ โดยไม่คำนึงถึงตัวบุคคลแต่ให้พิจารณาที่ผลงานเป็นหลัก

ลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การการ พัฒนาองค์การจะมีลักษณะต่างๆ หลายประการ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงและทีมที่ปรึกษาจะต้องพิจารณาควบคู่กันไป เช่น การพัฒนาจะมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมขององค์การ (Organization Cultural), ค่านิยม (Value) และ ทัศนคติของบุคคลภายในองค์การ โดยการพัฒนาจะต้องกระทำเป็นระบบ เช่น ระบบโครงสร้างใหม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง มีการสอดแทรกข้อคิด (Intervention) เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาจะต้องเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงสุด เพื่อวัดประสิทธิภาพที่ได้จากการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การจะต้องใช้เทคนิค และเทคโนโลยีใหม่ๆ  เพื่อพัฒนาความสามารถของบุคคล และมุ่งขจัดความขัดแย้งในองค์การ ต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนา moneys ระบบเงิน ต้นทุน ค่าใช้จ่าย ขององค์กรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ขององค์กรนั้นๆ

การบริหารจัดการ คือ

กิจกรรมทางการบริหารจัดการผู้บริหาร คือ ผู้ทำให้งานต่าง ๆ บรรลุผลสำเร็จโดยอาศัยคนอื่นทำโดยมีระบบที่เกี่ยวข้องกับบริหาร 2 ระบบ คือ

  • ระบบคน
  • ระบบงาน

ปัญหาที่ตามมาที่ควรทราบ คือ  กิจกรรมบริหารจัดการที่ผู้บริหารต้องทำจริงๆ คือ อะไรบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมี 5 หน้าที่หลัก ตาม ทฤษฎีตัวอย่าง 4m หรือ 4m analysis ตัวอย่าง คือ

  • P – Planning :การวางแผน ตลอดจนการจัดวางโครงสร้างของการทำงาน รวมไปถึงการวางแผนการล่วงหน้าเพื่อเตรียมการ ไปจนถึงการวางแผนทำงานร่วมกันของฝ่ายต่างๆ
  • O – Organizing : การจัดองค์กร ตั้งแต่การกำหนดโครงสร้าง ตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ตลอดจนการกำหนดส่งงาน แบ่งงานทำอย่างเป็นระบบระเบียบ
  • S – Staffing :การจัดการเกี่ยวกับบุคคลากรในองค์กร ตั้งแต่การจัดอัตรากำลัง การสรรหา การจัดตำแหน่ง การพัฒนา
  • D – Directing : การอำนวยการ ตั้งแต่หน้าที่ในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการ ออกคำสั่ง ไปจนถึงการมอบหมายภารกิจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนภาวการณ์เป็นผู้นำ
  • Co – Co-ordinating : การประสานงานตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ให้การทำงานบรรลุเป้าหมายด้วยดี รวมไปถึงการประสานงานในแต่ละส่วนให้สอดคล้องกันด้วย เพื่อให้การทำงานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • R – Reporting : การรายงานการปฎิบัติงานตั้งแต่งานส่วนบุคคลไปจนถึงองค์กร เพื่อให้รู้ถึงการทำงานของฝ่ายต่างๆ และควบคุมให้ดำเนินไปตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ และสามารถตรวจสอบตลอดจนประเมินผลได้
  • B – Budgeting :การบริหารงบประมาณ ตั้งแต่การประเมินงบประมาณ การจัดทำบัญชี การตรวจสอบด้านการเงิน ไปจนถึงการนำงบประมาณมาใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด

ทรัพยากรในการบริหาร

การบริหารงานทุกอย่างจะต้องอาศัยทรัพยากรหรือปัจจัยทางการบริหารทั้งสิ้นทรัพยากรทางการบริหารนี้ ตอนแรกนักวิชาการทางการบริหาร ได้แบ่งออกได้เป็น 4 องค์ประกอบ

ที่เรียกติดปากว่า 4 M อันได้แก่ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุ (Material) และวิธีการบริหาร (Management) ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี จึงมีการเพิ่มปัจจัยทางการบริหารจาก 4 M เป็น 7 M

ปัจจุบันมีการแบ่งทรัพยากรเป็น 4 ประเภท คือ

  1. Human Resources ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรมนุษย์ อันได้แก่ ผู้บริหารพนักงานในระดับต่างๆ ซึ่งหมายถึง “คน” นี่เอง
  2. Financial Resources ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรทางด้านการเงิน อันได้แก่ เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ
  3. Physical Resources ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรทางด้านวัสดุ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ
  4. Information Resources ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรทางด้านข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่กิจการใช้ในการบริหารงาน และใช้ในการตัดสินใจในการบริหาร

ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ปัจจุบันการประกอบธุรกิจมีหลากหลายรูปแบบที่ไม่ใช่แค่เรื่องระบบโรงงานและอุตสาหกรรมแต่เพียงอย่างเดียวเหมือนเมื่อก่อน มีทั้งระบบการขายของออนไลน์ การขนส่ง แต่ถึงอย่างนั้นทรัพยากรบุคคลก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญกับการทำงานของทุกระบบและทุกองค์กรเสมอ ไม่ว่าจะยุคสมัยใดก็ตาม ซึ่งการจัดการ ตามหลักทฤษฎี 4 M นั้น จะมีความต่างกันไปตามลักษณะธุรกิจหรือสไตล์ของแต่ละองค์กร

แต่ท้ายที่สุดแล้วทุกองค์กรต่างก็มีจุดประสงค์เงื่อนไขเดียวกัน นั่นก็คือต้องการขับเคลื่อนให้องค์กรเดินหน้าอย่างยอดเยี่ยมที่สุดและประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุด ซึ่งการเลือกหลักการบริหารจัดการมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับขนาดและลักษณะองค์กร รวมถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัด คุ้มค่า นี่คือทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้มากเลยทีเดียว

คำค้น : คือ management หลักการ บริหาร views thanos การ วิเคราะห์ หลักการบริหาร หลักการบริหารจัดการ หลักการ บริหาร คือ ทฤษฎี หลักการ บริหาร จัดการ happy nene weibo change ทฤษฎีการบริหาร ppt ทฤษฎี คือ อะไร มี อะไร บ้าง ตัวอย่าง การ วิเคราะห์ การ บริหาร หลักการบริหาร มีอะไรบ้าง man machine method material คือ ทฤษฎี การ บริหาร หลักการบริหาร ในสถานศึกษา ทฤษฎี คือ อะไร download ทฤษฎี คือ อะไร แนวคิด ทฤษฎี man money material management มีอะไรบ้าง analysis หลัก บริหาร man money material management true ปัจจัย การ ผลิต ปัจจัย การ บริหาร แนวคิด การ บริหาร nha mat tien man machine material method การ บริหาร ทรัพยากร ทางการ ศึกษา หมาย ถึง ทรัพยากรในการบริหาร ผัง ก้างปลา การ บริหาร แบบ หลักการบริหาร หมายถึง ทรัพยากร การ บริหาร ทฤษฎีการบริหาร ของใคร คืออะไร การบริหาร หลักการบริหาร เป็น ของ ใคร คือ money man material และ management การ บริหาร งาน ปัจจัยในการดําเนินธุรกิจ ทฤษฎี หมาย ถึง ทฤษฎี 6m 8m 9m download

แหล่งอ้างอิง :
https://www.iok2u.com/index.php/article/e-book/210-4m-in-production-process-4
th.hrnote.asia/orgdevelopment/190419-management-concept/
http://www.softbizplus.com/general/717-management-good-performance
forexthai.in.th/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94-3-m-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/105508
https://sites.google.com/site/sebsportclub/cpmpany/power-games
https://www.gotoknow.org/posts/357622
https://zeenake.weebly.com/35853634361936103619363636273634361935913634360935883640360336163634361436513609362935913588366035853619.html
th.hrnote.asia/orgdevelopment/190419-management-concept/
th.hrnote.asia/orgdevelopment/th-190215whatismanagement/
thaiwinner.com/what-is-management

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 171674: 3151